ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

เนื้อชินตะกั่วผสมปรอท หลวงพ่อเนียม วัดน้อย

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555


 เนื้อชินตะกั่วผสมปรอท หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
หายาก สร้างน้อย ประวัติหลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อเนียม วัดน้อย (พ.ศ. 2372 — 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453) ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่นับถือโดยทั่วไป ในด้านปาฏิหารย์ พระพุทธคุณของท่าน มากมายยิ่งนัก ทั้งในด้านมหาอุต คงกระพัน และแคล้วคลาด และเป็นที่ยอมรับด้วยกันมานาน มานานแล้วศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังก็คือ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2372 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลมะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา ณ วัดใกล้บ้านท่านในปี พ.ศ. 2392 ได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ ที่วัดแถบฝั่งธนบุรี (จังหวัดธนบุรี) ในอดีต ท่านมีความสนใจในทางวิปัสสนาธุระ หลวงพ่อท่านช่วยใหเการศึกษาอย่างเต็มที่ หลวงพ่อเนียมท่านมีชื่อเสียงในการรักษาโรคต่างๆ สามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆข้างหน้าได้อย่างตาทิพย์ คนมักจะถ่ายรูปท่านไม่ติด พระเณรที่ประพฤติผิดวินัย ท่านสามารถทราบได้เอง โดยไม่ต้องมีใครมาบอกท่าน ท่านเป็นผู้ที่ความเมตตาต่อสัตว์ทุกชนิด กิจวัตรของท่านก็คือ ตื่นแต่เช้ามืด ครองจีวรแล้วปลงอาบัติ เสร็จแล้ว นั่งสนทนากับพระภิกษุในวัดเป็นการอบรมไปในตัว พ่อรุ่งเช้าจึงออกบิณฑบาต ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ตรงกับต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริอายุได้ 81 ปี อยู่ในสมณเพศได้ 61 พรรษา

 พระเครื่องของท่านพระเนื้อชินตะกั่วผสมปรอท


1.พิมพ์เศียรโล้น


2.พิมพ์เศียรแหลม


3.พิมพ์งบน้ำอ้อย


4.พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์


5.พิมพ์ลำพูน


6.พิมพ์ปรุหนัง


7.พิมพ์ถ้ำเสื้อ

อ้างอิงหนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook