ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

ประวัติพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตน

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตน


ต้นกำเนิดพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนอยู่ที่ประเทศเขมรมีทั้งชนิดหล่อสร้างด้วยเนื้อสำริดเเก่เงินเเละเนื้อสำริดเเก่ทองก็มี กระเเสผิวกลับดำสนิท สร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจ เเละสร้างต่อมาจนถึงปลายกรุงศรีอยุธยาพุทธลักษณะยังคงเค้าเดิมอยู่ก็จริง ทว่าเนื้อหาในยุคหลังเป็นจำพวกเนื้อลงหินวรรณะเหลืองนวลผิวสีน้ำตาลไม่เข็มข้นเหมือนยุคต้นๆ พระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนจัดเป็นพระกริ่งนอกประเทศอีกพิมพ์หนึ่ง ที่ผู้พิสมัยในพระเครื่องมีระดับต่างหลงใหลกันมากสาเหตุคงจะเป็นเพราะปรากฎพบน้อยหายากเนื้อโลหะที่กลับดำสนิทตลอดจนความเชื่อในมหิทธิฤทธิ์จตุเวทตามเเบบ ศาสนาพุทธลัทธิมหายานนิกาย ผนวกกับลัทธิศาสนาพราหมณ์ พระกริ่งพิมพ์นี้จึงไม่ไช่รูปจำลองของ พระไภษัชยคุรุ พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานซึ่งอวตารลงมาโปรดเวนัยสัตว์ บรรเทาทุกข์เเห่งสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไภษัชเเปลว่า ยารักษาโรค คุรุเเปลว่าผู้สั่งสอน สรุปว่าพระหมอผู้จุติลงมาเพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ยากเเละความเจ็บไข้ได้ป่วยให้สัตว์โลกนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ตามวัดวาอารามต่างๆในประเทศจีนเเละทิเบตจึงนิยมสร้างพระไภษัชยคุรุเป็นรูปเคารพขนาดใหญ่โตไว้บูชาโดยทั่วกันสืบต่อมาเมื่อพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิมหายานมีความจำเป็นต้องเดินทางรอนเเรมหรือทำมาค้าขายยังต่างเเดนเพื่อความสะดวกในการพกพาสักการะติดตัวต่างพระเครื่องรางของขลังท่านโบราณจารย์ผู้ชาญฉลาดจึงได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระไภษัชยคุรุ ให้มีขนาดเล็กเเละได้บรรจุเม็ดกริ่งเข้าไป เวลาเขย่าจะเกิดเสียงดังเช่นเดียวกับการตีเกราะเคาะระฆัง หรือสั่นกระดิ่งก่อนที่จะอธิษฐานจิตตามประสงค์ ประหนึ่งซึ่งจะให้พระองค์ทรงรับรู้ นี่เเหละคือประวัติความเป็นมาพระกริ่ง เเต่สำหรับ พระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนนี่เรียกว่าพระกริ่งก็จริงเเต่ไม่เกี่ยวกับพระไภษัชยคุรุ เพราะเป็นพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตน

มีอายุการสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมัน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งสมัยนั้น เขมรได้รับเอาอิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิมหายานเเละศาสนาพราหมณ์เข้ามาจึงสร้างพระกริ่งโดยจำลองเป็นสมมุติขององค์พระนารายณ์ปางหนึ่ง ตามความเชื่อของลัทธิศาสนาพราหมณ์ยอมรับเทพผู้เป็นเจ้า หลายองค์อันเเก่ พระอิศวร พระศิวะ พระวิษณุ เเละพระนารายณ์ เเต่ละองค์ล้วนมีอิทธิฤทธิ์ เเตกต่างกันไป โดยในเรื่องนารายณ์สิบปางนั้น กล่าวถึงอสูรร้ายตนหนึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครโสพัศนามว่า ตรีบุรำ เเสร้งประพฤติดีประพฤติชอบเเต่เเฝงไว้ด้วยเจตนาร้ายทำให้พระอิศวรรักใคร่ เเล้วตรีบุรำ ก็ขอประทานพรจากพรอิศวร ความว่าไม่มีใครฆ่าตนให้ตายได้ด้วยศาสตราวุธทั้งหลายทั้งปวงก็ได้รับพรตามคำขอ นอกจากนี้อสูรตรีบุรำยังได้ขอพรจากศิวลึงค์ในเเม่น้ำสรถูก็ได้รับพรอีก อสูรตนนี้จึงฤทธิ์เดชมาก เที่ยวก่อกรรมย่ำไปทั่วทุกชนชั้นไม่มีใครปราบปรามได้ เพราะฆ่าอย่างไรก็ไม่ตายเเม้พระอิศวรยังระอาใจ เดือดร้อนถึงพระนารายณ์ที่บรรทมสินธุ์ ณ เกษียรสมุทร ต้องอวตารเเบ่งร่างเป็นพระภิกษุไปขอบิณฑบาตศิวลึงค์จากอสูรร้าย ตรีบุรำ ซึ่งยอมมอบให้โดยดีเพราะกาลถึงฆาตพระนารายณ์จึงเอากล่องเเก้วส่องถูกตรีบุรำถึงเเก่ความตาย การกำเนิดพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนจึงนำเอาประวัติของพระนารายณ์วอรตารปางนี้ของเรื่องมาสร้างด้านกรรมวิธีการสร้างพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนนี้ยังเเตกต่างกับพระกริ่งจีนทิเบตเเละไทย กล่าวคือพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนหากพิจารณาองค์จริงเเล้วจะเห็นว่าเป็นพระกริ่งที่สร้างขึ้นโดยใช้วิธีปั้นหุ่นเทียนทีละองค์สร้างองค์ต่อองค์ไม่ได้เทหล่อในเเม่พิมพ์ดังนั้นจะไม่เหมือนกันเลยเเม้เเต่องค์เดียวส่วนพระกริ่งในประเทศจีน ทิเบต เเละไทยนั้น กรรมวิธีการสร้างเกิดจากเเม่พิมพ์อันเดียวกันขนาดเเละตำหนิจึงมีเหมือนกันทุกองค์ พระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนเป็นพระกริ่งที่ปั้นหุ่นเทียนขึ้นทีละองค์ เเล้วจึงให้ดินนวลหรือดินขี้วัวพอกด้านนอก จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนสลายตัวสำรอกออกทางรูที่เจาะได้เหลือเเต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระเเทน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงถือเป็นข้อสัเกตุสำคัญได้ประการหนึ่งเเม้ว่าจะเป็นพระที่มีลักษณะเดียวกันหรือพิมพ์เดียวกันก็ตามซึ่งต่างก็มีพุทธลักษณะเหมือนกันทุกองค์มิฉะนั้นเเล้วจะเปรียบเทียบเเบ่งเเยกพิมพ์ได้อย่างไร เเต่ที่ว่าทุกองค์ไม่เหมือนกันนั้นคือไม่เหมือนถอดเเบบจากเเม่พิมพ์เดียวกัน เหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นของเก๊หรือของเลียนเเบบเเน่นอนเเละการบรรจุเม็ดกริ่งเป็นเเบบกริ่งใน่คือคว้านเอาเนื้อใต้ฐานหุ่นเทียนออก เเล้วนำเม็ดกริ่งห่อดินบรรจุเข้าไปใช้ตะปูหรือลวดเส้นเล็กๆเเทงทะลุหุ่นเทียนเข้าไปเพื่อคานดินทีห่อเม็ดกริ่ง เมื่อหล่อองค์พระเรียบร้อยเเล้ว ก็จะเเคะเอาดินออกทางรูตะปู ทำไห้เกิดช่องว่างภายในองค์พระเมื่อเขย่าจะมีเสียงดัง ต่อจากนั้นช่างจะนำเนื้อโลหะอุดย้ำรูตะปู รอยอุดรูนี้เองเป็นการพิจารณาพระเเท้ได้อีกประการหนึ่ง

พระกริ่งที่สร้างในยุคหลังการบรรจุเม็ดกริ่งจะเป็นเเบบกริ่งนอก คือใช้สว่านเจาะที่ใต้ฐานเป็นรูขนาดค่อนข้างใหญ่ประมาณเท่าเเท่งดินสอดำ เมื่อบรรจุเม็ดกริ่งลงไปเเล้ว จึงใช้โลหะชนวนตีปิดเอาไว้ พอมองเห็นได้ว่าเป็นรอยอุดกริ่ง สำหรับสาเหตุที่มาเเห่งการเรียกขานนามพระกริ่งพิมพ์นี้ว่าพระกริ่งหน้าตั้กเเตนอาจเป็นเพราะรูปทรงสัณฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเค้าพระพักตร์ ที่ยื่นเเหลมออกมามากเเลดูคล้ายเเมลงชนิดหนึ่งคือตั้กเเตน นักเล่นพระจึงขนานนามเรียกกันตามนั้น
พุทธลักษณะโดยทั่วไปของพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนพระเศียรค่อนข้างกลมเม็ดพระศกเป็นตุ่มนูนวางเรียงปกคลุมลงมาด้านหน้ามาก โดยเฉพาะที่เป็นพระนาสิกหรือจมูก จะยื่นออกมามาก พระเนตรหรือตา มีลักษณะเป็นหลุมลึก ไม่เน้นรายละเอียดของพระโอษฐ์หรือปากเเละพระขนงหรือคิ้วพระกรรณหรือหูมีลักษณะเป็นเส้นวางเเปะอยุ่บนเม็ดพระศกเเละยาวลงมาจรดพระอังสะหรือหัวไหล่เสียส่วนใหญ่พระศอหรือคอเน้นให้เห็นสร้อยลูกประคำที่ค่อนข้างใหญ่เป็นเม็ดกลมบ้างตุ่มเเหลมบ้างซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษ พระหัตถ์หรือมือเเบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

คือถ้าประทับนั่งเเบบสมาธิ ส่วนใหญ่เเล้วจะประสานมือตามปกติ เเต่ถ้าประทับนั่งในเเบบถือสิ่งของได้เเก่ หม้อน้ำมนต์ ดอกบัว จักร สังข์ เเละตรี ซึ่งถือว่าเป็นพุทธบริโภค ก็จะมีความเเตกต่างกันออกไปตามเเต่จินตนาการของผู้สร้าง  ลักษณะการประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะฐาน 2 ชั้น ด้านหน้าเป็นกลีบมีลักษณะเเตกต่างกันออกไปเช่น บัวฟองมัน บัวเม็ดมะยม บัวตุ่ม บัวขีด เละบัวฟันปลา ซึ่งดังกล่างนี้นักเล่นพระใช้เป็นเครื่องกำหนดคุณค่าทางศิลปเเละราคาพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนหล่อสร้างด้วยเนื้อโลหะหลายชนิด ได้เเก่เนื้อสำริดเเก่เงิน หรือเเก่ทอง เนื้อกลับที่ออกกระเเสผิวดำสนิท เนื้อทองผสมวรรณะออกสีเหลืองนวลเเละเนื้อลงหิน เหล่านี้เป็นเครืองบ่งชี้ถึงกาลสมัยเเละสถานะผู้สร้างต
ลอดจนเป็นการเรียงลำดับตามค่านิยม เเละสภาพการเสาะหาพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตน

ที่มีความยากง่ายตามลำดับ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเเละหลักฐานหลายสิ่งรวมกันเชื่อว่ามีการสร้างขึ้นหลายยุคสมัย เเละผู้สร้างก็น่าจะเป็น พระมหากษัตริย์มีลงมาถึงเสนาบดี ตลอดทั้งพระเกจิอาจารย์ สังเกตจากศิลปบางองค์ศิลปชั้นสูงอาจเป็นฝีมือช่างหลวงดังนั้นเนื้อโลหะที่นำมาหล่อหลอมสร้างจะต้องผสมด้วยโลหะสกุลสูงทว่าบางองค์ศิลปธรรมดา เนื้อโลหะก็ธรรมดา                                            การเเบ่งเเยกสมัยของการสร้างพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตน

ต้องพิจารณาจากลักษณะเนื้อหากองค์ใดเนื้อจัด เนื้อมีความเเห้งมีคราบสนิมขุมครอบคลุม ในบางองค์มีลักษณะของผิวคล้ายกับเนื้อเมฆพัตรลักษณะเม็ดพระศกเเละเม็ดประคำตลอดจนฐานบัวตุ่มเป็นเม็ดใหญ่เชื่อกันว่าเป็นพระกริ่งที่สร้างขึ้นในยุ่คเเรก ส่วนการกำหนดอายุน่าจะสร้างขึ้นในสมัยขอมเรืองอำนาจประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 หรือตรงกับรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันเเละสร้างเรื่อยมาจนถึงปลายสมัยอยุธยาเเต่ไม่ว่าจะสร้างขึ้นในยุคสมัยใดก็ตามจะไม่เหมือนกันเลยเเม้เเต่องค์เดียวเพราะใช้กรรมวิธีปั้นหุ่นทีละองค์ไม่ได้เทหล่อในเเม่พิมพ์ พุทธคุณเน้นหนักทางอิทธิปาฎิหาริย์เเละอยู่ยงคงกระพัน เกียวกับพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตนนับเเต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้มีการทำเทียมเลียนเเบบออกมามากมายหลายฝีมือจนมีการขนามนามในหมู่นักเล่นพระต่างๆนานาเช่น เขมรอพยพ เขมรตกรถ เขมรราชบุรี จนถึงเขมรจอมซ่าวันนี้ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเลือกซื้อเช่าบูชาต้องพิจารณาให้รอบคอบควรปรึกษาผู้ชำนาษการโดยเฉพาะ

ขอสงวนลิขสิทธิ์บทความนี้ไม่ใช้ในการเป็นพาณิชย์เเต่ใช้ในเเนวทางศึกษาเท่านั้น ขอบคุณครับ





















READ MORE - ประวัติพระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กเเตน

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook