สมุดเเละรายละเอียดการบันทึกหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์
หลวงปู่คำ เป็นเจ้าอาวาสวัดอัมรินทร์ หลวงปู่โตเรียกท่านว่าหลวงพี่ ท่านไปช่วยหลวงปู่โตทำพระสมเด็จอยู่เสมอ เมื่อหลวงปู่โตมรณภาพแล้ว หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ จึงรวบรวมพิมพ์พระต่างๆ ของหลวงปู่โต แล้วทำการบันทึกย่อสั้น ๆ ไว้ ข้อนี้เป็นนิสัยของคนโบราณ หรือคนสมัยใหม่ก็ตามที่ไม่ใช่นักเขียน จะให้เขียนอะไรยาว ๆ แบบบรรยายก็เขียนไม่เป็น จึงบันทึกย่อไว้ เพียงแค่นี้ก็นับว่าเป็นหลักฐานอันสูงค่าแล้ว
บันทึกย่อนี้มีใจความว่า
หลวงปู่คำ องค์นั่งด้านซ้ายมือของหลวงปู่โต ส่วนองค์ขวามือคือพระปลัดไฮ้ หรือพระปลักมิศร์ เป็นพระฐานานุกรมของหลวงปู่ อยู่วัดระฆัง หลวงปู่โตเรียกหลวงปู่คำว่าหลวงพี่คำ
“พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒”
ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า “แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัตอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓ นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาป ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่งปฏิมาปกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปหรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้”
อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ต่ออีกว่า “พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก
พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์ เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ และพิมพ์ไกเซอร์ที่เสด็จยุโยป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว.” บันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ก็มีเเค่นี้ครับ
สมเด็จโตสร้างพระเมื่อไหร่จากตรียัมปวาย
คนทั้งหลายเชื่อตามตรียัมปวายซึ่งอ้างถึงคำสัมภาษณ์พระธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต และอุปสมบทเมื่อท่านได้เป็นสมเด็จพุฒาจารย์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระเมื่อท่านอุปสมบทได้ ๒ ปี
หมายความว่า ปี พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระ
พระธรรมถาวรอายุยืนถึง ๙๒ ปี ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก่อนตรียัมปวายเขียนหนังสือเรื่องพระสมเด็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง ๑๘ ปี
เป็นการอ้างอิงโดยไม่ได้สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง
ที่พูดเช่นนี้มิใช่หมายความว่าตรียัมปวายจะผิดแต่ประการใด เพียงแต่เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งประกอบการวิเคราะห์
๒.๒ จากหนังสือประวัติสมเด็จโต
หนังสือประวัติสมเด็จโตของ แฉล้ม โชติช่วง และมนัส ยอขันธ์ ที่พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กล่าวไว้ในหน้า ๖๓๓ ว่าท่านสร้างพระไว้ ๙ พิมพ์ สมัยเป็นลูกวัดธรรมดายังไม่มีตำแหน่ง ซึ่งในหน้า ๖๒๘ บอกไว้ว่า
ท่านสอนนักธรรมบาลี ๘ ปี จึงไปธุดงค์ นั่นคือท่านเริ่มธุดงค์ปี พ.ศ. ๒๓๕๘
ปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ท่านได้สมศักดิ์เป็นพระครูสามัญ แต่ท่านไม่รับ หนีไปไกล ๆ ถึงประเทศเขมร
ปี พ.ศ. ๒๓๗๘ ได้เป็นพระครูปริยัติธรรม
ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ ได้เป็นพระราชปัญญาภรณ์
ปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ได้เป็นพระเทพกวีศรีวิสุทธินายก
ปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ได้เป็นพระธรรมกิตติโสภณ
ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์
จะเห็นว่าปี พ.ศ. หลัง ๆ หนังสือประวัติสมเด็จโต เริ่มไม่ตรงกับหนังสืออื่น
หน้า ๖๔๘ บ่งไว้ว่าในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ ท่านไปได้วิธีทำพระเครื่องจากกำแพงเพชร และพระพิมพ์เจดีย์แหวกม่านในหน้า ๖๐๕ เป็นพระที่ท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๓ อายุ ๒๓ ปี พระพิมพ์พระประธาน วัดปากบาง ระบุไว้ในหน้า ๕๙๐ ว่าท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ อายุ ๓๑ ปีส่วนพิมพ์ ๗ ชั้น บอกไว้ในหน้า ๔๘๖ ท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ อายุ ๒๔ ปี
ดังนั้น ปี พ.ศ. ๒๓๕๓ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระสมเด็จตามที่ระบุไว้ในหนังสือ ประวัติสมเด็จโต ซึ่งมาจากบันทึกของหลวงปู่ดำสหธรรมิกของสมเด็จโต
๒.๓ จากหนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จ
พ.ต.ต. จำลอง บอกไว้ในหน้า ๑๘
“...ท่านได้เริ่มสร้างพระเครื่องตั้งแต่บวชเป็นพระในพรรษาแรกซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๐...”
ข้อมูลดังกล่าว พ.ต.ต. จำลอง ได้มาจาก “ผู้รู้” ซึ่งก็คือ “ผู้มีองค์สมเด็จโต” หรือจะกล่าวง่ายเข้าว่าเป็นการพูดผ่านร่างทรงก็ไม่อาจผิดนัก
ผู้ทำไม่คิดว่า พ.ต.ต. จำลองจะงมงาย เพราะจากคำพูดของผู้มีองค์สมเด็จโตที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและเปี่ยมด้วยสัจจธรรมก็มี เช่นคำพูดที่สอนเรื่องอธิษฐานและการทำบุญที่ว่า
“ลูกเอ๋ย...ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีเจ้าไม่พอ จึงค่อยยืมบารมีคนอื่นมาช่วย...หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีก็ต้องเอาไปใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัวแล้ว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วดินฟ้าจะช่วยเอง
“จงจำไว้นะ...เมื่อไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าก็ไม่ได้ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ อย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”
เป็นคำสอนที่ไพเราะเพราพริ้งบทหนึ่ง
โปรดสังเกตว่าข้อมูลจากหนังสือ พ.ต.ต. จำลอง กับของแฉล้ม โชติช่วงใกล้เคียงกัน...คือ
สมเด็จโตสร้างพระเครื่องตั้งแต่ท่านบวชใหม่ ๆ
ต่างกับของตรียัมปวายถึงเกือบหกสิบปี
ใครผิดใครถูก
ผู้ทำก็ไม่รู้ แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์จากข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ทำคิดว่า
ผิดทั้งหมด
ของตรียัมปวายก็สร้างหลังเกินไป ถ้าสร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ท่านจะสร้างตอนท่านอายุ ๗๘ ปี เหลือเวลาอีกแค่ ๖ ปี ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ
น้อยเกินไปที่จะสร้างพระถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ สองชุด ชุดแรกที่วัดระฆัง และ ชุดที่สองลงกรุที่วัดไชโย
ไม่นับพระที่แจกงานศพท่านที่ว่ามีคนมารับเป็นหมื่นคน
ส่วนของ พ.ต.ต. จำลอง กับ แฉล้ม โชติช่วงก็เร็วเกินไป เพราะท่านบวชใหม่ ๆ ยังไม่แตกฉาน ยิ่งต้องศึกษาทั้งคันถธุระกับวิปัสสนาธุระเป็นเวลาหลายปี
ไม่ต้องพูดถึง ๕ ปีแรกที่ต้องเป็นพระนวกะ จะทำอะไรก็ไม่ง่ายนัก เพราะยังอ่อนอาวุโส
สมมติฐานของ พ.ต.ต. จำลองเรื่องปีที่สร้างสอดคล้องกับประเด็นต่อไปที่จะวิเคราะห์คราวหน้า
สมเด็จโตสร้างพระทั้งสิ้นกี่องค์
อันสืบเนื่องจากหนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต ตอนที่ ๑
คำนำ
พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวิน เป็นนักสะสมพระเครื่องที่มีความจริงใจที่จะเผยแพร่สิ่งที่ตนได้ค้นคว้าและสะสมให้กับคนรุ่นหลัง
เพียงแต่แนวทางการสะสมของท่านผิดแผกจากการสะสมพระเครื่องในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ดูเหมือนว่าท่านเป็นพวกนอกลู่นอกทาง แต่ความจริงแล้วท่านเป็นตัวแทนของนักเล่นพระรุ่นเก่าที่ถือความนิยมแตกต่างจากนักเล่นพระที่เราเห็นกันทั่วไป
วิธีอธิบายให้เห็นชัดก็ต้องพูดถึงของ ๒ สิ่งที่มีต้นตอมาจากที่เดียวกันแต่แตกกิ่งก้านสาขาแปลกแยกออกไปเป็น ๒ สิ่งที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน
เราจะเห็นวิถีความเชื่อที่แตกตัวออกเป็น ๒ ทางได้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน
ยกตัวอย่างพระพุทธศาสนา แม้มีศาสดาองค์เดียวกันคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่สาวกรุ่นต่อ ๆ มามีการแยกออกเป็นสองนิกาย คือฝ่ายหินยานหรือเถรวาท และมหายานหรืออาจาริยวาท
เถรวาทในบ้านเราก็มีการแบ่งแยกตัวไปอีกเป็นธรรมยุตินิกาย และ มหานิกาย
ศาสนาอิสลามก็มีนิกายใหญ่ ๒ นิกาย ได้แก่ นิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นมุสลิมกลุ่มใหญ่ และนิกายชิอะห์ที่เป็นกลุ่มเล็กกว่า
คริสตศาสนาก็มีทั้งโรมันคาทอลิกที่เป็นนิกายใหญ่มีพระสันตปาปาเป็นประมุขสืบทอดจากนักบุญปีเตอร์ที่เป็นคนหาปลา กับนิกายโปแตสแต้นท์ที่แยกตัวออกมา อย่างที่ไทยเราจะเรียกคาธอลิกเป็นคริสตัง และโปรแตสแต้นท์เป็นคริสเตียน
ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่แตกต่างกันในเรื่อง ๆ เดียวกัน
วงการวิทยาศาสตร์ก็มีความเชื่อต่างกันเป็นสองฝ่ายได้ ตั้งแต่ทฤษฎีโลกแบน-โลกกลมในยุคแรกเริ่ม จนถึงความเชื่อในด้านทฤษฎีพลังงานในปัจจุบัน
นักจิตวิทยายังมีสองพวก พวกแรกเชื่อว่าคนดีหรือไม่ดีมาแต่เกิด ไม่ว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมใด จะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนเหล่านั้นได้
อีกพวกหนึ่งเชื่อว่าเกิดมาเหมือนผ้าขาว สิ่งแวดล้อมทำให้คนเปลี่ยนไป
ทฤษฎีหรือความเชื่อที่แตกต่างกัน ฝรั่งเรียกว่า School of Thought หรือโรงเรียนความคิด นักจิตวิทยาเชื่อว่าคนเป็นคนดีหรือไม่ดีแต่เกิด คือพวกเชื่อในธรรมชาติของคนหรือ Nature ส่วนพวกที่เชื่อว่าสิ่งแวดล้อมหลังการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ทำให้คนเปลี่ยนไป ก็คือ Nurture
สังคมผู้สะสมพระเครื่องก็เช่นกัน เราแบ่งได้ง่าย ๆ เป็น ๒ พวกคือ
๑. พวกที่เชื่อในรูปธรรม คือสิ่งที่จับต้องได้
๒. พวกที่เชื่อในนามธรรม คือพุทธานุภาพคือคุณวิเศษของพระเครื่องที่จับต้องไม่ได้
พ.ต.ต. จำลอง คือนักสะสมพระเครื่องสายนามธรรม หรือพวกที่เชื่อในพุทธานุภาพมากกว่ายึดติดในรูปแบบหรือตัวตน
ฉะนั้นสิ่งแรกที่อยากเรียนท่านผู้อ่านก็คือ
นักสะสมพระเครื่องที่คิดแบบ พ.ต.ต. จำลองไม่ผิด หรือไม่เพี้ยน
อย่าไปเชื่อพวกแรกที่ยึดติดในรูปแบบตัวตน ไม่ว่าจะเป็นพวกเนื้อหาพิมพ์ทรง หรือแม้แต่ที่พูดกันปาว ๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์หัวสีวันอาทิตย์ ว่านักสะสมพระเครื่องที่แท้ต้องเป็นพวกดูพิมพ์แบบพวกเขา พวกอื่นไม่ใช่
หรือที่บอกว่าจะรู้ถึงพุทธานุภาพได้ต้องเป็นพวกได้ฌานชั้นโน้นชั้นนี้หรือต้องเป็นอริยะบุคคลถึงจะรู้ถึงพลังพุทธานุภาพได้
ผู้ทำขอตั้งคำถามหน่อย
ถ้าเขาไม่ได้เป็นอริยบุคคลหรือได้ฌานตามนั้น...เขาจะรู้สึกอย่างไรว่าต้องเป็นพวกนี้เท่านั้นถึงจะรู้ถึงพุทธคุณหรือพุทธานุภาพได้
แล้วที่เขียนการปาว ๆ ว่าพระสมเด็จเป็นเลิศทางเมตตามหานิยม พวกเขาไปรู้มาจากไหน
สรุปง่าย ๆ
ถ้าเขาไม่เชื่อตามทฤษฎีหรือ School of Thought ของกลุ่มนิยมพุทธานุภาพ ก็อย่าไปลบหลู่หรือดูหมิ่นนักสะสมอย่าง พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวินว่าเป็นพวกนอกรีตหรือนอกลู่นอกทาง
เพราะมันแล้วแต่ความเชื่อของคน ๆ นั้น
ดังนั้นที่ผู้ทำอารัมภบทมายืดยาว ก็เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ที่จะเขียนถึงหนังสือและบทความของท่าน พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวินนั้น
ผู้ทำเขียนด้วยความเคารพและนับถือ และเชื่อว่า
ความเห็นอาจต่างกันได้
แต่ความจริงก็คือความจริง
คนเราสะสมพระเครื่องได้สองวิธี ติดยึดในรูปแบบ หรือเชื่อมั่นในพุทธคุณ
ประเด็นแรก : ชาติกำเนิดของสมเด็จโต
คนมีความเชื่ออยู่เยอะว่าสมเด็จโตเป็นลูกเจ้า ถึงกับมีการเอ่ยถึงมรณภาพของท่านว่า “สิ้นชีพิตักษัย” ซึ่งเป็นคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป
ถ้าตามประวัติของท่าน มีการพูดถึงการกรีธาทัพไปรบกับพม่าของเจ้าที่เมืองกำแพงเพชรในปี พ.ศ. ๒๓๓๐ นั้นอยู่สามพระองค์
พระองค์แรกคือรัชกาลที่ ๑ ซึ่งประวัติศาสตร์ระบุว่าท่านไม่เคยไปที่กำแพงเพชรก่อนที่สมเด็จโตจะปฏิสนธิ สำนวนเรื่องนี้มาจากหนังสือของพระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์) ซึ่งระบุปีเกิดของสมเด็จโตที่ พ.ศ. ๒๓๑๙ ผิดไปถึง ๑๒ ปี
องค์ที่สองคือ รัชกาลที่ ๒ ตามบันทึกของนายพรหม ขอมาลาที่ตรียัมปวายอ้างถึงใน ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง ว่าท่านเป็นบิดาของสมเด็จโตที่บทความเกี่ยวกับดวงชะตาสมเด็จโตอ้างถึง ซึ่งตามประวัติศาตร์ไม่ปรากฏว่าท่านเดินทัพไปที่นั่น
องค์สุดท้ายคือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ซึ่งเป็นน้องรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นแม่ทัพยกไปป้องกันเมืองลำปางและป่าซาง
ดังนั้นความเป็นไปได้ก็คือวังหน้า ถ้าตอนนั้นมารดาสมเด็จโตอยู่ที่กำแพงเพชรจริง ส่วนถ้าจะมีสมมติฐานใหม่ว่าไม่ใช่กำแพงเพชร แต่เป็นเมืองไชโย จังหวัดอ่างทอง ก็ต้องค้นคว้ากันใหม่ว่าเจ้าองค์ใดไปเจอมารดาสมเด็จโตที่นั่น
ในหนังสือ อนุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมภพ จันทรประภามีความเห็นว่าสมเด็จโตน่าจะเป็นลูกคนธรรมดาไม่ใช่ลูกเจ้าเสียด้วยซ้ำ จากหนังสือของ พ.ต.ต. จำลองมัลลิกะนาวิน
หลวงปู่คำ เป็นเจ้าอาวาสวัดอัมรินทร์ หลวงปู่โตเรียกท่านว่าหลวงพี่ ท่านไปช่วยหลวงปู่โตทำพระสมเด็จอยู่เสมอ เมื่อหลวงปู่โตมรณภาพแล้ว หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ จึงรวบรวมพิมพ์พระต่างๆ ของหลวงปู่โต แล้วทำการบันทึกย่อสั้น ๆ ไว้ ข้อนี้เป็นนิสัยของคนโบราณ หรือคนสมัยใหม่ก็ตามที่ไม่ใช่นักเขียน จะให้เขียนอะไรยาว ๆ แบบบรรยายก็เขียนไม่เป็น จึงบันทึกย่อไว้ เพียงแค่นี้ก็นับว่าเป็นหลักฐานอันสูงค่าแล้ว
บันทึกย่อนี้มีใจความว่า
หลวงปู่คำ องค์นั่งด้านซ้ายมือของหลวงปู่โต ส่วนองค์ขวามือคือพระปลัดไฮ้ หรือพระปลักมิศร์ เป็นพระฐานานุกรมของหลวงปู่ อยู่วัดระฆัง หลวงปู่โตเรียกหลวงปู่คำว่าหลวงพี่คำ
“พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒”
ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า “แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัตอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓ นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาป ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่งปฏิมาปกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปหรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้”
อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ต่ออีกว่า “พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก
พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์ เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ และพิมพ์ไกเซอร์ที่เสด็จยุโยป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว.” บันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ก็มีเเค่นี้ครับ
สมเด็จโตสร้างพระเมื่อไหร่จากตรียัมปวาย
คนทั้งหลายเชื่อตามตรียัมปวายซึ่งอ้างถึงคำสัมภาษณ์พระธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต และอุปสมบทเมื่อท่านได้เป็นสมเด็จพุฒาจารย์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระเมื่อท่านอุปสมบทได้ ๒ ปี
หมายความว่า ปี พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระ
พระธรรมถาวรอายุยืนถึง ๙๒ ปี ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก่อนตรียัมปวายเขียนหนังสือเรื่องพระสมเด็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง ๑๘ ปี
เป็นการอ้างอิงโดยไม่ได้สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง
ที่พูดเช่นนี้มิใช่หมายความว่าตรียัมปวายจะผิดแต่ประการใด เพียงแต่เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งประกอบการวิเคราะห์
๒.๒ จากหนังสือประวัติสมเด็จโต
หนังสือประวัติสมเด็จโตของ แฉล้ม โชติช่วง และมนัส ยอขันธ์ ที่พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กล่าวไว้ในหน้า ๖๓๓ ว่าท่านสร้างพระไว้ ๙ พิมพ์ สมัยเป็นลูกวัดธรรมดายังไม่มีตำแหน่ง ซึ่งในหน้า ๖๒๘ บอกไว้ว่า
ท่านสอนนักธรรมบาลี ๘ ปี จึงไปธุดงค์ นั่นคือท่านเริ่มธุดงค์ปี พ.ศ. ๒๓๕๘
ปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ท่านได้สมศักดิ์เป็นพระครูสามัญ แต่ท่านไม่รับ หนีไปไกล ๆ ถึงประเทศเขมร
ปี พ.ศ. ๒๓๗๘ ได้เป็นพระครูปริยัติธรรม
ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ ได้เป็นพระราชปัญญาภรณ์
ปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ได้เป็นพระเทพกวีศรีวิสุทธินายก
ปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ได้เป็นพระธรรมกิตติโสภณ
ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์
จะเห็นว่าปี พ.ศ. หลัง ๆ หนังสือประวัติสมเด็จโต เริ่มไม่ตรงกับหนังสืออื่น
หน้า ๖๔๘ บ่งไว้ว่าในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ ท่านไปได้วิธีทำพระเครื่องจากกำแพงเพชร และพระพิมพ์เจดีย์แหวกม่านในหน้า ๖๐๕ เป็นพระที่ท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๓ อายุ ๒๓ ปี พระพิมพ์พระประธาน วัดปากบาง ระบุไว้ในหน้า ๕๙๐ ว่าท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ อายุ ๓๑ ปีส่วนพิมพ์ ๗ ชั้น บอกไว้ในหน้า ๔๘๖ ท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ อายุ ๒๔ ปี
ดังนั้น ปี พ.ศ. ๒๓๕๓ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระสมเด็จตามที่ระบุไว้ในหนังสือ ประวัติสมเด็จโต ซึ่งมาจากบันทึกของหลวงปู่ดำสหธรรมิกของสมเด็จโต
๒.๓ จากหนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จ
พ.ต.ต. จำลอง บอกไว้ในหน้า ๑๘
“...ท่านได้เริ่มสร้างพระเครื่องตั้งแต่บวชเป็นพระในพรรษาแรกซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๐...”
ข้อมูลดังกล่าว พ.ต.ต. จำลอง ได้มาจาก “ผู้รู้” ซึ่งก็คือ “ผู้มีองค์สมเด็จโต” หรือจะกล่าวง่ายเข้าว่าเป็นการพูดผ่านร่างทรงก็ไม่อาจผิดนัก
ผู้ทำไม่คิดว่า พ.ต.ต. จำลองจะงมงาย เพราะจากคำพูดของผู้มีองค์สมเด็จโตที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและเปี่ยมด้วยสัจจธรรมก็มี เช่นคำพูดที่สอนเรื่องอธิษฐานและการทำบุญที่ว่า
“ลูกเอ๋ย...ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีเจ้าไม่พอ จึงค่อยยืมบารมีคนอื่นมาช่วย...หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีก็ต้องเอาไปใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัวแล้ว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วดินฟ้าจะช่วยเอง
“จงจำไว้นะ...เมื่อไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าก็ไม่ได้ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ อย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”
เป็นคำสอนที่ไพเราะเพราพริ้งบทหนึ่ง
โปรดสังเกตว่าข้อมูลจากหนังสือ พ.ต.ต. จำลอง กับของแฉล้ม โชติช่วงใกล้เคียงกัน...คือ
สมเด็จโตสร้างพระเครื่องตั้งแต่ท่านบวชใหม่ ๆ
ต่างกับของตรียัมปวายถึงเกือบหกสิบปี
ใครผิดใครถูก
ผู้ทำก็ไม่รู้ แต่ถ้าจะให้วิเคราะห์จากข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ทำคิดว่า
ผิดทั้งหมด
ของตรียัมปวายก็สร้างหลังเกินไป ถ้าสร้างปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ท่านจะสร้างตอนท่านอายุ ๗๘ ปี เหลือเวลาอีกแค่ ๖ ปี ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ
น้อยเกินไปที่จะสร้างพระถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ สองชุด ชุดแรกที่วัดระฆัง และ ชุดที่สองลงกรุที่วัดไชโย
ไม่นับพระที่แจกงานศพท่านที่ว่ามีคนมารับเป็นหมื่นคน
ส่วนของ พ.ต.ต. จำลอง กับ แฉล้ม โชติช่วงก็เร็วเกินไป เพราะท่านบวชใหม่ ๆ ยังไม่แตกฉาน ยิ่งต้องศึกษาทั้งคันถธุระกับวิปัสสนาธุระเป็นเวลาหลายปี
ไม่ต้องพูดถึง ๕ ปีแรกที่ต้องเป็นพระนวกะ จะทำอะไรก็ไม่ง่ายนัก เพราะยังอ่อนอาวุโส
สมมติฐานของ พ.ต.ต. จำลองเรื่องปีที่สร้างสอดคล้องกับประเด็นต่อไปที่จะวิเคราะห์คราวหน้า
สมเด็จโตสร้างพระทั้งสิ้นกี่องค์
อันสืบเนื่องจากหนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต ตอนที่ ๑
คำนำ
พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวิน เป็นนักสะสมพระเครื่องที่มีความจริงใจที่จะเผยแพร่สิ่งที่ตนได้ค้นคว้าและสะสมให้กับคนรุ่นหลัง
เพียงแต่แนวทางการสะสมของท่านผิดแผกจากการสะสมพระเครื่องในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ดูเหมือนว่าท่านเป็นพวกนอกลู่นอกทาง แต่ความจริงแล้วท่านเป็นตัวแทนของนักเล่นพระรุ่นเก่าที่ถือความนิยมแตกต่างจากนักเล่นพระที่เราเห็นกันทั่วไป
วิธีอธิบายให้เห็นชัดก็ต้องพูดถึงของ ๒ สิ่งที่มีต้นตอมาจากที่เดียวกันแต่แตกกิ่งก้านสาขาแปลกแยกออกไปเป็น ๒ สิ่งที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน
เราจะเห็นวิถีความเชื่อที่แตกตัวออกเป็น ๒ ทางได้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน
ยกตัวอย่างพระพุทธศาสนา แม้มีศาสดาองค์เดียวกันคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่สาวกรุ่นต่อ ๆ มามีการแยกออกเป็นสองนิกาย คือฝ่ายหินยานหรือเถรวาท และมหายานหรืออาจาริยวาท
เถรวาทในบ้านเราก็มีการแบ่งแยกตัวไปอีกเป็นธรรมยุตินิกาย และ มหานิกาย
ศาสนาอิสลามก็มีนิกายใหญ่ ๒ นิกาย ได้แก่ นิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นมุสลิมกลุ่มใหญ่ และนิกายชิอะห์ที่เป็นกลุ่มเล็กกว่า
คริสตศาสนาก็มีทั้งโรมันคาทอลิกที่เป็นนิกายใหญ่มีพระสันตปาปาเป็นประมุขสืบทอดจากนักบุญปีเตอร์ที่เป็นคนหาปลา กับนิกายโปแตสแต้นท์ที่แยกตัวออกมา อย่างที่ไทยเราจะเรียกคาธอลิกเป็นคริสตัง และโปรแตสแต้นท์เป็นคริสเตียน
ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่แตกต่างกันในเรื่อง ๆ เดียวกัน
วงการวิทยาศาสตร์ก็มีความเชื่อต่างกันเป็นสองฝ่ายได้ ตั้งแต่ทฤษฎีโลกแบน-โลกกลมในยุคแรกเริ่ม จนถึงความเชื่อในด้านทฤษฎีพลังงานในปัจจุบัน
นักจิตวิทยายังมีสองพวก พวกแรกเชื่อว่าคนดีหรือไม่ดีมาแต่เกิด ไม่ว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมใด จะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนเหล่านั้นได้
อีกพวกหนึ่งเชื่อว่าเกิดมาเหมือนผ้าขาว สิ่งแวดล้อมทำให้คนเปลี่ยนไป
ทฤษฎีหรือความเชื่อที่แตกต่างกัน ฝรั่งเรียกว่า School of Thought หรือโรงเรียนความคิด นักจิตวิทยาเชื่อว่าคนเป็นคนดีหรือไม่ดีแต่เกิด คือพวกเชื่อในธรรมชาติของคนหรือ Nature ส่วนพวกที่เชื่อว่าสิ่งแวดล้อมหลังการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ทำให้คนเปลี่ยนไป ก็คือ Nurture
สังคมผู้สะสมพระเครื่องก็เช่นกัน เราแบ่งได้ง่าย ๆ เป็น ๒ พวกคือ
๑. พวกที่เชื่อในรูปธรรม คือสิ่งที่จับต้องได้
๒. พวกที่เชื่อในนามธรรม คือพุทธานุภาพคือคุณวิเศษของพระเครื่องที่จับต้องไม่ได้
พ.ต.ต. จำลอง คือนักสะสมพระเครื่องสายนามธรรม หรือพวกที่เชื่อในพุทธานุภาพมากกว่ายึดติดในรูปแบบหรือตัวตน
ฉะนั้นสิ่งแรกที่อยากเรียนท่านผู้อ่านก็คือ
นักสะสมพระเครื่องที่คิดแบบ พ.ต.ต. จำลองไม่ผิด หรือไม่เพี้ยน
อย่าไปเชื่อพวกแรกที่ยึดติดในรูปแบบตัวตน ไม่ว่าจะเป็นพวกเนื้อหาพิมพ์ทรง หรือแม้แต่ที่พูดกันปาว ๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์หัวสีวันอาทิตย์ ว่านักสะสมพระเครื่องที่แท้ต้องเป็นพวกดูพิมพ์แบบพวกเขา พวกอื่นไม่ใช่
หรือที่บอกว่าจะรู้ถึงพุทธานุภาพได้ต้องเป็นพวกได้ฌานชั้นโน้นชั้นนี้หรือต้องเป็นอริยะบุคคลถึงจะรู้ถึงพลังพุทธานุภาพได้
ผู้ทำขอตั้งคำถามหน่อย
ถ้าเขาไม่ได้เป็นอริยบุคคลหรือได้ฌานตามนั้น...เขาจะรู้สึกอย่างไรว่าต้องเป็นพวกนี้เท่านั้นถึงจะรู้ถึงพุทธคุณหรือพุทธานุภาพได้
แล้วที่เขียนการปาว ๆ ว่าพระสมเด็จเป็นเลิศทางเมตตามหานิยม พวกเขาไปรู้มาจากไหน
สรุปง่าย ๆ
ถ้าเขาไม่เชื่อตามทฤษฎีหรือ School of Thought ของกลุ่มนิยมพุทธานุภาพ ก็อย่าไปลบหลู่หรือดูหมิ่นนักสะสมอย่าง พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวินว่าเป็นพวกนอกรีตหรือนอกลู่นอกทาง
เพราะมันแล้วแต่ความเชื่อของคน ๆ นั้น
ดังนั้นที่ผู้ทำอารัมภบทมายืดยาว ก็เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ที่จะเขียนถึงหนังสือและบทความของท่าน พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวินนั้น
ผู้ทำเขียนด้วยความเคารพและนับถือ และเชื่อว่า
ความเห็นอาจต่างกันได้
แต่ความจริงก็คือความจริง
คนเราสะสมพระเครื่องได้สองวิธี ติดยึดในรูปแบบ หรือเชื่อมั่นในพุทธคุณ
ประเด็นแรก : ชาติกำเนิดของสมเด็จโต
คนมีความเชื่ออยู่เยอะว่าสมเด็จโตเป็นลูกเจ้า ถึงกับมีการเอ่ยถึงมรณภาพของท่านว่า “สิ้นชีพิตักษัย” ซึ่งเป็นคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป
ถ้าตามประวัติของท่าน มีการพูดถึงการกรีธาทัพไปรบกับพม่าของเจ้าที่เมืองกำแพงเพชรในปี พ.ศ. ๒๓๓๐ นั้นอยู่สามพระองค์
พระองค์แรกคือรัชกาลที่ ๑ ซึ่งประวัติศาสตร์ระบุว่าท่านไม่เคยไปที่กำแพงเพชรก่อนที่สมเด็จโตจะปฏิสนธิ สำนวนเรื่องนี้มาจากหนังสือของพระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์) ซึ่งระบุปีเกิดของสมเด็จโตที่ พ.ศ. ๒๓๑๙ ผิดไปถึง ๑๒ ปี
องค์ที่สองคือ รัชกาลที่ ๒ ตามบันทึกของนายพรหม ขอมาลาที่ตรียัมปวายอ้างถึงใน ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง ว่าท่านเป็นบิดาของสมเด็จโตที่บทความเกี่ยวกับดวงชะตาสมเด็จโตอ้างถึง ซึ่งตามประวัติศาตร์ไม่ปรากฏว่าท่านเดินทัพไปที่นั่น
องค์สุดท้ายคือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ซึ่งเป็นน้องรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นแม่ทัพยกไปป้องกันเมืองลำปางและป่าซาง
ดังนั้นความเป็นไปได้ก็คือวังหน้า ถ้าตอนนั้นมารดาสมเด็จโตอยู่ที่กำแพงเพชรจริง ส่วนถ้าจะมีสมมติฐานใหม่ว่าไม่ใช่กำแพงเพชร แต่เป็นเมืองไชโย จังหวัดอ่างทอง ก็ต้องค้นคว้ากันใหม่ว่าเจ้าองค์ใดไปเจอมารดาสมเด็จโตที่นั่น
ในหนังสือ อนุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมภพ จันทรประภามีความเห็นว่าสมเด็จโตน่าจะเป็นลูกคนธรรมดาไม่ใช่ลูกเจ้าเสียด้วยซ้ำ จากหนังสือของ พ.ต.ต. จำลองมัลลิกะนาวิน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ