ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม                                                                                           หนังสือพระสมเด็จวัดระฆังเล่มล่าสุดของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม


หนังสือทุกเล่มที่ออกโดยชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามทางสมาคมในเเบบมาตรฐานนั้นยังไม่มีการนำเสนอเเต่ก็ยังมีการยืนยันจากเสี่ยกล้าว่าถ้ามีพระสมเด็จพิมพ์ทรงเนื้อหาเเบบในหนังสือก็สามารถขายให้กับชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามนี้ได้ท่านผู้อ่านควรพิจารณาเองครับ
        พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์โดย "ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม" ซึ่งมีนายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ "เสี่ยกล้า" เป็นประธานชมรม โดยมีความหนากว่า ๔๐๐ หน้า สี่สีทั้งเล่ม เข้าเล่มเย็บกี่อย่างดี วางจำหน่ายตามแผงหนังสือชั้นนำ แม้ว่าเซียนพระของสมาคมพระเครื่องจะระบุว่าเป็นการเล่นพระผิดทาง รูปพระสมเด็จที่จัดพิมพ์ในหนังสือเป็นพระที่วงการไม่เล่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการเล่นพระและซื้อหนังสือในแนวของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม

ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ เสี่ยกล้าได้พิมพ์หนังสือออกมาจำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม ซึ่งเป็นเล่มแรก จำหน่ายในราคาเล่มละ ๑,๔๐๐ บาท ปัจจุบันขายหมดแล้ว กลายเป็นหนังสือหายากเล่มหนึ่ง และราคาขยับขึ้นในราคาเล่มละ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ส่วนเล่มที่ ๒ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ออกำหน่ายเล่มละ ๒,๕๐๐ บาท โดยได้รับความนิยมไม่แพ้เล่มแรก และล่าสุดได้พิมพ์เป็นเล่มที่ ๓ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม จำหน่ายเล่มละ ๒,๕๐๐ บาท ทั้งนี้จะเปิดตัวและวางจำหน่ายที่ร้านหนังสือชั้นนำ ในวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ในการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มนั้นเสี่ยกล้าลงทุนไม่ตำกว่าครั้งละประมาณ ๒ ล้านบาท แต่ละเล่มใช้เวลารวบรวมประมาณ ๒-๕ ปี โดยมีความตั้งใจว่า เมื่อรวมรวมแม่พิมพ์ได้พอสำหรับจัดพิมพ์ หรือประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ พิมพ์ ก็จะพิมพ์เพิ่มเป็นเล่มที่ ๔ เล่มที่ ๕ ส่วนภาพพระสมเด็จที่ปรากฏในหนังสือนั้นเป็นการเรียงตามลำดับแม่พิมพ์ที่ค้นพบ ในช่วงเวลาต่างๆ เล่มแรกมีแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้งหมด ๙๒ พิมพ์ เล่มสองมีแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้งหมด ๒๐๐พิมพ์ และเล่มสามมีแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้งหมด ๓๐๐ รวมแล้วมีกว่า ๕๐๐ พิมพ์
เมื่อครั้งหนังสือเล่มแรกออกวางจำหน่าย มีเสียงสวดจากคนวงการพระเครื่องว่า ภาพพระสมเด็จในหนังสือไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่พระที่คนในวงการพระเครื่องยอมรับกัน ไม่ใช่พิมพ์ที่นิยม ในฐานะที่คนทำหนังสือ เสี่ยกล้า บอกว่า “รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้โกรธแค้นคนที่มาสวดหนังสือแต่อย่างไร เพราะถ้าหนังสือไม่ดีจริงในสัปดาห์แรกของวางจำหน่ายมียอดขายกว่า ๑,๐๐๐ เล่ม ที่สำคัญวันนี้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า คุณภาพหนังสือไม่แตกต่างจากหนังสือเล่มอื่นๆ ในวงการพระเครื่อง วันนี้หนังสือเล่มแรกขายหมด และราคาก็ขยับขึ้นไปที่เล่มละ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท”
เสี่ยกล้า บอกว่า ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม ตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ สมัยนั้นพระสมเด็จมีราคาอยู่ไม่ถึงแสนบาท คนเล่นหากันน้อยมาก มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการดูพระเช่นเดียวกับชมรมและสมาคมพระเครื่องกลุ่มอื่นๆ พระเครื่องแต่ละองค์ที่ลงในหนังสือต้องผ่านความเห็นของชมรม ไม่ใช่เป็นพระของคนใดคนหนึ่งที่มองว่าแท้แล้วเอามาลงโดยพละการหนังสือที่พิมพ์ออกมาจำหน่ายนั้น ผมมีความตั้งใจว่า ผู้ที่ซื้อหนังสือไปสามารถเรียนรู้การดูพระสมเด็จด้วยตัวเอง เพราะการเรียนรู้พระสมเด็จในปัจจุบันถูกผูกขาดโดยเซียนพระกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งๆ ที่ทุกคนน่าจะเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
จากประสบการณ์ที่ทำธุรกิจพิมพ์และย้อมผ้า แม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีในการผสมสีที่ถือว่าสุดยอด สีของผ้าที่พิมพ์ออกมายังเพี้ยน นับประสาอะไรกับพระสมเด็จที่เป็นเนื้อผง ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรในการควบคุมการผสมมวลสาร การกดแม่พิมพ์ พระสมเด็จจึงมีความหลากหลายทำเนื้อและพิมพ์ พระสมเด็จ ๑ พิมพ์อาจจะมีหลายเนื้อ และเนื้อเดียวอาจจะมีหลายพิมพ์ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะไม่มีการบันทึกอะไรที่เป็นหลักฐานไว้อย่างชัดเจนเช่นในปัจจุบัน
"วงการพระเครื่องจะยอมรับหรือไม่ยอมรับนั้นไม่ใช่วสาระสำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า พระเครื่ององค์เดียวกันแท้ๆ ตาเซียนพระเครื่องแต่ละตาแต่ละคนยังมีมุมมองที่ต่างกัน เซียนกลุ่มหนึ่งที่เสียงดังกว่าอาจจะมองว่าปลอม แต่เซียนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าแท้ แต่เผอิญว่า เซียนกลุ่มแรกเสียงดังกว่า พระที่แท้ก็กลายเป็นพระปลอมได้ ขณะเดียวกันพระที่ปลอมก็กลายเป็นพระแท้ได้เช่นกัน" เสี่ยกล้ากล่าว
พร้อมกันนี้ เสี่ยกล้า ยังบอกด้วยว่า ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้เล่นพระมีมาอย่างต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงในการจัดสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าท่านลงมือสร้างเมื่อใด แต่ก็มีผู้สันนิษฐานที่แอบอ้างว่ามีการสร้างจำนวนน้อย เช่น อ้างว่ามี ๔ พิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงมีเพียง ๔-๕ แบบบล็อกแม่พิมพ์เท่านั้น ซึ่งมีปัญหาว่าทั้งๆ ที่ผู้แอบอ้างว่ารู้ดีนั้นก็เกิดไม่ทันเหมือนกัน ทำไมจึงไม่คิดว่าแนวการเล่นของกลุ่มตนเป็นการเล่นในแนวที่คับแคบ หลงผิด หรือเล่นเพื่อผูกขาดตัดตอน เคยคิดบ้างไหมว่าแนวทางที่เล่นนั้นผิด ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำลายบล็อกแม่พิมพ์อื่นๆ ที่สมเด็จโตสร้างขึ้นมา
ใครมีพระตามหนังสือเอามาขายได้
เสี่ยกล้า บอกว่า ปัจจุบันนี้ พระแท้ไม่แท้อยู่ที่องค์พระ ไม่ได้อยู่ที่คนดู ผู้ที่ได้รับพระเครื่องที่เป็นมรดกตกทอดจากปู่ ยา ตา ยาย รวมทั้งผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หากนำพระที่ห้อยอยู่ไปให้เซียนพระดูแล้วบอกว่าเป็นพระไม่ถึงยุค ก็อย่าคิดถอดพระหรือไม่แขวนพระองค์นั้นเลย ให้คิดเสียว่า เซียนตาไม่ถึง หรือมีความรู้ไม่มากพอ และให้คิดเสียว่า พระองค์นั้นๆ เป็นของที่ระลึก ผู้ให้มีเจตนาดี พระทุกองค์สามารถใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้เสมอ
ภาพพระสมเด็จในหนังสือนั้น เสี่ยกล้า ยืนยันว่า เป็นพระสมเด็จที่มีคนรุ่นก่อนเล่นหา และสะสมกัน ปัจจุบันกลายเป็นพระหายาก มีการเช่าซื้อกันในราคาหลักล้าน เช่นเดียวกับพระสมเด็จที่ซื้อขายกันในวงการพระเครื่อง เช่น พระสมเด็จพิมพ์ที่ ๑๓ เนื้อกระยาสารท มีการเช่าซื้อกันในราคา ๓.๕ ล้านบาท ทั้งนี้ที่ผ่านมานั้นได้ประกาศว่า ”หากใครมีพระสมเด็จถูกต้องตามพิมพ์ในหนังสือกว่า ๕๐๐ พิมพ์ สามารถนำมาเปิดขายได้ ถ้าถูกต้องตามหนังสือแม้ว่าจะไม่มีข้อสรุปหรือตกลงราคาในการขาย ยินดีที่จะจ่ายค่ารถและค่าเสียเวลา ๑๐,๐๐๐ บาท ทุกวันนี้ยังประกาศรับซื้ออยู่ โดยมีคนประกาศรับซื้อทั้งหมด ๕๒ พิมพ์ ในราคาหลักแสน และในจำนวนนี้มีอยู่ถึง ๑๕ พิมพ์ ที่ได้เสนอค่ารถและค่าเสียเวลา ๑๕,๐๐๐ บาท เพราะเขาอยากได้พระมากๆ”
"คุณเล่นกับแบบไหนผมไม่สนใจ หากคุณมีพระตรงตามพิมพ์และเนื้อตามที่ปรากฏในหนังสือ ถือมาขายผมได้ เฉพาะพิมพ์ที่ ๑-๒๐ มีคนกล้ารับซื้อในหลักล้าน เอามาเปิดราคาได้เลย ทีผ่านมามีคนนำพระสมเด็จมาขายหลายราย และอยู่ในหลักล้านทุกองค์ ถ้าพระสมเด็จที่ผมใช้อยู่เป็นของปลอม แล้วปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้นมันเกิดขึ้นได้อย่าง ถึงจะปลอมในสายตาคนอื่นแต่ปาฏิหาริย์นั้นเป็นของจริง แล้วจะบอกว่าพระสมเด็จที่แขวนอยู่นั้นเป็นของปลอมได้อย่างไร” เสี่ยกล้าพูดทิ้งท้าย

ข้อมูลเเละภาพจากเว็บหนังสือคมชัดลึก  http://www.komchadluek.net/detail/20120716/135234/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD'%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AF'%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94.html เรื่อง / ภาพ โดย คุณไตรเทพ ไกรงู


คอลัมน์: สกู๊ปพิเศษพระเครื่อง: คุยเฟื่องเรื่องพระสมเด็จวัดระฆัง เสี่ยกล้าประกาศรับซื้อหลักแสนแถมค่ารถ
นานปีจะมีข่าวของคนกล้าคิดกล้าทำมาให้อ่านกัน เขาชื่อ กล้า เกษสุรินทร์ชัยหรือเสี่ยกล้า เป็นประธานชมรมอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม ชมรมนี้มีมาเกือบ 40 ปีแล้ว และสนใจศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังอย่างเงียบๆ มานานนับเป็นสิบปีทีเดียว

จักรพรรดิแห่งพระเครื่องเมืองไทย ยกให้พระสมเด็จวัดระฆังเป็นเจ้าจักรพรรดิของพระเนื้อผง ทั้งมวล เสี่ยกล้าบอกว่า ตนศึกษาค้นคว้ามาตั้งแต่ปี 2518 แล้ว คนโบราณรุ่นปู่ย่าได้พระวัดระฆังรวมแล้วถึง 52 พิมพ์ด้วยกัน แม้พวกเซียนขาใหญ่เขาจะคัดเหลือแค่ 5 พิมพ์ เสี่ยกล้ายังยืนยันใครมีพิมพ์โบราณแบบในหนังสือที่ชมรมอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามรวบรวมไว้นำมาปล่อยได้เลยรับเช่าหมด
เสี่ยกล้า ประธานชมรมฯ สะสมพระเครื่องสยามบอกด้วยว่า สมัยปี 2518 พระสมเด็จราคาไม่ถึงแสน คนยังเล่นหากันน้อย พวกเราที่รวมตัวเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้กับคนหลายระดับ ที่เล่นหาพระสมเด็จสมัยโน้นเกือบ 40 ปีแล้ว และ รวบรวมพระที่มีพิมพ์และเนื้อที่คนรุ่นก่อนเล่นหาไว้ได้ถึง 52 พิมพ์จริง

เซียนพระยังมีมุมมองต่างกันทั้งที่พระองค์เดียวกัน บางคนบอกปลอม บางคนบอกแท้ เสี่ยกล้าบอกแต่หาก มาดูว่าคนโบราณเขาเก็บรักษาไว้ถึงรุ่นเราได้ไม่ธรรมดาจึงรวบรวมทำประวัติ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือ ชื่อพระสมเด็จวัดระฆัง จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย หนา 490 หน้า เล่มละ 2,650 บาท จะเปิดตัวเผยแพร่เป็นปฐมฤกษ์วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม นี้แหละ



ในหนังสือเล่มนี้เสี่ยกล้ายืนยันว่า เป็นพระสมเด็จรุ่นเก่ารุ่นก่อนที่คนโบราณเล่นหาสะสมกันไว้ หากใครมีพระสมเด็จ ถูกต้องตามพิมพ์ที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ยินดีจ่ายองค์ละเป็นแสนเป็นล้าน แถมค่ารถ 10,000-15,000 บาท และค่าเสียเวลาอีกต่างหาก เขาชื่อกล้าและกล้าจริงขนาดนี้จะไม่สนเปิดอ่านเชียวหรือ
สนใจอยากเป็นแฟนคลับกับเสี่ยกล้า จองหนังสือของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามได้ตามสนามพระทั่วไปแล้วพบกับโฉมใหม่พระสมเด็จรุ่นเก่าที่คนรุ่นก่อนเขาเล่นหากัน...แม้คนรุ่นใหม่บอกนอกพิมพ์ก็ตาม
ข้อมูลจากเว็บ http://www.ryt9.com/s/bmnd/1450540
มาตรฐานพระสมเด็จฯเรื่องขนาดของพระ...'อ.ตรียัมปวาย'

มาตรฐานพระสมเด็จฯเรื่องขนาดของพระ..."อ.ตรียัมปวายกับเสี่ยกล้า" : เรื่อง / ภาพโดย ไตรเทพ ไกรงู 0


"ประเภทของหนังสือพระ" หากพิจารณาตามหลักความเก๊แท้ของภาพพระที่ปรากฏในหนังสือ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ประเภท คือ ๑.หนังสือพระแท้ทั้งเล่ม ๒.หนังสือพระเก๊ทั้งเล่ม และ ๓.หนังสือพระแท้ปนกับพระเก๊ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า หนังสือพระแท้ทั้งเล่มมีจำนวนมากและครองส่วนแบ่งตลาดหนังสือพระมากที่สุด แต่ที่น่าสนใจคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มเริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดหนังสือพระ และนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การจัดพิมพ์หนังสือที่มีภาพพระเก๊ ทั้งเล่ม เท่าที่พบในปัจจุบันมากที่สุดต้องยกให้ การจัดพิมพ์หนังสือพระสมเด็จซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ เล่ม ส่วนพระอื่นๆ ยังไม่มีให้เห็น ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะคุณภาพหนังสือภายนอกไม่เกี่ยวกับภาพพระและเนื้อหาภายใน หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มพิมพ์ได้ดีไม่แตกต่างจากหนังสือพระแท้ทั้งเล่ม ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มคุณภาพการพิมพ์และออกแบบดีกว่าด้วยซ้ำ
กรณีการจัดพิมพ์หนังสือ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" โดย "ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม" ซึ่งมีนายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ "เสี่ยกล้า" เป็นประธานชมรม มีความหนากว่า ๔๐๐ หน้า สี่สีทั้งเล่ม เข้าเล่มเย็บกี่อย่างดี วางจำหน่ายตามแผงหนังสือชั้นนำ แม้ว่าเซียนพระของสมาคมพระเครื่องจะระบุว่าเป็นการเล่นพระผิดทาง รูปพระสมเด็จที่จัดพิมพ์ในหนังสือเป็นพระที่วงการไม่เล่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการเล่นพระและซื้อหนังสือในแนวของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม

ทั้งนี้ ถ้าอ่านเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาพระสมเด็จโดยไม่มีอคติใดๆ บางส่วนของข้อมูลใน "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" ก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะข้อมูลที่เขียนถึงการวัดขนาดของพระสมเด็จด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์ ซึ่งเมื่อครั้งที่ พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย ผู้ขนานนาม "พระเครื่องชุดเบญจภาคี" พิมพ์หนังสือ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อ พระสมเด็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งหนังสือพระสมเด็จ ก็มีการใช้เครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์เช่นกัน



ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อง พระสมเด็จ อ.ตรียัมปวาย ได้เขียนถึงขนาดของพระสมเด็จฯ ว่า “เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดขนาดพระสมเด็จเป็นมาตรฐาน เพราะพระสมเด็จนั้นถูกสร้างด้วยพิมพ์หลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็มีขนาดแตกต่างออกไปบ้าง ขณะเดียวกันส่วนผสมของเนื้อไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน บางชนิดเวลาผ่านไปเนื้ออาจจะฟูขึ้น บางชนิดกลับหดตัวลง รวมทั้งการตัดพิมพ์บางคนก็ตัดชิด บางคนก็เหลือปีกไว้มาก ส่วนขนาดความหนาก็เอาความแน่นอนไม่ได้บางคนมือหนักบางคนมือเบา
ทั้งนี้ อ.ตรียัมปวาย ได้วัดนาดของพระไว้ ทุกพิมพ์เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม. พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๗๐ ชม. พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม. พระสมเด็จวัดบางขุนพรหง พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.

ส่วนการวัดขนาดของพระสมเด็จในหนังสือพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งประเครื่องไทยก็มีเช่นกัน แต่วัดคนละจุดกันคือ วัดซุ้มครอบแก้ว ทั้งนี้เสี่ยกล้า ได้อธิบายว่า ขนาดกรอบนอกนั้นเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดเป็นมาตรฐาน เพราะขึ้นอยู่กับการตัดในแต่ละครั้ง ขณะเดียวกันด้วยระยะเลาที่สร้างนานการหดตัวของมวลสารองพระแต่ละองค์ย่อมไม่เท่ากัน แต่ที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกองค์ คือ “ซุ้มครอบแก้ว” ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีผู้รู้ ไม่มีหนังสือคู่มือพระสมเด็จเล่มใดเขียนถึง ทั้งนี้ไม่มีการวัดอย่างละเอียด เพียงบอกความสูงขององค์พระโดยประมาณ ทั้งนี้คำว่า “โดยประมาณ” ก็ไม่ได้มีการวัดไม่มีมาตรฐานที่แท้จริง จุดสำคัญนี้ไม่มีเปิดเผย เรียนรู้ยาก จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผิดพิมพ์” หรือไม่ก็ “องค์นี้เล็กไป องค์นี้ใหญ่ไป” ทั้งนี้หากวัดเฉพาซุ้มขอบแก้ว จะได้ข้อยุติเรื่องขนาดของพระสมเด็จ ด้วยเหตุที่ว่า
๑.ซุ้มครอบแก้วเป็นแม่พิมพ์ส่วนหนึ่งซึ่งแกะพร้อมกับองค์พระ ความสูงของครอบแกวตั้งอยู่ระหว่าง ๓๔.๗ มิลลิเมตร - ๓๕.๓ มิลลิเมตร
๒.ความสูงของซุ้มครอบแก้ว เป็นส่วนสูที่สุดของแม่พิมพ์ ศึกษาและวิเคราะห์สังเกตได้ง่ายที่สุด
๓.เมื่อนำพระสมเด็จพิมพ์เดียวกันหลายองค์มาวัดอย่างละเอียด จะพบว่าจะมีขนาดเท่ากัน ใช้เป็นมาตรฐานสากล ส่วนขนาดขององค์นั้นพิมพ์เดียวกันถ้าตดขอบไม่เท่กัน รวมทั้งเก็บในสภาพต่างกันการหดตัวของมวลสารย่อมไม่ท่ากัน ขนาดภายถึงไม่เป็นมาตรฐาน



“ความสูงของซุ้มครอบแก้วเป็นขนาดที่วัดด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ได้เพียงอย่างเดียว ถ้ามีความแม่นยำในจุดนี้ย่อมสามารถนำไปเปรียบเทียบเป็นต้นแบบในการพิจารณาพระสมเด็จได้เป็นประกรแรก จากนั้นก็พิจารณาเรื่องมวลสารซึ่งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ด้วยเหตุที่ว่าในการจัดสร้างพระสมเด็จนั้น ใน ๑ พิมพ์ จะมีกันหลายเนื้อ เพราะว่าระยะเวลาการสร้างนั้นนาน” เสี่ยกล้ากล่าว
ทางเลือกของคนเล่นพระสมเด็จฯ

เมื่อครั้งที่ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามพิมพ์หนังสือเล่มแรกออกวางจำหน่าย มีเสียงสวดจากคนวงการพระเครื่องว่า ภาพพระสมเด็จในหนังสือไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่พระที่คนในวงการพระเครื่องยอมรับกัน ไม่ใช่พิมพ์ที่นิยม ในฐานะที่คนทำหนังสือ เสี่ยกล้า บอกว่า “รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้โกรธแค้นคนที่มาสวดหนังสือแต่อย่างไร ผมทำหนังสือเพื่อขายให้คนที่สนใจพระสมเด็จในแนวของผม ผิดด้วยหรือที่ผมจะซื้อขายพระสมเด็จที่ผมคิดว่าแท้ด้วยเงินของผม ซึ่งที่ผ่านมาผมไม่เคยโต้ตอบหรือสวดพระขององค์กรอื่นๆ น่าจะเปิดใจให้กว้างในเรื่องการเรียนรู้พระเครื่อง



วงการพระเครื่องจะอมรับหรือไม่ยอมรับนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า พระเครื่ององค์เดียวกันแท้ๆ ตาเซียนพระเครื่องแต่ละตาแต่ละคนยังมีมุมมองที่ต่างกัน เซียนกลุ่มหนึ่งที่เสียงดังกว่าอาจจะมองว่าปลอม แต่เซียนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าแท้ แต่เผอิญว่า เซียนกลุ่มแรกเสียงดังกว่า พระที่แท้ก็กลายเป็นพระปลอมได้ ขณะเดียวกันพระที่ปลอมก็กลายเป็นพระแท้ได้เช่นกัน
สำหรับความเห็นที่ไม่ตรงกันขระหว่างกลุ่มผู้เล่นพระนั้น เสี่ยกล้า บอกว่า มีมาอย่างต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงในการจัดสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุ ฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าท่านลงมือสร้างเมื่อใด แต่ก็มีผู้สันนิษฐานที่แอบอ้างว่ามีการสร้างจำนวนน้อย เช่น อ้างว่ามี ๔ พิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงมีเพียง ๔-๕ แบบบล็อกแม่พิมพ์เท่านั้น ซึ่งมีปัญหาว่าทั้งๆ ที่ผู้แอบอ้างว่ารู้ดีนั้นก็เกิดไม่ทันเหมือนกัน ทำไมจึงไม่คิดว่าแนวการเล่นของกลุ่มตนเป็นการเล่นในแนวที่คับแคบ หลงผิด หรือเล่นเพื่อผูกขาดตัดตอน เคยคิดบ้างไหมว่าแนวทางที่เล่นนั้นผิด ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำลายบล็อกแม่พิมพ์อื่นๆ ที่สมเด็จโตสร้างขึ้นมา

ที่มาข้อมูลเว็บคมชัดลึก http://www.komchadluek.net/detail/20120814/137639/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AF%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0...'%E0%B8%AD.%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2'.html
อ่านข้อมูลในบทความทั้งหมดควรใช้วิจารณาญาณด้วยตัวท่านเองครับเพราะว่าไม่รู้ผู้จัดทำหนังสือต้องการขายหนังสือหรือเปล่าหรือถ้าผู้อ่านเเล้วทางชมรมมีการรับซื้อพระสมเด็จจริงตามที่มีในหนังสือก็ควรจะสอบถามติดต่อทางชมรมนี้โดยเฉพาะเพราะไม่เกี่ยวข้องทางสมาคมพระเครื่องเเห่งประเทศไทยทั้งสิ้น ขอบคุณครับ




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook