พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันทั่วประเทศ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุริมฝั่งเเม่น้ำน่าน อำเภอเมือง จังหวัด
พิษณุโลก พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสำริด หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้วสูง 7 ศอก มีพุทธลักษณะสวยงามมากเส้นรอบพระวรกายอ่อนช้อยพระพักตร์ค่อนข้างกลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเส้นพระศกขมวดเป็นก้นหอย พระปรางค์ค่อนข้างอวบ ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วเสมอกัน สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชนั้นหนังสือบางเล่มกล่าวไว้ว่าอยู่ในพระวิหารบางเล่มก็กล่าวว่าอยู่ในพระอุโบสถจึงอาจทำให้เกิดความสับสนว่าพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดเเน่เเต่จากคำอธิบายเรื่องวิหารในพจนานุกรมสถาปัตถกรรมเเละศิลปะเกี่วยเนื่องของโชติ กัลยาณมิตร ช่วยทำให้เข้าใจได้กระจ่างขึ้นดังนี้ วิหาร อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐพระพุทธรูปเป็นประธานของวัด ในอดีตเมื่อโบสถ์ยังไม่นับว่าเป็นอาคารที่สำคัญของวัด การสร้างวัดโดยทั่วไปจะต้องมีวิหารเเละพระเจดีย์เป็นสำคัญ ดังตัวอย่างเช่นการสร้างวัดในสมัยสุโขทัย เเละสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชนั้นสร้างขึ้นตั้งเเต่ครั้งกรุงสุโขทัย ปัจจุบันก็ยังคงรูปเดิมไว้ เเม้จะมีการซ่อมเเซมหลายครั้งเเล้วก็ตามทำให้ชาวไทยในปัจจุบันได้ทราบว่าทรวดทรงวิหารครั้งกรุงสุโขทัยเป็นอย่างไร พระวิหารพระพุทธชินราชอยู่ระดับเดียวกับพื้น ไม่ได้ยกพื้นให้สูงขึ้นถึงต้องใช้ขั้นบันไดเหมือนโบสถ์วิหารทั่วไป ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระวิหารทรุดโทรมมากจึงโปรดให้ซ่อมเเซมใหม่ ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โปรดให้สร้างประตูพระวิหารชั้นนอกขึ้นใหม่คู่หนึ่ง ทำด้วยไม้สัก ลวดลายประดับมุก ฝีมือประณีตงดงามมาก ใช้เวลาทำ ประมาณ 6 เดือนจึงเสร็จ ส่วนบานประตูเดิมซึ่งจำหลักเป็นตัวกระหนกเเละรูปภาพเด่นอออกมาสวยงามมากเช่นโปรดให้ย้ายไปเป็นบานประตูวิหารพระเเท่นศิลาอาสน์ซึ่งปฏิสังขรณ์ในคราวเดียวกัน เเต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งว่า ในเวลาต่อมาบานประตูนี้ได้ถูกไฟไหม้กับวิหารเเห่งนั้น ต่อมาพระวิหารพระพุทธชินราชได้ทรุดโทรมลงจึงมีการซ่อมเเซมใหม่เมื่อปลาย พ.ศ.2467 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พร้อมทั้งมีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังใหม่ ผนังด้านหน้าองค์พระพุทธชินราชวาดเป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดก กับพุทธประวัติ ส่วนผนังด้านซ้ายเเละขวาเป็นภาพเทพชุมนุม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5ทรงเห็นว่าพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมากดังนั้น เมื่อทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร เเละสร้างพระอุโบสถด้วยหินอ่อนในเเบบสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามมาก พระองค์จึงมีพระราชดำริจะหาพระพุทธรูปที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ พระพุทธรูปองค์นั้นก็น่าจะได้เเก่พระพุทธชินราช เเต่ถ้าจะโปรดให้อัญเชิญมาไว้ ณ พระอุโบสถใหม่ ชาวเมืองพิษณุโลกคงเสียใจ จึงโปรดให้จำลองถ่ายเเบบพระพุทธชินราชขึ้นในปี พ.ศ.2442 ที่พิษณุโลกเเล้วเชิญมาเเต่องค์พระทีกรุงเทพฯ พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดหน้าตักกว้าง 5ศอก 1 คือ5นิ้ว สูง7ศอกมีพุทธลักษณะงดงามเเบบพระพุทธรูปสุโขทัยรุ่นหลัง
ได้จากดินพิมพ์ที่ต่อยจากพระพุทธรูปเเละนำดินจากที่อื่นมาผสมกันเพื่อให้เพียงพอกับการปลูกโพถึง 3
ต้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานความเห็นว่า พระศรีธรรมไตรปิฎกตามที่กล่าวไว้ใน
พงศาวดารเหนือก็คือพระมหาธรรมราชาลิไทย พระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำเเหงมหาราชนั่นเอง
เนื่องจากพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของพิษณณุโลกดังนั้น พระมหากษัตริย์ที่เสด็จฯ
ไปถึงพิษณุโลกจะต้องเสด็จไปทรงนมัสการเเละถวายเครื่องราชสักการะ หรือตกเเต่งองค์พระตลอดจนพระวิหารให้งดงามยิ่งขึ้นมีปรากฎในพระราชพงศาวดารดังนี้
พ.ศ. 1927 สมเด็จพระราเมศวรเสด็จฯไปทรงนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ เปลื้องเครื่องต้นสักการบูชาเเละมีมหรสพโภช 7วัน
พ.ศ. 2107 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อเสด็จฯไปพิษณุโลกก็เปลื้องเครื่องทรงออกบูชาพระพุทธชินราชเเละพระพุทธชินสีห์เเละมีการสมโภส 3 วัน
พ.ศ. 2174 สมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อเสด็จฯไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชโปรดให้เอาทองนพคุณเครื่องราชูปโภคเเผ่เป็นทองประทาศี ทองคำเปลวเนื้อดีอย่างหนา เเล้วทรงปิดองค์พระด้ววยพระองค์เองจนสำเร็จบริบูรณ์ เเล้วสมโภช 7วัน 7คืน พระพุทธชินราชจึงเป็นพระปิดทองตั้งเเต่นั้นมา
พ.ศ. 2283 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จฯไปทรงนมัสการเเละโปรดเกล้าฯให้ทำบานประตูประดับมุกคู่หนึ่งสำหรับพระวิหารพระพุทธชินราช ส่วนประตูเดิมให้นำไปไว้ ณ วิหารพระเเท่นศิลาอาสน์
พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเสด็จฯขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ได้เสด็จฯไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชเเละพระพุทธชินสีห์ เปลื้องพระภูษาทรงสะพัก ผ้าห่มเฉียงบ่า ออกทรงพระพุทธชินราช
พศ 2409 rพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปพิษณุโลกทรงนมัสการพระพุทธชินราชเปลื้องกำไลหยกจากพระกรสวมนิ้วพระหัตย์พระพุทธชินราช
พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯไปทรงนมัสการพระพุทธชินราช ทรงปิดทองทั่วพระพักตร์
พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธชินราช เเต่ครั้งที่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร
พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ได้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์เเด่พระพุทธชินราช
พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันเเละสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯไปทรงนมัสการพระพุทธชินราชครั้งเเรกสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ถวายผ้าเเพรทรงสะพักเป็นพุทธบูชาด้วย
พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาจากคนไทยทุกยุคทุกสมัยนับตั้งเเต่พระมหากษัตริย์จนถึงประชาชนทั่วไป ขุนช้างขุนเเผน ตอนขุนเเผนเเละพลายงามรับอาสาไปทำศึกกับพระเจ้าเชียงใหม่เมื่อไปถึงพิษณุโลกได้ไปมมัสการพระพุทธชินราชเเละพระพุทธชินสีห์ เพื่อขอความสวัสดีมีชัยในการทำศึก ดังบทกลอนทีว่า เข้าทางป่าไม้ในพนา
ถึงพาราพิษณุโลกโอฆบุรี
ทั้งนายไพรไปวัดมหาธาตุ
ไหว้พระชินราชชินสีห์
ขอให้มีชัยสวัสดี
ผู้ที่มีโอกาสไปนมัสการพระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศาสนสถานอันเก่าเเก่ที่สร้างขึ้นสมัยเดียวกับองค์พระเมื่อหลายร้อยปีมาเเล้ว จะพบกับบริเวณวัดที่ร่มรื่น อากาศเย็นสบาย ด้วยกลิ่นไอจากเเม่น้ำน่าน บรรยกาศภายในวัดเงียบหสงบเเม้มีผู้คนมากมายทุกสารทิศที่ต่างก็มานมัสการพระพุทธชินราชเช่นเดียวกัน ต่างก็เกิดความประทับใจในความงามอย่างยากที่จะพรรณนาได้ทั้งส่วนที่เป็นองค์พระพุทธชินราช ความวิจิตรตระการตาของพระวิหาร ซึ่งเกิดจากการฝีมือของบรรพชนไทย เเละจะยิ่งประทับใจมากขึ้น ถ้าได้มีโอกาส ไปงานสมโภชประจำปี คือ ตั้งเเต่วันขึ้น 6ค่ำเดือน 3 ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน 5 คืน นับเป็นงานยิ่งใหญ่ของจังหวัด
พระพุทธชินราชตอนที่ลอกทองคำเปลวออกจากองค์พระเพื่อซ่อมเเซม
เนื้อหาสงวนลิขสิทธิ์ผู้ทำคัดลอกได้รับผิดตามกฎหมาย
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
เเผนที่ทางไปวัดใหญ่พิษณุโลก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ