หลวงปู่ภู วัดอินทราราม
เดิมชื่อ วัดอินทาราม หรือ วัดบางขุนพรหมนอก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นคนสร้าง แต่มีเรื่องเล่ากันว่า เจ้าอินทร์ หรือ อินทะวงศ์ มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวเมืองเวียงจันทร์ เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ธิดาของเจ้าอินทะ คนหนึ่งมีนามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ในสมัยนั้น เมืองเวียงจันทร์ยังเป็นเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชทานที่ดิน แถบที่ตั้งวัดอินทราราม ในปัจจุบัน ให้เป็นที่อยู่ของชาวเวียงจันทร์ เจ้าอินทร์ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอรัญญิก ซึ่งมีเชื้อสายชาวเวียงจันทร์ มาปกครองวัด
มูลเหตุการเปลี่ยนชื่อ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าอินทร์ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถส่วนการเปลี่ยนชื่อเพราะเนื่องจากชื่อวัด ไปตรงกับวัดอินทาราม (ใต้) ฝั่งธนบุรี จึงได้เปลี่ยนเป็น วัดอินทราวิหาร เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน ในสมัยรัชกาลที่ ๖
พระพุทธรูปที่สำคัญ ของวัดอินทรวิหาร
๑. พระประธาน ในพระอุโบสถ
๒. พระศรีสุคต อังคีรสศากยมุนี
๓. พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือ หลวงพ่อโต
ความสัมพันธ์ของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับหลวงปู่ภู วัดอินทราราม
พระศรีอริยเมตไตรย์เป็นพระพุทธยืนอุ้มบาตร สูงใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้เริ่มต้นสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และหลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ
ปกติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านมักจะสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่โต สมกับชื่อเพื่อเป็นพุทธบูชา (อุเทสิกเจดีย์) ไว้เป็นที่สักการะบูชา และปริศนาธรรมควบคู่ไปด้วยตามประวัติท่านสร้างไว้หลายแห่งเช่น
๑. ที่วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา ได้สร้างพระนอน มีความหมายว่า ท่านได้เกิดที่นั่น ต้องนอนแบเบาะก่อน
๒. ที่วัดเกศไชโย สร้างพระพุทธรูปปางนั่งหมายถึงท่านหัดนั่ง ณ ที่นั้น
๓. ที่วัดอินทรวิหาร สร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ (พระยืนอุ้มบาตร) หมายถึงท่านหัดยืน ณ ที่นั้น
ในขณะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโต ท่านก็ได้หลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นกำลังสำคัญ เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างพระโต ไปได้เพียงครึ่งองค์ก็สิ้นชีพตักษัยเสียก่อน ตามหลักฐานขณะนั้นหลวงปู่ภูอายุได้ ๔๓ ปี พรรษาที่ ๒๓ นับว่าชราภาพมากแล้ว
ความสัมพันธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จโตกับวัดอินทรวิหาร
เมื่อเยาว์วัยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ (โต) ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในสมัยนั้นตามหลักฐาน ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) มีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จดี ได้เคยกล่าวกับพระยาทิพโกษาฯ ว่าถ้าอยากรู้ประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ก็ไปดูภาพฝาผนังโบสถ์ที่วัดอินทรารามได้
นอกจากนี้ในสมัยที่หลวงปู่ภู วัดอินทรารามยังมีชีวิตอยู่ท่านได้สั่งกำชับ และสอนลูกศิษย์ทุกคนห้ามมิให้ขึ้นไปบนพระโต เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จได้บรรจุของดีไว้ภายในฐาน ถ้าใครขึ้นไปจะเป็นอัปมงคลแก่ตัวเอง ส่วนของดีนั้นเข้าใจว่าอาจจะเป็นพระเครื่องสมเด็จก็ได้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าซักถามหลวงปู่ภู วัดอินทรารามว่า ภายในบรรจุอะไรไว้ เพราะตลอดระยะเวลา ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโตและบรรจุของศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ภู วัดอินทรารามได้รู้เห็นโดยตลอด ถ้าของที่บรรจุไว้ไม่ใช่ของสูงท่านคงไม่กำชับลูกศิษย์ลูกหาของท่านเป็นแน่
เอาละครับตอนนี้ข้าพเจ้าขอนำท่านผู้อ่านได้มารู้จักกับชีวประวัติของพระครูธรรมานุกูลหรือหลวงปู่ภู วัดอินทราราม
พระครูธรรมานุกูล นามเดิมชื่อว่า ภู เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับปีขาลโดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ พออายุได้ ๙ขวบ บิดามารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแคจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า "จนฺทสโร"
เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่
สำหรับวัดท่าแค ในสมัยที่ หลวงปู่ภู วัดอินทราราม จำพรรษาอยู่ นั้นยังเป็นวัดเล็กๆ เข้าใจว่าโบสถ์ยังไม่ได้สร้างท่านจึงได้มาอุปสมบท ที่วัดท่าคอยแล้วกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมอีก ปัจจุบันวัดท่าแคนี้ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตัวจังหวัดตากตำบล เชียงเงิน อำเภอเมือง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม
ในสมัยที่หลวงปู่ภู วัดอินทราราม เดิมธุดงค์มากรุงเทพมหานคร ครั้งแรก ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาปักกลดอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมาก มีแต่ต้นรังต้นตาลที่ขึ้นระเกะระกะไปหมด นอกจากนี้ยังมีทางเกวียนทางเท้าเป็นช่องเล็กๆ พอเดินไปได้เท่านั้น ท่านได้มาปักกลดอยู่บริเวณชายแม่น้ำเจ้าพระยา พอตกกลางคืนได้นิมิตฝันไปว่า ได้มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน ๓ ดวง เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็ได้พิจารณาถึงนิมิตนั้นพอจะทราบว่า ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๓ ปีเศษ
การเดินธุดงค์ของหลวงปู่ภู วัดอินทราราม นับตั้งแต่เดินทางออกมาจากวัดท่าแคเข้าจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของท่านที่ได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศฯ ได้ช่วยชีวิตรักษาคนป่วย เป็นอหิวาตกโรคไว้ ๖ คนซึ่งยุคนั้นถือว่าอหิวาตกโรคร้ายแรงมาก ยังไม่มียาจะรักษาถ้าใครเป็นมีหวังตายลูกเดียว และในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนัก จนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า "ปีระกาห่าใหญ่"
ต่อมาหลวงปู่ภู วัดอินทรารามได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ
กาลต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทาราม ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนสมณศักดิ์ที่หลวงปู่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะตามหลักฐาน ศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ภู) ผู้ชราภาพอายุ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ท่านจึงได้มอบฉันทะ ให้พระครูสังฆบริบาล ปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ
หลวงปู่ภู วัดอินทรารามท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา เวลา ๐๑.๑๕ น. รวมสิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๘๓ พรรษา นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงวันมรณภาพเป็นเวลา ๑๓ ปี
ผู้สร้าง หลวงปู่ภู วัดอินทราราม หรือ พระครูธรรมานุกูล แห่งวัดอินทรวิหาร ตำบลบางขุนพรหม กรุงเทพฯ
ศิลปสกุลช่าง ช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ยุคหลัง
อายุการสร้าง หลวงปู่ภู วัดอินทราราม ท่านสร้างพระมาตลอด หากจะนับช่วงอายุที่แน่ชัด
ในวงการพระจะนับจากรุ่นแซยิด ตอนท่านอายุครบ 100 ปี
เมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งมีอายุการสร้างพระโดยประมาณ 65 ปี ขึ้นไป
องค์ประกอบพระ หลวงปู่ภู วัดอินทราราม ท่านได้สร้างพระไว้หลายรุ่น โดยใช้หลักการเดียวกับพระสมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พรหมรังสี) คือใช้ผงปูนผสม กับผงพุทธคุณ จากการสังเกตจะเห็นว่า พระช่วงแรก ๆ
จะมีเนื้อค่อนข้างหยาบ (อาจจะมีส่วนผสมของผงพุทธคุณมากกว่า)
ลักษณะวรรณะพระ ลักษณะโดยทั่วไปจะมีความแน่นและแห้งจัด สีจะออกเหลืองหม่น ๆ
ลักษณะเนื้อพระจะคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า
มากในบางองค์จะออกเป็นสีขาวนวล ๆ หรือสีออกเทา ก็มี
พุทธลักษณะ พระหลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นพระที่สร้างไว้ จำนวนพิมพ์มากที่สุดประเภทหนึ่ง
มีทั้งพิมพ์สมเด็จแบบต่าง ๆ พิมพ์ห้าเหลี่ยม พิมพ์สามเหลี่ยม
แบบกลีบบัว แบบพระปิดทวาร แบบพระปิดตา แบบเล็บมือ รวมทั้งที่สร้างขึ้นแล้ว
มีขนาดเล็ก ๆ อีกมากมายหลายพิมพ์ จนเรียกได้ว่าพระหลวงปู่ภู มีพุทธลักษณะ
ทุกอิริยาบถทั้ง นั่ง ยืน นอน
จำแนกพิมพ์ จากการที่พระหลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นพระที่มีการสร้างหลายแบบ ดังที่กล่าวมาแล้ว
จึงทำให้ยากต่อการกำหนดพิมพ์ที่สร้างขึ้นมาให้แน่
นอนลงตัวได้ คงจะพอจำแนกพิมพ์ที่เป็นที่นิยมเล่นหากันจริง ๆ เท่านั้น
เพื่อเป็นสังเขปต่อการศึกษา จดจำ
1. พระพิมพ์แซยิด แขนหักศอก
2. พระพิมพ์แซยิด แขนกลม
3. พระพิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่ง แขนกลม
4. พระพิมพ์แปดชั้น แขนหักศอก
5. พระพิมพ์แปดชั้น แขนกลม
6. พระพิมพ์สามชั้น ก้างปลา หูบายศรี
7. พระพิมพ์สามชั้น ทรงเจดีย์
8. พระพิมพ์ฐานคู่แขนกว้าง
9. พระพิมพ์ฐานคู่ พิมพ์เล็ก
10. พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตรใหญ่
11. พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตรเล็ก
12. พระพิมพ์ใสยาสน์
13. พระพิมพ์ยืนลีลา
14. พระพิมพ์สังกัจจายน์ห้าเหลี่ยม
15. พระพิมพ์ปิดตาสองหน้า
16. พระพิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยม
17. พระพิมพ์เจดีย์ซุ้มเรือนแก้ว
18. พระพิมพ์จิ๋วต่าง ๆ เป็นต้น
เดิมชื่อ วัดอินทาราม หรือ วัดบางขุนพรหมนอก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นคนสร้าง แต่มีเรื่องเล่ากันว่า เจ้าอินทร์ หรือ อินทะวงศ์ มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวเมืองเวียงจันทร์ เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ธิดาของเจ้าอินทะ คนหนึ่งมีนามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ในสมัยนั้น เมืองเวียงจันทร์ยังเป็นเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชทานที่ดิน แถบที่ตั้งวัดอินทราราม ในปัจจุบัน ให้เป็นที่อยู่ของชาวเวียงจันทร์ เจ้าอินทร์ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอรัญญิก ซึ่งมีเชื้อสายชาวเวียงจันทร์ มาปกครองวัด
มูลเหตุการเปลี่ยนชื่อ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าอินทร์ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถส่วนการเปลี่ยนชื่อเพราะเนื่องจากชื่อวัด ไปตรงกับวัดอินทาราม (ใต้) ฝั่งธนบุรี จึงได้เปลี่ยนเป็น วัดอินทราวิหาร เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน ในสมัยรัชกาลที่ ๖
พระพุทธรูปที่สำคัญ ของวัดอินทรวิหาร
๑. พระประธาน ในพระอุโบสถ
๒. พระศรีสุคต อังคีรสศากยมุนี
๓. พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือ หลวงพ่อโต
ความสัมพันธ์ของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับหลวงปู่ภู วัดอินทราราม
พระศรีอริยเมตไตรย์เป็นพระพุทธยืนอุ้มบาตร สูงใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้เริ่มต้นสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และหลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ
ปกติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านมักจะสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่โต สมกับชื่อเพื่อเป็นพุทธบูชา (อุเทสิกเจดีย์) ไว้เป็นที่สักการะบูชา และปริศนาธรรมควบคู่ไปด้วยตามประวัติท่านสร้างไว้หลายแห่งเช่น
๑. ที่วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา ได้สร้างพระนอน มีความหมายว่า ท่านได้เกิดที่นั่น ต้องนอนแบเบาะก่อน
๒. ที่วัดเกศไชโย สร้างพระพุทธรูปปางนั่งหมายถึงท่านหัดนั่ง ณ ที่นั้น
๓. ที่วัดอินทรวิหาร สร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ (พระยืนอุ้มบาตร) หมายถึงท่านหัดยืน ณ ที่นั้น
ในขณะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโต ท่านก็ได้หลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นกำลังสำคัญ เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างพระโต ไปได้เพียงครึ่งองค์ก็สิ้นชีพตักษัยเสียก่อน ตามหลักฐานขณะนั้นหลวงปู่ภูอายุได้ ๔๓ ปี พรรษาที่ ๒๓ นับว่าชราภาพมากแล้ว
ความสัมพันธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จโตกับวัดอินทรวิหาร
เมื่อเยาว์วัยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ (โต) ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในสมัยนั้นตามหลักฐาน ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) มีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จดี ได้เคยกล่าวกับพระยาทิพโกษาฯ ว่าถ้าอยากรู้ประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ก็ไปดูภาพฝาผนังโบสถ์ที่วัดอินทรารามได้
นอกจากนี้ในสมัยที่หลวงปู่ภู วัดอินทรารามยังมีชีวิตอยู่ท่านได้สั่งกำชับ และสอนลูกศิษย์ทุกคนห้ามมิให้ขึ้นไปบนพระโต เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จได้บรรจุของดีไว้ภายในฐาน ถ้าใครขึ้นไปจะเป็นอัปมงคลแก่ตัวเอง ส่วนของดีนั้นเข้าใจว่าอาจจะเป็นพระเครื่องสมเด็จก็ได้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าซักถามหลวงปู่ภู วัดอินทรารามว่า ภายในบรรจุอะไรไว้ เพราะตลอดระยะเวลา ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโตและบรรจุของศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ภู วัดอินทรารามได้รู้เห็นโดยตลอด ถ้าของที่บรรจุไว้ไม่ใช่ของสูงท่านคงไม่กำชับลูกศิษย์ลูกหาของท่านเป็นแน่
เอาละครับตอนนี้ข้าพเจ้าขอนำท่านผู้อ่านได้มารู้จักกับชีวประวัติของพระครูธรรมานุกูลหรือหลวงปู่ภู วัดอินทราราม
พระครูธรรมานุกูล นามเดิมชื่อว่า ภู เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับปีขาลโดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ พออายุได้ ๙ขวบ บิดามารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแคจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า "จนฺทสโร"
เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่
สำหรับวัดท่าแค ในสมัยที่ หลวงปู่ภู วัดอินทราราม จำพรรษาอยู่ นั้นยังเป็นวัดเล็กๆ เข้าใจว่าโบสถ์ยังไม่ได้สร้างท่านจึงได้มาอุปสมบท ที่วัดท่าคอยแล้วกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมอีก ปัจจุบันวัดท่าแคนี้ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตัวจังหวัดตากตำบล เชียงเงิน อำเภอเมือง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม
ในสมัยที่หลวงปู่ภู วัดอินทราราม เดิมธุดงค์มากรุงเทพมหานคร ครั้งแรก ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาปักกลดอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมาก มีแต่ต้นรังต้นตาลที่ขึ้นระเกะระกะไปหมด นอกจากนี้ยังมีทางเกวียนทางเท้าเป็นช่องเล็กๆ พอเดินไปได้เท่านั้น ท่านได้มาปักกลดอยู่บริเวณชายแม่น้ำเจ้าพระยา พอตกกลางคืนได้นิมิตฝันไปว่า ได้มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน ๓ ดวง เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็ได้พิจารณาถึงนิมิตนั้นพอจะทราบว่า ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๓ ปีเศษ
การเดินธุดงค์ของหลวงปู่ภู วัดอินทราราม นับตั้งแต่เดินทางออกมาจากวัดท่าแคเข้าจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของท่านที่ได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศฯ ได้ช่วยชีวิตรักษาคนป่วย เป็นอหิวาตกโรคไว้ ๖ คนซึ่งยุคนั้นถือว่าอหิวาตกโรคร้ายแรงมาก ยังไม่มียาจะรักษาถ้าใครเป็นมีหวังตายลูกเดียว และในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนัก จนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า "ปีระกาห่าใหญ่"
ต่อมาหลวงปู่ภู วัดอินทรารามได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ
กาลต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทาราม ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนสมณศักดิ์ที่หลวงปู่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะตามหลักฐาน ศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ภู) ผู้ชราภาพอายุ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ท่านจึงได้มอบฉันทะ ให้พระครูสังฆบริบาล ปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ
หลวงปู่ภู วัดอินทรารามท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา เวลา ๐๑.๑๕ น. รวมสิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๘๓ พรรษา นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงวันมรณภาพเป็นเวลา ๑๓ ปี
ผู้สร้าง หลวงปู่ภู วัดอินทราราม หรือ พระครูธรรมานุกูล แห่งวัดอินทรวิหาร ตำบลบางขุนพรหม กรุงเทพฯ
ศิลปสกุลช่าง ช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ยุคหลัง
อายุการสร้าง หลวงปู่ภู วัดอินทราราม ท่านสร้างพระมาตลอด หากจะนับช่วงอายุที่แน่ชัด
ในวงการพระจะนับจากรุ่นแซยิด ตอนท่านอายุครบ 100 ปี
เมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งมีอายุการสร้างพระโดยประมาณ 65 ปี ขึ้นไป
องค์ประกอบพระ หลวงปู่ภู วัดอินทราราม ท่านได้สร้างพระไว้หลายรุ่น โดยใช้หลักการเดียวกับพระสมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พรหมรังสี) คือใช้ผงปูนผสม กับผงพุทธคุณ จากการสังเกตจะเห็นว่า พระช่วงแรก ๆ
จะมีเนื้อค่อนข้างหยาบ (อาจจะมีส่วนผสมของผงพุทธคุณมากกว่า)
ลักษณะวรรณะพระ ลักษณะโดยทั่วไปจะมีความแน่นและแห้งจัด สีจะออกเหลืองหม่น ๆ
ลักษณะเนื้อพระจะคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า
มากในบางองค์จะออกเป็นสีขาวนวล ๆ หรือสีออกเทา ก็มี
พุทธลักษณะ พระหลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นพระที่สร้างไว้ จำนวนพิมพ์มากที่สุดประเภทหนึ่ง
มีทั้งพิมพ์สมเด็จแบบต่าง ๆ พิมพ์ห้าเหลี่ยม พิมพ์สามเหลี่ยม
แบบกลีบบัว แบบพระปิดทวาร แบบพระปิดตา แบบเล็บมือ รวมทั้งที่สร้างขึ้นแล้ว
มีขนาดเล็ก ๆ อีกมากมายหลายพิมพ์ จนเรียกได้ว่าพระหลวงปู่ภู มีพุทธลักษณะ
ทุกอิริยาบถทั้ง นั่ง ยืน นอน
จำแนกพิมพ์ จากการที่พระหลวงปู่ภู วัดอินทราราม เป็นพระที่มีการสร้างหลายแบบ ดังที่กล่าวมาแล้ว
จึงทำให้ยากต่อการกำหนดพิมพ์ที่สร้างขึ้นมาให้แน่
นอนลงตัวได้ คงจะพอจำแนกพิมพ์ที่เป็นที่นิยมเล่นหากันจริง ๆ เท่านั้น
เพื่อเป็นสังเขปต่อการศึกษา จดจำ
1. พระพิมพ์แซยิด แขนหักศอก
2. พระพิมพ์แซยิด แขนกลม
3. พระพิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่ง แขนกลม
4. พระพิมพ์แปดชั้น แขนหักศอก
5. พระพิมพ์แปดชั้น แขนกลม
6. พระพิมพ์สามชั้น ก้างปลา หูบายศรี
7. พระพิมพ์สามชั้น ทรงเจดีย์
8. พระพิมพ์ฐานคู่แขนกว้าง
9. พระพิมพ์ฐานคู่ พิมพ์เล็ก
10. พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตรใหญ่
11. พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตรเล็ก
12. พระพิมพ์ใสยาสน์
13. พระพิมพ์ยืนลีลา
14. พระพิมพ์สังกัจจายน์ห้าเหลี่ยม
15. พระพิมพ์ปิดตาสองหน้า
16. พระพิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยม
17. พระพิมพ์เจดีย์ซุ้มเรือนแก้ว
18. พระพิมพ์จิ๋วต่าง ๆ เป็นต้น
4 ความคิดเห็น:
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://www.soonphra.com/content/viewtopic/viewtopic.php?topicid=15&topicdetailid=28
ผมอยากรู้ว่าสมเด็จหลวงปู่ภู7ชั้นพิมพ์หูติ่งแท้..ปลอมดูพิมพ์ทรงยังไงครับขอบคณุมากๆๆที่ชี้ทางสว่างให้ครับ
พอดีผมได้มาองค์ 1 ดูๆก็เหมือนพระใหม่ คนที่เอามาให้บอกว่าเป็นพิมท์ย้อนยุค ครับผมก็ดูไม่เป็น
ผมก็มีองนึงครับเนื้อได้พิมก็ได้แต่ทำไมเนื้อรานครับเพราะเห็นองค์อื่นไม่รานเลย
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ