ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

พระสมเด็จปลอมเขียนโดยอาจารย์ตรียัมปวาย

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระสมเด็จปลอมเขียนโดยอาจารย์ตรียัมปวาย

ลักษณะของปลอมที่ตัดปัญหาการพิจารณาอาจารย์ตรียัมปวายเขียนไว้ในหนังสือว่าพระสมเด็จปลอมนั้นมีดังนี้
1.พระสมเด็จที่มีแบบปริมาตรเขื่อง หนาหรือใหญ่โตถ้าไม่เป็นเกจิรุ่นหลังหรือเกจิอื่นก็เป็นของปลอมทั้งสิ้น
พิมพ์ทรงเหมือนของจริงแต่มีขนาดใหญ่เช่น เท่าซองบุหรีหรือใหญ่กว่าซองบุหรี่เป็นต้น
2.พระสมเด็จที่มีรูปเจ้าพระคุณสมเด็จ
มีทั้งชนิดแบนและแบบลอยตัว บางรายเป็นกริ่งภายใน เป็นเนื้อผงสีคล้ำเพราะแช่น้ำหมากหรือลงรักปิดทอง ที่เป็นของเกจิรุ่นหลังเกจิอื่นก็มี เพราะสมเด็จโตไม่เคยสร้างรูปตัวท่านเองเลย

3.พระสมเด็จแบบตราแผ่นดินหรือมีตราต่างๆประทับด้านหน้าเเละด้านหลัง
มีหลายขนาด สีขาวบ้าง หม่นบ้าง บางรายขนาดใหญ่เท่าซองบุหรี่ มีทั้งของปลอมและของเกจิรุ่นหลัง
4.พระสมเด็จแบบที่มีอักษรจารึกทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง
เช่น สมเด็จโตถวายพระจอมเกล้า ,ถวายเมือ ร.ศ. ปลอมทั้งสิ้น
5.แบบที่มีอักขระเลขยันต์ ไม่เป็นของเกจิรุ่นหลังก็เป็นของปลอมทั้งสิ้น
6.แบบที่มีสีประหลาด มีสีหม่นเข้มหรือ เหลืองจัด หรือหลากหลายสีไม่เป็นของเกจิรุ่นหลังก็เป็นของปลอมทั้งสิ้น

พระสมเด็จพิมพ์ต่างๆที่ไม่ได้สร้างโดยสมเด็จโตเเต่จะเป็นเกจิอื่นจัดสร้าง
1.พระสมเด็จอรหัง

สร้างโดย สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ในปี พ.ศ. 2363 สมัยครองวัดมหาธาตุ เพียงปีเศษก็สิ้นพระชนม์ สร้างก่อนพระสมเด็จวัดระฆัง 47 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้บรรจุกรุ แต่มีการนำมาบรรจุกรุวัดสร้อยทอง นนทบุรี ในภายหลัง มีเนื้อขาว และเนื้อปูนแดง มี 2 พิมพ์ คือพิมพ์ธรรมดา และพิมพ์จิ๋ว ด้านหลังจารึกอักษรของ อรหัง มี2 แบบ คือแบบเส้นเป็นร่องลึก และแบบเส้นเป็นทิวนูน เรียกว่าหลังโต๊ะกัง เพราะคล้ายการตีตราทองรูปพรรณ

2.พระสมเด็จวัดพลับ สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน สมัยที่ยังเป็นพระญาณสังวร ครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) สร้างประมาณปี 2362 ก่อนสมเด็จอรหัง 1 ปี ก่อนสมเด็จวัดระฆัง 48 ปี เนื้อแก่ผงพุทธคุณมากเพราะพระองค์ท่านเป็นต้นตำรับผงวิเศษแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์คัมภีร์กัมมัฏฐาน และทรงแปลคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ขึ้นเป็นฉบับแรกของเมืองไทยด้วยส่วนพระสมเด็จที่เจาะกรุได้จากวัดพลับนั้น สร้างโดยหลงตาจัน โดยมีอาสนะ 3 ชั้น เนื้อปูนปั้น อ่อนกว่าสมเด็จวัดพลับมาก
พระวัดโค่ง อุทัยธานี ได้มีพระภิกษุนำพระสมเด็จวัดพลับ จำนวน 5 ไห
ล่องเรือขึ้นมาจะบรรจุไว้วัดโบสถ์ แต่วันนี้สร้างอุโบสถเรียบนร้อยแล้ว
จึงเลยมาวัดโค่ง และบรรจุไว้ แต่กกรุเมื่องปี พ.ศ.2485 ขณะรื้อกำแพงโบสถ์
มีพิมพ์กรรอกเผือกมาที่สุด เป็นพิมพ์จิ๋วมีสีขาว ขนาด 1*0.5*0.3 ซ.ม. เท่านั้น
ไม่เกี่ยวกับการเห็นกระรอกเผือกที่เจดีย์แต่อย่างใด
3.พระวัดสามปลื้ม สร้างโดยเจ้าพระยาบดินเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) โดยได้สร้างเมื่อคราวปฏิสังขรวัดเมื่อปี พ.ศ.2363 ปีเดียวกับสมเด็จอรหัง แต่นิยมพุทธศิลป์อยุธยา เนือแก่กว่าเนื้อพระสมเด็จมาก องค์ที่หักจะมีกลิ่นหอมคล้ายเกสรดอกไม้หรือแป้งร่ำโบราณอย่างประหลาด การพบ

การพบเห็นพระพิมพ์ต่างๆเเบบย่อยๆมี 3 ระยะ ด้วยกัน

ครั้งที่1.สมัยพพระพุฒจารย์ มา ( ท่านเจ้ามา ผู้สร้างพระชัยวัฒน์ เนื้อทองผสม )

ดำริให้รื้อเจดีย์ราย 9 องค์ ด้านทิศใต้พระอาราม ให้ปลูกตึกเช่าหารายได้เข้าวัด
พบพระจำนวนมาก

ครั้งที่2.พระครูมงคลวิจิตร ใช้ สุวัณโณ รื้อเจดีย์ที่เหลือ 1 องค์ พบพระ 4 ปี๊บ

ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2483 พระครูมงคลวิตร ดำริให้ขยายถนนทางเข้าวัดทางสำเพ็ง

ต้องย้ายศาลเจ้าพ่อบดินทร จึงต้องรื้อเจดีย์อีกด้านเพื่อก่อสร้างศาลที่ย้ายมาพบพระอีกมากมายราว 50,000 องค์ ประกอบกับมีสงครามอินโดจีน จึงแจกจ่ายจนหมด

4.พระสมเด็จปิลันท์ ของสมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ (สมเด็จทัด เสนีวงศ์)สร้างหลังเจ้าพระคุรสร้างพระสมเด็จ 2 ปี โดยขอผงวิเศษจากเจ้าพระคุณมาผสม และปลุกเสกให้ด้วย จึงเรียกว่าพระสองสมเด็จ บรรจุเจดีย์ทางทิศตะวันตะเฉียงใต้ของพระอุโบสถ ถูกลักเจาะครั้งแรกปี พ.ศ. 2471 แต่ได้พระไปน้อย มาเปิดกรุเมือสงครามอินโดจีนส่งให้ทหารออกศึก มีพิมพ์ ปรกโพธิ์ พิมพ์อัครสาวก พิมพ์ห้ามแก่นจันทร์(พิมพ์ซุ้มเกลี้ยงและพิมพ์ซ้มเปลวเพลิง) พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์อื่นๆ
5.พระวัดเงิน เป็นวัดบริเวณคลองพระโขนง มี 3 วัดคือ วัดหน้าพระธาตุ วัดทอง และวัดเงิน ปีพ.ศ.2488ทางราชการก่อสร้างท่าเรือกรุงเทพ จึงรวมวัดเข้าด้วยกันเป็นวัดาตุทอง เปิดกรุเจดีย์ที่ 2และ3 เมื่อ รศ112 รบกับฝรั่งเศส และเมือปี พ.ศ.2478 เจดีย์ริมน้ำพังทลายลงพบพระเป็นจำนวนมาก และเมื่อปี พ.ศ. 2480-90 ทำหารรื้อเจดีย์ทั้งหมดพบพระจำนวน มหาศาล คนงานต่างโกยไปขายปี๊บละ 200 บาท
6.พระวัดท้ายตลาด สร้างโดย พระวิเชียรมุนี เจ้าอาวาสวัดสร้างเมือปี พ.ศ. 2431 มีการลักเจาะกรุหลายครั้ง มาแตกกรุเมื่อคราวสงครามอินโดจีน มอบให้ราชการแจกทหารไป 4,000 องค์ นอกจากนี้มีพบที่วัดนางชี วัดหงส์ด้วย

7.พระวัดอัมภวา บางกอกใหญ่ กรุงเทพ พระพุทธโฆษาจารย์ ฤทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอรุณ เป็นผู้สร้างพระชุดนี้ ท่านเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับเจ้าพระคุณสมเด็จโต ได้สร้างตะกรุดโทนทองแดง และตะกรุดพวงสามกษัตริย์ขนาดย่อมที่มีชื่อเสียงมาก วัดอัมพวา จึงอาราธนาท่านมาสร้างพระไว้เมือประเมาณปี พ.ศ. 2412 อายุการสร้างใกล้เคียง พระสมเด็จและพระปิลันท์ เปิดกรุเมื่อคราวรบฝรั่งเศส รศ.112 และคราวสงคามอินโดจีน อีกสองครั้งเมื่อพ.ศ.2492 และ พ.ศ. 2505 เป็นพระเนื้อผงปูนน้ำมัน มีมากถึง 108 พิมพ์ ส่วนมากย่อมๆ มน ๆ คล้ายวัดพลับ ที่เป็นพิมพ์สังฆาฏิ และ พิมพ์ฐานแซม เหมือนวัดระฆังก็มี แต่เนื้อเป็นปูนน้ำมัน ชัดเจน


8.พระวัดรังสีสุทธาวาส เขตชนะสงคราม กทม สร้างโดยสมเด็จเจ้ากรมขุนิศรานุรักษ์ ติดวัดบวรนิเวศ ที่สร้างโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วัหน้าในรัชกาลที่ 3 ภายหลังรวมกับวัดบวร เปลี่ยนเป็นคณะรังสี พระวัดรังสีสร้างโดย พระธรรมกิตติ( แจ้ง) หรือหลวงพ่อวัดรังสี เกจิผู้เรืองพุทธาคม ท่านสร้างแจกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 พ.ศ.2460 เนื้อผงสีขาวหม่น แห้งสนิท ท่านได้สร้างเหรียญตัวท่านด้วย ใครมีพระวัดรังสีรอดชีวีกลับมาได้


9.พระมฤคทายวัน หลวงปู่นาควัดหัวหิน ( พระครูวิริยาธิการี) สร้างถวาย รัชกาลที่ 6 เตรียมแจกทหารอาสา 1 ปี ก่อนประกาศสงครามโลกครั้งที่ 1


10 . พระวัดพระยาสุเรนทร์ หรือ บึงพระยาสุเรนทร์ มีนบุรี กรุงเทพ
สร้างโดย หลวงพ่อกล่ำ ( พระครูอุดมพิริยะคุณ) ล้อพิมพ์สมเด็จ แต่ย่อมกว่า องค์พระค่อนข้างโปร่ง ด้านหลังส่วนมาก ลงเหล็กจาร

11.พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร ( พระครูธรรมานุกูล ภู จันทสโร ) ท่านเป็นศิษย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จโต สร้างประมาณปี 2463 เพื่อจำหน่ายหาทุนก่อสร้างพระศรีอริยเมตตรัย หลวงพ่ดโตวัดอินทร ที่เจ้าพระคุรสมเด็จสร้างไว้เพียงครึ่งองค์ ได้นำผงวิเศษของเจ้าพระคุณมาผสม พิมพ์ที่เรียกกันว่าพิมพ์แซยิด คล้ายกับฐานแปดชั้นอกร่องแต่มีเส้นกรอบฐานทั้งสองข้าง(คล้ายแม่บันได) และมีอุณาโลม 2 ตัว นั้น ศิษย์ใกล้ชินหลวงพ่อท่านหนึ่ง (ไม่ขอเปิดเผยนาม) ยืนยันว่า ไม่ใช่พระที่หลวงปู่ภูสร้าง แต่เป็นของปลอมที่สร้างทีวัดอินทร์นั่นเอง
12.สมเด็จพระครูสังฆ์ พระครูสังฆบวร (แดง) วัดบวรนิเวศน์ ชนะสงคราม เขตพระนคร ได้สร้างเมือ ปี 2465 โดยนำเอาเนื้อพระสมเด็จที่แตกหักในองค์หลวงพ่อโต มาบดผสมใหม่ มีทั้งตราประทับเเบบยันต์ตอกเเละโค๊ดดอกจันตอกลึกจำหน่ายองค์ละ 1 บาท เพื่อนำเงินมาสร้างหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร ต่อจากหลวงปู่ภู






READ MORE - พระสมเด็จปลอมเขียนโดยอาจารย์ตรียัมปวาย

พระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน

พระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน
ประวัติพระองค์แรกที่จะพูดถึงคือ พระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน ที่ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ ทำแจกเมื่อคราวหาเสียงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อครั้งเลือกตั้ง ปี ๒๕๐๐ ความที่องค์พระเป็นพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินด้านหลังมีตราแผ่นดินอยู่ ทำให้คนเข้าใจว่าพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน เป็นพระที่กรมตำรวจทำขึ้น เพราะกรมตำรวจก็ใช้ตราแผ่นดินเป็นสัญลักษณ์ บางคนเข้าใจผิดเรียกหาเป็น “สมเด็จเผ่า” ตามชื่ออธิบดีกรมตำรวจยุคนั้น อันได้แก่ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เเท้ที่จริงเเล้วเป็นการสร้างโดยร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ ทำแจกเมื่อคราวหาเสียงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อครั้งเลือกตั้ง ปี ๒๕๐๐


 ด้านหน้าเเละด้านหลังพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน



ด้านข้างพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ส่วนพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินพระองค์ที่ ๒ คือ พระสมเด็จที่หลวงปู่นาค หรือ พระเทพสิทธินายก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ มีตราแผ่นดินประทับด้านหลังเหมือนกัน พระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของหลวงปู่นาคมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ท่านทำขึ้นเพื่อนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับพระสมเด็จเผ่าวัดอินทรวิหารที่ท่านไปนั่งปรกปลุกเสกด้วยสังเกตุว่าเนื้อพระจะต่างกันกับองค์พระดูล่ำกว่ากันเเละมีองค์เล็กพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินตอกลึกเข้าไปในเนื้อพระ  พิมพ์สองชั้นองค์เล็กจะคล้ายสมเด็จหลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ เเต่ของหลวงปู่นาคจะมีตราประทับทุกองค์เเละเนื้อดูเเกร่งกว่าพระสมเด็จพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินหลวงปู่นาค

เป็นพระสมเด็จจากวัดระฆังแน่นอน สร้างโดยหลวงปู่นาค เจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ มีอยู่หลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์คะแนน
พระชุดนี้เป็นของจริง เป็นพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลัง





องค์ที่หนึ่งด้านหน้าเเละด้านหลังพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของหลวงปู่นาค





องค์ที่สองด้านหน้าเเละด้านหลังพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของหลวงปู่นาค











 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ส่วนองค์ที่สี่นั้นเป็นพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน พิมพ์องค์เล็ก ของหลวงปู่นาค
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพเปรียบเทียบพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินพิมพ์ใหญ่เเละพิมพ์เล็กทั้งด้านหน้าเเละด้านหลังของหลวงปู่นาค
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพเปรียบเทียบระหว่างพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ กับพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินหลวงปู่นาค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพเปรียบเทียบพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินทั้งด้านหน้าเเละด้านหลังของ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์กับพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินหลวงปู่นาค



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ส่วนที่ว่าสร้างในยุคสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เพราะมีคนอ้างว่าพระสมเด็จหลังตราแผ่นดินเป็นพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้างถวายรัชกาลที่ ๕ มีหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์ของ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ และพิมพ์อื่น ๆนั้นไม่เป็นความจริงขัดกับประวัติศาตร์ทั้งสิ้น

สรุป
พระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์
ไม่ใช่พระสมเด็จเผ่า และไม่ได้ปลุกเสกโดยสมเด็จโต
เพราะพระสมเด็จเผ่าก็คือพระสมเด็จวัดอินทร์ฯปี๒๔๙๕หลังเรียบ ซึ่งไม่ใช่พิมพ์ที่โชว์ และไม่ใช่พระสมเด็จที่อ้างว่าสมเด็จโตปลุกเสก เพราะตราแผ่นดินเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ หลังท่านมรณภาพแล้ว
แล้วพระสมเด็จองค์นี้เป็นของจริงหรือของเล่น?
คำตอบก็คือ วงการทั่วไปถือว่าพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินเป็นของเล่น เพราะมีที่มาชัดเจนจากนักสะสมรุ่นเก่าท่านหนึ่งว่า ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ทำแจกตอนหาเสียง พ.ศ. ๒๕๐๐ ไม่ใช่กรมตำรวจจัดสร้าง และไม่ใช่พลตำรวจเอกเผ่าเป็นประธาน
 
การสร้างพระสมเด็จเผ่า
บุคคลแรก คือ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการสร้างพระสมเด็จที่วัดอินทรวิหาร โดยมีพระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพิธี

พระวัดอินทร์ฯ ปี ๒๔๙๕ หรือที่เรียกกันว่า “สมเด็จเผ่า” เป็นพระเนื้อผงหลังเรียบ ไม่มีการปั๊มตรา ไม่ว่าจะเป็นตราจม หรือตราวัด พิมพ์ที่นิยมเล่นหากันก็คือพิมพ์อกร่องหูบายศรี
ฉะนั้น “สมเด็จเผ่า” ก็คือพระสมเด็จวัดอินทร์ ๙๕ หลังเรียบเท่านั้น



สมเด็จเผ่าด้านหน้าเเละด้านหลังซึ่งท่านสร้างจะไม่มีตราหลังแผ่นดินเด็ดขาด





 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
READ MORE - พระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน

งานประกวดพระเครื่อง สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย 2555

งานประกวดพระเครื่อง สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย 2555                                                                                                                                                   ปฏิทินประกวดพระที่สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย "อนุญาตและเห็นชอบ" ให้จัดได้


วัน / เดือน / ปี สถานที่จัดงาน / จังหวัด ผู้จัดงาน ส่งรายรับ - รายจ่าย หมายเหตุ

15 มกราคม 55 เทศบาลเมืองดอกคำใต้ จ.พะเยา ชมรมพระเครื่องเมืองพะเยา

5 กุมภาพันธ์ 55 ชั้น7 ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า จ.นครราชสีมา ชมรมพระเครื่องเมืองโคราช

19 กุมภาพันธ์ 55 สนามกีฬา 4000ที่นั้ง จ.นครสวรรค์ มูลนิธิการศึกษาเทศบาลนครสวรรค์ ร่วมชมรมพระเครื่องนครสวรรค์

11 กุมภาพันธ์ 55 ชั้น8 ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงค์วาน นนทบุรี สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

หมายเหตุ : ปฏิทินงานประกวดพระนี้ ทางสมาคมผู้นิมพระเครื่องพระบูชาไทย ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า อาจมีความคลาดเคลื่อนไม่เป็นตามที่วางแผนไว้ เพื่อความแน่นอน โทรตรวจสอบกับสมาคมฯ (ชั้น 3 พันธ์ทิพย์ฯ งามวงศ์วาน) ที่เบอร์ 029527898

ข้อมูลกิจกรรมและรายการประกวด โหลดได้ที่นี้


สมาชิกที่มีปัญหาการรับชมหรือเข้าดูไม่ได้กด upgrade to Internet Explorer 8 ได้ที่นี้
วัน/เดือน/ปี

สถานที่จัดงานประกวด

คณะผู้ดำเนินงานจัดการประกวด
5 กุมภาพันธ์ 55 ชั้น7 ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า จ.นครราชสีมา ชมรมพระเครื่องเมืองโคราช

19 กุมภาพันธ์ 55 สนามกีฬา 4000ที่นั้ง จ.นครสวรรค์ มูลนิธิการศึกษาเทศบาลนครสวรรค์ ร่วมชมรมพระเครื่องนครสวรรค์

11 มีนาคม 55 ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

หมายเหตุ : หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลงานประกวดเพิ่มเติมได้ที่

สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โทร.02-952-7898
กติกาการตัดสิน (มาตราฐานการประกวดทั่วไป)
1.พระที่ประกวดทุกรายการต้องปราศจ่กสิ่งห่อหุ้ม

2.คณะกรรมาการการตัดสินจะทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม

3.การตัดสินถือตามหลักสากลทั่วไป

4.การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นข้อยุติโดยเด็ดขาด

5.การนำรูปถ่ายมาแสดงยืนยัน เพื่อขอรับพระคืนกระทำได้ต่อเมื่อได้แสดงรูปถ่าย

ไว้ก่อนล่วงหน้าต่อหน้ากรรมาการและมีลายเซ็ฯของกรรมการที่ระบพระไว้หลังรูปถ่ายจึงจะถือเป็นข้อยุติ
วิธีการส่งพระเข้าประกวด

สิ่งแรกที่ท่านต้องทราบก็คือ พระของท่านเป็นพระอะไร , วัดไหน,รุ่นไหน,พิมพ์อะไร

(ถ้า ไม่ทราบกรุณาสอบถามคณะกรรมการที่นั่งรับพระที่มีโบว์ติดหน้าอก หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ที่โต๊ะประชาสัมพันธ์บริเวณซุ้มจำหน่ายใบสมัคร) เมื่อทราบแล้วให้ท่านปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้



1.ตรวจสอบดูว่าพระของ ท่านมีการจัดให้เข้าประกวนในงานนี้หรือไม่ (ดูคู่มือการส่งพระเข้าประกวดที่ท่านถืออยู่นี้ ตรงกับรายการใดให้ท่านบันทึกไว้)

2.ซื้อใบสมัครที่ซุ้มจำหน่ายตามราคาที่ กำหนด (ใบสมัคร1ใบต่อพระ1องค์) พร้อมรับกล่องใส่พระตามจำนวนใบสมัคร ใบละ 1 กล่อง โปรดเลือกขนาดที่เหมาะสมกับองค์พระ

3.นำพระใส่กล่อง และกรอกข้อความในใบสมัครให้ชัดเจนทั้ง 2 ส่วน

4.นำพระและใบสมัครไปยื่นให้กรรมการ ต้องยื่นให้ตรงช่องที่กำหนด โดยดูจากป้ายสีเหลืองที่แขวนอยู่เหนือศีรษะ

5.ถ้า ท่านส่งพระหลายองค์โปรดแยกใบสมัครให้ตรงกับพระ เพื่อป้องกันการสับสน ท่านจะเสียผลประโยชน์ ถ้าท่านยื่นใบสมัครไม่ตรงกับพระองค์นั้น

(กรณีนี้ท่านสามารถเขียนรหัสใบสมัคร ซึ่งเป็นตัวเลข 5 ตัว ลงบนฝากล่องในช่องคำว่ารหัส แต่ต้องเขียนให้ชัดเจนที่สุด)

6.เมื่อกรรมการพิจารณาพระของท่านแล้ว เห็นสมควรให้รับพระของท่านได้ เจ้าหน้าที่ทะเบียนจะลงลายมือชื่อในใบสมัคร

(ส่วนที่ 2)และส่งคืนให้ท่านเก็บไว้เป็นหลักฐานในการมาขอรับพระคืน

(โป รดเก็ยรักษาว้ในที่ปลอดภัยถ้าศูนย์หายต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนที่จะ มีการประกาศให้รับพระคืนในช่วงบ่าย เพื่ออายัดพระของท่านไว้)

ท่านสามารถ ส่งพระเข้าประกวดได้ตั้งแต่เวลา 9.00-13.30 น. เมื่อท่านส่งพระเรียบร้อยแล้ว ท่านไม่จำเป็นต้องรอ ท่านสามารถไปทำธุระของท่านได้

เพราะคณะกรรมการต้องใช้เวลาในการพิจารณาพระของท่าน เพื่อให้รางวัลตามความสวยงามหรือตามความเป็นจริงโดยยุติธรรม

7.นำใบสมัคร(ส่วนที่ 2 ) มาขอรับพระคืนได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 น. เป็นต้นไป

* ถ้าพระของท่านได้โบว์รางวัลที่ 1 ท่านจะได้รับของรางวัลตามระบุไว้ที่คูมือฯ

ทันทีส่วนใบประกาศนียบัตร ติดต่อขอรับได้หลังวันประกวชดเป็นเวลา 45 วัน ตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคู่มือฯ

* ถ้าพระของท่นได้รางวัลที่ 2,3 หรือ4 ท่านจะได้รับเฉพาะใบประกาศนียบัตร ซึ่งต้องมารับภายหลังเช่นกัน
อย่าง ไรก็ดี ขอให้ท่านพึ่งละรึกเสมอว่าการส่งพระเข้าประกวดเปรียบเสมือนว่าท่าน กำลังเล่นเกมเกมหนึ่งซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ท่านอาจจะสมหวังหรือผิดหวังได้ งานประกวดมิได้มีเพียงงานเดียวหรือครั้งเดียว สะดวหที่ไหนไปที่นั้นว่างเมื่อไร ชวนกันไปพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ฝูงเพื่อนเช่นนี้แหละท่าน จึงจะเป็นสุขและสนุกกับการส่งพระเข้าประกวดอย่างแท้จริง
หมายเหตุ : หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลงานประกวดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โทร.02-952-7898
ติดต่อจองแผงพระเครื่องได้ที่ คุณนี สะพานใหม่ โทร 08-1457-1779,0-2952-7898
downloadรายระเอียดรายการสถานที่เเละพระเครื่องที่จะเข้าประกวดได้ที่นี้
http://www.amatasiam.com/file/download/Data_download001.pdf

ปัญหาการประกวดพระเครื่องเเละเรื่องราวการจัดการประกวดพระเครื่อง
http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/27555/Page/1 ปัญหาการประกวดพระเครื่อง

http://www.web-pra.com/Forum/Show/31/Page/1 การประกวดพระเครื่องทั่วไป
http://oatbangsue.blogspot.com/2011/09/blog-post_25.html การประกวดพระเครื่องฯกับวงการพระเครื่องฯ


READ MORE - งานประกวดพระเครื่อง สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย 2555

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์ครู

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์ครู องค์นี้อยู่ในวงการพระสมเด็จวัดระฆังยอดนิยมมานานเเล้วซึ่งถือว่าเป็นต้นเเบบของการจำเนื้อหา อายุพระ มวลสาร ถือว่าสมบูรณ์ที่สุดของพิมพ์นี้ทีเดียวสำหรับพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์ครู องค์นี้ถ้าท่านต้องการดูเนื้อหาภาพเหมือนจริงต้องลองไปหาหนังสือคัมภีร์นักสะสมพระสมเด็จวัดระฆังที่รวมสุดยอดพระสมเด็จองค์ตำนานของวงการซึ่งมีหลายเล่มหลายอาจารย์ออกโดยผู้ชำนาญการยอมรับกันในวงการมาอ่านดูครับซึ่งได้รวบรวมภาพพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ต่างๆจากอดีตถึงปัจจุบันที่วงการเขายอมรับกัน

หรือเข้าปรึกษาผู้รู้จริงๆชำนาญการเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังที่วงการเขายอมรับซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายอาจารย์ทั้งอดีตที่อำลาวงการไปเเล้วเเละยังอยู่ในวงการปัจจุบัน
ขอบคุณครับ
ภาพด้านหน้าเเละด้านหลังพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์ครู สีถ่ายออกมาจะเหมือนองค์จริง ของจริงจะออกสีขาวอมเหลืองตามเเบบฉบับวัดระฆังข้างหลังดูง่ายมากรอยปริเเตกด้านข้างตามขอบองค์พระเเบบธรรมชาติ รอยรูเข็ม รอยยับย่น เป็นต้น

ภาพด้านหน้าเเละด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์ครู


ด้านบนเนื้อหาพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์ครู องค์นี้เป็นที่ยอมรับของวงการนี้ตั้งเเต่อดีตถึงปัจจุบัน

 
 พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ตามหลักสากลนิยมไว้กรณีศึกษา เนื้อหาหนึก นุ่ม ซึ้ง มวลสาร ธรรมชาติตามกาลเวลา รอยตอกตัดขอบด้านหลังเกิดรอยขยูดปริเเตกตามขอบหลังองค์พระเเบบธรรมชาติ  ด้านหลังเกิดรอยรูเข็ม ส่วนการเกิดรอยยับย่นขององค์นี้มีทั้งด้านหลังเเละด้านหน้า รอยปูไต่หรือรอยหนอนด้น ระยะเวลาร้อยกว่าปีร่วมสองร้อยปีเศษอาหารที่เป็นโปรตีนก็ดี เป็นผักก็ดีจะสลายตัวไปจึงปรากฎเศษอาหารให้เห็นในปัจจุบัน เเต่ปรากฎรอยพรุน รอยโพรงบนเนื้อ ซึ่งภาษาพระเรียกว่ารอยบั้งไต่ เป็นลักษณะเหมือนวัสดุที่ฝังในเนื้อพระเเล้วสลายตัวไป รอยพรุนเเละรอยโพรงของพื้นผิวพระจะเกิดเฉพาะในพระสมเด็จวัดระฆังเเบบธรรมชาติเท่านั้น ธรรมชาติของพระเก่าเเท้ มีส่วนที่โค้งนูนมีมันวาวใส หรือที่อาจารย์ตรียัมปวายเรียกว่าเงาสว่าง นี่คือปฎิกิริยาที่เกิดจากพระเก่า ที่ผ่านกาลเวลา ผ่านการใช้ในสภาพต่างๆมาเนิ่นนานเงาสว่างจากพระเเท้ ก็เหมือนเเผ่นไม้ชั้นดีๆเช่น มะค่า ประดู่ ไม่ไช่เกิดจากสารเคมีทางวิทยาศาสตร์หรือเกิดจากการเลียนเเบบหรือทำให้เหมือนทางธรรมชาติด้วยวิธีการต่างๆนาๆ เเต่ด้วยอะไรก็เเล้วเเต่ผู้ที่เคยเห็นของเเท้มามากๆเเละผ่านภาคสนามมามากๆทั้งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเเต่ละด้านนั้นโดยเฉพาะย่อมเเยกเเยะออกเเละของสิ่งนั้นๆย่อมมีพิรุธผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติในสิ่งนั้นเสมอๆ เป็นต้น ด้านข้างองค์พระสมเด็จวัดระฆังที่มีอายุการสร้างนานถึง 100ปี ซึ่งนานมากเช่นนี้ด้านข้างขอบพระจะเเสดงอาการยุบตัว เรื่องนี้เป็นความจริงท่านจะเห็นร่องบางๆเเม้จะเกิดไม่ตลอดเเนวขอบพระเเต่ต้องมีให้เห็นบ้างซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ของเลียนเเบบทำไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่ธรรมชาติทำให้เกิดขึ้น ด้วยอายุเเละกาลเวลา รอยยุบตัวตามธรรมชาติ นักเลงพระสมเด็จชั้นครูท่านถือเป็นจุดเด็ดขาดจุดหนึ่งเป็นต้น เเละการเกิดหดตัวเเบบธรรมชาติตามกรอบเส้นซุ้มเเละเเขน เป็นต้น อาจารย์กิติธรรมจรัสได้ให้ข้อคิดไว้หลายอย่างในการพิจารณา ว่าพระสมเด็จวัดระฆังจากการศึกษาพระมามากองค์จะเห็นว่าเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือขอบพระจะถูกตัดเฉียงออกไปเล็กน้อยจะไม่ตัดลงไปตรงๆเป็นมุมฉากถ้ามองจากด้านหน้าขอบพระจะเบนออกเล็กน้อยทำให้พื้นที่ด้านหลังมีมากกว่าพื้นที่ด้านหน้าเล็กน้อย ขอบพระจะไม่เเน่นขอบพระบางองค์จะสังเกตุเห็นรอยครูด พระสมเด็จวัดระฆังเมื่อจับองค์มาเเล้วส่วนมากเเล้วต้องมีน้ำหนักพอตึงมือไม่เบามากจนเกินไปนี้เป็นส่วนหนึ่งข้อคิดเห็นบางส่วนของอาจารย์กิติธรรมจรัส








READ MORE - พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม องค์ครู

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook