ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทย ตำนานแห่งชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย เป็นชมรมพระเครื่องที่เก่าแก่ที่สุดของคนวงการพระเครื่อง เริ่มก่อตั้งชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยมาประมาณ พ.ศ.๒๕๒๕ ซึ่งตรงกับปีฉลองกรุงเทพฯ ครบ ๒๐๐ ปี โดยมีนายเติมศักดิ์ ปิยะมณีพร หรือ เปี๊ยก ปากน้ำ เป็นประธานชมรมชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยคนแรก บทบาทหน้าที่หลักคือสนับสนุนการจัดงานประกวดพระเครื่อง ก่อนที่จะมีสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย
ในสมัยที่ นายมนัสชัย เจริญพลนภาชัย หรืออาจารย์ช่าง สะพานพุทธ เป็นประธานชมรม ถือว่าชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยเป็นที่รู้จักของคนในวงการมากที่สุด ตลอดระยะเวลาที่เป็นประธานชมรมถือว่าเป็นต้นตำรับของการจัดทำหนังสือรางวัลชนะเลิศการประกวดพระ หนังสือหลายเล่มกลายเป็นหนังสือมีราคา และหายาก ในยุคนี้ หนังสือประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก
อั๊ง เมืองชล บอกว่า สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของสมาชิกชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย คือ ในสมัยที่อาจารย์ช่าง สะพานพุทธ เป็นประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทย ได้มีการจัดงานประกวดพระเครื่องเป็นการหาทุนจัดสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ๒ แห่งคือ
๑.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๗๙ ต.สบป่อง กิ่ง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ทั้งนี้เมื่อ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย ได้บริจาคเงินจากก่อสร้างอาคารเรียนขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยอนุสรณ์”
๒.โรงเรียน ตชด.บ้านปุงยาม หมู่ ๕ บ้านปุงยาม ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๕ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยกรุงเทพฯ ได้บริจาคเงินจำนวน ๓๓๕,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนถาวร ๑ หลัง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็น "โรงเรียน ตชด.ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยอนุสรณ์ ๒"
“เงินที่ประธานชมรมรุ่นก่อนๆ หาไว้ผมจะไม่แตะต้อง แต่สิ่งที่ผมจะทำ คือ สานต่อเจตนารมณ์ของประธานชมรมรุ่นก่อนๆ” นี่คือความตั้งใจของ อั๊ง เมืองชล ในฐานะประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยคนล่าสุด
“ผมได้กำไร ได้ประโยชน์ เรียกว่าลืมตาอ้าปากได้ก็มาจากการเช่าซื้อพระเครื่องมากที่สุดก็จากพระหลวงปู่แก้วนี่แหละ เคยเช่าพระปิดตาองค์ละ ๒๐-๓๐ ล้านมาแล้ว”
ปัจจุบันวงการพระได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง จนมีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคมขึ้นชื่อ "สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย" มี "นายพยัพ คำพันธุ์" เป็นนายกสมาคม และยังมีชมรมพระที่สร้างประโยชน์ให้วงการอีกจำนวนมาก ที่โดดเด่น อาทิ ชมรมพระเครื่องท่าพระจันทร์ ชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง เป็นต้น
แต่มีอยู่ชมรมหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นชมรมเก่าแก่ ว่ากันว่าเกิดมาก่อน "สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย" อีก ชื่อว่า "ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย" ที่ผ่านมานับว่ามีผลงานชัดเจนด้านการช่วยเหลือสาธารณกุศล และส่งเสริมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย โดย เฉพาะในสมัย อาจารย์ช่าง สะพานพุทธ เป็นประธาน ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยจวบจนท่านเสียชีวิตไป
ล่าสุด ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย ได้ประชุมเพื่อเลือกตั้งประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยและทีมบริหารชุดใหม่ ได้หนุ่มใหญ่อัธยาศัยดี "สมภพ ไทยธีระเสถียร" หรือนามเรียกขานในวงการพระ "อั้ง เมืองชล" ประธานชมรมมณเฑียรพลาซ่า โรงแรมมณเฑียร และอุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ต้องสวมหมวกอีกใบ รับตำแหน่งเป็นประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย
"อั้ง เมืองชล" เปิดใจว่า "สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 ผมได้รับเกียรติจากสมาชิกชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยเลือกให้เป็นประธานชมรม ผมเองในวันนี้จึงได้ปรึกษากับหลายท่าน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ อย่างเช่น ท่านอาจารย์ประจำ อู่อรุณ พี่ต้อย เมืองนนท์ คุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ เฮียอ้า สุพรรณ พร้อมคณะผู้ดำเนินงาน คุณโกวิท แย้มวงษ์ ซึ่งได้มาเป็นเหรัญญิกให้กับชมรม ร่วมกระทั่งคุณเรวัฒ หรือคุณหมู บางพลัด ซึ่งตอนนี้ได้มาเป็นรองประธานให้"
ขณะนี้ "ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย" ได้ จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร แรกๆ อาจจะขลุก ขลักไปบ้าง ในเรื่องกรรมการบริหารก็ดี รองประธานก็ดี คณะที่ปรึกษาก็ดี ซึ่งการทำงานนั้น ต้องยอมรับว่าเรามาทำด้วยใจ เพราะวงการพระเครื่องทุกคนเวลานี้ที่มาร่วมกันด้วยใจแท้ๆ ทั้งนั้น คือไม่มีระเบียบบังคับ ไม่มีขั้น ไม่มีเงินเดือน เหมือนอย่างข้าราชการ หรือตอบแทนด้วยความดีความชอบอย่างอื่น แท้จริงคือเรามาร่วมเป็นชมรมเป็นหมู่คณะ เพื่ออนุรักษ์พุทธศิลปะไทย
"เรามาทำชมรมเพื่ออนุรักษ์วัตถุมงคลที่เคารพนับถือ อย่างเช่น พระเครื่อง พระบูชา อันที่จริงแล้ว ทำไมเราต้องมาเป็นชมรม ความจริงแล้วชมรมนี้ก่อตั้งขึ้นมายาวนานในปีหน้าก็จะครบ 30 ปี เกิดขึ้นที่ท่าพระจันทร์ จากการริเริ่มการปรึกษากับอาจารย์ประจำ อู่อรุณ กับคุณเปี๊ยก ปากน้ำ พร้อมกับอาจารย์ช่าง สะพาน พุทธ และอีกหลายคน"
ความคิดริเริ่มก่อตั้งชมรมนี้ขึ้น ณ ขณะนั้นมี อาจารย์สุรพล อัศววนิชชากร หรือ เหลียง โบ๊เบ๊ และชมรมก็ได้ก่อตั้งขึ้นดำเนินกิจกรรมมาตลอด ผมจำได้ว่าในตอนนั้น พี่ต้อย เมืองนนท์ ยังไว้ผมรากไทรอยู่เลย มาร่วมก่อตั้งชมรมนี้ด้วย เพราะความที่รักพุทธศิลปะ เคารพในครูบาอาจารย์ และอยากให้มีการพบปะสังสรรค์กัน เพื่อให้พวกเราได้มาร่วมสร้างความดีให้เกิดขึ้น
ผมได้รับเลือกให้มาทำหน้าที่ประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย สิ่งสำคัญก็เพื่ออนุรักษ์พุทธศิลปไทยเอาไว้ส่งต่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านพุทธศิลป์ให้สืบต่อไป คณะที่ปรึกษารุ่นเก่าๆ ก็มาร่วมงาน อย่างเช่น อาจารย์ประจำ อู่อรุณ คุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ คุณสังวร ขจรรุ่งศิลป์ ท่านเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนเต็มกำลัง และยังได้ปรึกษากับพี่ต้อย เมืองนนท์ อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สำหรับผู้บริหาร "ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทย" มีรายนามดังนี้ รองประธาน 1.นายเสมอ งิ้วงาม (ป๋อง สุพรรณ) 2.นายสุรเดช ลิ้มพานิช (หมึก ท่าพระจันทร์) 3.นายสมศักดิ์ ศรีสุข (จุก อุตรดิตถ์) 4.นายสมชาย เสรีกุล 5.นายภัทรพล จิรเสถียรอำไพ (ตุ้ม ท่าพระ) 6.นายเรวัฒ ฉ่อยตระกูล (หมู บางพลัด) 7.นายธัญญ์นิธิ ชวรัตน์นิธิโชติ (เช็ง สุพรรณ) 8.นายวุฒิชัยธนาวุฒิกุล (ต้า บางแค) 9.สุรพล อัศวนิชชากร (เหลียง โบ๊เบ๊) เป็นต้น
พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก "โหรฟันธง-อาจารย์ลักษณ์ เรขานิเทศ" ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งที่รักในพุทธศิลปะไทย ผมเลยเชิญท่านให้มาเป็นที่ปรึกษาของชมรมด้วย ผมขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่ให้การสนับสนุน และขอเวลาอีกสักนิดเพื่อจัดระบบต่างๆ ให้เข้าที่ เพื่อให้ชมรมก้าวต่อไป พร้อมๆ กับสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โดยจะประสานงานและช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนร่วมบริจาคเงินทุนให้กับทางชมรม ซึ่งผมจะนำเงินเหล่านี้ไปใช้ให้ทุกบาททุกสตางค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชมรมและพุทธศาสนาให้มากที่สุด เพราะเท่าที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าชมรมหรือสมาคมได้ก่อประโยชน์ต่างๆ มากมาย ช่วยเหลือสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ส่วนใหญ่ เรื่องพระ พุทธศาสนา วงการพระเครื่องแทบจะไม่ค่อยได้ดูแล อันนี้จะขออนุญาตจัดประชุมเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อไป และขอให้ทุกท่านที่ให้การสนับสนุนบริจาคเงินเหล่านี้ จงมั่นใจว่าเงินทุกบาททุกสตางค์
จะนำไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย เป็นชมรมพระเครื่องที่เก่าแก่ที่สุดของคนวงการพระเครื่อง เริ่มก่อตั้งชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยมาประมาณ พ.ศ.๒๕๒๕ ซึ่งตรงกับปีฉลองกรุงเทพฯ ครบ ๒๐๐ ปี โดยมีนายเติมศักดิ์ ปิยะมณีพร หรือ เปี๊ยก ปากน้ำ เป็นประธานชมรมชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยคนแรก บทบาทหน้าที่หลักคือสนับสนุนการจัดงานประกวดพระเครื่อง ก่อนที่จะมีสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย
ในสมัยที่ นายมนัสชัย เจริญพลนภาชัย หรืออาจารย์ช่าง สะพานพุทธ เป็นประธานชมรม ถือว่าชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยเป็นที่รู้จักของคนในวงการมากที่สุด ตลอดระยะเวลาที่เป็นประธานชมรมถือว่าเป็นต้นตำรับของการจัดทำหนังสือรางวัลชนะเลิศการประกวดพระ หนังสือหลายเล่มกลายเป็นหนังสือมีราคา และหายาก ในยุคนี้ หนังสือประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก
อั๊ง เมืองชล บอกว่า สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของสมาชิกชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย คือ ในสมัยที่อาจารย์ช่าง สะพานพุทธ เป็นประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทย ได้มีการจัดงานประกวดพระเครื่องเป็นการหาทุนจัดสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ๒ แห่งคือ
๑.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๗๙ ต.สบป่อง กิ่ง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ทั้งนี้เมื่อ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย ได้บริจาคเงินจากก่อสร้างอาคารเรียนขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยอนุสรณ์”
๒.โรงเรียน ตชด.บ้านปุงยาม หมู่ ๕ บ้านปุงยาม ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๕ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยกรุงเทพฯ ได้บริจาคเงินจำนวน ๓๓๕,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนถาวร ๑ หลัง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็น "โรงเรียน ตชด.ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยอนุสรณ์ ๒"
“เงินที่ประธานชมรมรุ่นก่อนๆ หาไว้ผมจะไม่แตะต้อง แต่สิ่งที่ผมจะทำ คือ สานต่อเจตนารมณ์ของประธานชมรมรุ่นก่อนๆ” นี่คือความตั้งใจของ อั๊ง เมืองชล ในฐานะประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยคนล่าสุด
“ผมได้กำไร ได้ประโยชน์ เรียกว่าลืมตาอ้าปากได้ก็มาจากการเช่าซื้อพระเครื่องมากที่สุดก็จากพระหลวงปู่แก้วนี่แหละ เคยเช่าพระปิดตาองค์ละ ๒๐-๓๐ ล้านมาแล้ว”
ปัจจุบันวงการพระได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง จนมีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคมขึ้นชื่อ "สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย" มี "นายพยัพ คำพันธุ์" เป็นนายกสมาคม และยังมีชมรมพระที่สร้างประโยชน์ให้วงการอีกจำนวนมาก ที่โดดเด่น อาทิ ชมรมพระเครื่องท่าพระจันทร์ ชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง เป็นต้น
แต่มีอยู่ชมรมหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นชมรมเก่าแก่ ว่ากันว่าเกิดมาก่อน "สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย" อีก ชื่อว่า "ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย" ที่ผ่านมานับว่ามีผลงานชัดเจนด้านการช่วยเหลือสาธารณกุศล และส่งเสริมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย โดย เฉพาะในสมัย อาจารย์ช่าง สะพานพุทธ เป็นประธาน ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยจวบจนท่านเสียชีวิตไป
ล่าสุด ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย ได้ประชุมเพื่อเลือกตั้งประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยและทีมบริหารชุดใหม่ ได้หนุ่มใหญ่อัธยาศัยดี "สมภพ ไทยธีระเสถียร" หรือนามเรียกขานในวงการพระ "อั้ง เมืองชล" ประธานชมรมมณเฑียรพลาซ่า โรงแรมมณเฑียร และอุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ต้องสวมหมวกอีกใบ รับตำแหน่งเป็นประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย
"อั้ง เมืองชล" เปิดใจว่า "สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 ผมได้รับเกียรติจากสมาชิกชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยเลือกให้เป็นประธานชมรม ผมเองในวันนี้จึงได้ปรึกษากับหลายท่าน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ อย่างเช่น ท่านอาจารย์ประจำ อู่อรุณ พี่ต้อย เมืองนนท์ คุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ เฮียอ้า สุพรรณ พร้อมคณะผู้ดำเนินงาน คุณโกวิท แย้มวงษ์ ซึ่งได้มาเป็นเหรัญญิกให้กับชมรม ร่วมกระทั่งคุณเรวัฒ หรือคุณหมู บางพลัด ซึ่งตอนนี้ได้มาเป็นรองประธานให้"
ขณะนี้ "ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย" ได้ จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร แรกๆ อาจจะขลุก ขลักไปบ้าง ในเรื่องกรรมการบริหารก็ดี รองประธานก็ดี คณะที่ปรึกษาก็ดี ซึ่งการทำงานนั้น ต้องยอมรับว่าเรามาทำด้วยใจ เพราะวงการพระเครื่องทุกคนเวลานี้ที่มาร่วมกันด้วยใจแท้ๆ ทั้งนั้น คือไม่มีระเบียบบังคับ ไม่มีขั้น ไม่มีเงินเดือน เหมือนอย่างข้าราชการ หรือตอบแทนด้วยความดีความชอบอย่างอื่น แท้จริงคือเรามาร่วมเป็นชมรมเป็นหมู่คณะ เพื่ออนุรักษ์พุทธศิลปะไทย
"เรามาทำชมรมเพื่ออนุรักษ์วัตถุมงคลที่เคารพนับถือ อย่างเช่น พระเครื่อง พระบูชา อันที่จริงแล้ว ทำไมเราต้องมาเป็นชมรม ความจริงแล้วชมรมนี้ก่อตั้งขึ้นมายาวนานในปีหน้าก็จะครบ 30 ปี เกิดขึ้นที่ท่าพระจันทร์ จากการริเริ่มการปรึกษากับอาจารย์ประจำ อู่อรุณ กับคุณเปี๊ยก ปากน้ำ พร้อมกับอาจารย์ช่าง สะพาน พุทธ และอีกหลายคน"
ความคิดริเริ่มก่อตั้งชมรมนี้ขึ้น ณ ขณะนั้นมี อาจารย์สุรพล อัศววนิชชากร หรือ เหลียง โบ๊เบ๊ และชมรมก็ได้ก่อตั้งขึ้นดำเนินกิจกรรมมาตลอด ผมจำได้ว่าในตอนนั้น พี่ต้อย เมืองนนท์ ยังไว้ผมรากไทรอยู่เลย มาร่วมก่อตั้งชมรมนี้ด้วย เพราะความที่รักพุทธศิลปะ เคารพในครูบาอาจารย์ และอยากให้มีการพบปะสังสรรค์กัน เพื่อให้พวกเราได้มาร่วมสร้างความดีให้เกิดขึ้น
ผมได้รับเลือกให้มาทำหน้าที่ประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย สิ่งสำคัญก็เพื่ออนุรักษ์พุทธศิลปไทยเอาไว้ส่งต่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านพุทธศิลป์ให้สืบต่อไป คณะที่ปรึกษารุ่นเก่าๆ ก็มาร่วมงาน อย่างเช่น อาจารย์ประจำ อู่อรุณ คุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ คุณสังวร ขจรรุ่งศิลป์ ท่านเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนเต็มกำลัง และยังได้ปรึกษากับพี่ต้อย เมืองนนท์ อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สำหรับผู้บริหาร "ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทย" มีรายนามดังนี้ รองประธาน 1.นายเสมอ งิ้วงาม (ป๋อง สุพรรณ) 2.นายสุรเดช ลิ้มพานิช (หมึก ท่าพระจันทร์) 3.นายสมศักดิ์ ศรีสุข (จุก อุตรดิตถ์) 4.นายสมชาย เสรีกุล 5.นายภัทรพล จิรเสถียรอำไพ (ตุ้ม ท่าพระ) 6.นายเรวัฒ ฉ่อยตระกูล (หมู บางพลัด) 7.นายธัญญ์นิธิ ชวรัตน์นิธิโชติ (เช็ง สุพรรณ) 8.นายวุฒิชัยธนาวุฒิกุล (ต้า บางแค) 9.สุรพล อัศวนิชชากร (เหลียง โบ๊เบ๊) เป็นต้น
พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก "โหรฟันธง-อาจารย์ลักษณ์ เรขานิเทศ" ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งที่รักในพุทธศิลปะไทย ผมเลยเชิญท่านให้มาเป็นที่ปรึกษาของชมรมด้วย ผมขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่ให้การสนับสนุน และขอเวลาอีกสักนิดเพื่อจัดระบบต่างๆ ให้เข้าที่ เพื่อให้ชมรมก้าวต่อไป พร้อมๆ กับสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย โดยจะประสานงานและช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนร่วมบริจาคเงินทุนให้กับทางชมรม ซึ่งผมจะนำเงินเหล่านี้ไปใช้ให้ทุกบาททุกสตางค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชมรมและพุทธศาสนาให้มากที่สุด เพราะเท่าที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าชมรมหรือสมาคมได้ก่อประโยชน์ต่างๆ มากมาย ช่วยเหลือสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ส่วนใหญ่ เรื่องพระ พุทธศาสนา วงการพระเครื่องแทบจะไม่ค่อยได้ดูแล อันนี้จะขออนุญาตจัดประชุมเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อไป และขอให้ทุกท่านที่ให้การสนับสนุนบริจาคเงินเหล่านี้ จงมั่นใจว่าเงินทุกบาททุกสตางค์
จะนำไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ