ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

พระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน
ประวัติพระองค์แรกที่จะพูดถึงคือ พระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน ที่ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ ทำแจกเมื่อคราวหาเสียงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อครั้งเลือกตั้ง ปี ๒๕๐๐ ความที่องค์พระเป็นพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินด้านหลังมีตราแผ่นดินอยู่ ทำให้คนเข้าใจว่าพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน เป็นพระที่กรมตำรวจทำขึ้น เพราะกรมตำรวจก็ใช้ตราแผ่นดินเป็นสัญลักษณ์ บางคนเข้าใจผิดเรียกหาเป็น “สมเด็จเผ่า” ตามชื่ออธิบดีกรมตำรวจยุคนั้น อันได้แก่ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เเท้ที่จริงเเล้วเป็นการสร้างโดยร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ ทำแจกเมื่อคราวหาเสียงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อครั้งเลือกตั้ง ปี ๒๕๐๐


 ด้านหน้าเเละด้านหลังพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน



ด้านข้างพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ส่วนพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินพระองค์ที่ ๒ คือ พระสมเด็จที่หลวงปู่นาค หรือ พระเทพสิทธินายก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ มีตราแผ่นดินประทับด้านหลังเหมือนกัน พระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของหลวงปู่นาคมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ท่านทำขึ้นเพื่อนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับพระสมเด็จเผ่าวัดอินทรวิหารที่ท่านไปนั่งปรกปลุกเสกด้วยสังเกตุว่าเนื้อพระจะต่างกันกับองค์พระดูล่ำกว่ากันเเละมีองค์เล็กพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินตอกลึกเข้าไปในเนื้อพระ  พิมพ์สองชั้นองค์เล็กจะคล้ายสมเด็จหลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ เเต่ของหลวงปู่นาคจะมีตราประทับทุกองค์เเละเนื้อดูเเกร่งกว่าพระสมเด็จพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินหลวงปู่นาค

เป็นพระสมเด็จจากวัดระฆังแน่นอน สร้างโดยหลวงปู่นาค เจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ มีอยู่หลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์คะแนน
พระชุดนี้เป็นของจริง เป็นพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลัง





องค์ที่หนึ่งด้านหน้าเเละด้านหลังพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของหลวงปู่นาค





องค์ที่สองด้านหน้าเเละด้านหลังพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของหลวงปู่นาค











 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ส่วนองค์ที่สี่นั้นเป็นพระสมเด็จตราหลังแผ่นดิน พิมพ์องค์เล็ก ของหลวงปู่นาค
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพเปรียบเทียบพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินพิมพ์ใหญ่เเละพิมพ์เล็กทั้งด้านหน้าเเละด้านหลังของหลวงปู่นาค
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพเปรียบเทียบระหว่างพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ กับพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินหลวงปู่นาค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพเปรียบเทียบพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินทั้งด้านหน้าเเละด้านหลังของ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์กับพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินหลวงปู่นาค



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ส่วนที่ว่าสร้างในยุคสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เพราะมีคนอ้างว่าพระสมเด็จหลังตราแผ่นดินเป็นพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้างถวายรัชกาลที่ ๕ มีหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์ของ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ และพิมพ์อื่น ๆนั้นไม่เป็นความจริงขัดกับประวัติศาตร์ทั้งสิ้น

สรุป
พระสมเด็จตราหลังแผ่นดินของ ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์
ไม่ใช่พระสมเด็จเผ่า และไม่ได้ปลุกเสกโดยสมเด็จโต
เพราะพระสมเด็จเผ่าก็คือพระสมเด็จวัดอินทร์ฯปี๒๔๙๕หลังเรียบ ซึ่งไม่ใช่พิมพ์ที่โชว์ และไม่ใช่พระสมเด็จที่อ้างว่าสมเด็จโตปลุกเสก เพราะตราแผ่นดินเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ หลังท่านมรณภาพแล้ว
แล้วพระสมเด็จองค์นี้เป็นของจริงหรือของเล่น?
คำตอบก็คือ วงการทั่วไปถือว่าพระสมเด็จตราหลังแผ่นดินเป็นของเล่น เพราะมีที่มาชัดเจนจากนักสะสมรุ่นเก่าท่านหนึ่งว่า ร.ต.อ. ชาญ กระตุฤกษ์ทำแจกตอนหาเสียง พ.ศ. ๒๕๐๐ ไม่ใช่กรมตำรวจจัดสร้าง และไม่ใช่พลตำรวจเอกเผ่าเป็นประธาน
 
การสร้างพระสมเด็จเผ่า
บุคคลแรก คือ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการสร้างพระสมเด็จที่วัดอินทรวิหาร โดยมีพระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพิธี

พระวัดอินทร์ฯ ปี ๒๔๙๕ หรือที่เรียกกันว่า “สมเด็จเผ่า” เป็นพระเนื้อผงหลังเรียบ ไม่มีการปั๊มตรา ไม่ว่าจะเป็นตราจม หรือตราวัด พิมพ์ที่นิยมเล่นหากันก็คือพิมพ์อกร่องหูบายศรี
ฉะนั้น “สมเด็จเผ่า” ก็คือพระสมเด็จวัดอินทร์ ๙๕ หลังเรียบเท่านั้น



สมเด็จเผ่าด้านหน้าเเละด้านหลังซึ่งท่านสร้างจะไม่มีตราหลังแผ่นดินเด็ดขาด





 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

1 ความคิดเห็น:

aramboy กล่าวว่า...

แล้วทำไมด้านหลังที่ปั้มขององพระ เหมือนกับด้านหลังของเหรียญบาทสมัยรัชการที่ 5ครับ
แต่แค่เกียบเหมือน ตราโล่ตำรวจแค่นั้นเอง

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook