ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน   ความเก่า คราบตามธรรมชาติ พิมพ์ทรงนิยม
กรรมวิธีการทำพระเเท้ประเภทรูปหล่อเเละเหรียญหล่อโบราณ
ในสมัยโบราณ




สมัยก่อนการเเกะเเม่พิมพ์หรือทำพิมพ์ขึ้นมาเเต่ละวัดหรือเเต่ละหลวงพ่อรูปเเบบการทำนั้นจะไม่เหมือนกันพอทำพิมพ์ขึ้นมาเเล้วก็ถอดเป็นหุ่นขี้ผึ้งทีละองค์จนครบตามจำนวนที่ทางวัดหรือหลวงพ่อที่สั่งว่าต้องการจำนวนพระกี่องค์หากสั่ง 5,000 องค์ก็ต้องทำหุ่นขี้ผึ้งประมาณ 5,500องค์เพราะว่าต้องทำเผื่อเสียอีก 500องค์พอได้หุ่นขี้ผึ้งที่ต้องการเเล้วก็เอาหุ่นมาต่อเดือยเป็นช่อๆจนครบพอหุ่นขี้ผึ้งเป็นช่อหมดเเล้วจากนั้นผู้ที่ทำพระก็ต้องหา ขี้วัว ขี้ควาย ทราย เเกลบ เอามาผสมกับน้ำให้เหลว พอได้ส่วนผสมดีเเล้วผู้ทำก็นำส่วนผสมที่ได้มาพอกหุ่นขี้ผึ้งเททับหุ่นขี้ผึ้งจนหมดเเละก็ปล่อยทิ้งไว้ให้เเห้ง เทตรงเดือยลงไปในช่อจนหมดทุกช่อเเล้วก็มาเคาะขี้วัว ขี้ควายออกหรือขี้เบ้าออกเมื่อเสร็จเเล้วก็จะเห็นเป็นช่อๆเเล้วก็เอามาตัดออกจากช่อทีละองค์จนหมด จากนั้นผู้ทำก็นำพระที่ได้มาล้างขี้เบ้าออกอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สะอาดเเละสวยงาม เเล้วจึงได้นำเอาพระที่ได้ทั้งหมดไปให้ทางวัดหรือหลวงพ่อที่สั่งทำ เเล้วก็เข้าพิธีปลุกเสกให้เรียบร้อยส่วนเรื่องราคาค่านิยมนั้นก็ต้องก็ต้องขึ้นอยู่กับทางวัดว่าจะให้เช่าบูชาหรือหลวงพ่อจะเเจกเเล้วเเต่ผู้มีจิตศรัทธาจะทำบุญ

ตำหนิเอกลักษณ์ทั่วไปของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน

1.ยอดศรีษะหลวงพ่อท่านจะค่อนไปทางเหลี่ยม ในพิมพ์ขี้ตาจะโค้งมนกว่า

2.เบ้าตาจะลึก ลูกตาด้านล่างจะปาดตรงเเลดูคล้ายหมวกเเก๊ปทั้งสองข้าง ต่างจากในพิมพ์ขี้ตาเบ้าตาจะตื้น                                                                                                                                                            3.ชายจีวรด้านซ้ายรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ค่อนข้างเป็นระเบียบ และขนานกันมีทั้งหมด 6 เส้น ชุดบนเป็นเส้นยาว 4 เส้น ชุดล่างเป็นเส้นสั้น มี 2 เส้น

4.เส้นจีวรด้านขวารูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน องค์นี้มี 4 เส้น เห็นชัดๆ 3 เส้น เส้นที่ 4 ล่างสุด มักติดเลือนๆ

5.ปลายมือทั้งสอง จะเป็นรอยตัดห่างเล็กน้อยตรงกลางมือที่ประจบดูเป็นการเส้นการต่อนิดๆถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน อีกพิมพ์หนึ่ง

6.ฐานเขียงโดยมาก มักบางเเต่ในองค์เป็นรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม เบ้าทุบเเบบโบราณ ถือว่าเป็นฐานในรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน อภิบายเรื่องเบ้าทุบนิดหนึ่ง หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน พิมพ์เบ้าทุบ หรือ ทุบเบ้านี้เป็นศัพท์ทางช่างหล่อพระสมัยโบราณที่ใช้กรรมวิธีหล่อแบบทุบเบ้าซึ่งมีทั้งการหล่อแบบเบ้าละหนึ่งองค์หรือเบ้าละหลายองค์ตามแต่เทคนิคของช่าง การหล่อแบบเบ้าทุบนี้สมัยก่อนใช้หล่อรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่มาของคำว่าเบ้าทุบไว้ในตำนานพระหลวงพ่อเงิน ส่วนในพิมพ์ขี้ตาฐานเขียงโดยมากมักหนา
ด้านหลัง เส้นจีวรจะสวยงามมากคราบความเก่าเป็นความธรรมชาติซึ่งจะอยู่กับองค์เเท้ทุกองค์ด้านหลังจะคมชัดกว่าพิมพ์ขี้ตา ในพิมพ์ขี้ตา เส้นจีวรไม่เรียบร้อย และบวม

หุ่นเทียนพิมพ์นิยม ทำเรียบร้อยและเป็นพระเท ขึ้นช่อ ไม่มีรอยตะเข็บ ฝีมือช่างบ้านช่างหล่อ ใต้ฐานรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม องค์นี้มีรอยตามดเเละคราบความเก่าจากการหล่อเเละอายุเนื้อพระเกิดขึ้นเเบบธรรมชาติตามอายุเนื้อพระดูเเล้วเกิดความสวยงามตามตามฉบับเนื้อโลหะที่มีอายุ                                                                      7.จุดตายของการดูเนื้อโลหะที่มีอายุการสร้างนานๆ เนื้อพระ คือจะมีตามดหรือรูพรุนของโลหะที่มีอายุการสร้างนานๆเกิดขึ้นตามพื้นผิวพระ คราบความมีอายุเนื้อโลหะชนิดนั้นๆในการทำจัดสร้างเมื่อมีอายุเนื้อชนิดนั้นก็จะเเปรสภาพตามกาลเวลาตามเเต่เนื้อชนิดต่างๆในการจัดสร้างองค์พระ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน องค์นี้จะสังเกตุเห็นมีตามดเกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อพระหลายจุดตามดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเกิดจากเนื้อโลหะมีการยุบตัวในตัวองค์พระเองซึ่งพระทีมีอายุมากก็จะเเปรสภาพมากขึ้นอยู่กับส่วนผสมของมวลสารโลหะในการจัดสร้างเเต่ก็ขึ้นอยู่กับส่วนผสมเนื้อโลหะว่ามีมากหรือน้อย บางโลหะก็จะไม่เเปรสภาพเลย เช่น ทองคำบริสุทธิ์ เงินบริสุทธิ์ อะไรก็เเล้วเเต่ที่บริสุทธิ์มักจะไม่ค่อยเเปรสภาพเเต่จะเกิดคราบสนิมตตามธรรมชาติเเละกาลเวลา ตามเเต่เนื้อโลหะนั้นเเทน เพราะความหนาเเน่นส่วนนั้นๆมีมากนั้นเอง เเต่ถ้าเนื้อโลหะสิ่งใดที่มีการส่วนผสมมากร่วมกันหลายๆชนิดเนื้อนั้นย่อมเกิดการทำปฎิกิริยาในเนื้อนั้นสูงซึ่งจะเกิดตามดเเละคราบสนิมของวัสดุของเนื้อชนิดนั้นๆขึ้นนั้นเองตามธรรมชาติเเละกาลเวลานั้นเอง


ด้านหน้าของรูปหล่อหลวงเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน


ด้านหลังของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ใต้ฐานเเบบเนื้อโลหะธรรมชาติของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน
วัดบางคลานมีเจ้าอาวาสหลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพเเล้วคือ
1.อาจารย์เเจ๊ะ 2.อาจารย์ขาว 3.อาจารย์ยา 4.อาจารย์ผิน 5.อาจารย์โชติ 6.อาจารย์บุญธรรม 7.อาจารย์เปรื่องหรือพระครูวิบูลธรรมเวท


 
 

17 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากทราบ ราคา ณ ปัจจุบันของ รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมนิยมวัดบางคลานของแท้ราคาเท่าไหร่ค่ะ ? ช่วยตอบที่ค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ราคาเจ็ดหลักขึ้นตามสภาพครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หลวงพ่อเงินทุกพิมพ์ที่ประวัติว่าหลวงพ่อฟุุุุ้งลูกศิษย์ุสร้างถวายหลวงพ่อเงินเสกไว้หน้าตาเป็นไงยอมรับกันเหมือนวัดห้วยเขนมั้ย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระสวยมากคับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมมีอยู่ 2 องค์ช่วยเช็คให้หนอ่ยคับว่าแท้ไหมคับผม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระของผมไม่มีมือรองเปียกทองทั้งองค์มีตาพระอินทร์
คราบเบ้าสีนำตาลใหม้อมดำ ผมเห็นมีแต่คนขาย
ไม่เคยคนซื้อเลย เสมา 0816519354

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เอาพระไปปล่อยเช่าได้แค่หลักแสนไม่ถึงล้าน เสมา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมมีหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมแต่ผมไม่ทราบวาวัดไหนพอะปล่อยได้ไหมครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สนใจโทรหาผม0954125699

Unknown กล่าวว่า...

ผมไม่รู้ว่าเป็นพระปีใหนดูให้หนอ่ย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดูธรรมชาติการหล่อ ศิลปะ โลหะทองเหลือง และที่สำคัญเดี๋ยวนี้เชื่อใครไม่ได้เซียนใหญ่ยังโดนฟ้องคืนเงินเพราะไม่มีมาตราฐานอะไรมาวัดว่าแท้ สนามนี้แท้ อีกสนามตีเก๊ เชื่อตัวเองดีที่สุด พิจารณาจากธรรมชาติครับ

Unknown กล่าวว่า...

สมัยก่อนเนื้อเป็นอย้างนาคหน้าตาอย่างไหรลงงรูปใให้ดูหน่อยครับ

Unknown กล่าวว่า...

ของผมเป็น มีเขียน ไว้ที่ด้านหลังหลวงพิมพ์ว่า หลวงปู่เงิน
ผมขอเช็คราคาหน่อยครับ ว่าอยุ่ที่ประมาณเท่าไหร่ ติดต่อline sawattawas

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมมีหลวงพ่อเงินรูปหล่อ2รุ่นใครรู้จักช่วย
แนะนำหน่อยคับ

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

พระหล่อโบราณ ตำหนิอาจไม่ครบทุกจุด แต่ก็ต้องมีบ้างเหมือนหลายๆองค์ทั่วๆไป ดูที่กระแสโลหะ ทอง เงิน ทองแดง ทองเหลือง คราบสนิมจากโลหะต่างๆว่าโลหะแต่ละชนิด มีสีสนิมเป็นเช่นไร ความแห้งของเนื้อโลหะเก่าเป็นเช่นไร รอยตะไบหยาบเป็นเช่นไร รอยตะไบเมื่อผ่านอายุมากจะมีความคมหรือไม่ สักเท่าไร หากหาคำตอบเหล่านี้ได้ การดูพระรูปหล่อโบราณ คงไม่ยากสักเท่าไร
พระหล่อเบ้าทุบสมัยโบราณ เบ้าหล่อมีส่วนผสมอะไรบ้าง
ดินนวน ขี้วัวเปียก(กรอง)กรวด(ทราย) ดังนั้นพระหล่อโบราณ มักจะมีคราบขี้เบ้า ติดอยู่ และกรวดเล็กๆติดอยู่ในผิวเนื้อโลหะ...จะมีเนื้อโลหะครอบอยู่ ไม่ใช่กรวดยัดอยู่ตามซอกขององค์พระ (พระยัดกรุ ฝังดินจะมี เพื่อให้ดูเก่า เกิดสนิม) กรวดผ่านความร้อนมา จะไม่คม ขี้เบ้าเป็นเช่นไร ลองดูตูดกระทะทำกับข้าว ขออภัย หากความคิดแนวทางของผมอาจไม่เป็นไปเหมือนท่านอื่นๆ แต่บางเนื้อหาอาจช่วย นักสะสมมือใหม่ได้บ้าง แต่อย่าเชื่อทั้งหมด หมั่นหาความรู้เพิ่มจากท่านอื่นๆด้วยน่ะครับ

Unknown กล่าวว่า...

ทีนี้เรามาศึกษา งานหล่อแบบปัจจุบันกันครับ
เริ่มจากมีแบบชิ้นงานต้นแบบมาก่อนสักหนึ่งชิ้น
1ช่างจะทำการต่อก้านฉนวน
2ช่างจะทำการ อัดยาง คือแกะแม่พิมพ์ยาง
3ผ่ายาง นำชิ้นงานต้นแบบออก ตรวจตำหนิต่างๆ
4ใช้เครื่องอัดเทียนเหลว แกะหุ่นเทียน ตรวจความเรียบร้อย ตำหนิต่างๆ
5ช่างแต่งหุ่นเทียน เก็บรอยตะเข็บข้าง และทำการติดต้นหุ่นเทียน
6ตั้งหุ่นเทียนในบล๊อคเหล็ก ทำการหล่อปูนพลาสเตอร์ลงไปในบล็อค
7นำบล็อคเข้าตู้อบ เพื่อละลายเทียนออก
8เข้าสู่กระบวนการหล่อ ด้วยเครื่องดูดบล๊อค และเทโลหะต่างๆเข้าบล็อค
9นำบล๊อคที่หล่อโลหะแล้ว แช่น้ำทั้งๆที่บล๊อคยังคงร้อนอยู่ เพราะให้ปูนระเบิดตัว ออกจากบล๊อคให้มากที่สุด
10ใช้เครื่องยิงน้ำความดันสูง ล้างคราบปูนตามซอกชิ้นงานออกจนผม
11ทำการตัดช่อ ก้านฉนวน
12ช่างแต่งลบรอยก้านฉนวน และเนื้อเกินต่างๆ (เม็ดฟองอากาศ เม็ดสาคู)
13ทำการปัดเงา ชุบ รมดำ ชิ้นงานนั้นๆ
นี่คือขั้นตอนต่างๆในการหล่อ แบบสมัยใหม่ ทุกขั้นตอนมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ในขั้นตอนการทำ
สำหรับท่านที่เคยผ่านการทำงานด้านจิวเวลลี่มา น่ะจะจำขั้นตอนการหล่อได้ทั้งหมด
สำหรับการหล่อโบราณ วิธีการก็จะไม่ต่างกันมาก
เพียงแต่ขาดอุปกรณ์ และวัสดุ ที่ต้องใช้ในสมัยโบราณตามภูมิปัญญาชาวบ้าน
เช่น ดินกรองละเอียด ดินเหนียว ดินนวน
ขี้วัวเปียก กรองเศษหญ้าหยาบๆออก (โบราณ สมัยก่อนจะใช้ขี้วัวเปียก ผสมดินเหนียว ทำให้เหลวแล้วเทราดทำ ลานตากข้าว)
ซึ่งแน่นอน ขั้นตอนการทำเบ้าส่วนประกอบที่ต้องมีคือ
1ดินนวน ใช้แทนปูน
2ขี้วัวเปียก กรอง ใช้เป็นตัวยึดไม่ให้ดินแตกง่าย เหมือนยากันซึม (เพราะขี้วัวผสมดินเมื่อแห้งจะแข็ง ไม่งั้นคงใช้ทำลานตากข้าวไม่ได้)
3กรวด ทราย ใช้เป็นตัวยึดเกาะ เหมือนผสมปูนก่อสร้าง จะขาดหินไม่ได้
4ลวด เหล็ก เพิ่มการยึดเกาะ ความเเข็งแรงของเบ้า
***ข้อขัดแย้ง***ระหว่างการเทเบ้าครอบหุ่นเทียน
สมัยใหม่ใช้ปูนพลาสเตอร์ ผสมเหลว เทเข้าเบ้าครอบหุ่นเทียน เนื่องจากเทียน มีความเปราะ หักง่ายเวลาเย็นตัว
การเทปูนครอบต้องเป็นชนิดเหลวเท่านั้น จึงมักมีฟองอากาศภายใน (เม็ดสาคู) ติดผิวชิ้นงาน
***แต่การหล่อโบราณ ขึ้นอยู่กับช่างทำการ ติดตั้งหุ่นเทียน ว่าทำแบบตั้งช่อหลายๆองค์ รอบต้นหุ่นเทียน
หากทำการติดช่อ รอบต้น การทำเบ้า ต้องใช้วัสดุชนิดเหลวเท่านั้น จึงทำให้พระรูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงินมีเนื้อเกิน ที่เกิดจากฟองอากาศ(เม็ดสาคู)
***แต่หากทำการขึ้นต้นหุ่นเทียน โดยการติดแบบก้างปลา จะใช้วิธี ผสมดินแบบดินเหนียว กึ่งเหลว ใช้พอกหุ่นตามแนวนอน จะไม่มีฟองอากาศ(เม็ดสาคู)
หากเป็นวิธีนี้ หุ่นเทียนจะเสียทรง รูปแบบ จากแรงกดทับ จากดิน และน้ำหนักมือของช่าง ช่างต้องใช้ความระมัดระวังสูง
***ดังนั่น ข้าพเจ้า จึงพอสรุปตามความน่าจะเป็นได้ว่า
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา คือฝีมือการหล่อจากภูมิปัญญาชาวบ้าน น่าจะทำเบ้าแบบองค์ต่อองค์ หรือแบบก้างปลา
รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม คือฝีมือการหล่อจากช่าง กรุงเทพ(บ้านช่างหล่อ) ถึงใช้วัสดุ การหล่อโบราณ
แต่พระเมื่อหล่อเสร็จแล้ว ปรากฏฟองอากาศติดตามผิวพระ(เม็ดสาคู) ดังนั้นขั้นตอนการทำเบ้าครอบหุ่นเทียน จะต้องเป็นรูปแบบของเหลว และการเทในแนวตั้ง แบบสมัยใหม่ เพราะอุปกรณ์เครื่องมือมีความพร้อมมากกว่า (หากทำพิธีหล่อ ในกรุงเทพ วัดชนะสงคราม ตามที่มีเซียนดังหลายๆท่านวิเคราะห์สถานที่ไว้จริง)
***แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน สิ่งที่พบในหลายๆองค์คือ
1กระแสโลหะ
2คราบขี้เบ้า
3สนิมมีต่างๆของโลหะ
4กรวดทรายฝังตัวในโลหะ โดยมีโลหะคลุมทับไว้(มิใช่อยู่ตามซอกรอย ตามด เนื้อขาด
5ตามด
6รอยเหี่ยวย่น
7รอยตะใบใต้ฐาน
8ความคมชัด แนวริ้วจีวร
9ตำหนิต่างๆ อาจไม่เหมือนกันทุกองค์ แต่ตำหนิต้องมีหลายๆจุดที่มีเหมือนกัน
ใช้ดุลพินิจ วิเคราะห์เหตุผลความน่าจะเป็น หมั่นศึกษา
อย่าใช้หูดูพระ เพราะวงการพระเครื่อง เจ้าของปากมักบอกว่าพระตนเองดีกว่าของผู้อื่นเสมอ
####พยายามหาคนรู้จักที่เคยทำงานโรงงานหล่อพระ จิวเวลลี่ แล้วสอบถามขอความรู้ขั้นตอนการหล่อ จากเขา
ท่านจะไม่หลงทาง ฝีมืองานหล่อโลหะทุกประเภท
ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook