ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

ประวัติการสร้างเหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

 ประวัติการสร้างเหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี                                                        

เหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่นนี้ออกปี 2500  เหรียญชุดนี้ได้จัดสร้างโดยหลวงปู่ทองสุขในปี พ.ศ. 2500 ในปี พ.ศ. 2500 อันเป็นกึ่งพระพุทธกาลนั้น หลวงปู่ทองสุขได้จัดสร้างเหรียญเสมารุ่นนี้เป็นอีกด้วย เพื่อเป็นที่รำลึกถึงหลวงปู่เอี่ยมจึงเขียนคำว่าเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง(องค์เก่า) จึงมีนี้คำว่าเอือมไม่ไช่คำว่าเอี่ยม                                                           


ตัวอย่างเหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง


รูปหล่อหลวงปู่เอี่ยมเกือบเท่าองค์จริงสร้างเมื่อ 2480 โดยหลวงปู่กลิ่น

ประวัติหลวงปู่ทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง หรือท่านพระครูนนทกิจโสภณ เดิมท่านชื่อ ทองสุข นามสกุล บุญมี เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2446


บ้านเกิดอยู่ที่ ต. หนองขนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี บิดาชื่อนายคง บุญมี มารดาชื่อ นางแพ บุญมี ท่านมีพี่น้องรวมทั้งหมด 5 คนโดยท่าน

เป็นน้องคนสุดท้อง เมื่อตอนเล็กท่านไปเรียนหนังสือในความอุปถัมภ์ของ อาจารย์ จ้อย เจ้าอาวาสวัดเพรียง เมื่อครั้นอายุได้ 13 ปีท่านก็เดินทางไปเรียน

หนังสือที่วัดหนองหว้าจนถึงอายุ 18 ปีท่านก็เดินทางกลับมายังบ้านเกิดอยู่มาได้สักพักใหญ่ท่านก็ไปรับราชการเป็นตำรวจ จนเมื่อปี 2470 ท่านอายุได้ 24 ปี

ท่านจึงอุปสมบาทแล้วไปจำพรรษา 1 พรรษา ณ วัดหนองหว้า หลังจากนั้นท่านก็ออกธุดงค์จนพบสหายธรรมของท่าน ชื่ออาจารย์เพ็ง จากนั้นก็ชักชวนกัน

ไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดท่าเกวียน อ.ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ระหว่างนั้นหลวงพ่อทองสุขได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง จึงได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์

ร่ำเรียนธรรมะและวิชาอาคม หลังจากที่หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพ หลวงพ่อทองสุขได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง และได้รับการแต่งตั้งเป็น

พระครูนนทกิจโสภณ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2501 เครื่องรางของขลังของท่านที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ พระปิดตาและตะกรุด
หลวงพ่อทองสุขมรณะภาพเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2525 รวมอายุได้ 79 ปี ( 55 พรรษา

ประวัติหลวงปู่กลิ่นวัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี

พระครูโศภณศาสนกิจ นามเดิมว่า กลิ่น ท่านเกิด ณ วันอังคารขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู สัปตศก 1227 เวลา 2.00 น.ลักขณาสถิตเตโชธาตุ ราศีสิงค์ ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม 2408 บิดาชื่อนายเปลี่ยน มารดาชื่อนางอิ่ม จันทร์เปลี่ยน ท่านเป็นพี่ชายใหญ่เเละมีน้องสาวอีกคน บ้านเดิมของบรรพบุรุษอยู่ที่ตำบลบ้านเเพรก อำเภอนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เมื่ออายุได้ 11 ปี ท่านได้ไปศึกษาอักษรวิธี ที่วัดท้ายเมือง ตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี การศึกษาของท่านในครั้งนี้เป็นการศึกษาในอักษรไทย

ครั้นอายุได้ 17 ปี ท่านได้บรรพชา เเละได้ศึกษาอักษรขอมเเละบาลี ในสำนักท่านอาจารย์อิน วัดหงส์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี เมื่ออายุได้ 19 ปี โยมผู้หญิงของท่านได้ถึงเเก่กรรม ท่านจึงได้ลาเพศบรรพชาเเล้วกลับมาอยู่บ้านเดิมของท่าน ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายมาอยู่กับท่านอาจารย์เอี่ยม วัดสะพานสูง ตำบลบ้านเเหลมใหญ่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในฐานะเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เอี่ยม พ.ศ. 2428 ท่านอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 (เเปดหลัง) ปีระกา ตรงกับวันที่ 24 กรกฎาคม ณ พัทสีมา วัดสะพานสูง พระอาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รุ่ง วัดท้องคุ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์น้อย วัดสัลเลข (วัดสาลีโข) เมื่อท่านอุปสมบทเเล้ว มีฉายาว่า จนฺทรงฺสี ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดสะพานสูงตลอดมาท่านชอบศึกษาหนักไปทางวิปัสสนาธุระ พร้อมทั้งได้ศึกษาทางเวชศาสตร์จากพระอาจารย์เอี่ยม เป็นจำนวนมาก จนถึงเมื่อกาลพระอาจารย์เอี่ยมได้ถึงกาลมรณภาพไปเเล้ว การศึกษาเวชศาสตร์ของท่านจึงได้เบาบางลง
พ.ศ. 2438 ท่านได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง โดยความเห็นพร้อมกันเป็นเอกฉันท์ในทางฝ่ายประชาชนเเละท่างคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระปรีชาเฉลิม(เเก้ว) วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้อนุมัติ เมื่อท่านได้รับตำเเหน่งเจ้าอาวาสเเล้ว ปรากฎว่าท่านเป็นผู้มักน้อย ไม่ต้องการเเสวงหา หรือสะสมในสิ่งที่ไม่จำเป็น ถือสันโดษ ไม่มีโลภะเจตนา พร้อมทั้งได้วางหลักการปกครองวัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดมั่นในสันติวิธีทุกประการท่านมีอุปนิสัยหนักไปทางข้อวัตรปฎิบัติ เเละ ปฎิสังขรวัดวาอาราม ฉะนั้นนับเเต่ท่านได้รับตำเเหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูงเเล้ว ท่านจึงเริ่มสถาปนาวัดให้เจริญขึ้นตามลำดับ อีกประการหนึ่งท่านเป็นผู้สนใจในทางคันถธุระ คือ การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้อนุชนร่นหลังได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี เเม้ในทางปริยัติท่านได้จัดหาครูมาสอนเเละได้จัดหาสถานที่เรียน พร้อมทั้งท่านได้จัดหาหนังสือมาไว้มากมาย ยังความสะดวกเเก่ผู้ศึกษา อนึ่งท่านเป็นผู้ชำนาญในทางเวชกรรม ท่านจึงได้จัดพิมพ์ตัวยาที่ท่านเคยใช้ ไว้ข้างท้ายนี้ตามสมควร ในทางอิทธิเวช ท่านได้ศึกษามาได้อำนวยเเก่บรรดาศิษย์เเละบุคคลอื่นๆที่เจ็บป่วยมาให้หายจากโรคต่างๆ ในทางคาถาอาคม ท่านได้ปลุกเสกเลขยันต์ ย่อมเป็นที่ซาบซึ่งในอิทธิปาฎิหารย์ เเก่ศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้เข้าร่วมในพิธีปลุกเสกเเหวนมงคลเก้า เเละเสมารูปสมเด็จพระสังฆราช ของราชการหลายครั้งด้วยกัน นอกจากนี้ท่านเป็นผู้ชำนาญท่านโหราศาสตร์อีกด้วยโดยอาศัยวิชาความรู้เเละคุณธรรมของท่าน ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของบรรดาศิษย์เป็นอย่างยิ่ง


ครั้นต่อมาในปี 2447 ท่านได้รับตำเเหน่งเป็นเจ้าคณะหมวด ตำบลบ้านเเหลม ..เมื่อวันที่ 9 พฤษจิกายน 2467 ท่านได้รับตำเเหน่งเป็น พระครูโสภณศาสนกิจ

ปี 2479 ได้รับตำเเหน่งกรรมการศึกษาประจำอำเภอปากเกร็ด

ปี 2482 ได้รับตำเเน่งเป็นพระอุปัชฌา

ปี 2487 ท่านได้ตำเเหน่งเป็นกรรมการสงฆ์อำเภอ ในตำเเหน่งองค์การสาธารณปการณ์

ครั้นย่างขึ้นปี พ.ศ. 2490 ท่านย่างเข้า 82 ปี ท่านได้เริ่มป่วยด้วยโรคชราเล็กน้อย เเต่ยังไปไหนมาไหนได้เป็นปกติ ครั้นต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2490 เวลา 4.00 น.ท่านได้เริ่มป่วยเป็นลมหน้ามืด มีอาการเสียดเเทงขึ้นตามเส้นสูญของท้อง เมื่อฉันยาเเล้ว อาการก็หายปกติ ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 7 ท่านมีอาการกำเริบอีก ในวันที่ 8 อาการท่านไม่ทุเลาลง เเต่รุนเเรงทวีขึ้นตามลำดับ นายเเพทย์ได้ฉีดยาเเละถวายยาให้ฉัน อาการก็ทรงอยู่เป็นพักๆ ตามความเห็นของเเพทย์ลงความเห็นว่า กระเพาะอาหารเเละลำไส้หยุดทำงาน ครั้นถึงเวลา 19.00 น. ไตได้หยุดทำงานไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ อาการก็ทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงเวลา 1.10 น. ของวันที่ 8 มกราคม 2490 ท่านจึงไดมรณภาพลงท่ามกลางพยาบาลที่รักษาเเละบรรดาศิษย์ สิริรวมอายุได้ 82 ปี โดยประมาณพรรษากาลได้ 61 พรรษา การมรณภาพของท่านได้นำพาวิปโยคมาสู่ศิษย์


ประวัติ หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง
หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ( อ่านว่า ปะถะมะนามะ หรือ ปถมนาม ) เกิดในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๕๙ เป็นบุตรนายนาค นางจันทร์ โดยมีพี่น้องท้องเดียวกัน รวมด้วยกัน ๔ คน คือ
๑. หลวงปู่เอี่ยม

๒. นายฟัก

๓. นายขำ

๔. นางอิ่ม
บ้านเกิดของหลวงปู่เอี่ยมอยู่ที่ตำบลบานแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ อายุท่านได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด (วัดบ่อนี้อยู่คิดกับตลาดในท่าน้ำปากเกร็ด) ท่านอุปสมบท ได้ประมาณหนึ่งเดือน ท่านก็ได้ย้ายไปประจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรีซึ่งในขณะนั้นพระพิมลธรรมพร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งย้ายมาจากวัดราชบูรณะ พระนคร หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม และแปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดนี้อยู่ได้ถึง ๗ พรรษาท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประยูรวงศาวาส
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๘ อยู่วัดประยูรวงศาวาสได้ ๓ พรรษา ถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๙๑ นายแขก สมุห์บัญชีได้นิมนต์หลวงปู่เอี่ยม ไปจำพรรษาเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นเริ่มแรก และได้ศึกษาอยู่ ๕ พรรษา ถึงปี ๒๓๙๖ ญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้านภูมิลำเนาเดิมในคลองแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบันนี้ คือคลองพระอุดม) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้เดินทางมา อาราธนานิมนต์หลวงปู่เอี่ยม กลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ หรือวัดสะพานสูง ในปัจจุบันนี้

สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงนั้น มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส ท่านได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้)

ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน ๒ ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น "วัดสะพานสูง" จนตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงปู่เอี่ยม มาวัดสะพานสูงใหม่ๆ ที่วัดนี้มีพระประจำวันพรรษาอยู่เพียง ๒ รูปเท่านั้น
ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ได้ย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงได้ ๘ เดือน ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำภู พระนคร ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่เอี่ยมได้ปรารภถึงความลำบาก ด้วยเรื่องการทำอุโบสถและสังฆกรรม
เนื่องจากสถานที่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลยสมบัติ ท่านจึงได้บอกบุญเรี่ยไรหาเงินมา เพื่อก่อสร้างโบสถ์ และถาวรสถานขึ้น จึงเป็นที่เข้าใจกันว่าหลวงปู่เอี่ยม ได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก
เพื่อเป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรสถาน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้สร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีกหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระเจดีย์ฐาน ๓ ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้มาอยู่วัดสะพานสูง ท่านได้ไปธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมร

โดยมีลูกวัดติดตามไปด้วยเสมอ แต่ท่านจะให้ลูกวัดออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ๖-๗ ชั่วโมง แล้วจะนัดกันไปพบที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วท่านหลวงปู่เอี่ยม ได้ไปพบชีปะขาวชาวเขมรท่านหนึ่งชื่อว่าจันทร์หลวงปู่เอี่ยม จึงได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากท่านอาจารย์ผู้นี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่นึกว่าท่านออกธุดงค์ไปได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว เนื่องจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้กลับมาที่วัดหลายปี
จึงได้ทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน ทำให้ท่านหลวงปู่เอี่ยม ทราบในญาณของท่านเอง และท่านหลวงปู่เอี่ยม จึงได้เดินทางกลับมายังวัดสะพานสูง การไปธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่เอี่ยม ได้ไปเป็นเวลานาน และอยู่ในป่าจึงปรากฏว่าท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้ปลงผม ผมจึงยาวถึงบั้นเอว จีวรก็ขาดรุ่งริ่ง หมวดท่านยาวเฟิ้มพร้อมมีสัตว์ป่าติดตามท่านหลวงปู่เอี่ยม มาด้วย อาทิเช่น หมี, เสือ, และงูจงอาง ฯลฯ
จากการเจริญกรรมฐานนี้ จึงทำให้หลวงปู่เอี่ยมสำเร็จ "โสฬส" มีเรื่องเล่ากันว่ามีต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีน้ำมันตกและดุมากเป็นที่เกรงกลัวแก่ชาวบ้านแถบนั้น หลวงปู่จึงช่วยยืนเพ่งอยู่ ๓ วันเท่านั้น ต้นตะเคียนก็เฉาและยืนต้นตาย หลวงปู่เป็นผู้มีอาคมฉมัง วาจาสิทธิ์ มักน้อยและสันโดษ ท่านเป็นต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนี้ ท่านได้สร้างถาวรวัตถุที่ได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้คือพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์ จึงเป็นที่มาของการสร้างพระปิดตา และตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลอันลือลั่นนั่นเอง
ท่านหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระผู้มีอาคมขลัง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มักน้อย ถือสันโดษ ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่เอี่ยม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนครนับถือท่านมากจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า “ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้ว ถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่ง และให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย” ซึ่งท่านหลวงปู่เอี่ยมก็ตอบว่า “ถ้ามีเหตุทุกข์เกิดขึ้นให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน”หลวงปู่เอี่ยมท่านได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ รวมอายุได้ ๘๐ ปี บวชได้ ๕๙ พรรษา



ก่อนที่ท่านจะมรณภาพได้มีศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นตัวแทนของชาวบ้าน และผู้เคารพนับถือศรัทธา ที่มีและไม่มีของมงคลท่านไว้บูชา กราบเรียนถามหากว่าเมื่อหลวงปู่เอี่ยม ได้มรณภาพแล้วจักทำประการใด ท่านจึงได้มีปัจฉิมวาจาว่า " มีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา"



จึงเป็นที่ทราบและรู้กันว่า หากผู้ใดต้องการมอบตัวเป็นศิษย์หรือต้องการให้ท่านช่วยแล้วด้วยความศรัทธายิ่ง ก็ให้เอ่ยระลึกถึงชื่อของท่าน ท่านจะมาโปรดและคุ้มครองและหากเป็นเรื่องหนักหนาก็บนตัวบวชให้ท่าน รูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงปู่เอี่ยม ท่านประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ สร้าง(หล่อ) ขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๘๐ ในสมัยหลวงปู่กลิ่น ผู้ปกครองวัดต่อจากท่าน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาจนทุกๆวันจะมีผู้ศรัทธาจากทุกสารทิศมากราบไหว้และบนบานฯ ตลอดเวลาตราบแสงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ท่านชอบกระทงใส่ดอกไม้เจ็ดสี จะมีผู้นำมาถวายและแก้บนแทบทุกวันโดยเฉพาะในวันพระแม้แต่ผงขี้ธูปและน้ำในคลองหน้าวัดก็ยังมีความ"ขลัง" อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
และหลังจากที่ท่านมรณภาพล่วงไปเนิ่นนานแล้วก็ตามที ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ผลปรากฏว่าฐานที่ท่าน เคยถ่ายทุกข์เอาไว้และปิดตาย คราวที่เกิดไฟไหม้ป่าช้า ฐานของหลวงปู่เอี่ยม เพียงหลังเดียวเท่านั้นที่ไม่ไหม้ไฟ
เมื่อความอัศจรรย์ปรากฏขึ้นเช่นนั้น ผู้คนจึงค่อยมาตัดเอาแผ่นสังกะสีไปม้วนเป็นตะกรุดจนหมดสิ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมารื้อเอาตัวไม้ไปบูชาจนไม่เหลือหรอ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่ได้อะไรเลยก็มาขุดเอาอุจจาระของท่านไปบูชา




2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Wow that was odd. I just wrote an really long comment but
after I clicked submit my comment didn't appear. Grrrr...
well I'm not writing all that over again. Anyway, just wanted to say superb
blog!

My webpage: search engine

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

I used to be recommended this blog by my cousin. I'm no longer positive whether or not this publish is written via him as
nobody else recognise such distinctive approximately my problem.

You are wonderful! Thanks!

my website buy valtrex hockey night in canada

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook