สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อคราวที่แล้วได้พูดถึงเรื่องการเทศน์สอนของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ผ่านไปแล้ว ผมได้นำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังทั้งสี่พิมพ์มาให้ชม และพูดถึงเรื่องแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังว่าแต่ละพิมพ์นั้นมีแม่พิมพ์ย่อยไปอีก ซึ่งบางท่านที่กำลังศึกษาเรื่องจุดตำหนิเเละเเม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมอยู่อาจจะมีข้อสงสัยบางประการว่า ทำไมแต่ละองค์ถึงได้มีบางอย่างผิดกันอยู่บ้าง ครับก็เนื่องจากในจุดตำหนิเเละเเม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้นยังมีแม่พิมพ์อยู่อีกถึง 4 แม่พิมพ์ ในแต่ละแม่พิมพ์นั้นก็มีความเหมือนกันอยู่ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเป็นพระพิมพ์ใหญ่เหมือนกันแต่ต่างแม่พิมพ์กันเท่านั้น
ทำไมจึงมีแม่พิมพ์หลายตัว เรื่องนี้สันนิษฐานว่าที่มีแม่พิมพ์หลายตัวในแต่ละพิมพ์ก็คงจะเนื่องมาจากการสร้างพระจำนวนมากๆ ก็ต้องมีคนช่วยกันกดพิมพ์พระอยู่หลายคน จึงต้องทำแม่พิมพ์เผื่อไว้หลายๆ ตัวนั่นเองครับ ในการแกะแม่พิมพ์นั้นสันนิษฐานว่าจะเป็นช่างคนเดียวกัน จึงมีเอกลักษณ์ที่เหมือนกัน ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม เอกลักษณ์ที่เหมือนกันทุกๆ แม่พิมพ์คือองค์พระจะดูผึ่งผายหัวไหล่ตั้งและองค์พระจะใหญ่กว่าพระทุกๆ พิมพ์สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อหัวไหล่ด้านขวาขององค์พระจะหนากว่าด้านซ้าย ซึ่งเนื้อหัวไหล่ด้านซ้ายจะคอดกิ่วกว่าด้านขวา ซึ่งจุดนี้จะเห็นได้ง่ายและมีทุกๆ แม่พิมพ์ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม เส้นกรอบของแม่พิมพ์ด้านขวามือเรา เส้นขอบนี้จะเห็นว่าวิ่งจากด้านบนลงมาจรดซุ้มครอบแก้วที่ตำแหน่งใกล้ๆ กับข้อศอกขององค์พระ ส่วนเส้นขอบแม่พิมพ์อีกด้านหนึ่งนั้นปลายของเส้นขอบจะมาจรดกับเส้นซุ้มครอบแก้วที่หัวฐานซุ้มครอบแก้วพอดี ซึ่งก็จะเหมือนๆ กันทุกๆ แม่พิมพ์ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ทั้ง 4 แม่พิมพ์ เอาละเราลองมาดูกันว่าทั้ง 4 แม่พิมพ์นั้น มีอะไรบ้างที่แตกต่างกัน
ครับขนาดขององค์พระเราจะไม่พูดถึง เนื่องจากพอจะสังเกตได้ว่าบางองค์ดูผอมกว่าบ้าง ล่ำกว่าบ้างในแต่ละแม่พิมพ์ มาดูในส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดเจนก็คือ 1.พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่มีเส้นแซมใต้หน้าตักขององค์พระ แม่พิมพ์นี้จะพบน้อย องค์พระจะดูใหญ่กว่าทุกแม่พิมพ์ จะสังเกตเห็นได้ว่า ที่ใต้หน้าตักขององค์พระจะมีเส้นแซมอยู่ที่ใต้หน้าตักขององค์พระ ในแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม อื่นๆ จะไม่มี
2.พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม พิมพ์อกวี พระแม่พิมพ์นี้ดูจะมีจำนวนเยอะกว่า พบเห็นได้เป็นส่วนใหญ่ พระแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมนี้ ที่ส่วนอกจะมีลักษณะผายด้านบนและสอบลงด้านล่างที่แสดงเป็นส่วนท้องมากกว่าพิมพ์แรก จึงเห็นเป็นคล้ายรูปตัว V ในภาษาอังกฤษ
3.พิมพ์อกกระบอก พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม พระแม่พิมพ์นี้ ส่วนที่แสดงเป็นหน้าอกจะไม่สอบลงมาแบบพิมพ์ที่ 2 แต่จะขอดเล็กน้อยที่ใต้หน้าอกและผายออกอีกทีตอนที่แสดงเป็นส่วนท้อง แม่พิมพ์นี้พบน้อยเช่นกันในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม
4.พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พระพิมพ์นี้ดูองค์พระจะผอมๆ กว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ซักเล็กน้อย ลักษณะอกก็เป็นแบบอกวี แต่จะสังเกตเห็นพระเกศจะยาวทะลุเส้นซุ้มครอบแก้วได้อย่างชัดเจน
ครับในส่วนอื่นๆ นั้นก็จะมีข้อแตกต่างกันไปอีกบ้าง แต่ที่สังเกตได้ชัดๆ ที่ผมได้กล่าวมานั่นแหละครับ แต่ความแตกต่างทั้งหลายเหล่านี้ ก็ต้องมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่หลายอย่างเช่นกันตามที่ผมได้กล่าวไว้ในตอนแรก จุดตำหนิหรือข้อสังเกตของการพิจารณาพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯนั้นความจริงยังมีอีกมาก แต่ในที่นี้เนื้อที่จำกัดจึงนำมา บอกเล่าในส่วนที่เห็นกันได้ชัดๆ เพื่อผู้ที่กำลังศึกษาจะได้หายสงสัยว่าทำไมพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมที่แท้ๆ เหมือนกันจึงมีข้อแตกต่างกันได้ ถ้าเราได้ข้อมูลที่ถูกต้องและหมั่นศึกษาแม่พิมพ์ดูก็จะทำให้เข้าใจได้ไม่ยากนักครับ
ครับลองดูจากรูปที่ผมนำมาให้ชมครบทั้ง 4 แม่พิมพ์ดูก่อนนะครับ ค่อยๆ ทำความเข้าใจว่ามีอะไรบ้างที่เหมือนๆ กัน และมีอะไรบ้างที่แตกต่างจากกัน แล้วก็จะค่อยๆ เข้าใจได้ครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
ขอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พบกันตามสัญญาครับ วันนี้ผมก็มีรูปพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เเละขอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม มาให้ดูอีกสององค์ และจะบอกจุดดูให้หนึ่งจุด เอาแค่เพียงจุดเดียวก่อน แล้วท่านลองดูพระของท่านดู ว่าจะเป็นอย่างที่ผมบอกหรือเปล่า ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ก็น่าจะเป็นพระปลอม แต่ถ้ามีใกล้เคียงกัน ก็อาจจะเป็นพระแท้ก็ได้ อาจจะเท่านั้นนะครับ เพราะความจริงแล้วต้องมีหลายๆ ตำแหน่งครับ จึงจะเป็นพระแท้ แต่วันนี้เอาแค่ตำแหน่งเดียวก่อน และผมเชื่อว่า ท่านจะรู้ว่าพระของท่านนั้นไม่แท้เองได้ไม่มากก็น้อยครับ
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้นเขาสร้างขึ้นมาโดยไม่มีขอบแม่พิมพ์สำเร็จ หมายความว่าต้องนำพระหลังจากที่กดพิมพ์แล้วมาตัดขอบด้วยมืออีกทีหนึ่ง ดังนั้น พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ถ้าวัดจากขอบพระจะมีขนาดไม่เท่ากันทุกองค์ ช่างที่เขาแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จนั้นเขาจะแกะเส้นกรอบแม่พิมพ์ไว้เพื่อให้เป็นที่หมายของการตัดขอบ พระบางองค์ถ้าตัดขอบพอดีกับเส้นก็จะไม่เห็นเส้นกรอบ พระที่ตัดเกินไปพอดีเส้นกรอบ ก็จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ ตรงจุดนี้เองเราก็นำมาเป็นมาตรฐานในการดูเส้นกรอบได้ครับ
เอาล่ะมาดูที่พระเครื่องสององค์ที่ผมนำมาให้ดูกัน พระองค์หนึ่งเป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ตัดพอดีกับเส้นกรอบแม่พิมพ์ ส่วนอีกองค์หนึ่ง ตัดนอกเส้นกรอบแม่พิมพ์ทำให้มีเนื้อเหลือนอกกรอบแม่พิมพ์ที่บางท่านเรียกว่า กรอบกระจกนั่นเองครับ ทีนี้เรามาดูกันที่พระองค์ที่ตัดกรอบพอดีตามเส้นกรอบแม่พิมพ์ ให้ท่านสังเกตดูขอบพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ขวามือเรา จะเห็นว่าขอบของพระจะมาชนกับเส้นซุ้ม ถ้าลากเส้นขนานกับพื้นตรงบริเวณนี้มาที่องค์พระ หรือนำไม้บรรทัดมาทาบดู จะเห็นว่าเส้นที่ลากมานี้จะชนกับแขนพระตรงบริเวณเหนือข้อศอกขององค์พระ ทีนี้มาดูองค์ที่ตัดเหลือเนื้อที่ขอบพระองค์นี้จะเห็นเส้นขอบแม่พิมพ์ที่ช่างแกะแม่พิมพ์แกะไว้ชัดเจน เส้นขอบแม่พิมพ์ที่ว่ามานี้ ท่านลองลากเส้นขนานกับพื้นมาที่องค์พระเช่นเดียวกับพระองค์แรก ก็จะเห็นว่า มาชนกับแขนที่บริเวณเหนือข้อศอกเช่นกัน ในตำแหน่งเดียวกันนี่แหละครับ คือตำหนิแม่พิมพ์ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ต้องเป็นเช่นนี้ทุกองค์เพราะเป็นพระที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันครับ
จุดสังเกตข้อนี้เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่ผมยกตัวอย่างมา ความจริงแล้ว จุดสังเกตแม่พิมพ์ของพระพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ยังมีอีกมาก พูดความจริงก็คือมีให้ดูทั้งองค์เลยครับ รายละเอียดของแม่พิมพ์ของพระนั้น เมื่อพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระแล้ว จะมีจุดให้เราศึกษาดูอยู่ทั้งองค์พระ หลายจุดหลายตำแหน่ง พระที่ออกมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน แต่ละจุดแต่ละตำแหน่งต้องมีรายละเอียดเหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกันครับ ซึ่งข้อนี้เขาจึงนำมาใช้ในการพิจารณาพิมพ์ของพระว่าแท้หรือไม่แท้ได้ครับ
หวังว่าท่านที่ได้อ่านข้อความนี้แล้วก็จะได้ลองนำไปใช้ดู และคงได้ประโยชน์บ้างนะครับ
คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง
มาคุยเรื่องขอบเเม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมต่อครับ
วันนี้เราก็มาคุยกันต่อนะครับ ที่ว่าผมทำไมถึงได้ใช้หลักในการดูขอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้น ความจริงแล้วก็อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ว่า การยึดหลักตัวแม่พิมพ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ หมายถึงของที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อมจะมีอะไรเหมือนๆ กัน เช่น ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ เป็นต้น รายละเอียดต่างๆ นั้นต้องเหมือนกันและมีตำแหน่งเดียวกันจริงไหมครับ ส่วนเรื่องขอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้น ก็เป็นตำหนิแม่พิมพ์อันหนึ่ง ในจำนวนหลายๆ จุดทั่วทั้งองค์พระ ตามบันทึกการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านไม่ได้สร้างจำนวน 84,000 องค์ ครับ ท่านสร้างของท่านไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนดว่าจะนำไปบรรจุหรือให้ได้จำนวนเท่าใด จากการบันทึกจากปากคำของท่านเจ้าคุณ พระธรรมถาวร ช่วง จันทโชติ วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเมื่อตอนท่านอายุ 13 ปี ในปีพ.ศ.2399 ก็บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในสมัยที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯครองสมณศักดิ์ที่ พระเทพกวี และอุปสมบทในปีพ.ศ.2407 โดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรอุปสมบทได้สามเดือน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ และต่อมาในปีพ.ศ.2410 ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรก็ได้แต่งตั้งเป็น พระธรรมรักขิต ฐานานุกรมในเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ที่ผมต้องกล่าวมาเสียยาวนั้นก็เพื่อยืนยันว่าท่านเจ้าคุณธรรมถาวรนั้นท่านเป็นผู้ใกล้ชิด เจ้าประคุณสมเด็จฯ ในบันทึกกล่าวไว้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนดจำนวน สร้างไปแจกไป จึงไม่ใช่ว่าสร้างจำนวน 84,000 องค์ครับ
และตัวแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม พิมพ์ใหญ่นั้น เท่าที่มีการค้นคว้าศึกษากันสืบต่อมานั้น แม่พิมพ์ของพระพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคมมีอยู่ 4 แม่พิมพ์ครับ แต่ทุกแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม จะมีเส้นขอบแม่พิมพ์ในลักษณะเช่นเดียวกันทุกแม่พิมพ์ครับ ช่างผู้แกะก็เป็นคนเดียวกันคือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ 4 (การบันทึกจากปากคำของท่านเจ้าคุณธรรมถาวร)
และที่ผมนำมาบอกเล่าให้ฟังเรื่องขอบตำหนิแม่พิมพ์นั้น ผมก็ได้ศึกษามาจากท่านผู้อาวุโสหลายๆ ท่านในสังคมนี้ และท่านเหล่านั้นก็เป็นผู้ชำนาญการในด้านนี้ และสังคมยอมรับ ท่านเหล่านั้นก็กรุณาผมมาก ท่านได้นำพระสมเด็จแท้ๆ มาให้ผมได้ศึกษา พร้อมทั้งได้เห็นจากองค์จริงๆ ขององค์ที่ดังๆ มูลค่าราคาเลขแปดหลัก หลายๆ องค์จากหลายๆ ท่านครับ ได้เห็นทั้งสี่แม่พิมพ์ และท่านผู้หลักผู้ใหญ่เหล่านั้น ท่านก็ได้กรุณาสอนชี้แนะให้ผมได้ดูและพิสูจน์หลักเกณฑ์ต่างๆ จากองค์พระจริง ผมไม่ได้นำหลักจากพระองค์เดียวมาเป็นข้อยุติแน่ครับ เพราะหลักเกณฑ์ของการดูตำหนินั้นเขาได้มาจากการเปรียบเทียบพระจำนวนมากๆ ครับ และจากองค์พระจริงๆ ไม่ใช่รูปถ่ายเพียงอย่างเดียวครับ
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ว่าดังๆ เช่น พระองค์ลุงพุฒ พระองค์ขุนศรี พระองค์กวนอู และอีกหลายๆ องค์เอ่ยชื่อไม่หมดครับ ที่เป็นพระแท้และเห็นรูปอยู่ในสังคมนี้ผมเห็นองค์จริงได้สัมผัสและส่องดูมาแล้วเกือบทุกองค์ครับ และเห็นว่าเป็นเช่นนี้จริง จึงได้นำมาบอกเล่าให้ฟังกันเท่านั้นครับ ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่นั้นก็แล้วแต่จะใช้วิจารณญาณกันเองครับ ส่วนรูปถ่ายที่เป็นพระสมเด็จแท้ๆ ที่สังคมยอมรับ และมีมูลค่าราคารองรับนั้นทั้งของ วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม ผมก็เกือบครบทุกแม่พิมพ์ครับ และมีแม่พิมพ์ละหลายๆ รูปครับ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ แต่ก็ต้องเก็บรักษาไว้ คิดว่าในชีวิตนี้ถ้ามีโอกาสก็จะนำมาทำหนังสือดีๆ เพื่อให้มีคุณค่าแก่การศึกษาเรื่องพระสมเด็จซักเล่มหนึ่งครับ
ในเรื่องของการทำปลอมนั้น ในสมัยก่อนๆ นั้น เขาทำปลอมยังไม่ได้เหมือนครับ แต่มาถึงปัจจุบัน พระปลอมเหล่านั้นก็เริ่มมีธรรมชาติความเก่าแล้วครับ ส่วนพระปลอมในปัจจุบันนี้เขาทำตำหนิได้เกือบเหมือนแล้วครับ เส้นขอบแม่พิมพ์ที่ใกล้เคียงก็ทำกันแล้วครับ แต่ในจุดเส้นขอบแม่พิมพ์ที่ผมได้เคยกล่าวมานั้นยังมีปุจฉาอยู่อีกครับ คือยังมีความลับอยู่ตรงนั้นอีก ดังนั้น การทำปลอมตรงจุดนี้ก็ยังทำได้ไม่เหมือนครับ และอีกทุกๆ จุดตลอดทั้งองค์พระ ก็ยังมีความลับอยู่อีกมากครับเวลาตัดสินกันจริงๆ ก็ต้องดูทุกๆ จุดครับ ไม่ใช่ว่าดูเฉพาะจุดเส้นขอบแม่พิมพ์เท่านั้นครับ ที่ผมยกตัวอย่างเส้นขอบแม่พิมพ์ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพียงจุดเดียวเท่านั้นเองครับ
ถ้าถามว่าเส้นขอบแม่พิมพ์เส้นนี้ อาจจะเลือนหายไปได้หรือไม่ ก็ตอบได้ทันทีว่า เลือนหายไปได้ครับ แต่ก็ต้องมีสาเหตุให้วิเคราะห์ได้ เช่น การสึกหรอ การสึกหรอตรงจุดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็คืออาจจะมีการเลี่ยมจับขอบทองแบบโบราณ คือเลี่ยมจับตัวเนื้อพระเลย ก็อาจจะทำให้เส้นขอบแม่พิมพ์ลบเลือนไปได้ครับ แล้วเส้นนี้หายไปจะดูอะไรต่อ ก็อย่างที่ผมบอกว่ามีอีกหลายๆ จุดที่ต้องดูไงครับ ก็ดูในจุดอื่นๆ ที่ยังเหลือให้ดูอยู่ แต่ถ้าไม่มีเหลือเลยนั้น ผมว่ายากครับ เพราะจุดที่เขานำมาวิเคราะห์นั้นเป็นจุดที่ส่วนใหญ่อยู่ในที่ลึกๆ ถ้าสึกออกหมด ก็จะไม่เห็นรูปพระหลงเหลืออยู่เลยครับ
จุดตำหนิเเละเเม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม เกือบทุกๆ จุดที่คนทำพระปลอมเขารู้เขาก็พยายามทำให้ใกล้เคียงมากที่สุดครับ แต่ก็เพียงใกล้เคียงนะครับ สามารถพิสูจน์รู้ได้ครับ ไม่เหมือนเสียร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ยังมีสิ่งที่มนุษย์ทำเลียนแบบไม่ได้เยอะครับ ส่วนเรื่องที่ว่าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่มีเส้นขอบแม่พิมพ์เลย มาจนถึงฐานพระนั้น โดยส่วนตัวที่ได้ศึกษามานั้น ผมเองยังไม่เคยเห็นที่เป็นพระแท้เลยครับ
เรื่องพระผงสุพรรณตามที่ท่านเขียนมานั้นผมเองยังไม่ขอวิจารณ์ครับเนื่องจากหน้ากระดาษคงไม่พอเขียนครับ
ส่วนเรื่องสามัญสำนึกนั้น ผมเองก็อย่างที่บอกครับ โดนพระปลอมมามากครับ พอมีความรู้ที่บอกต่อกันได้บ้าง ก็เขียนบอกกันครับ จะได้ไม่โดนพระปลอมอย่างที่ผมโดนครับ มันทั้งหมดหวัง ทั้งเจ็บ ทั้งสูญเสียเงินทองครับ
ในเรื่องหลักเกณฑ์ของการดูเนื้อพระนั้น มีแน่นอนครับ แต่จะบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือนั้นยากมากครับ แค่ตัวรายละเอียดแม่พิมพ์ ซึ่งอธิบายได้ง่ายกว่านี้ก็ยังเขียนออกมาให้เข้าใจได้ยากเลยครับ เรื่องเนื้อของพระนั้นต้องศึกษาจากองค์พระจริงๆ หลายๆ สภาพและหลายๆ องค์ครับ เขาจึงบอกว่าถ้าจะให้เป็นพระอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเราจะต้องเห็นพระจริงๆ มามากๆ หลากหลายสภาพครับ และต้องเห็นบ่อยๆ จนคุ้นตาครับ ถ้าศึกษาจากรูปถ่ายเพียงอย่างเดียวนั้นก็ยังไม่นับว่าดูพระเป็นครับ ต้องจบที่การได้ดูได้ส่องพระแท้ๆ จนชินตาครับ
ผมเองนับว่าโชคดีคนหนึ่งที่ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ท่านเมตตาให้การชี้แนะ และให้ได้เห็นพระแท้ๆ จากองค์จริงครับ จึงพอมีความรู้อยู่บ้างที่พอจะมาบอกต่อกันเพื่อไม่ให้คนอื่นๆ ถูกเขาหลอกอย่างที่ผมเคยโดนมาในอดีตครับ ความคิดเห็นย่อมเห็นแย้งกันได้ครับ และขอขอบคุณครับที่กรุณาท้วงติงมาครับ การศึกษาอะไรซักอย่างหนึ่งนั้น ต้องมีผู้เห็นแย้งกันบ้าง เพื่อจะได้หันกลับมาทบทวน และเป็นที่มาของข้อสรุปที่จะค้นคว้าหาความเป็นจริง
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
ที่มาข่าวสด
ทำไมจึงมีแม่พิมพ์หลายตัว เรื่องนี้สันนิษฐานว่าที่มีแม่พิมพ์หลายตัวในแต่ละพิมพ์ก็คงจะเนื่องมาจากการสร้างพระจำนวนมากๆ ก็ต้องมีคนช่วยกันกดพิมพ์พระอยู่หลายคน จึงต้องทำแม่พิมพ์เผื่อไว้หลายๆ ตัวนั่นเองครับ ในการแกะแม่พิมพ์นั้นสันนิษฐานว่าจะเป็นช่างคนเดียวกัน จึงมีเอกลักษณ์ที่เหมือนกัน ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม เอกลักษณ์ที่เหมือนกันทุกๆ แม่พิมพ์คือองค์พระจะดูผึ่งผายหัวไหล่ตั้งและองค์พระจะใหญ่กว่าพระทุกๆ พิมพ์สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อหัวไหล่ด้านขวาขององค์พระจะหนากว่าด้านซ้าย ซึ่งเนื้อหัวไหล่ด้านซ้ายจะคอดกิ่วกว่าด้านขวา ซึ่งจุดนี้จะเห็นได้ง่ายและมีทุกๆ แม่พิมพ์ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม เส้นกรอบของแม่พิมพ์ด้านขวามือเรา เส้นขอบนี้จะเห็นว่าวิ่งจากด้านบนลงมาจรดซุ้มครอบแก้วที่ตำแหน่งใกล้ๆ กับข้อศอกขององค์พระ ส่วนเส้นขอบแม่พิมพ์อีกด้านหนึ่งนั้นปลายของเส้นขอบจะมาจรดกับเส้นซุ้มครอบแก้วที่หัวฐานซุ้มครอบแก้วพอดี ซึ่งก็จะเหมือนๆ กันทุกๆ แม่พิมพ์ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ทั้ง 4 แม่พิมพ์ เอาละเราลองมาดูกันว่าทั้ง 4 แม่พิมพ์นั้น มีอะไรบ้างที่แตกต่างกัน
ครับขนาดขององค์พระเราจะไม่พูดถึง เนื่องจากพอจะสังเกตได้ว่าบางองค์ดูผอมกว่าบ้าง ล่ำกว่าบ้างในแต่ละแม่พิมพ์ มาดูในส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดเจนก็คือ 1.พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่มีเส้นแซมใต้หน้าตักขององค์พระ แม่พิมพ์นี้จะพบน้อย องค์พระจะดูใหญ่กว่าทุกแม่พิมพ์ จะสังเกตเห็นได้ว่า ที่ใต้หน้าตักขององค์พระจะมีเส้นแซมอยู่ที่ใต้หน้าตักขององค์พระ ในแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม อื่นๆ จะไม่มี
2.พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม พิมพ์อกวี พระแม่พิมพ์นี้ดูจะมีจำนวนเยอะกว่า พบเห็นได้เป็นส่วนใหญ่ พระแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมนี้ ที่ส่วนอกจะมีลักษณะผายด้านบนและสอบลงด้านล่างที่แสดงเป็นส่วนท้องมากกว่าพิมพ์แรก จึงเห็นเป็นคล้ายรูปตัว V ในภาษาอังกฤษ
3.พิมพ์อกกระบอก พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม พระแม่พิมพ์นี้ ส่วนที่แสดงเป็นหน้าอกจะไม่สอบลงมาแบบพิมพ์ที่ 2 แต่จะขอดเล็กน้อยที่ใต้หน้าอกและผายออกอีกทีตอนที่แสดงเป็นส่วนท้อง แม่พิมพ์นี้พบน้อยเช่นกันในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม
4.พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พระพิมพ์นี้ดูองค์พระจะผอมๆ กว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ซักเล็กน้อย ลักษณะอกก็เป็นแบบอกวี แต่จะสังเกตเห็นพระเกศจะยาวทะลุเส้นซุ้มครอบแก้วได้อย่างชัดเจน
ครับในส่วนอื่นๆ นั้นก็จะมีข้อแตกต่างกันไปอีกบ้าง แต่ที่สังเกตได้ชัดๆ ที่ผมได้กล่าวมานั่นแหละครับ แต่ความแตกต่างทั้งหลายเหล่านี้ ก็ต้องมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่หลายอย่างเช่นกันตามที่ผมได้กล่าวไว้ในตอนแรก จุดตำหนิหรือข้อสังเกตของการพิจารณาพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯนั้นความจริงยังมีอีกมาก แต่ในที่นี้เนื้อที่จำกัดจึงนำมา บอกเล่าในส่วนที่เห็นกันได้ชัดๆ เพื่อผู้ที่กำลังศึกษาจะได้หายสงสัยว่าทำไมพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมที่แท้ๆ เหมือนกันจึงมีข้อแตกต่างกันได้ ถ้าเราได้ข้อมูลที่ถูกต้องและหมั่นศึกษาแม่พิมพ์ดูก็จะทำให้เข้าใจได้ไม่ยากนักครับ
ครับลองดูจากรูปที่ผมนำมาให้ชมครบทั้ง 4 แม่พิมพ์ดูก่อนนะครับ ค่อยๆ ทำความเข้าใจว่ามีอะไรบ้างที่เหมือนๆ กัน และมีอะไรบ้างที่แตกต่างจากกัน แล้วก็จะค่อยๆ เข้าใจได้ครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
ขอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พบกันตามสัญญาครับ วันนี้ผมก็มีรูปพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เเละขอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม มาให้ดูอีกสององค์ และจะบอกจุดดูให้หนึ่งจุด เอาแค่เพียงจุดเดียวก่อน แล้วท่านลองดูพระของท่านดู ว่าจะเป็นอย่างที่ผมบอกหรือเปล่า ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ก็น่าจะเป็นพระปลอม แต่ถ้ามีใกล้เคียงกัน ก็อาจจะเป็นพระแท้ก็ได้ อาจจะเท่านั้นนะครับ เพราะความจริงแล้วต้องมีหลายๆ ตำแหน่งครับ จึงจะเป็นพระแท้ แต่วันนี้เอาแค่ตำแหน่งเดียวก่อน และผมเชื่อว่า ท่านจะรู้ว่าพระของท่านนั้นไม่แท้เองได้ไม่มากก็น้อยครับ
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้นเขาสร้างขึ้นมาโดยไม่มีขอบแม่พิมพ์สำเร็จ หมายความว่าต้องนำพระหลังจากที่กดพิมพ์แล้วมาตัดขอบด้วยมืออีกทีหนึ่ง ดังนั้น พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ถ้าวัดจากขอบพระจะมีขนาดไม่เท่ากันทุกองค์ ช่างที่เขาแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จนั้นเขาจะแกะเส้นกรอบแม่พิมพ์ไว้เพื่อให้เป็นที่หมายของการตัดขอบ พระบางองค์ถ้าตัดขอบพอดีกับเส้นก็จะไม่เห็นเส้นกรอบ พระที่ตัดเกินไปพอดีเส้นกรอบ ก็จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ ตรงจุดนี้เองเราก็นำมาเป็นมาตรฐานในการดูเส้นกรอบได้ครับ
เอาล่ะมาดูที่พระเครื่องสององค์ที่ผมนำมาให้ดูกัน พระองค์หนึ่งเป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ตัดพอดีกับเส้นกรอบแม่พิมพ์ ส่วนอีกองค์หนึ่ง ตัดนอกเส้นกรอบแม่พิมพ์ทำให้มีเนื้อเหลือนอกกรอบแม่พิมพ์ที่บางท่านเรียกว่า กรอบกระจกนั่นเองครับ ทีนี้เรามาดูกันที่พระองค์ที่ตัดกรอบพอดีตามเส้นกรอบแม่พิมพ์ ให้ท่านสังเกตดูขอบพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ขวามือเรา จะเห็นว่าขอบของพระจะมาชนกับเส้นซุ้ม ถ้าลากเส้นขนานกับพื้นตรงบริเวณนี้มาที่องค์พระ หรือนำไม้บรรทัดมาทาบดู จะเห็นว่าเส้นที่ลากมานี้จะชนกับแขนพระตรงบริเวณเหนือข้อศอกขององค์พระ ทีนี้มาดูองค์ที่ตัดเหลือเนื้อที่ขอบพระองค์นี้จะเห็นเส้นขอบแม่พิมพ์ที่ช่างแกะแม่พิมพ์แกะไว้ชัดเจน เส้นขอบแม่พิมพ์ที่ว่ามานี้ ท่านลองลากเส้นขนานกับพื้นมาที่องค์พระเช่นเดียวกับพระองค์แรก ก็จะเห็นว่า มาชนกับแขนที่บริเวณเหนือข้อศอกเช่นกัน ในตำแหน่งเดียวกันนี่แหละครับ คือตำหนิแม่พิมพ์ในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ต้องเป็นเช่นนี้ทุกองค์เพราะเป็นพระที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันครับ
จุดสังเกตข้อนี้เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่ผมยกตัวอย่างมา ความจริงแล้ว จุดสังเกตแม่พิมพ์ของพระพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ยังมีอีกมาก พูดความจริงก็คือมีให้ดูทั้งองค์เลยครับ รายละเอียดของแม่พิมพ์ของพระนั้น เมื่อพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระแล้ว จะมีจุดให้เราศึกษาดูอยู่ทั้งองค์พระ หลายจุดหลายตำแหน่ง พระที่ออกมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน แต่ละจุดแต่ละตำแหน่งต้องมีรายละเอียดเหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกันครับ ซึ่งข้อนี้เขาจึงนำมาใช้ในการพิจารณาพิมพ์ของพระว่าแท้หรือไม่แท้ได้ครับ
หวังว่าท่านที่ได้อ่านข้อความนี้แล้วก็จะได้ลองนำไปใช้ดู และคงได้ประโยชน์บ้างนะครับ
คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง
มาคุยเรื่องขอบเเม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมต่อครับ
วันนี้เราก็มาคุยกันต่อนะครับ ที่ว่าผมทำไมถึงได้ใช้หลักในการดูขอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้น ความจริงแล้วก็อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ว่า การยึดหลักตัวแม่พิมพ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ หมายถึงของที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อมจะมีอะไรเหมือนๆ กัน เช่น ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ เป็นต้น รายละเอียดต่างๆ นั้นต้องเหมือนกันและมีตำแหน่งเดียวกันจริงไหมครับ ส่วนเรื่องขอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้น ก็เป็นตำหนิแม่พิมพ์อันหนึ่ง ในจำนวนหลายๆ จุดทั่วทั้งองค์พระ ตามบันทึกการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม นั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านไม่ได้สร้างจำนวน 84,000 องค์ ครับ ท่านสร้างของท่านไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนดว่าจะนำไปบรรจุหรือให้ได้จำนวนเท่าใด จากการบันทึกจากปากคำของท่านเจ้าคุณ พระธรรมถาวร ช่วง จันทโชติ วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเมื่อตอนท่านอายุ 13 ปี ในปีพ.ศ.2399 ก็บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาอยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในสมัยที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯครองสมณศักดิ์ที่ พระเทพกวี และอุปสมบทในปีพ.ศ.2407 โดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรอุปสมบทได้สามเดือน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แต่งตั้งให้เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ และต่อมาในปีพ.ศ.2410 ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรก็ได้แต่งตั้งเป็น พระธรรมรักขิต ฐานานุกรมในเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ที่ผมต้องกล่าวมาเสียยาวนั้นก็เพื่อยืนยันว่าท่านเจ้าคุณธรรมถาวรนั้นท่านเป็นผู้ใกล้ชิด เจ้าประคุณสมเด็จฯ ในบันทึกกล่าวไว้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนดจำนวน สร้างไปแจกไป จึงไม่ใช่ว่าสร้างจำนวน 84,000 องค์ครับ
และตัวแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม พิมพ์ใหญ่นั้น เท่าที่มีการค้นคว้าศึกษากันสืบต่อมานั้น แม่พิมพ์ของพระพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคมมีอยู่ 4 แม่พิมพ์ครับ แต่ทุกแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม จะมีเส้นขอบแม่พิมพ์ในลักษณะเช่นเดียวกันทุกแม่พิมพ์ครับ ช่างผู้แกะก็เป็นคนเดียวกันคือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ 4 (การบันทึกจากปากคำของท่านเจ้าคุณธรรมถาวร)
และที่ผมนำมาบอกเล่าให้ฟังเรื่องขอบตำหนิแม่พิมพ์นั้น ผมก็ได้ศึกษามาจากท่านผู้อาวุโสหลายๆ ท่านในสังคมนี้ และท่านเหล่านั้นก็เป็นผู้ชำนาญการในด้านนี้ และสังคมยอมรับ ท่านเหล่านั้นก็กรุณาผมมาก ท่านได้นำพระสมเด็จแท้ๆ มาให้ผมได้ศึกษา พร้อมทั้งได้เห็นจากองค์จริงๆ ขององค์ที่ดังๆ มูลค่าราคาเลขแปดหลัก หลายๆ องค์จากหลายๆ ท่านครับ ได้เห็นทั้งสี่แม่พิมพ์ และท่านผู้หลักผู้ใหญ่เหล่านั้น ท่านก็ได้กรุณาสอนชี้แนะให้ผมได้ดูและพิสูจน์หลักเกณฑ์ต่างๆ จากองค์พระจริง ผมไม่ได้นำหลักจากพระองค์เดียวมาเป็นข้อยุติแน่ครับ เพราะหลักเกณฑ์ของการดูตำหนินั้นเขาได้มาจากการเปรียบเทียบพระจำนวนมากๆ ครับ และจากองค์พระจริงๆ ไม่ใช่รูปถ่ายเพียงอย่างเดียวครับ
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่ว่าดังๆ เช่น พระองค์ลุงพุฒ พระองค์ขุนศรี พระองค์กวนอู และอีกหลายๆ องค์เอ่ยชื่อไม่หมดครับ ที่เป็นพระแท้และเห็นรูปอยู่ในสังคมนี้ผมเห็นองค์จริงได้สัมผัสและส่องดูมาแล้วเกือบทุกองค์ครับ และเห็นว่าเป็นเช่นนี้จริง จึงได้นำมาบอกเล่าให้ฟังกันเท่านั้นครับ ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่นั้นก็แล้วแต่จะใช้วิจารณญาณกันเองครับ ส่วนรูปถ่ายที่เป็นพระสมเด็จแท้ๆ ที่สังคมยอมรับ และมีมูลค่าราคารองรับนั้นทั้งของ วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม ผมก็เกือบครบทุกแม่พิมพ์ครับ และมีแม่พิมพ์ละหลายๆ รูปครับ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ แต่ก็ต้องเก็บรักษาไว้ คิดว่าในชีวิตนี้ถ้ามีโอกาสก็จะนำมาทำหนังสือดีๆ เพื่อให้มีคุณค่าแก่การศึกษาเรื่องพระสมเด็จซักเล่มหนึ่งครับ
ในเรื่องของการทำปลอมนั้น ในสมัยก่อนๆ นั้น เขาทำปลอมยังไม่ได้เหมือนครับ แต่มาถึงปัจจุบัน พระปลอมเหล่านั้นก็เริ่มมีธรรมชาติความเก่าแล้วครับ ส่วนพระปลอมในปัจจุบันนี้เขาทำตำหนิได้เกือบเหมือนแล้วครับ เส้นขอบแม่พิมพ์ที่ใกล้เคียงก็ทำกันแล้วครับ แต่ในจุดเส้นขอบแม่พิมพ์ที่ผมได้เคยกล่าวมานั้นยังมีปุจฉาอยู่อีกครับ คือยังมีความลับอยู่ตรงนั้นอีก ดังนั้น การทำปลอมตรงจุดนี้ก็ยังทำได้ไม่เหมือนครับ และอีกทุกๆ จุดตลอดทั้งองค์พระ ก็ยังมีความลับอยู่อีกมากครับเวลาตัดสินกันจริงๆ ก็ต้องดูทุกๆ จุดครับ ไม่ใช่ว่าดูเฉพาะจุดเส้นขอบแม่พิมพ์เท่านั้นครับ ที่ผมยกตัวอย่างเส้นขอบแม่พิมพ์ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพียงจุดเดียวเท่านั้นเองครับ
ถ้าถามว่าเส้นขอบแม่พิมพ์เส้นนี้ อาจจะเลือนหายไปได้หรือไม่ ก็ตอบได้ทันทีว่า เลือนหายไปได้ครับ แต่ก็ต้องมีสาเหตุให้วิเคราะห์ได้ เช่น การสึกหรอ การสึกหรอตรงจุดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็คืออาจจะมีการเลี่ยมจับขอบทองแบบโบราณ คือเลี่ยมจับตัวเนื้อพระเลย ก็อาจจะทำให้เส้นขอบแม่พิมพ์ลบเลือนไปได้ครับ แล้วเส้นนี้หายไปจะดูอะไรต่อ ก็อย่างที่ผมบอกว่ามีอีกหลายๆ จุดที่ต้องดูไงครับ ก็ดูในจุดอื่นๆ ที่ยังเหลือให้ดูอยู่ แต่ถ้าไม่มีเหลือเลยนั้น ผมว่ายากครับ เพราะจุดที่เขานำมาวิเคราะห์นั้นเป็นจุดที่ส่วนใหญ่อยู่ในที่ลึกๆ ถ้าสึกออกหมด ก็จะไม่เห็นรูปพระหลงเหลืออยู่เลยครับ
จุดตำหนิเเละเเม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม เกือบทุกๆ จุดที่คนทำพระปลอมเขารู้เขาก็พยายามทำให้ใกล้เคียงมากที่สุดครับ แต่ก็เพียงใกล้เคียงนะครับ สามารถพิสูจน์รู้ได้ครับ ไม่เหมือนเสียร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ยังมีสิ่งที่มนุษย์ทำเลียนแบบไม่ได้เยอะครับ ส่วนเรื่องที่ว่าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยม ที่มีเส้นขอบแม่พิมพ์เลย มาจนถึงฐานพระนั้น โดยส่วนตัวที่ได้ศึกษามานั้น ผมเองยังไม่เคยเห็นที่เป็นพระแท้เลยครับ
เรื่องพระผงสุพรรณตามที่ท่านเขียนมานั้นผมเองยังไม่ขอวิจารณ์ครับเนื่องจากหน้ากระดาษคงไม่พอเขียนครับ
ส่วนเรื่องสามัญสำนึกนั้น ผมเองก็อย่างที่บอกครับ โดนพระปลอมมามากครับ พอมีความรู้ที่บอกต่อกันได้บ้าง ก็เขียนบอกกันครับ จะได้ไม่โดนพระปลอมอย่างที่ผมโดนครับ มันทั้งหมดหวัง ทั้งเจ็บ ทั้งสูญเสียเงินทองครับ
ในเรื่องหลักเกณฑ์ของการดูเนื้อพระนั้น มีแน่นอนครับ แต่จะบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือนั้นยากมากครับ แค่ตัวรายละเอียดแม่พิมพ์ ซึ่งอธิบายได้ง่ายกว่านี้ก็ยังเขียนออกมาให้เข้าใจได้ยากเลยครับ เรื่องเนื้อของพระนั้นต้องศึกษาจากองค์พระจริงๆ หลายๆ สภาพและหลายๆ องค์ครับ เขาจึงบอกว่าถ้าจะให้เป็นพระอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเราจะต้องเห็นพระจริงๆ มามากๆ หลากหลายสภาพครับ และต้องเห็นบ่อยๆ จนคุ้นตาครับ ถ้าศึกษาจากรูปถ่ายเพียงอย่างเดียวนั้นก็ยังไม่นับว่าดูพระเป็นครับ ต้องจบที่การได้ดูได้ส่องพระแท้ๆ จนชินตาครับ
ผมเองนับว่าโชคดีคนหนึ่งที่ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ท่านเมตตาให้การชี้แนะ และให้ได้เห็นพระแท้ๆ จากองค์จริงครับ จึงพอมีความรู้อยู่บ้างที่พอจะมาบอกต่อกันเพื่อไม่ให้คนอื่นๆ ถูกเขาหลอกอย่างที่ผมเคยโดนมาในอดีตครับ ความคิดเห็นย่อมเห็นแย้งกันได้ครับ และขอขอบคุณครับที่กรุณาท้วงติงมาครับ การศึกษาอะไรซักอย่างหนึ่งนั้น ต้องมีผู้เห็นแย้งกันบ้าง เพื่อจะได้หันกลับมาทบทวน และเป็นที่มาของข้อสรุปที่จะค้นคว้าหาความเป็นจริง
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
ที่มาข่าวสด
2 ความคิดเห็น:
ขอบคุณครับสำหรับบทความที่สร้างสรรค์....ยังหวังให้นักสะสมรุ่นใหม่ๆอย่าทิ้ง..และพยายามค้นคว้าตามรอยสมเด็จท่านต่อไป...
พื้นฐานการพิจารณาเนื้อมวลสาร+ธาตุผสมในองค์พระจะคล้ายๆกัน แต่ไม่ใช่เฉพาะเนื้อเดียว หรือพิจารณาแต่เพียงแม่พิมพ์เดียว ตามอย่างเซียน มันเป็นการไปทำลายแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่พิมพ์อื่นๆ ท่ีสร้างในยุคสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี เช่นกัน หากคุณแทนจะกรุณา ให้ช่วยนำเสนอพิมพ์อื่นๆ ท่ีเป็นพระแท้ โดยให้แตกต่างจากข้อกำหนด และจำกัดของวงการพระเครื่องปัจจุบัน เพียงเพื่อให้เหลือจำนวนน้อยจะได้มีราคาแพง ถ้าคุณแทน ทำได้ คุณแทนจะกลายเป็นท่ียอมรับของนักนิยมพระเครื่องอีกเป็นจำนวนมาก ดีกว่าท่ีจะไปเดินตาม หรือเป็นบันไดให้เขาเดินข้ามไป. ด้วยความปราถนาดี Mr.zeiss
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ