ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

ประวัติวัดบ้านค่ายหรือวัดชัยชมภูพล ระยอง

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวัดบ้านค่ายหรือวัดชัยชมภูพล ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

ประวัติวัดบ้านค่ายหรือวัดชัยชมภูพล ระยอง     ชื่อวัดโดยทางราชการวัดบ้านค่าย ชื่อที่ชาวบ้านเรียกหรือชื่อเดิม วัดบ้านค่ายสังกัด มหานิกาย อยู่ในเขตปกครองสงฆ์ ตำบลบ้านค่าย ชากบก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ภาค 13
ตำเเหน่งที่ตั้งวัด เลขที่ 145 ถนนสาย บ้านค่าย หนองคอกหมู หมูที่ 5 ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด
วัดบ้านค่ายมีลักษณะพื้นที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม ด้านทิศตะวันออกของเเม่น้ำระยองล้อมรอบการตั้งวัด เเต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคมพศ 2506 มีขนาดเนื้อที่ กว้าง15 เมตร ยาว 30เมตร เเละได้ประกอบพิธีผูกธสีมาเมื่อปี พศ 2509
ประวัติความเป็นมาของวัดบ้านค่ายคัดลอกมาจากหนังสือประวัติวัดในจังหวัดระยอง
วัดบ้านค่ายนี้ตามคำเล่า ที่เล่าสืบต่อกันมาสร้างในกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมัยนั้นขอมยังปกครองดินเเดนเเถบนี้อยู่ ได้สร้างวัดเเละโบสถ์ ชาวบ้านเรียกว่า โบสถ์ขอม ขณะนี้ปรักหักพังไปหมดเเล้ว ยังคงเหลืออยู่เต่ซากอิฐพอเป็นเค้าให้เห็นอยู่บ้าง พร้อมทั้งเค้าถนนรอบค่าย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่ายของขอม ภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลงต้องอพยพไปจากที่นี้ จุงทำให้วัดร้างไปด้วย
ต่อมา นายตาลซึ่งเป็นชาวระยองได้มาตั้งบ้านเรือน ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างกุฎิขึ้นใหม่ พอที่พระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่ได้ เเละอาราธนาหลวองพ่อเเป้นหรืออุปัชฌาย์เเป้น จากวัดวงเวียนตะเคียน 7 ต้น มาอยู่ทีวัดนี้ สำหรับอุโบสถได้ปรักพักไปหมดเเล้วยังมิได้สร้างขี้นมาใหม่ กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่งสงฆ์ในวัดได้เเตกเเยกกัน เพราะไม่มีอุโบสถที่จะประกอบสังฆกรรม เพื่อให้สงฆ์สามัคคีกันได้จึงคิดสร้างอุโบสถขึ้นใหม่เเต่พิจารณาเห็นว่า วัดนี้ไม่เหมาะสมเนื่องจากอยู่ใกล้เเม่น้ำ เเม่น้ำระยอง ถูกสายน้ำเเทงมายังวัด จึงย้ายที่สร้างวัดลงมาตอนล่าง หลวงพ่อเเป้นพร้อมด้วยนายตาลเเละประชาชนในเเถบนั้นไปดูสถานที่นายเรืองเเจ้งว่าจะถวายให้สร้างวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40 ไร่เศษ สถานทึ่นี้มีเสาตลุงช้างอยู่ 4 ต้น ไม่ทราบว่าเป็นที่ผูกช้างหรือโรงน้ำชาของผู้ใด ซึงภายหลังนายเรืองได้จับจองไว้ เเต่ยังมิได้ทำประโยชน์อย่างไรเพราะเป็นที่ป่ารกชัฎ เล่ากันว่า มีเสือเเม่ลูกอ่อนอยู่ ณ ที่นั่นเอง เมื่อพิจารณาดูเเล้วเห็นว่าเป็นที่เหมาะสม หลวงพ่อเเป้นจึงย้ายกุฎิมาปลูกสร้างใหม่ในเนื้อที่ของนายเรือง ประชาชน นิยมเรียกว่า วัดล่าง เเละวัดเติมเรียกว่า วัดบน ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดบ้านค่าย ตามลักษณะที่มีค่ายของขอมปรากฎอยู่ จากหลักฐานทั้ง 2 พอจะอนุมานได้ว่า วัดบนทำเลไม่เหมาะสม เพราะมีกระเเสน้ำไหลเซาะตลิ่งในฤดูน้ำหลาก จึงย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบันได้ประมาณ 200 ปีล่วงมาเเล้ว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook