พระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งเเห่งหนึ่งในประเทศไทยถือว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไปเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อมีพระราชพิธีราชาภิเษก สถานที่ประกอบพิธีทำน้ำมูรธาภิเษกเเห่งหนึ่งก็คือพระธาตุพนม พระธาตุพนมอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุพนม พระอารามหลวงริมฝั่งเเม่น้ำโขง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ความเชื่อที่ว่าพระธาตุพนมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากเป็นที่เก็บ พระกรุ พระธาตุพนมบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก)ของพระพุทธเจ้าเมื่อสร้างพระธาตุพนมเสร็จเเล้วก็ยังเชื่อกันว่า มีเทวดาที่มีฤทธิ์เดชานุภาพมาช่วยกันดูเเลรักษา พระกรุ พระธาตุพนม เป็นจำนวนมาก พระธาตุพนมองค์ที่เห็นในปัจจุบันเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่เเต่ก็ยังมีความสำคัญเช่นเดิมสาเหตุที่ต้องมีการสร้างองค์พระธาตุพนมขึ้นใหม่ก็สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในค่ำวันหนึ่ง ตอนค่ำของวันที่11สิงหาคม พ.ศ.2518 เวลาประมาณ 19.30 นาฬิกา ชาวเมืองนครพนมที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกับองค์พระธาตุพนมต้องตกใจกับเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เช้าวันรุ่งขึ้นชาวไทยทั่วสารทิศก็ต้องตะลึงพรึงเพริดทันทีที่ทราบว่า สิ่งที่อยู่ภายในเป็นสิ่งสำคัญที่บรรจุเรื่องราวในอดีตที่เป็น พระกรุ พระธาตุพนม ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีอายุเก่าเเก่นับพันปีได้ล้มครืนลงมา
พระธาตุพนมเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองได้ทรุดหักโค่นไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ววัสดุที่ประกอบขึ้นเป็นองค์พระธาตุพนมได้พังทับสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเสียหายยับเยินเช่นกำเเพงเเก้วชั้นที่ 1-2 หอพระเหนือ-ใต้เจดีย์หอบูชาข้าวพระ ศาลาการเปรียญเเละวิหารหอพระเเก้ว พระธาตุพนมองค์ที่เก่าที่สร้างขึ้นจากเเรงศรัทธาของบรรพชนในอดีตสำหรับเป็นที่บรรจุพระกรุ พระธาตุพนม พระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก)ของพระพุทธเจ้าได้พังลงมาตามกาลเวลาเเต่ภายในระยะเวลาไม่ถึง4ปีด้วยเเรงศรัทธาจึงได้มีพระธาตุพนมองค์ใหม่ขึ้นเเทน มีรูปทรงเหมือนเดิมความสูงเท่าเดิมเเม้ว่าขนาดจะเล็กลงกว่าเดิมเล็กน้อยเเม้เเต่ลวดลายที่ประดับองค์พระธาตุพนม กรมศิลปากรพยายามตกเเต่งให้เหมือนเดิมทุกประการ การสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2519 เเละในเดือนมีนาคมพ.ศ.2522 พุทธศาสนิกชนก็มีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำหรับเคารพสักการะอีกวาระหนึ่งเเม้ว่าพระธาตุพนมองค์ปัจจุบันจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่เเต่พุทธศาสนิกชนก็ยังถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สมควรเเก่การเคารพสักการะเช่นที่บรรพบุรุษเคยเลื่อมใสศรัทธามาเเต่กาลก่อน ลักษณะองค์พระธาตุพนมมีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกเเต่งด้วยศิลปะลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ องค์พระธาตุพนมมีความสูง 53 เมตร มีฉัตร5ชั้น สูง 4 เมตร รวม 57 เมตร ฉัตรทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 16 กิโลกรัมเเละยังมีเพชร200เม็ดน้ำหนัก 6.1 กะรัตฝังในทองคำขาวเเละเงินประดับยอดฉัตรทองคำอีกด้วย ประวัติการสร้างพระธาตุพนมเเละบรรจุพระกรุ พระธาตุพนม
ไม่มีหลักฐานใดยืนยันอย่างเเน่นอนว่าสร้างสมัยใดมีเเต่เพียงตำนานที่กล่าวไว้ว่ามีอายุเก่าเเก่เกือบ 3000 ปีมาเเล้ว ตามเเผ่นทองจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กเเห่งนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2236-2245 เรียกชื่อเจดีย์นี้ว่า ธาตุพะนม ตำนานที่เก็บ พระกรุ พระธาตุพนมกล่าวไว้ว่าพระธาตุพนมสร้างครั้งเเรกประมาณ พ.ศ.8 สมัยที่ศรีโคตรบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองโดยมีเจ้าเมืองทั้ง 5 องค์ซึ่งเป็นเจ้าครองเมืองต่างๆเเละพระอรหันต์อีก 500 องค์มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานในการสร้าง สาเหตุที่สร้างมีอยู่ว่า สมัยเมื่อพระพุทธยังมีพระชนมชีพอยู่ได้เสด็จมายัง
ศรีโคตรบูรโดยพุทธปาฏิหาริย์พระองค์ตรัสกับพระมหากัสสปเถระว่าเมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานเเล้ว ขอให้นำพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าริมเเม่น้ำโขง ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าองค์เสด็จปรินิพพานพระมหากัสสปเถระเเละพระอรหันต์จำนวน 500องค์ก็อัญเชิญพระอุรังคธาตุมายังภูกำพร้าตามพระดำรัสของพระพุทธองค์ ในครั้งนนั้นมีเจ้าเมือง 5 เมืองซึ่งมีอาณาเขตอยู่ใกล้เคียงกับภูกำพร้าคือพระยาสุวรรณภิงคาระ เมืองหนองหานหลวง พระยาคำเเดง เมืองหนองหานน้อย พระยาจุลนีพรหมทัต เมืองจุลนี พระยาอินทปัตถนคร เมืองอินทปัตถนคร เเละพระยานันทเสน เมืองศรีโคตรบูร ครั้นทราบว่าที่พระมหากัสสปเถระอัญเชิญพระอุรังคธาตุมาที่ภูพร้า ก็มีจิตเลื่อมใสศรัทธาต่างก็จัดไพร่พลเเละบริจาคทรัพย์ช่วยกันสร้างพระเจดีย์บรรจุ พระกรุ พระธาตุพนมเเละพระอุรังคธาตุจนสำเร็จเเละบริจาควัตถุมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชาเช่น เงินเเท่ง ทองคำเเท่ง กระโถนทองคำ ซึ่งเเต่ละใบบรรจุเเก้วเเหวนทองคำเต็มกระโถน มงกุฏ เเก้วมรกตเเละของมีค่าอื่นๆเป็นจำนวนมาก ลักษณะการก่อสร้างในสมัยเเรกนั้นใช้ดินดิบก่อขึ้นไปเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมกว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปเถระ สูงสองวาข้างในเป็นโพรงเเล้วเผาให้สุกมีประตูเปิดปิดทั้งสี่ด้าน เมือสร้างเสร็จเเล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปเถระนำมาจากอินเดียประดิษฐานข้างในเเล้วปิดประตูทั้งสี่ด้านเปิดให้คนเข้าไปสักการะได้ในบางโอกาส ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองสืบต่อๆมาก็ได้ทำนุบำรุงเเละปรับปรุงอยู่เสมอกล่าวกันว่าในสมัยของพระยาสุมิตธรรมวงศาเมืองศรีโคตรบูร ได้เชิญชวนท้าวพระยาเมืองอื่นๆต่อเติมพระธาตุพนมให้สูงขึ้นเป็นชั้นที่2เเละอัญเชิญพระอุรังคธาตุขึ้นไปประดิษฐานไว้บนยอดองค์พระธาตุพนมด้วย ความตอนนี้พระโบราณาจารย์ได้บันทึกไว้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพานเเล้วได้ 500 ปีพระยาทั้งห้าที่สร้างพระธาตุพนมยุคเเรกได้มาเกิดเป็นพระอรหันต์ทั้ง 5 เดินทางมาขอความอุปถัมภ์บูรณะเจดีย์พระธาตุพนมที่เรียกในสมัยนั้นว่าอุโมงค์ภูกำพร้า กับพระยาสุมิตธรรมวงศาหรือสุมินทราชกษัตริย์ผู้ครองเมืองมรุกขรครที่ย้ายจากศรีโคตรบูร พ.ศ.2236-2245 สมเด็จพระสังฆราชาสัทธัมโชตนญาณวิเศษ เรียกกันทั่วไปว่า เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้พาราษฏรประมาณ 3,000 คนจากเวียงจันทร์มาอยู่พระธาตุพนมเเละช่วยกันปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมเป็นการใหญ่ ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีจึงได้เสร็จบริบูรณ์ มีการเสริมองค์พระธาตุตั้งเเต่ปากระฆังขึ้นไปจนสุดยอดทำให้พระธาตุมีความสูงถึง 43 เมตรทำฉัตรยอดด้วยทองคำฝังพลอยเเละนิลโดยรอบส่วนภายในองค์พระธาตุพนมนั้นท่านก็ได้นำสิ่งที่มีค่าต่างๆตามที่มีผู้ศรัทธาถวายให้ใส่ไว้เป็นพระกรุ พระธาตุพนมในผอบสำริดเเล้วจึงบรรจุอบนี้ในองค์พระธาตุสิ่งที่บรรจุไว้นั้นเป็นของมีค่าซึ่งประเมินค่ามิได้เช่นเจดีย์ศิลาเเละผอบทองคำบรรจุพระอุรังคธาตุเเละพระบรมสาริกธาตุ พระพุทธรูปทองคำหนัก 4.7 กิโลกรัมองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งหนัก18กิโลกรัม พระพุทธรูปเงิน พระเเก้วมรกตเเท้ๆเเละอัญมณีมีค่าต่างๆ ในระหว่างปีพ.ศ.2350-2356ได้มีการบูรณะพระธาตุพนมอีกครั้งหนึ่งได้ทำฉัตรขึ้นใหม่ด้วยทองคำ ประกอบด้วยเพชรพลอยอีกครั้งหนึ่งได้ทำฉัตรขึ้นใหม่ด้วยทองคำ ประกอบด้วยเพชร พลอยสีต่างๆ ประมาณ 200 เม็ดเเละทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระธาตุในปีพ.ศ.2356 ในปีพ.ศ.2444 พระครูวิโรจน์รัตโนบลเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีองค์เเรกได้เป็นหัวหน้าบูรณะซ่อมเเซมเนื่องจากเห็นว่าพระธาตุชำรุดทรุดโทรมมากเเละในการบูรณะครั้งนี้ก็ได้เพิ่มทองคำประดับยอดเเละประดับเเก้วกระจกที่ปากระฆังด้วย บริเวณใกล้เคียงกับองค์พระธาตุพนมได้รับการปรับปรุงใหญ่อีกครั้งหนึ่งเมื่อพระเทพรัตนโมลีเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมตั้งเเต่ พ.ศ.2480 เป็นต้นมาเช่นสร้างวิหารคดล้อมที่เก็บพระกรุ พระธาตุพนมสร้างซุ้มประตูทุกประตูเข้าองค์พระธาตุพนมปรับปรุงกำเเพงเเก้วชั้น2เเละชั้น3 ในระหว่างปีพศ.2483-2484 กรมศิลปากรได้ซ่อมเเซมพระธาตุพนม โดยเทคอนกรีตเสริมเหล็กจากเอวขึ้นไปจนถึงยอดสุดเเละต่อยอดให้สูงขึนไปจากเดิมอีก10เมตร ดังนั้นพระธาตุพนมจึงสูง 53 เมตรฉัตรทองคำสูง 5 เมตรขณะที่กำลังบูรณะองค์พระธาตุนั้นไทยกำลังมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศลเล่ากันว่าเครื่องบินรบฝรั่งเศลทิ้งลูกระเบิดมาที่ไว้พระกรุ พระธาตุพนม ถึง 60 ลูกเเต่ระเบิดก็ไม่ถูกองค์พระธาตุเลยไปตกลงในบึงหน้าวัดเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เมื่อพระธาตุพนมได้พังทลายลงมาเเล้วในปีพ.ศ.2518สิ่งที่พบภายในองค์พระธาตุท่อนกลางซึ่งอยู่สูงจากพื้นดิน 14.7 เมตรก็คือพระกรุ พระธาตุพนม เป็นพระอุรังคธาตุการบรรจุพระอุรังคธาตุนั้นทำอย่างสลับซับซ้อนมากกล่าวคือผอบทองคำอยู่ในตลับเงิน ตลับเงินอยู่ในบุษบกทองคำ บุษบกทองคำอยู่ในเจดีย์ศิลา เจดีย์ศิลาอยู่ในผอบสำริด ผอบสำริดบรรจุในพระธาตุชั้นที่ 2 ส่วนบน นอกจากนี้ภายในองค์พระธาตุยังมีพระกรุ พระธาตุพนมเป็นพระพุทธรูปจำนวนมากบรรจุอยู่ในกระปุกลายครามจากจีน ในไห เงินเหรียญสมัยต่างๆม้า เเก้ว ดอกไม้เงิน เรือเงิน เรือทอง ลานทองจารึก เครื่องประดับเงินเเละทอง รวมเเล้วมีพระกรุ พระธาตุพนมวัตถุมีค่าประมาณ 14,700 ชิ้นทางจังหวัดนครพนมได้จัดงานสมโภชพระอุรังคธาตุเป็นเวลาถึง 7 วัน7 คืนตั้งเเต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2518-วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2519 เเละตอนที่พระธาตุพนมพังทลายลงมานั้นได้ค้นพบพระกรุ พระธาตุพนมโบราณวัตถุที่ค้นพบในซากปรักพังขององค์พระธาตุ จำนวนหนึ่งเเละได้ไปเก็บ พระกรุ พระธาตุพนมไป
ส่วนหนึ่งพระกรุ พระธาตุพนมได้รับการเก็บรักษา
ไว้ที่ในพิพิธภัณฑ์ของวัดเป็นพระกรุ พระธาตุพนมสำหรับอนุชนได้ศึกษา อีกส่วนหนึ่งของพระกรุ พระธาตุพนมให้นำเข้าถวายคืนเเก่องค์พระธาตุรวม พระกรุ พระธาตุพนมทั้งวัตถุที่ประชาชนบริจาคเพิ่มเติมด้วย รวมเเล้วมีวัตถุ พระกรุพระธาตุพนม ที่บรรจุไว้มี 30,000 ชิ้น พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเเละสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปบรรจุพระอุรัง
คธาตุในองค์พระธาตุพนมเมื่อวันที 23 มีนาคม พศ.2522 งานสมโภชพระธาตุพนมที่ยึดถือกันมาเเต่โบราณทางวัดจัดให้มีขึ้นในเดือน 3 ขึ้น 10 ค่ำจนถึงวันเเรมค่ำเป็นเวลา7 วัน 7 คืน นับเป็นงานที่ยิ่งใหญ่
เพื่อเป็นศิริมงคลเเก่ตัวเองด้วยน่ะครับ อย่าลืมติดตามเรื่องต่อไปด้วยครับ ขอสงวนลิขสิทธิ์ในข้อความนี้ผู้คัดลอกได้รับผิดตามกฏหมาย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ