ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

ประวัติพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี

วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี เป็นเเหล่งกำเนิดพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักเเละจุ่มรักอันลือลั่นของ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงพระปิดตารุ่นเเรกๆสร้างไล่เลี่ยระยะเดียวกันกับพระสมเด็จวัดระฆัง ของเจ้าประคุณท่านสมเด็จพระพุฒจารย์โต คือเมื่อประมาณปี 2410 หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงสร้างพระปิดตาไว้ 2 พิมพ์ คือ พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักพิมพ์ตะพาบ กับพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักพิมพ์ชะลูด ที่นิยมกันมากเฉพาะเนื้อผงคลุกรักเท่านั้น ส่วนเนื้ออื่นๆจะมีหรือไม่นั้นยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักนี้เมื่อพิมพ์เป็นองค์พระเเล้วยังทาด้วยรัก หรือจุ่มรักที่ผสมชาดเเดง ทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง ผิวจะปรากฎมีสีเเดงๆอยู่ทั่วไปบางองค์ก็มีปิดทองไว้ด้วย พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงส่วนมากด้านข้างจะปรากฎ รอยตะเข็บ รอยประกบเเม่พิมพ์เเละเหตุที่ผิวพระถูกเคลือบไว้ด้วยรักผสมชาดเเดงนั้น ผิวองค์พระจะปริ หรือเเตกกะเทาะเสียเป็นส่วนมาก นอกจากพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักเเละจุ่มรักเเล้วหลวงปู่เอี่ยมยังได้สร้างตะกรุดมหาโสฬลมงคล ซึ่งเป็นนิยมเเละหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก วัดสะพานสูงเป็นพระอารามโบราณเก่าเเก่มีมาช้านาน จนไม่อาจสืบทราบว่าความเป็นมาเเต่หนหลังได้ เพราะขาดการบันทึกหลักฐาน เเละเเม้เเต่การถ่ายทอดสืบจำเรื่องราวต่างๆของพระอารามนี้เพิ่งมาตั้งเค้าเงื่อนได้ก็ตกอยู่ในสมัยที่หลวงปู่เอี่ยมเป็นเจ้าอาวาสเท่านั้นทั้งนี้ก็เนื่องด้วยกิตติคุณชื่อเสียงอันโด่งดังของท่านนั่นเอง วัดสะพานสูงตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของคลองพระอุดมฯเดิมเรียกว่าคลองบ้านเเหลมใหญ่ ในท้องที่ตำบลคลองพระอุดมฯหรือเดิมเรียกว่าตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ปลายเขตติดต่อกับ จังหวัดปทุมธานี จากเอกสารอ้างอิงกล่าวว่าวัดสะพานสูงเดิมเรียกว่า วัดสว่างอารมณ์ ที่ได้ชื่ออย่างนั้นจะเป็นชื่อผู้สร้าง หรือเป็นชื่อผู้ใดขนานนามขึ้น ก็มีนัยที่น่าคิด เพราะสันนิษฐานตามชื่อเป็นวัดที่อยู่กลางตำบล มีต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นตะเคียนใหญ่ปกคลุมร่มรื่น เเละมีสระขังน้ำใสไว้ใช้เสมอ เมื่อประชาชนสัญจรผ่านไปมาต้องเข้าอาศัยเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยเเล้วก็เดินทางต่อไป อีกนัยหนึ่งก็ว่าเป็นวัดที่ติดต่อกันหลายตำบล มีประชาชนที่ขึ้นเเก่วัดนั้นโดยอาการเลื่อมใสศรัทธาพร้อมใจกันบำเพ็ญกุศล มีบริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม เป็นต้น เมื่อประชาชนในเเถบถิ่นนั้น หรือมาจากที่อื่นก็ตามมีความกลุ้มอกกลุ้มใจเดือดร้อนยุ่งยาก ครั้นเข้ามาถึงเขตวัดก็รู้สึกใจคอปลอดโปร่งสบายดี คล้ายกับมียาอมฤตเเก้โรคของชนเหล่านั้นให้สงบหายเป็นปกติ จึงได้นามว่า วัดสว่างอารมณ์ ดังนี้กระมังชื่อนี้พบในประวัติของอำมาตย์โท พระยาพจนสุนทร หรือเรืองอติเปรมมานนท์ ว่า ปีชวด จุลศักราช  1251 พศ 2431 ได้เกิดอาพาธผอมเเห้ง ปราศจากความสุขกาย ไม่สามารถบำเพ็ญพรหมจรรย์ได้สะดวก จึงได้ลาจากสมณเพศเมื่อ 2 ฯ 4 ปีชวด ในพระอุโบสถวัดสว่างอารมณ์ ตำบลบ้านเเหลมใหญ่ นนทบุรี เมือเทียบตามพศ  2431-2480 ชื่อวัดเดิมหายเงียบมาประมาณ 59 ปี เเต่กระนั้นก็ยังเป็นวัดสองชื่ออยู่นั่นเอง เหตุที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดสะพานสูงเรื่องนี้พอได้หลักความจริงเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณโรรส เสด็จไปตรวจคณะสงฆ์ ได้เสด็จขึ้นที่วัดทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด จึงมีรับสั่งถึงวัดมีสองชื่อ เพื่อให้เหมาะสมจึงเอาสะพานสูง เป็นนิมิตรประจำ ทรงประทานนามว่า วัดสะพานสูง นามนั้นเรียกมาจนทุกวันนี้ ในอดีตก่อนที่หวงปู่เอี่ยมจะเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดนั้นวัดสะพานสูงยังมีลักษณะซอมซ่อมาก มีกุฎิ ศาลาย่อมๆ อยู่เพียงไม่กี่หลังเท่านั้น เขตเเนวพุทธาวาสมีถนนสายกลาง ซึ่งลากจากทิศตะวันตกไปตะวันออกเเบ่งอุปจารออกเป็น 2 ส่วน ทางด้านเหนือเป็นเขตพุทธาวาส เเละทางด้านใต้เป็นเขตสังฆาวาส อุโบสถ หลังเดิมสร้างในสมัย หลวงปู่เอี่ยม เป็นเจ้าอาวาสโดยหลวงพิบูลสมบัติเป็นผู้บริจาค เเละรวมทั้งการร่วมบริจาคของประชาชนทั่วไปก่อสร้างในปี พศ 2397 ใช้เวลาก่อสร้าง 10 เดือนเศษ ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 7 วา สูง 2 วา 1 คืบ ความจุ 3 ช่วงเสาหรือช่วงเสาละ 8 วา เสาต้นร่วมใน 8 ต้น หน้าต่างด้านละ 3 ช่องประตูด้านละ 2 ประตู อีกด้านหลัง 1 ประตู ผนังก่ออิฐถือปูน เพดานเเละเฉลียงร่วมนอกมีฝา 4 ด้าน หลังคาโค้งรูปหลังช้างมีช่อฟ้าใบระกาประดับกระจกเฉลียงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน รูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยม วิหาร หลังเดิมสร้างในสมัยหลวงปู่เอี่ยม อยู่เคียงคู่อุโบสถทางด้านทิศเหนือ ลักษณะ เป็นวิหารโถงก่ออิฐถือปูน กว้าง 4 วา ยาว 6วา 1 ศอก เเละสูง 9 ศอก 1 คืบ หรือ ฐานสูง 1 ศอก 1 คืบ มีกำเเพงร่วมนอก ใช้กระเบื้องจีนชนิดโปร่งเสริมจากฐานสูง 2 ศอก 1 คืบ รวม 4 ด้าน ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน มีช่อฟ้าใบระกา ลงรักประดับกระจกสี เจดีย์องค์ประธาน เป็นอนุสรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงได้สร้างไว้ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส ในปี พศ 2431 ซึ่งในปีนี้เองท่านได้สร้างตะกรุดมหาโสฬสมงคลเเจกจ่ายให้บูชาดอกละ 1 ตำลึงหรือ 4 บาท เพื่อนำปัจจัยสมทบสร้างเจดีย์องค์นี้ เจดีย์ก่อฐานเป็นชั้นๆทรงเเบบเสาหงส์ ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันตกภายนอกกำเเพงเเก้ว มีฐาน 3 ชั้น ความสูงถึงยอดนภศูล 11 วาเศษ ฐานชั้นล่างเป็นรูป 8 เหลี่ยมกว้าง 6 วา มีคูหาทุกช่องมีบันไดขึ้น 3 ด้าน ชั้นที่ 2 กว้าง 4 วา 8 เหลี่ยมมีคูหาเช่นเดียวกัน บันไดขึ้น 2 ด้านชั้นที่  3 เป็นทรงกลมรองรับเจดีย์ เเต่ทว่า การก่อสร้างยังไม่ทันเเล้วเสร็จ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงถึงกาลมรณภาพลงกลางคันหลวงพ่อกลิ่น เจ้าอาวาสองค์ต่อมาได้รับช่วงงานสืบสานมาจนสำเร็จเรียบร้อย

ประวัติหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปฐมนามเกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ปีฉลู พศ 2358 เป็นบุตรคนโตของ นายนาค นางจันทร์ นามสกุล ไม่ทราบเเน่ชัด มี น้องอีก 3 คน คือนายฟัก นางขำ เเละนางอิ่ม บ้านเดิม อยู่ที่ ตำบล คลองพระอุดม บ้านเเหลมฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดบ่อ อำเภอปากเกร็ด อยุ่ที่วัดนี้ได้ 1 อาทิตย์ จึงย้ายไปจำพรรษาทีวัดกัลยาณนิมิตร ฝั่งธนบุรี มีพระธรรมเจดีย์เป็นเจ้าอาวาส ได้ศีกษาพระปริยัติธรรม เเละเเปลธรรมบท จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ 7 พรรรษา จากนั้นในปี พศ 2390 นายเเขกเป็นสมุห์บัญชีที่วัดประยูรวงศาวาส ธนบุรี จำพรรษาวัดนี้ 8 พรรษา พศ 2390 นายเเขกสมุห์บัญชีบ้านอยู่ข้างวัดนางชี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน ได้นิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดนวลนรดิศ ธนบุรี ปรากฎว่าท่านอยู่วัดนี้ ท่านได้สนใจกรรมฐานเป็นอย่างมาก ได้จำพรรษาที่วัดนี้ 5 พรรษา ต่อมาภายหลัง พวกชาวบ้านเเหลมได้พากันไปอ้อนวอนให้ท่านกลับไปภูมิลำเนาเดิม ครั้นจะไม่ไปก็เกรงญาติโยมจะเสียใจ พอมาถึงเดือน 6 พศ 2395 หลวงปุ่เอี่ยมจึงได้ย้ายมาอยู่วัดสว่างอารมณ์หรือวัดสะพานสูง ขณะนั้นมีจำพรรษาอยู่ 2 รูป ในระหว่างที่มาอยู่วัดสะพานสูง ท่านได้ออกธุดงค์ไปทางเเถบประเทศเขมร โดยมีพระลูกวัดติดตามไปด้วย เเต่ท่านจะให้พระลูกวัดออกเดินทางไปล่วงหน้าก่อน 6-7 ชั่วโมง เเล้วนัดพบกันในที่ไหนที่หนึ่ง ท่านสามารถไปทันตามนัดทุกครั้ง จากการธุดงค์ เเละรุกขมูลนี้เอง หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงได้พบกับชีปะขาวชาวเขมรชื่อว่าจันทร์ท่านได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากอาจารย์ท่านนี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านเเหลมใหญ่นึกว่าท่านออกธุดงค์ได้ถึงเเก่มรณภาพเเล้วเนื่องจากท่านไม่ได้กลับววัดมาหลายปี จึงได้ทำสังฆกรรมเเผ่กุศลไปให้ ทำให้หลวงปู่เอี่ยมทราบในญานท่านจึงเดินทางกลับวัดสะพานสูง ปรากฎว่าท่านไม่ได้ปลงผมตลอดการเดินธุดงค์  ผมจึงยาวถึงเอว หนวดเครายาวรุงรังจีวรขาดรุ่งริ่ง พร้อมกับมีสัตว์ป่า เช่น หมี เสือ งูจงอาง จากการเจริญกรรมฐาน มีเรื่องเล่าว่ามีต้นตะเคียนอยู่ต้นหนึ่ง มีน้ำมันเเละดุมาก เป็นที่เกรงกลัวเเก่ชาวบ้านเเถบนั้น หลวงปุ่เอี่ยมจึงได้มายืนเพ่งอยู่ 3 วันเท่านั้นต้นตะเคียนก็เฉายืนต้นตาย หลวงปุ่เอี่ยมท่านเก่งกล้าอาคมขลังมีวาจาสิทธิ์ วาจาชัย เเละมักน้อยถือสันโดษ อีกทั้งยังเป็นต้นเเบบพัฒนาวัดให้รุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนี้ถาวรวัตถุ ที่ท่านสร้างยังปรากฎให้เห็นทุกวันนี้ คือ อุโบสถ วิหาร เจดีย์ ฯลฯ

สำหรับยอดวัตถุมงคลท่านได้เเก่ พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักเเละจุ่มรัก ท่านได้รังสรรค์ขึ้นในสมัยที่ท่านสร้างอุโบสถส่วนตะกรุดมหาโสฬสมงคลนั้น ท่านได้สร้างขึ้นตอนสร้างเจดีย์ซึ่งปัจจุบันค่าความนิยมในการเล่นหาสูงมาก เเละ ยอดหายากที่เดียว หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 17 สิงหาคมพศ 2438 รวมอายุได้ 80 ปี ก่อนหน้านั้นท่านกล่าวกับศิษย์ว่าเมื่อเราตายไปเเล้วหากมีเหตุการณ์สุข ทุกข์ ประการใด ให้เอ่ยชื่อเราก็เเล้วกัน















0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook