ความจริงของพระสมเด็จวัดเกศไชโยเเละความจริงการสร้างพระหลักต่างๆมีจริงหรือไม่ ตอบปัญหาพระเครื่อง
โลก ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒
ตรียัมปวายเปิดเผยข้อเท็จจริง
4.พระคาถาชินบัญชร ใครว่ามิใช่ใช้ปลุกเสกพระสมเด็จ
5.พระปิดมหาอุตม์ วัดห้วยจรเข้ ใครสร้างกันหรือ
6.พระชัยวัฒน์ ๑๑๘ ของหลวงปู่บุญหรือท่านเจ้ามา
คุณอัมพร บำรุง ร้านอาหารเฟรนชิฟ อ. สุไหงโกลก นราธิวาส
เรียน อาจารย์ตรียัมปวาย ที่เคารพ ก่อนอื่นผมขอเรียกท่านว่า “อาจารย์นะครับ” เพราะท่านเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ ให้แก่ผมในด้านพระเครื่องต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งพระสมเด็จฯ อันเป็นสิ่งเร้นลับ ยากที่ใคร ๆ จะศึกษาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ แต่ท่านเป็นผู้ให้แสงสว่าง และความสำเร็จแก่ผม ในฐานะของผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ผมจึงขอยกท่านไว้เหนือหัว่า “อาจารย์ของผม” มิใช่มายกยอปอปั้นกันนะครับ เป็นความรู้สึกอันแท้จริงจากหัวใจ...ผมศิษย์คนใหม่ของอาจารย์ มีความปรารถนาอันสูงสุด ที่จะฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์ที่เคารพรักต่ออาจารย์ ชั่วกาลนาน...ปริอรรถาธิบายฯ เรื่องพระสมเด็จฯของอาจารย์นั้นนับว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และเป็นวิทยาการอันสูงส่ง ซึ่งยังไม่เคยมีใครสามารถทำได้มาก่อน และทั้งต่อไปในอนาคตอีกด้วย... ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องฯ เมื่อปี ๒๕๐๕ โดยเฉพาะเรื่องพระสมเด็จฯ ผมได้สนใจศึกษาเป็นพิเศษ จนถึงปี ๑๘ ก็ยังมืดแปดด้านอยู่นั่นเอง แทบหมดอาลัยตายอยาก...
อยู่มาไม่กี่วันนี้ พลันรู้สึกหูตาสว่างขึ้น พยายามหาโอกาสพิจารณาของจริง จากบุคคลต่าง ๆ และทบทวน ปริอรรถาธิบายอย่างละเอียด จึงพบว่าที่แท้ผมก็มีพระสมเด็จอยู่ถึง ๘ องค์ เป็นของวัดระฆังและบางขุนพรหม อย่างละเท่า ๆ กัน...อยากจะนำมาปรึกษาอาจารย์ ตามแอ็ดเดรสส์ของอาจารย์นั้นไม่ทราบว่าอยู่ถนนอะไร และจะพบอาจารย์ได้วันเวลาใด...ด้วยบุญกุศลและอานุภาพแห่งหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ของจงช่วยให้อาจารย์ประสบแต่ความสุข ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น...
คุณอัมพรฯ ที่รัก ขอขอบคุณอย่างสูงที่ได้กรุณาให้เกียรติและยกย่องผมปานนี้ แต่มันเกินความเป็นจริงไปมาก ผมเองกล่าวอยู่เสมอว่าตนเองเป็นแต่นักพระเครื่องฯ ธรรมดา ๆ ผู้หนึ่งเท่านั้น ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องพระเครื่องฯ อีกมากนัก นี่ก็เป็นคำกล่าวจากใจจริงเหมือนกัน ฉะนั้นเรามาเป็นเพื่อนกันดีกว่า มีอะไรพยายามช่วยเหลือกันได้ก็ช่วยกันไป พิจารณาเรื่องราวของคุณแล้วอยากจะบอกคุณว่า ผมกำลังมีความกังวลใจบางอย่าง เกรงว่าบางที อาจจะทำให้คุณเสียกำลังใจปริถาอรรถาธิบายฯ นั้นให้ในเรื่องหลักทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะให้ประสบการณ์แก่ผู้ศึกษาได้ การถอดรายละเอียดจากของจริง แล้วแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร คำอธิบายลงในตำรานั้น ปัญหามีอยู่ว่า ผู้ศึกษา เมื่ออ่านรายลักษณ์อักษรแล้วสามารถจะแปลงกลับ ให้เป็นรายละเอียดของ ๆ จริง แจ่มชัดอยู่ในจินตภาพของตนได้หรือไม่? แน่เหลือเกิน ผู้ที่ขาดประสบการณ์ย่อมไม่อาจทำได้ถูกต้อง จึงได้ให้ข้อแนะนำไว้ว่า จะต้องหาโอกาสฝึกฝนจากองค์วัตถุ คือพระด้วยให้มากที่สุด สมัยนี้นับว่าสะดวก ที่มีการประกวดพระ จงใช้เป็นเวทีฝึกสายตาใหได้เสมอ พระที่ติดรางวัลนั้น ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์เป็นของแท้ จะมีผิดพลาดบ้างก็น้อยที่สุด
ผมเกรงว่าพระทั้ง ๘ องค์ของคุณ จะมิใช่พระสมเด็จฯของจริง ผมได้รับจดหมายลักษณะทำนองเดียวกับคุณ หลายสิบฉบับ ครั้นเมื่อนำพระมาตรวจแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีของจริงเลย ความรู้สึกที่ว่าพระของตนที่มีอยู่มีลักษณะถูกต้องตามตำรานั้น ส่วนมากที่สุดเกิดจากอุปาทานที่เข้าข้างตัวเอง ของผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงข้อเท็จจริงของพระสมเด็จฯ อุปาทานเข้าข้างตัวเองนี้ จัดว่าเป็น โรคชนิดหนึ่งของนักศึกษาที่ยังขาดประสบการณ์ ซึ่งปรากฎมากที่สุด นี่แหละคือข้อเท็จจริงที่อยากจะบอกคุณไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะนำพระมาตรวจ นำพระของคุณมาเถิดผมจะตรวจให้ มาตามวันเวลาและแผนผังที่ “เปิดโลก” แจ้งให้ทราบ ขอภาวนาให้พระทั้ง ๘ องค์ของคุณจงเป็นพระสมเด็จฯ แท้ สักองค์หนึ่งเถิด
คุณ...(อ่านไม่ออก)
๓๓๔/๔ ถนนไตรรัตน์ อ. เมือง ชุมพร
ถาม ผมมีพระสมเด็จฯ อยู่องค์หนึ่ง ได้มาตั้งแต่รับราชการอยู่จังหวัดตราด ประมาณ ๑๐ ปีมาแล้ว จากผู้ที่มีอายุมากแล้ว ซึ่งแกก็ได้เก็บเอาไว้นานมากแล้วด้วย มีรูปร่างตามที่วาดรูปมานี้ มี ๙ ชั้น ขี้กรุมาก เนื้อแน่นแข็ง มีอักขระขอมอยู่ด้วย เนื้อสวยมาก ไม่ทราบว่าเป็นของกรุไหน เซียนหลายคนบอกได้แต่ว่า เป็นของเก่ามาก แต่ไม่ทราบว่าที่ไหน ทีแรกบางคนบอกว่า เป็นของวัดเกศไชโย แต่ก็ไม่แน่ เพราะอกไม่ร่อง
ตอบ เซียนคนนี้ ก็บอกไม่ถูกเหมือนกันเป็นของกรุไหน แต่ไม่ใช่ของวัดเกศไชโยแน่ บอกได้เพียงว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ ไม่ใช่ของเก๊ของเถื่อนแน่นอน คลับคล้ายคลับคลาว่า ดูเหมือนจะมีคนเขียนลงในนิตยสารพระเครื่องฯ เล่มใดเล่มหนึ่ง หรือในคอลัมน์การตอบปัญหามาบ้างแล้ว แต่นึกไม่ออกว่าเล่มใด ทีหน้าทีหลัง จะเขียนมาถามอีกละก็ เขียนชื่อให้มันอ่านออกสักหน่อย หากติดเซ็นหวัด เพื่อป้องกันไม่ให้ใครปลอมลายมือได้ละก็น่าจะวงเล็บเขียนให้ชัด ๆ กำกับมาด้วย คนเรา ถ้าไม่รู้จักชื่อแซ่กันละก็ คุยกันไม่ค่อยออกรสจริงไหม
คุณสมศักดิ์ สมานเหมาะ
๑๗ ซอยร่วมศิริ วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
เรียน อาจารย์ตรียัมปวาย ที่เคารพ... ผมยินดีที่อาจารย์กลับมาตอบปัญหา ให้ความกระจ่างแก่ผู้นิยมเลื่อมใสพระเครื่องฯ รุ่นน้อง ๆ หรือหลาน ๆ ต่อไปอีก เพราะในปัจจุบัน พวกเราไม่ทราบว่าจะไปสอบถามจากผู้ใด ที่จะมีความรู้ด้านนี้เท่าเทียมอาจารย์ได้... ขอให้อาจารย์และครอบครัวจงมความสุข ความเจริญตอลดไป ด้วยความเคารพอย่างสูง
ความจริงผมถูกเขาเกณฑ์ให้มาตอบปัญหาน่ะ ผมปฏิเสธเขาไปแล้วว่า ควรหาผู้อื่นตอบจะดีกว่า เพราะโดยนื้อแท้แล้ว ผมสนใจจริงจัง เฉพาะพระเครื่องฯ หรือเหรียญรุ่นเก่าที่เป็นหลัก ๆ เท่านั้น อีกประการหนึ่ง เมื่ออายุมากเข้าความทรงจำก็เสื่อมลง บางทีพระที่เคยรู้จักก็หลงลืมนึกไม่ออก แต่การตอบปัญหานั้นมีเวลาจำกัดต้องส่งต้นฉบับล่วงหน้า ไม่มีเวลาเพียงพอต่อการสอบค้น นอกจากนั้นขณะนี้เกือบจะเรียกได้ว่า ไม่ได้เข้าสนามพระเลย จึงไม่มีโอกาสได้ปรึกษาหารือกับพรรคพวกเพื่อนฝูงในเรื่องพระ ที่ไม่เข้าสนามพระก็เพราะว่า ไม่ว่าจะมองไปทางไหน เห็นแต่คนหน้าเปื้อนธนบัตรเหมือน ๆ กัน ไปหมด เลยเวียนหัวตาลาย พาลจะเป็นลม
1.ขอทราบประวัติ ของหลวงพ่อโม วัดสามจีน
: หลวงพ่อโม (พระครูวิริยะกิจการี) วัดสามจีน (วัดไตรมิตร) (นามสมณศักดิ์คล้าย ๆ ของหลวงพ่อบุญนาค “พระครูวิริยาธิการี” วัดหัวหิน) เป็นเกจิอาจารย์สักชื่อดังมาก เพราะเป็นอาจารย์สักให้พวกลั่กกั้ก นักเลงแกงค์ใหญ่ครั้งกระโน้น จึงเป็นคู่รักคู่แค้นกับหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน อาจารย์สักนักเลงแกงค์เก้ายอด หลวงพ่อโม เกิดปี ๒๔๐๒ ที่บ้านตลาดน้อย กรุงเทพฯ โยมบิดามารดาชื่อ นายลิ้มและนางกิมเฮียง แซ่ฉั่ว เป็นคนจีนอุปสมบทที่วัดสามจีน พระครูถาวรสมณวงศ์ (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นพระกรรมวาจาฯ และพระอาจารย์แย้ม เป็นพระอนุศาสน์ ท่านสร้างพระเครื่องฯ ที่เรียกกันว่า “พระชินราชวัดสามจีน” องค์พระคล้ายพระพุทธชินราช กรอบทรงข้าวบิณฑ์ ฐานตัด คล้ายพระวัดเสาธงทอง ลพบุรีมาก แต่สัณฐานย่อมกว่าเล็กน้อย มีทั้งเนื้อดีบุก และดินเผา ออกเหรียญฉลองอายุครบ ๖๐ ปี เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อเงิน รูปครึ่งองค์ มีกรอบพวงมาลัยและอุณาโลม ทำนองเหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย และมีอักขระขอมอยู่ข้างล่างว่า “พระครูวิริยะกิจการี” ด้านหลังมียันดอกเลา ประกอบด้วยสูรย์จันทร์ และอักขระขอม หลวงพ่อมรณภาพปี ๒๔๗๒ อายุ ๗๐ ปี
๒. ขอทราบประวัติ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
: ประวัติของหลวงพ่อทา ยังไม่มีโอกาสค้นคว้า ให้ละเอียดแน่ชัดได้ เช่นเดียวกับหลวงพ่อนาค วัดห้วยจรเข้ นครปฐม ขอสรุปตามข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้ เพียงสังเขปไปพลางก่อน หลวงพ่อเกิดประมาณปี ๒๓๗๘ ที่หมู่บ้านหนองเสือ ต. หนองดินแดง อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญพระกัมมัฏฐานและธุดงส์มาก อีกทั้งเรื่องวิทยาคม เฮี้ยนและดุที่สุดในบรรดาพระอาจารย์ยุคเก่า ของนครปฐม บรรพชาเป็นสามเณร แต่ยังเยาว์วัยแล้ว อุปสมบท ณ วัดบ้านฆ้อง อ. โพธาราม ราชบุรี ภายหลังได้ครองวัดพะเนียงแตก ต. ห้วยชัน อ.เมือง จ. นครปฐม สร้างพระเครื่องฯ ไว้ ๒-๓ ชนิด ได้แก่ พระสมาธิเพชรซุ้มโพธิ (แบบแบน) เนื้อทองแดง และทองเหลือง (เป็นพระหล่อ) ด้านหลังมีอักขระ “มะ” (ในพิมพ์) บางองค์มีการจารสระอิเพิ่มเติมเป็น “มิ” มีอุณาโลมประกอบ พระสมาธิเพชรรอบคอระฆัง เนื้อทองแดงและทองเหลือง (หล่อ) ด้านหลังมีอักขระ “มิ” และอุณาโลมประกอบ มีทั้งแบบมีห่วงในตัวและไม่มีห่วง พระสมาธิเพชรกรอบหยดน้ำ ด้านหลัง “มิ” พระมหาอุตม์แบบต่าง ๆ เช่น พิมพ์มือปิดเข่า พิมพ์เกลอเดี่ยว พิมพ์สามเกลอ เหล่านี้เป็นเนื้อเมฆภัสสร์ และพิมพ์กลม หลัง “อุ” (แบบตั้งโต๊ะกัง) เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ขมวดมวย “เช่เด่น” (คล้ายฤาษีสวมชฎา) เนื้อเมฆภัสสร์ ด้านหลังเป็นยันต์เฉลวเพชร หลวงพ่อมรณะประมาณปี ๒๔๖๘
เรื่องของหลวงพ่อทานั้นมักมีศัพท์แปลก ๆ เช่นคำว่า “เช่เด่น” ที่เรียกพระมหาอุตม์ แบบขมวดมวยนั้น ก็เห็นเรียกกันมาช้านานแล้ว จนบัดนี้ยังไม่ทราบว่า หมายความว่ากระไร คำว่า “ยันต์เฉลวเพชร” (บางคนเรียกว่า “เฉลียวเพชร”) ก็เหมือนกัน ที่ไม่ทราบความหมายส่วนตัวหลวงพ่อนั้น ก็ได้รับสมญาเกียรตินามว่า “โสกุดร” (บางคนเรียกเพี้ยนว่า “โสอุดร”) อันนี้เดาได้ว่าเพี้ยนมาจากคำเดิมว่า “โลกุดร” อันได้แก่ “โลกุตระ” เพราะคนรุ่นเก่า ๆ ของนครปฐมเชื่อกันว่า ท่านอาจจะได้ ธรรมวิเศษบางประการเพราะท่านเคร่งกัมมัฐฏานและธุดงส์วัตรเป็นที่สุด แต่ก็สงสัยกันว่าทำไมท่านจึงดุนัก จากคำเล่าลือ “โลกุดร” นี้เอง ทำให้พระเถระฝ่ายปกครององค์หนึ่งในจังหวัด กล่าวโทษท่านทำนองอวดอุตริมนุษยธรรม แต่ความจริงท่านหาได้ทำเช่นนั้นไม่ ตรงข้ามท่านห้ามปรามชาวบ้านมิให้เรียกท่านเช่นนั้น สำหรับพระเถระองค์ที่คอยจ้องเพ่งโทษท่านนั้น ท่านได้ใช้อำนาจจิต สะกดให้ต้องตื่นแต่เช้ามืดแล้วเดินทางออกจากวัดซึ่งอยู่ในเมืองตรงมาสู่วัดพะเนียงแตก ให้มายืนนิ่งอยู่ที่หน้าวัดนับเป็นชั่วโมง แล้วก็เดินทางกลับ ทรมานอยู่เช่นนี้ร่วมเดือนหนึ่ง ท่านจึงได้ถอนอำนาจอิทธิเวทย์ออก งานประจำปีของวัดพะเนียงแตก ท่านจะนั่งอยู่กลางศาลาแวดล้อมด้วยศิษยานุศิษย์ เนืองแน่น คนที่มาเที่ยวงานไม่มีใครกล้าเมาสุราอาละวาด หรือมีนักเลงมาก่อกวนใด ๆ เลย มีอยู่ครั้งหนึ่ง นักเลงต่างจังหวัดดูเหมือนจะเป็นคนทางสุพรรณมาก่อวิวาทขึ้น ท่านสะกดเรียกตัวมาให้พระเณรจับมัดขึง เข้ากับเสาศาลาแล้วโบยด้วยหางกระเบน เรื่องเกร็ดฝอยของหลวงพ่อทายังมีอีกมาก ผมเป็นลูกนครปฐม ได้ยินญาติผู้ใหญ่และผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าเรื่องของท่านให้ฟังอยู่หลายเรื่อง ถ้ามีโอกาสค้นคว้าข้อมูลของหลวงพ่อได้แน่ชัดกว่านี้ ก็อาจเขียนเรื่องของท่านบ้าง
๓. พระพุทธคุณ ของพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ กับพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมแตกต่างกันหรือไม่
: ไม่น่าจะแตกต่างกัน เพราะองค์ผู้สร้าง คือท่านพระคุณสมเด็จฯ องค์เดียวกัน ใช้ผงวิเศษเป็นอิทธิวัตถุหลัก ๕ ประการ ในการผสมเนื้อพระเช่นเดียวกัน และใช้พระคาถาชินบัญชรปลุกเสกเช่นเดียวกัน ส่วนกรณีที่มีบางคนเขียนว่า “พระสมเด็จฯ บางขุนพรหมไม่ใช่พระที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง หากเป็นพระของเสมียนตราด้วง” ก็ดีและบางคนเขียนว่า “มีผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์อวดรู้ดีว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯปลุกเสกพระของท่าน ด้วยคาถาชินบัญชร ท่านอาจปลุกเสกด้วยคาถาบทอื่นก็ได้” ก็ดี ตลอดจนปัญหาเรื่อง พระสมเด็จฯ เกศไชโยและพระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสน ซึ่งมีผู้สงสัยและไต่ถามมากมาก จะได้รวมกล่าวในปรารภตอนท้ายอีกครั้ง
๔. พระรอดกับพระคงเป็นพระที่สร้างสมัยเดียวกันหรือเปล่า
: จากการสอบค้น และสันนิษฐานของผม บ่งชี้ได้ว่าเป็นพระรุ่นเดียวกัน สร้างในสมัยที่มอญ (นางจามเทวี) ปกครองกรุงหริภุญไชย ราว ปี พ.ศ. ๑๒๐๐ เรื่องนี้ก็มีผู้แย้งว่า พระเครื่องฯ สกุลลำพูนมีอายุการสร้างไม่เกิน ๖๐๐ ปี อีกคนหนึ่งค้านในเรื่อง หลักการเปรียบเทียบทางเนื้อ ระหว่างพระคงกับพระรอดและเนื้อผงหิน (สีเขียว) ของพระรอดหรือพระคง ว่าเกิดจากการเปลี่ยนสี จากสีดำมาเป็นสีเขียวด้วยการเพิ่มอุรหภูมิ เรื่องนี้จะนำไปกล่าวรวมกันไว้ในตอนท้าย เช่นเดียวกัน
ปรารภท้ายการตอบปัญหา
ระหว่างที่ว่างเว้น การตอบปัญหาพระเครื่องฯ ไประยะหนึ่งนั้นได้มีปัญหาใหญ่ ๆ ที่คั่งค้าง ซึ่งมีผู้ไต่ถามมามาก สาเหตุเกิดจาก มีนักเขียนเรื่องพระบางคนได้เขียนให้ทัศนะแปลก ๆ อันผิดไปจากข้อเท็จจริง มีทั้งเขียนมานานแล้ว และเพิ่งขียนขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ จึงจำเป็นต้องถือโอกาสชี้แจง ความเป็นจริงให้ผู้ศึกษาได้ทราบรวมกันไป ในโอกาสนี้
1. พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เคยมีผู้เขียนลงนิตยสารพระเครื่องฯ ฉบับหนึ่ง นานมาแล้วว่าพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม มิใช่เป็นของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโต แต่เป็นพระที่เสมียนตราด้วงสร้าง โดยอาราธนาพะอาจารย์ต่าง ๆ มีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นประธาน มาทำพิธีปลุกเสก จึงทำให้มีผู้ติดใจปัญหาเรื่องนี้และไถ่ถามมาเสมอ ปริอรรถาธิบายฯ เล่ม ๑ ฉบับพิมพ์แรก ๆ ได้ถ่ายทอดจากบันทึกเดิม ของผู้ที่ได้สัมภาษณ์ พระธรรมถาวร (ช่วง) ในลักษณะคำต่อคำ มิได้มีการวิเคราะห์ ดังนั้นผู้ที่อ่านปริอรรถาธิบายฯ เล่ม ๑ ฉบับพิมพ์แรก ๆ จึงอาจสำคัญผิดคลาดเคลื่อนไปได้ว่า เสมียนตราด้วงจัดสร้างพระกรุนี้ขึ้นโดยใช้คณาจารย์ร่วมปลุกเสก โดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นประธาน ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ความข้อนี้ ได้ปรับปรุงแก้ไขให้ชี้ชัดแล้วในฉบับพิมพ์หลัง ๆ กล่าวคือ การสร้างพระกรุนี้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เสมียนตราด้วง เป็นผู้มีความดำริให้สร้าง โดยอาราธนาท่านเจ้าพระคุณฯสมเด็จไปสร้าง ทั้งแม่พิมพ์ และผงวิเศษได้รับอนุญาตให้ขนเอาไปจากวัดระฆังฯ และท่านเจ้าพระคุณ เป็นผู้ปลุกเสกโดยอาจารย์อื่น ๆ ก็ร่วมด้วย เพราะเป็นการจัดพิธีการสร้างขึ้น ต่างกับพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ที่ท่านเจ้าพระคุณสร้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีการจัดพิธี แต่ก็หนีการปลุกเสกหมู่ไม่ได้ ทั้งนี้ โดยที่ท่านยังได้เอาพระที่ตากแห้งแล้ว เข้าไปไว้ในพระอุโบสถ ให้ได้รับอิทธิพลจากการสวดมนต์ทำวัตร ของพระลูกวัดของท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการปลุกเสกหมู่ด้วยนั่นเอง นอกจากนั้น ท่านยังได้ขอให้พระลูกวัด ช่วยกันปลุกเสกโดยตรงอีกด้วย
ดังนั้น ฐานะที่แท้จริงของเสมียนตราด้วง ในการนี้ ก็คือ พิธีกร หรือผู้จัดการในการสร้าง เช่นเดียว กับ พระยาทิพยโกษาและพระยาสุภกรบรรณสาร เป็นพิธีการในการสร้างพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชแพ หรือ นาย เป็งย้งฯ เป็นผู้จัดสร้างพระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งหล่อที่ว้ดสุทัศน์ฯ เมื่อปลายปี ๒๑ นี้ ซึ่งจะต้องเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ว่า “พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ รุ่นจัดสร้างโดย นายเป็งย้งฯ” มิใช่จะเรียกว่า “พระกริ่งหลวงพ่อเป็งย้งฯ รุ่นปลุกเสกโดยหลวงปู่โต๊ะ” ฉันใดก็ดี คงจะไม่มีใครพิเรน ไปเรียกพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมว่า “พระหลวงพ่อด้วง ปลุกเสกโดย สมเด็จพุฒาจารย์โต” เป็นแน่ วงการพระเครื่องฯ นั้นปราศจากความคลางแคลง ในเรื่องนี้เลย จะเห็นได้จากราคาพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม ที่ประเมินเช่าบูชากันอยู่ในขณะนี้ สูงอย่างคาดไม่ถึง
2. พระคาถาชินบัญชร มีบุคคลอีกผู้หนึ่ง ได้เขียนไว้ในนิตยสารพระเครื่องฯ อีกฉบับหนึ่ง เมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ว่า “มีผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์อวดรู้ดีว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ปลุกเสกพระสมเด็จฯ ด้วยคาถาชินบัญชรนั้น รู้ได้อย่างไร ท่านอาจปลุกเสกด้วยบทอื่นก็ได้” ผู้ที่เผยแพร่ให้ผู้คนทั้งหลายได้ทราบว่าท่านเจ้าพระคุณฯ ใช้พระคาถาชินบัญชร ปลุกเสกพระสมเด็จฯ ก็คือผม และผมเองก็ไม่ได้ตั้งตัวเป็นอาจารย์ใคร ได้แต่คอยปฏิเสธว่า เป็นเพียงนักศึกษาพระเครื่องฯ คนหนึ่งเท่านั้น แต่บุคคลผู้นี้ได้เคยสถาปนาตนเองว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญพระรอดกับพระกำแพงซุ้มกอ มันจึงกลายเป็นเรื่องโอละพ่อกัน การที่ผมเขียนว่าท่านเจ้าพระคุณฯใช้พระคาถาบทนี้ ปลุกเสกพระของท่าน ก็มิได้อวดดี หากได้อ้างหลักฐานที่มาที่ไปไว้อย่างชัดเจนแล้ว และถ้าหากสงสัยว่าจะมิใช่เช่นนั้น ก็ไหนลองบอกหน่อยซิว่า ท่านเจ้าพระคุณฯ ใช้พระคาถาบทไหน หรืออาจเป็นคาถา “โอม มหาละลวย””””
3. พระสมเด็จฯ เกศไชโยและพระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสน ผมเคยตอบปัญหาพระเครื่องฯ คราวหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ยอมรับพระสมเด็จฯ เกศไชโยว่า เป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯสร้าง และบอกความจริงว่า พระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสนมีแต่ของเถื่อนทั้งสิ้น แล้วก็มีผู้เขียนในหนังสือพระเครื่องฯฉบับหนึ่ง เขียนโจมตีผมเป็นการใหญ่ติดต่อกันอยู่หลายฉบับ ตอนท้ายถึงกับประกาศท้าทายให้คนปลอมมาทำพิสูจน์ต่อหน้ากรรมการ โดยวางเงินก้อนใหญ่เป็นเดิมพัน ผมทราบภายหลังว่าคนผู้นี้เป็นจ่านายสิบตำรวจนอกราชการ และเป็นผู้เซ็งลี้พระทั้งสองชนิดนี้อยู่ จึงเป็นการขัดผลประโยชน์กันขึ้น โดยไม่ได้เจตนาเลย ตอนนั้นผมกำลังว่างเว้นจากการตอบปัญหาพระเครื่องฯ จึงมิได้มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง ความจริง นายจ่าผู้นี้เขียนท้าทายขึ้นมาโดยขาดสามัญสำนึก เพราะคนปลอมพระที่ไหน เขาจะแสดงตัวรับท้าพนัน เพราะมันเสี่ยงต่อการ ถูกประชาทัณฑ์จากบรรดาผู้ที่เช่าพระ ๒ ชนิดนี้ไปจากจ่าแก่คนนั้น
ผู้ที่ปลอมพระสมเด็จฯ เกศไชโยยุคนี้ ที่แพร่หลายมาก มีชื่อสำเนียงคล้าย ๆ “นายเง็ก” และ “นายตี๋เขื่อง” เป็นคนทางบางขุนเทียนผลิตออกมา เป็นเรือนพันองค์ทีเดียว ทะยอยส่งผ่านมือมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงอีตาจ่าแก่ผู้นี้ ส่วนผู้ทำพระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสน เถื่อนนั้นมีสำเนียงคล้าย ๆ “นายเวียก” วายร้ายคนหนึ่ง ในกระบวนการยุทธจักรนั่นเอง ทำแล้วก็งุบงิบกับชีต้นเจ้ากูหัวปู่วัด เอายัดกรุแล้วประกาศว่าพบกรุพระสมเด็จฯ ที่วัดนั้น นายจ่าเฒ่าผู้นี้ ก็ไปรับเอามาจำหน่าย ควบคู่กันไปกับพระสมเด็จฯ เกศไชโย ได้ทราบว่า หลอกเอาเงินชาวบ้านไปได้ไม่น้อย แต่ที่ถูกนำมาคืนก็หลายรายเลยเขียนโจมตีผม เป็นการใหญ่ เพราะมาขัดคอขัดลาภแกเข้า จนกระทั่งเฒ่าแก่ เจ้าของนิตยสารพระเครื่องฯ ฉบับนั้น เขารำคาญจึงได้อัปเปหิคุณจ่า ออกไปจากทุกหน้าที่ของหนังสือเล่มนั้น ค่าที่เขียนไม่เอาไหน คอยแต่เขียนโฆษณา ค้าพระเถื่อน ๒ ชนิดนี้ นี่แหละ ผู้ที่ถ่มน้ำรายรดฟ้า ย่อมหาความเจริญมิได้
4. พระรอด เคยมีผู้เขียนค้านเรื่องพระรอดว่า ที่ผมกล่าวว่าเป็นพระโบราณรุ่นเก่าแก่ ยุคจามเทวีนั้น ไม่จริง แต่เป็นพระที่มีอายุการสร้างเพียง ๖๐๐ ปีเท่านั้น แต่ก็หาได้แสดงเหตุผลใด ๆ ให้ชี้ชัดในข้อคัดแย้งนี้ไม่ ธรรมดาการค้านทฤษฎีของผู้อื่น ตนเองจะต้องประมวลเหตุผลหลักฐานที่เหนือกว่า มาแสดงให้เห็นชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะฟังไม่ขึ้น อีกรายหนึ่งเกี่ยวกัยเรื่องพระรอด ที่มีการค้านว่า ทฤษฎีการเปรียบเทียบเนื้อพระคง กับ พระรอด ที่ผมกล่าวไว้ในปริอรรถาธิบายฯ เล่มที่ ๓ นั้น ใช้ไม่ได้ เพราะว่าเนื้อพระทั้ง ๒ ชนิดนี้ต่างกันมาก แสดงว่าคน ๆ นี้ อ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ เนื้อพระคงที่จัด ๆ นั้น บางองค์จัดซึ้งกว่าเนื้อพระรอดเสียอีก เขาเคยเห็นแต่พระคงที่เพิ่งขุดขึ้นมาจากดินใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่เคยเห็นพระคงรุ่นเก่าเนื้องาม ๆ ฉะนั้น เหตุใดจะอนุมานไม่ได้ว่า เพราะเนื้อคงที่จัด ๆ นั้นหากมีความจัดซึ้ง และละเอียดขึ้นไปกว่านี้อีกประมาณ ๑๐ เท่า จะเป็นเนื้อพระรอดไม่ได้ คนที่ค้านเรื่องนี้ไม่ใช่ใครคือเจ้าเก่านั่นเอง ได้แก่ ผู้สถาปนาตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญพระรอดและพระกำแพงซุ้มกอ ที่เลื่อมใสคาถาโอมมหาละลวยเป็นชีวิต นอกจากนั้น เขายังค้านเรื่อง เนื้อพระรอดชนิดผงหิน (สีเขียว) ว่าไม่ใช่เนื้อผงหิน แต่สีเขียวเกิดจากความร้อนสูง ทำให้เนื้อดำเปลี่ยนเป็นสีเขียวได้ เขาอ้างเซรามิค เกี่ยวกับควอซในเนื้อดินเผาจะละลายหลอม ทำให้เนื้อพระกลายเป็นสีเขียว เรื่องเครื่องเคลือบที่เกิดจากควอซละลายนั้น เป็นคนละลักษณะกับ เนื้อผงหินของพระรอดโดยสิ้นเชิง และการที่อ้างว่าดีกรีอุณหภูมิเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ จะทำให้เนื้อดินเปลี่ยนสีไปนั้น หาได้เฉลียวใจไม่ว่า โบราณมีอุปกรณ์เพิ่มอุณหภูมิสูงเช่นนั้นหรือ ล้วนแล้วแต่ไปเอาตัวเลขมาจากโรงงานอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน มากล่าวทั้งดุ้น ความจริงเนื้อเขียวเป็นเนื้อผงหินที่มีแรงดึงดูดภายใน จึงดึงแคลเซี่ยมในดินมาจับพอกตัวตามผิวเนื้อ ที่เรียกว่า “คราบคำ” ซึ่งจะไม่ปรากฎสำหรับเนื้อดินเผาเลย ลองค้านข้อนี้ให้ได้สิ การกล่าวอ้างหลักฐานต่าง ๆ นั้น มิใช่เที่ยวไปหยิบตำราเล่มนั้นเล่มนี้แล้วยกเอาของเขามาทั้งดุ้น เช่นไปเอาเรื่องเซรามิค มาวิจารณ์เรื่องพระรอดล้วน ๆ การเขียนหนังสือนั้นไม่ได้ใช้แต่เพียงมือ และนัยน์ตาเท่านั้น ต้องใช้ปัญญาด้วย เป็นอย่างมาก แล้วก็คนฉลาดนั้นเขาไม่สถาปนาตนเอง เป็นอาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญดอกจะบอกให้ จะเป็นได้หรือไม่นั้น คนอื่นเขาเป็นผู้ตั้งให้
5. พระมหาอุตม์หลวงพ่อนาควัดห้วยจรเข้ พระชนิดนี้ก็มีคนเขียนว่า “ไม่ใช่พระของหลวงพ่อนาคสร้าง แต่เป็นพระของหลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี” นอกจากนั้นยังกล่าวต่อไปว่า “สำหรับพระมหาอุตม์ ของหลวงพ่อนาคนั้นจนบัดนี้ยังไม่มีใครทราบว่าลักษณะอย่างไร” เขียนอย่างนี้เป็นการดูถูกวงการพระเครื่องฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักพระเครื่องฯ นครปฐมอย่างจัด เรื่องการสร้างพระมหาอุตม์ของหลวงพ่อนาคนั้น หาใช่เป็นเรื่องเก่าแก่ดึกดำบรรพ์ ที่ไม่อาจสืบทอดเรื่องราวถึงปัจจุบันนี้หรือไม่ สมภารวัดห้วยจรเข้ ถัดจากหลวงพ่อนาค (พระครูปัจฉิมทิศบริหาร) ก็มาถึงหลวงพ่อสุก (พระครูอุตรการบดี) แล้วก็ถึงหลวงพ่อล้ง สมภารองค์ปัจจุบัน คนนครปฐมที่มีพระเครื่องฯชนิดนี้อยู่ ส่วนมากได้รับจากบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระโดยตรงจากมือหลวงพ่อนาค และได้รับคำบอกเล่าเสืบต่อกันลงมา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแน่ชัด เมื่อเอาพระมาเทียบกันดู ก็เป็นแบบอย่างทำนองเดียวกัน ซึ่งจะมีอยู่ ๒-๓ พิมพ์ องค์ที่หลวงพ่อนาคมอบให้หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้วไว้ และตกมาอยู่กับหลวงปู่เพิ่มทุกวันนี้ ก็มีลักษณะตรงกับคนอื่น ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งได้รับตกทอดเป็นมรดกมาดังกล่าว พระมหาอุตม์ หลวงพ่อนาค มีลักษณะและแบบพิมพ์ต่าง ๆ อยู่ในฟอร์มที่ชมรมนครปฐมจัดประกวดคราวที่แล้วนั่นเอง (แต่ไม่ควรใช้คำว่า “พิมพ์ตัวผู้” และ “พิมพ์ตัวเมีย” ซึ่งถูกวิจารณ์ค่อนข้างหนัก ควรใช้คำว่า “พิมพ์ป้อม” และ “พิมพ์ป้าน”
6. พระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ พิมพ์ชลูด ฐานมีเลข 118 นิตยสารฉบับเดียวกันกับ ข้อ ๕ เล่มที่ออกเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้นำเอาพระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ พิมพ์ชลูด ฐานมีเลข118 มาทำภาพหน้าปก แล้วอธิบายว่าเป็นพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา ซึ่งเป็นความผิดพลาด อย่างถนัดอีก ความจริงเป็นพระชัยวัฒน์ ของหลวงปู่บุญ พิมพ์ชลูด เช่นเดียวกับพิมพ์ชลูดอื่น ไ แต่เป็น องค์ยอดพุ่ม จึงได้มีการจารึกเลข 118 ไว้ใต้บัว ซึ่งทำให้ฐานสูงกว่าพิมพ์ชลูดธรรมดา ตัวเลขนี้หมายถึง ร.ศ. 118 ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๒ อันเป็นปีที่สร้าง พระชัยวัฒน์ของวัดกลางบางแก้ว
การเขียนเรื่อง พระเครื่อง หรือออื่นใดก็ตาม ผู้เขียนควรจะแข่งขันกันในด้านคุณภาพ สร้างผลงานให้คนอ่านเขายอมรับ มิใช่คอยกระแนะกระแหนหรือโจมตีกัน ซึ่งจะไม่มีวันดังวันเด่นขึ้นมาได้เลย แต่จะถึงจุดดับเสียก่อน เพราะความอหังการของตน ปากกานั้นหาได้มีอยู่ในความครอบครองของใคร แต่ผู้เดียวไม่ อีกทั้งไม่แน่ว่า ปากของด้ามไหนจะคมกว่ากันอีกด้วย ความนิยมของมหาชนนั้น เป็นพลังลึกลับที่ทรงอำนาจมาก ทั้งจะไปกะเกณฑ์กันก็มิได้ มันขึ้นอยู่กับผลงานของบุคคลเป็นสำคัญ ผู้ศึกษาพระเครื่องฯ นั้นเป็นปัญญาชน เมื่อเขาได้ตรวจข้อเขียนผลงานของแต่ละรายแล้ว เขาก็ประเมินค่าได้เองว่า ใครมีฝีมือแค่ไหน และใครบ้าง ที่ลอกกากตำราของใครมาเขียน
ผมเองมีความเคารพนับถือครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่อยู่เสมอ แม้เพียงท่านจะให้ “นะ” ตัว “โม” ตัว ก็ต้องกราบท่าน เพราะองค์สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงสอนไว้ว่า “การให้วิทยาทาน เป็นสิ่งที่สูงค่า ยิ่งกว่าการให้ทานทั้งหลาย”
ที่มา ปริศนา ? พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย
โดย เสี้ยนไม้
คเณศ์พรพระเครื่อง ฉบับที่ ๔๓
ปริศนา ? พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย
พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จัดเป็นพระเครื่องเนื้อผงที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เพียงรองจากพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหมเท่านั้น เพราะนักนิยมพระเครื่องทั้งหลายเชื่อกันว่าพระดังกล่าวสร้างโดย พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง ผู้สร้างพระสมเด็จอันลือลั่น
แต่มีนักนิยมพระเครื่องรุ่นใหม่ ๆ หลายต่อหลายท่านติดใจสงสัย และข้องใจกันว่า พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโยนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้สร้างจริงหรือ ก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้สร้างกันแน่
จากข้อมูลที่นำมาอ้างอิงกันว่า พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นผู้สืบเนื่องมาจาก ประวัติการสร้าง “พระมหาพุทธพิมพ์” หรือพระพุทธรูปนั่งที่วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านเป็นผู้ดำริจัดสร้าง
ตามตำนานบันทึกไว้ว่า การสร้างพระพุทธรูปครั้งนี้ ได้กระทำเป็น ๒ คราว คราวแรกสร้างเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตมาก ใช้วิธีก่ออิฐถือดิน แต่แล้วก็พังทลายลงมา
ในคราวที่สองนี้ กระทำเช่นเดียวกับคราวแรก แต่ได้ลดขนาดองค์พระให้เล็กลงกว่าเดิม ถึงกระนั้นก็ยังคงมีขนาดใหญ่มากอยู่นั่นเอง ไม่ได้ปิดทอง นั่งอยู่กลางแจ้งมองเห็นแต่ไกล การก่อสร้างใช้เวลาเกือบ ๓ ปี ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๖ – ๒๔๐๗ และได้นำพระเครื่องลักษณะพระผงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก เข้ามาบรรจุในองค์พระนั่งใหญ่นี้ด้วย
จากบันทึกของพระอาจารย์ขวัญที่เคยสัมภาษณ์ พระธรรมถาวร ได้ความว่า
“...สำหรับของวัดไชโย ก็มีพิมพ์ทรง ๕ ชั้น พิมพ์ทรง ๖ ชั้น พิมพ์ทรง ๗ ชั้น (หูบายศรี) และรวมทั้งพิมพ์ทรง ๗ ชั้น (หูธรรมดา) รุ่นแรกของวัดระฆัง ที่เอาไปบรรจุไว้ที่วัดเกศไชโยด้วย...”
ผมเคยสอบถามเรื่องราวของที่มาพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จากนักเล่นพระรุ่นอาวุโส ซึ่งท่านขอสงวนนามไว้ได้ความว่า
“...ในราวปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เศษ ๆ มีตาแป๊ะแก่ ๆ คนหนึ่ง แกลงมาจากอ่างทอง แกได้นำพระเนื้อผงซึ่งมีหลายพิมพ์ มีทั้งฐาน ๗ ชั้นและ ๖ ชั้น พิมพ์ทรงต่าง ๆ มาขายอยู่บริเวณสนามพระที่ศาลอาญาเก่า
เมื่อได้พิจารณาดูพิมพ์ดูเนื้อกันเห็นเข้าท่าก็ซักไซร้ไล่เรียงกัน จึงตกลงซื้อขายในราคาไว้ในราคาองค์ละ ๓๐-๕๐ บาท ชื่อของพระวัด (เกศ) ไชโย ก็เกิดขึ้นตอนนั้น ส่วนตาแป๊ะที่ว่า แกชอบลงมาวันเสาร์-อาทิตย์...”
หลังจากนั้นไม่นาน การตื่นตัวในพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย เริ่มมีมากขึ้น พระดังกล่าวเริ่มหายไปจากสนาม จนกระทั่งมาปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สนามพระได้ย้ายมาตั้งที่ลานอโศกวัดมหาธาตุ ก็ได้มีพระพิมพ์ดังกล่าว ทะลักเข้าในสนามเป็นจำนวนมาก ราคาซื้อขายในตอนนั้น พิมพ์ ๖ ชั้น ซื้อขายกัน ๓ องค์ ๑๐๐ บาท ส่วนพิมพ์ ๗ ชั้น ซื้อขายกันถึง ๑,๐๐๐ บาท สืบได้ความว่าเป็นสมบัติของพระครูรอด อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เกรียบ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ตามประวัติพระชุดนี้ เก็บไว้ในหอไตรกลางสระน้ำ (ปัจจุบันถมที่แล้ว) ต่อมาพระครูรอดไปพบเข้า จึงได้นำมาเก็บไว้ในกุฏิและได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านไปเป็นจำนวนมาก เมื่อพระครูรอดลาสึก ก็ได้นำพระที่เหลือไปเก็บไว้ที่บ้าน จนกระทั่งท่านเสียชีวิตลง ลูกหลานจึงได้นำมาขาย พระชุดนี้จึงได้ทะลักเข้ามาในสนามเป็นจำนวนมาก นักเล่นพระเรียกกันว่า “พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย กรุวัดโพธิ์เกรียบ”
สำหรับการเปิดกรุพระสมเด็จวัด ใหม่อมตรส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ปรากฎว่านอกจากจะมีพระสมเด็จพิมพ์นิยมทั้ง ๙ พิมพ์ทรง บรรจุภายในกรุแล้ว ยังมีพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง และพระพิมพ์แปลก ๆ อีกหลายพิมพ์ รวมทั้งพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย พิมพ์ ๗ ชั้น และพิมพ์ ๖ ชั้นอยู่ภายในกรุดังกล่าวถึง ๖ องค์ แต่ละองค์มีขี้กรุสภาพเดียวกับพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ทุกประการ
ในทัศนะของท่านอาจารย์ตรียัมปวายผู้ล่วงลับไปแล้ว เคยเขียนบทความเกี่ยวกับพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย ไว้ความว่า
“...สำหรับในทางทรรศนียะนั้นพระวัดเกศไชโย ยังไม่มีองค์ไหนเลยที่จะชี้ชัดได้ว่า เป็นของแท้หรือของจริงล้วนเป็นพระเนื้อใหม่ ๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้ามีการบรรจุพระสมเด็จไว้ ณ กรุวัดนี้จริงก็น่าจะเป็นพิมพ์มาตรฐานทั้ง ๙ พิมพ์ทรง แต่ก็สืบไม่ได้จนบัดนี้ว่า กรุเปิดเมื่อใด
ส่วนพิมพ์ ๕, ๖ และ ๗ ชั้นนั้น ถ้าของจริงก็น่าจะเป็นของอดีตเจ้าอาวาสวัดไชโยองค์ใดองค์หนึ่งสร้างขึ้น เพราะลักษณะเนื้อไม่เก่าพอ และเป็นคนละชนิดกับเนื้อพระสมเด็จ
และที่เห็นได้ชัดว่าเป็นของเถื่อนก็คือ ที่ระบาดกันแพร่หลายในขณะนี้ ส่งเข้าประกวดติดรางวัลอันดับต่าง ๆ ทั้งสิ้น ส่วนนักพระเครื่องอาวุโสและผู้ช่ำชองของวงการพระเครื่องหลายท่านไม่มีใครเลยที่เล่นพระสมเด็จวัดเกศไชโย...”
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังคงได้ฟังทัศนะของ คุณสามารถ คงสัตย์ นักเขียนและผู้แต่งตำราเหรียญ ท่านเคยไปอุปสมบทที่วัดไชโย และสอบถามเรื่องพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย ปรากฎว่าไม่มีเค้ามูลใด ๆ ให้สืบเสาะได้
สำหรับในทัศนะของผู้เขียน เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาระหว่างพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จะเห็นได้ว่าแตกต่างกัน
พระสมเด็จวัดระฆังนั้น เนื้อหาจะหนักไปทางแก่มวลสาร เนื้อพระจึงมีความแกร่งแต่แฝงความหนึกนุ่ม ตรงข้ามกับพระสมเด็จบางขุนพรหมจะมีมวลสารน้อยแก่ไปทางปูน เนื้อพระ จึงมีความแกร่งและแห้งตัวสูง
ส่วนพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโยเนื้อพระที่สังเกตได้ชัดเจนคือ จะเป็นพระเนื้อผงน้ำมัน เนื้อพระจึงดูกระด้าง เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นคราบสีน้ำตาลที่เรียกว่า “คราบสนิมเหล็ก” จับอยู่ และมีรอยขนแมวทั้งหน้าและหลัง
นอกจากนี้ ภายในเนื้อพระ คล้ายกับมีส่วนผสมของเมล็ดกล้วยตำละเอียดซึ่งจะมีเฉพาะพระที่สร้างในยุคหลังเท่านั้น
หันมาพิจารณาขอบข้าง ถ้าเป็นของวัดระฆังและบางขุนพรหม การตัดขอบจะเป็นแบบตัดคว่ำลง ขอบข้างบางด้านจะตัดชิด เมื่อถึงอายุจะมีการหดตัวของเนื้อแลดูเป็นธรรมชาติ
แต่การตัดขอบข้างของพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จะเป็นการเหลือกรอบกระจกไว้ขอบโดยรอบจะมีลักษณะเหมือนเป็นการลบขอบด้วยการตะไบขอบทั้งสี่ด้าน ซึ่งพระที่ฝนขอบข้างด้วยตะไบหรือกระดาษทราย จะปรากฏในพระยุคหลัง อาทิ พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทร์ เป็นต้น
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เศษ ที่วัดไชโยได้มีการซ่อมแซมวิหารพระมหาพุทธพิมพ์ บรรดาช่างที่ซ่อมแซมวิหารได้ทำเสาวิหารร้าวปูนกระเทาะลงมาได้พบพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จำนวนหนึ่ง ติดฝังอยู่ในเสาและถูกปูนโบกทับไว้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทราบกันเฉพาะบรรดาช่างที่ไปช่วยงานในคราวนั้น และแต่ละคนได้รับพระไป ต่างก็หวงแหนพระชุดนี้กันมาก
ส่วนเรื่องที่ว่าพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย เป็นของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯสร้างไว้หรือไม่นั้น ก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป แต่บรรดานักเล่นพระรุ่นใหม่ ให้ความสนใจและค้นคว้าข้อมูลใหม่ ๆ มานำเสนอโดยตลอด
สำหรับผู้เขียนเอง เชื่อว่า พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย เป็นพระแท้แน่นอนแต่จะสร้างโดยผู้ใด ออกจากกรุไหนนั้นคงเป็นเรื่องรองลงมา เพราะพระดังกล่าวมีประสบการณ์อภินิหารมาแล้วมากมาย โดยเฉพาะเรื่องคงกระพันแคล้วคลาดเป็นเอก ผิดกับพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหม ซึ่งหนักไปทางเมตตามหานิยม ที่รู้จริงก็คือ เขาเล่นกันเป็นแสนเชียวล่ะ จะบอกให้
ข้อสังเกตพระสมเด็จเกศไชโยของเทพศรี
ที่มา : หนังสือ “ข้อสังเกตพระเครื่องสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เล่มหนึ่ง โดยเทพศรี
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ๑๖ เมษายน ๒๕๔๓
หน้า ๒๒๒ ต่อ ๒๒๔ ต่อ ๒๒๘ ต่อ ๒๒๖ ต่อ ๒๒๙ และ ๒๓๐
พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหารนี้มีปัญหามากเป็นที่น่าสังเกต มีมากท่านไม่ยอมเชื่อว่า เป็นของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างจริง เพราะมีความเห็นว่าเป็นพระสมเด็จ ไม่มีคราบกรุและมูลกรุเลย ทำไมจึงบอกว่าแตกออกมาจากกรุใต้ฐานองค์พระมหาพุทธพิมพ์ ถ้าอยู่ในกรุจริงจะต้องมีร่องรอยคราบกรุและมูลกรุเกิดขึ้นให้เห็นไม่มากก็น้อย และอีกประการหนึ่งในด้านแบบพิมพ์ทรง โดยเฉพาะพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องตลอด ขาดศิลป เป็นช่างชาวบ้านนอกแกะแม่พิมพ์ชัด ๆ โดยให้เหตุผลว่าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านคงไม่ใช้แม่พิมพ์ที่ขาดศิลป ขาดความสวยงามแบบนี้ และช่างหลวงที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯกล้าที่จะแกะแม่พิมพ์ชนิดหยาบ ๆ แบบนี้ขึ้นถวายเชียวหรือ ปัญหาจึงไม่ยุติ ทุกวันนี้ยังเถียงกันไม่จบ เพราะสืบหาหลักฐานแน่นอนไม่ได้ว่าพระสมเด็จวัดไชโยวรวิหารเป็นของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯสร้างทุกพิมพ์ นำไปบรรจุไว้ นักนิยมพระเครื่องบางท่านยืนยันหนักหนาว่า เป็นพระที่อยู่ในกรุใต้ฐานพระมหาพุทธพิมพ์ได้แตกกรุออกมา มีหมายเหตุจากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย พิมพ์ครั้งที่ ๖ หน้า ๑๗๘ ได้เขียนไว้ดังนี้
“หมายเหตุ คำกล่าวของพระอาจารย์ขวัญในเรื่องที่ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จแบบ ฐาน ๕ ชั้น ๖ ชั้น และ ๙ ชั้น ฯลฯ ไว้กรุวัดไชโยวรวิหารนี้ นับเป็นเรื่องที่หาความกระจ่างไม่ได้ เพราะขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎ กล่าวคือ พระที่เรียกว่า “พระสมเด็จเกศไชโย” นั้น ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมาหลายวาระแล้ว ปรากฎมีแต่ของเถื่อนทั้งสิ้น และมีปริมาณมากมายที่สุด ยังไม่เคยมีปรากฎของจริงและจึงไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับวงการพระเครื่องชั้นสูง”
ทีนี้มาพูดถึงเรื่องปัญหาพระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร ท่านจงวินิจฉัยพิจารณาด้วยเหตุผล ส่วนกระผมเองได้ศึกษาและอ่านหนังสือมาหลายเล่ม มีทั้งหนังสือเก่าและปัจจุบันเกี่ยวกับพระเครื่องของวัดไชโยวรวิหาร พร้อมทั้งได้ศึกษาค้นคว้าหาดูพิมพ์ต่าง ๆ พิจารณาดูแล้วทำให้ไม่แน่ใจว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านจะสร้างไว้มากพิมพ์ขนาดนั้น และไม่มีลักษณะที่เป็นพระบรรจุกรุเลย ไม่มีคราบกรุ มูลกรุปรากฏให้เห็น องค์พระมีความสวยงามใหม่เอี่ยมเกลี้ยงเกลาผิดปกติ ไม่มีร่องรอยสึกกร่อน รูพรุนหลุมบ่อ เนื้อพระเก่าตามอายุสมกับที่สร้างมาเป็นเวลาถึง ๑๐๐ กว่าปี ส่วนพระสมเด็จวัดไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอด พิจารณาดูทั้งเนื้อและแบบพิมพ์ ยิ่งไม่เชื่อว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง แบบพิมพ์พระพักตร์เป็นรูปดาวหกแฉก องค์พระและวงแขนเป็นรูปการ์ตูน เป็นลักษณะของช่างชาวบ้านช่างบ้านนอกแกะแม่พิมพ์ ขาดความรู้ด้านศิลป เป็นแบบพิมพ์ที่แกะง่ายกว่ากัน (รายละเอียดพระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ ๖ ชั้น อกร่องอกตลอดโปรดซื้อหาอ่านในหนังสือข้อสังเกตฯ เล่ม ๒ ของกระผม) นักพระเครื่องรุ่นเก่าได้เคยเล่าให้กระผมฟัง จะถูกผิดอย่างไรกระผมขออภัยด้วย เพราะกระผมเกิดไม่ทัน ท่านเล่าให้ฟังว่า
วัดเกศไชโยนี้ ความจริงวัดนี้ชื่อวัดไชโยวรวิหาร ไม่มีคำว่าเกศ แต่มีหลวงตาท่านหนึ่งบวชจำพรรษาอยู่ในวัดนี้ ชื่อว่า หลวงตาเกศ หลวงตาท่านนี้แหละได้สร้างพระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก เลียนแบบขอบกระจกอกร่อง หูบายศรีไว้มากมายหลายพิมพ์ มี ๖ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น จำหน่ายหาผลประโยชน์ ชาวบ้านก็เลยเรียกพระของท่านว่า พระวัดเกศไชโย ต่อมาไม่ทราบว่า เพราะเหตุใดท่านเจ้าอาวาสไม่ให้จำพรรษาอยู่ในวัดนี้ หลวงตาเกศก็เลยต้องไปจำพรรษาอยู่วัดอื่น สร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักจำหน่ายต่อไป เพราะฉะนั้นพระวัดเกศไชโยจึงไม่มีคราบกรุและมูลกรุ หลวงตาเกศท่านนี้ไม่เก่งเรื่องไสยเวทและพลังจิตเท่าไร
นักพระเครื่องได้บอกเล่าต่อ มีผู้อยู่ในละแวกแถววัดอินทร์บางขุนพรหม กรุงเทพฯบางท่านยืนยันด้วยว่าพระสมเด็จวัดเกศไชโยนั้น พระอาจารย์เลี่ยมหรือหลวงตาเลี่ยมที่เคยรักษาการเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทร์สืบต่อจากหลวงปู่ภูอยู่พักหนึ่ง ก่อนหน้าพระอินทร์สมาจารย์ (เงิน) จะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทร์ เป็นผู้สร้างขึ้น กระผมวิเคราะห์ด้วยเหตุและผลคงจะหาข้อสรุปได้ว่า
1.พระสมเด็จวัดไชโยพิมพ์ ๗ ชั้นอกร่อง หูบายศรี นักพระเครื่องรุ่นเก่าได้พบเห็นกันมานานแล้ว (โปรดอ่านรายละเอียดจากหนังสือข้อสังเกตฯ เล่ม ๒ของกระผมหน้า ๒๑๖ -๒๓๑) ตั้งแต่สมัยนักเล่นพระยังเล่นกันอยู่ในร้านกาแฟมหาผันและหน้าศาลอาญา ในสมัยนั้นยังไม่มีพระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอด และไม่มีใครรู้จักเลย ถ้ามีก็ต้องมีนักเล่นพระรุ่นเก่าเล่าสู่กันฟังบ้าง
2.พระพุทธคุณของพระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์ ๗ ชั้นอกร่องหูบายศรีมีพระพุทธคุณสูงและประสบการณ์มามาก นักพระเครื่องรุ่นเก่าต่างก็ทราบดีด้วยกันทั้งนั้น เมื่อนำมาเทียบกับพระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอดห่างไกลกันมา กระผมได้ศึกษาค้นคว้าเล่นหา พระสมเด็จมาเกือบ ๔๐ ปี พบพระสมเด็จพิมพ์ ๗ ชั้น อกร่อง หูบายศรีแท้ ๆ ไม่เกิน ๑๕ องค์ (คงแตกหักสูญหายไปหมด) นอกนั้นมีแต่พระปลอมทั้งสิ้น ทำปลอมเก่าก็มีมาก ทำปลอมใหม่ก็มีมากส่วนพระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอด กระผมเคยอาราธนาขึ้นคอ ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ผลเลย พระพุทธคุณอ่อนมาก (นิสัยของกระผมชอบสังเกตทดลองโดยใช้วิธีอาราธนาขึ้นคอไปทำงานหรือออกไปสังคม) ทำให้เชื่อได้ว่า ไม่ใช่พระของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง
3.แม่พิมพ์ขาดศิลป ช่างที่แกะแม่พิมพ์วัดไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นสองพิมพ์นี้ ไม่ใช่ช่างหลวงเป็นช่างราษฎร (ชาวบ้าน) ธรรมดา พระพักตร์ของพระสมเด็จพิมพ์อกตัน ก็ยังมีเค้าเหมือนพิมพ์ ๗ ชั้นบ้าง คือพระพักตร์หูบายศรี แต่พระพักตร์ของพิมพ์ ๖ ชั้นอกตลอดดูแล้วเหมือนรูปดาวหกแฉก ช่วงพระพาหา (แขน) ทั้ง ๒ พิมพ์เป็นขีดหักมุมเข้าหากัน อกเป็นเส้นขีด ๒ เส้น เป็นพิมพ์การ์ตูนไปดูแล้วขาดความสวยงามประณีต ช่างที่แกะแม่พิมพ์มีฝีมือหยาบมากขาดความรู้ทางศิลป เพราะฉะนั้นกระผมจึงเชื่อได้ว่า ไม่ใช่พระของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้าง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีช่างหลวงที่มีฝีมือดี คอยถวายคำแนะนำคงไม่ออกแบบแกะแม่พิมพ์แบบนี้แน่
4.ที่ว่าเป็นหลักฐานข้ออ้างถึงพบพระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นนี้ในกรุวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม เมื่อคราวเปิดกรุเจดีย์ใหญ่เป็นทางการ พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้พบหนึ่งองค์ มีคราบกรุ มูลกรุจับเป็นผื่นเต็มไปหมด นำออกมาพิมพ์โชว์หน้าปกในหนังสือพิมพ์พระเครื่องนั้น ก็มีเหตุผลไม่เพียงพอ เพราะพบเพียงหนึ่งองค์เท่านั้น ถ้ามีหลาย ๆ องค์ก็พอจะเชื่อถือกันได้ แต่โปรดอย่าลืมนะครับว่า พระเจดีย์องค์ใหญ่ วัดใหม่อมตรสนี้มีหลวงตารายและหลวงตาคล้ายซึ่งเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ในวัดนี้ได้สร้างพระสมเด็จไว้จำนวนหนึ่ง พิมพ์ทรงเหมือนกับพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่านำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่คนร้ายขุดเจาะเจดีย์เป็นโพรง อาจจะหลงนำเอาพิมพ์พระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นบรรจุเข้าไปด้วย แล้วจึงซ่อมอุดปากโพรงเจดีย์ที่คนร้ายลอบขุดไว้ให้สนิทคงอยู่ในสภาพเดิม เมื่อเปิดกรุเป็นทางการออกมาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พบพระสมเด็จของหลวงตาราย หลวงตาคล้ายจำนวนหนึ่งก็มีคราบกรุและมูลกรุจับเกาะเป็นผื่นเต็มไปหมด คณะกรรมการวัดได้นำมาเปรียบเทียบกับพระสมเด็จของหลวงตาทั้งสองที่ชาวบ้านในละแวกนั้นได้รับแจกจากหลวงตาที่ไม่ได้นำไปบรรจุกรุ เปรียบเทียบคัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้พระสมเด็จบางขุนพรหมแท้ ๆ จำนวนไม่มากนัก ที่เรียกกันว่าเป็นพระกรุใหม่ เพราะฉะนั้น พระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นวัดเกศไชโยพบในกรุนี้ เพียงหนึ่งองค์เท่านั้น เป็นหลักฐานไม่เพียงพอที่จะเชื่อถือได้ว่าเป็นพระสมเด็จของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้างด้วยตัวท่านเอง
สรุปแล้วเป็นที่เชื่อแน่นอนว่า พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหารพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก (ต้อ) ๗ ชั้น เป็นพระที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปแจกให้แก่ญาติโยมชาวบ้านที่มาช่วยกันก่อสร้างองค์พระมหาพุทธพิมพ์ที่จังหวัดอ่างทอง ไม่ได้นำไปบรรจุกรุแต่อย่างใด ส่วนพระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้น อกตันและอกตลอด ไม่ใช่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง แต่ไม่ทราบว่าอาจารย์ไหนสร้าง ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาวินิจฉัยเอาเองนะครับ ก็ต้องกราบขออภัยไว้อีกครั้ง ณ ที่นี้”
ที่มา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระกรุเจดีย์เล็ก วัดบางขุนพรหม
จากการสัมภาษณ์ คุณชลอ รับทอง
โดยกอง บ.ก.
พระเครื่องประยุกต์ ฉบับที่ ๖๑
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๓
วัดบางขุนพรหมต้นกำเนิดกรุ
วัดบางขุนพรหมอยู่ในตำบลบางขุนพรหม อยู่เยื้องกับวัดอินทรวิหาร ซึ่งในวัดนั้นแต่เดิมเป็นวัดที่ต้นตระกูลธนโกเศสได้ทำนุบำรุงตลอดมมา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ก่อนหน้าเจ้าประคุณสมเด็จจะมรณภาพเพียงสองปี มีหลักฐานยืนยันกันได้ว่า ท่านเสมียนตราด้วง ต้นตระกูล ธนโกเศส ได้ไปอาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี จากวัดระฆังให้มาเป็นประธานสร้างพระสมเด็จไว้ เพื่อสืบอายุพระศาสนา และนำบรรจุไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ในวัด
หลังจากเจ้าประคุณสมเด็จได้สิ้นชีพิตักษัยไปแล้ว พระสมเด็จของท่านที่สร้างไว้ ณ วัดระฆังได้หมดไป และเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ อันเป็นปีที่ได้ได้รับการบีบคั้นจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทดินแดนอินโดจีน และไทยเสียดินแดน ผู้คนได้เสาะหาพระมาติดตัวเพื่อสู้กับต่างชาติ ในตอนนั้นพระวัดรังษีมีชื่อเสียงมาก และในวาระนั้น ได้มีการระลึกถึงวัดบางขุนพรหมที่ท่านเสมียนตราด้วงได้สร้างพระบรรจุไว้ (ผู้เขียนเกิดไม่ทันครับ แต่ได้อ่านจากหนังสือหลายเล่ม และจากปากคำของรุ่นก่อน ๆ เล่าให้ฟังว่า) ผู้คนพากันมาที่พระเจดีย์ใหญ่กันล้นหลาม เพราะรู้ว่าในนั้นมีพระสมเด็จบรรจุไว้ แต่จะทลายพระเจดีย์ไม่มีใครทำกัน คนโบราณถือโชคลาง จึงได้แต่เอาไม้ไผ่ผูกเชือกเอาดินเหนียว ๆ ตำโขลกให้ละเอียดแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ติดปลายเชือก ทำเป็นตุ้มแล้วยื่นปลายไม้เข้าไปตามช่องลมระบายอากาศของพระเจดีย์ปล่อยลูกตุ้มดินลงไปที่ก้นกรุ เพื่อให้ดินเหนียวนั้น ติดกับองค์พระขึ้นมามากบ้างน้อยบ้าง นำติดตัวปรากฏว่ามีอิทธิปาฏิหารย์เหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังทุกประการ ตกพระกันมากเข้าจนไม่มีพระจะติดดินเหนียว ก็เลิกลากันไป เพราะคนสมัยนั้นไม่มีใครโลภเอาออกมาขาย
การเปิดกรุเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้นเอง ได้มีการลักลอบขุดกรุเจดีย์ใหญ่ ได้พระไปจำนวนหนึ่ง ไม่ปรากฎว่าได้ไปมากน้อยเท่าใด และพระนั้นได้แพร่ออกสู่นักสะสมหลายสาย จนในที่สุดทางวัดก็รู้เรื่องเข้า จึงทำการขอกำลังตำรวจทหารมารักษาการ และได้ขออนุญาตกรมศิลปากรขุดพระเจดีย์นำพระออกมารักษาไว้ และให้สาธุชนเช่าต่อไป ในการเปิดครั้งนั้น มี ฯพณฯ พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นประธาน ได้พระสมเด็จมาจำนวนมากมาวย และทางวัดได้จัดให้เช่าบูชาเพื่อนำมาสร้างเสนาสนะในวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) และสร้างเจดีย์ใหม่ให้ถาวร
พระที่เปิดกรุได้ในครั้งนั้น มีคราบกรุมากมาย และหนามาก มีที่คราบกรุน้อยบ้างก็ไม่เท่ากับคราบกรุหนา นักเลงพระจึงคิดถึงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่ขึ้นจากกรุในสมัย ร.ศ. ๑๑๒ ที่คราบกรุมีน้อยเนื้อจัด และคราบกรุนั้นผิดกับกรุที่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงแยกเรียกพระกรุนี้เสียเป็นสองชื่อ คือ เนื้อจัดและมีคราบกรุน้อยที่พบก่อน และหมุนเวียนในวงการว่า “กรุเก่า” และพระที่มีคราบกรุหนาที่ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ว่า “กรุใหม่”
เอาละครับ ผมว่าถึงกรุเจดีย์ใหญ่แล้ว ทีนี้ขอว่าถึงกรุเจดีย์เล็ก ที่เราเรียกกันว่าเจดีย์เล็กนั้น เป็นเจดีย์ที่อยู่ตรงไหน และมีความเป็นมาอย่างไร ผมเชื่อว่าทุกคนรู้จักคำว่า เจดีย์เล็ก วัดบางขุนพรหม ที่รู้จักเพราะมีการเขียนเผยแพร่ในที่ต่าง ๆ ว่ามีการพบกรุพระด้วย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเจดีย์เล็กนั้นอยู่ที่ไหนของเจดีย์ใหญ่ ผู้เขียนจึงวกเวียนอยู่กับการเสาะหาผู้ที่ใกล้ชิด และสามารถบอกได้ว่า พระเจดีย์เล็กนั้นอยู่ที่ใดและการพบพระพบอย่างไร และทัศนะของพระกรุนี้ ซึ่งในที่สุดผู้เขียนก็ได้รู้จักกับ คุณชลอ รับทอง ซึ่งผู้เขียนได้สอบถามถึงความเป็นมาของพระกรุนี้ จึงได้ความกระจ่าง และได้ให้ช่างศิลปเขียนภาพตามคำบอกเล่าของคุณชลอ รับทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพพจน์ว่า คำว่า เจดีย์เล็กนั้นอยู่ที่ไหน และสำคัญอย่างไรกับเจดีย์ใหญ่บ้าง
สถานที่ตั้งของเจดีย์เล็ก
คุณชลอ ได้ท้าวความให้ผู้เขียนฟังว่าพระเจดีย์ใหญ่ที่พบกรุพระสมเด็จนั้น เป็นเจดีย์ที่ทางวัดได้ซ่อมสร้างและยังคงสภาพให้เห็นอยู่ถึงปัจจุบัน แต่เจดีย์เล็กท่านเดินหาอย่างไรก็ไม่พบ เพราะไม่มีอยู่แล้ว ทางวัดได้รื้อออกทิ้งไปแล้ว แต่เดิมนั้นเจดีย์เล็กนั้นอยู่ในสภาพดังนี้
ในสถานที่ตั้งพระเจดีย์ใหญ่นั้น มีลานรอบพระเจดีย์ และมีบันไดทางขึ้นอยู่สองทางทางด้านซ้ายและทางด้านขวาของเจดีย์ใหญ่ เพื่อเป็นทางเดินเข้าไปนมัสการเจดีย์ ตามแบบโบราณทั่วไปและในฝั่งตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นนั้นเอง เป็นที่ตั้งขององค์เจดีย์เล็ก ซึ่งสร้างกำกับอยู่สองข้างของเจดีย์ใหญ่เช่นเดียวกับทางขึ้น
พระเจดีย์เล็กนั้นสร้างแบบเดียวกับเจดีย์ใหญ่แต่ย่อมกว่า คู่กันอยู่คนด้านละสององค์รวมกันเป็นสี่องค์ ขอให้ดูรูปภาพวาดประกอบด้วยเพราะเขียนขึ้นจากปากคำของคุณชลอ ซึ่งคุ้นเคยกับวัดบางขุนพรหม และพระกรุนี้ดีบอกให้วาดอีกที
พระเจดีย์เล็กทั้งสี่องค์นี้สภาพการก่อสร้างและศิลปเป็นแบบและยุคเดียวกับพระเจดีย์ใหญ่ทุกประการ เมื่อมีการพบกรุพระในพระเจดีย์องค์ใหญ่แล้ว พระเจดีย์เล็กก็ไม่มีใครสนใจกัน จนกระทั่งเมื่อทางวัดได้รายได้จากการให้เช่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งพระหมดไปแล้ว จึงได้นำรายได้นั้นไปปรับปรุงก่อสร้างเสนาสนะในวัด และปรับบริเวณวัดให้กว้างขึ้น และจะสร้างพระเจดีย์ใหญ่ให้คงสภาพต่อไป เพราะได้เจาะพระเจดีย์นำพระออกมาเกรงจะทลายลง และเมื่อจะสร้างพระเจดีย์ใหญ่และปรับพื้นที่นั้นก็จำต้องรื้อลานรอบพระเจดีย์ออก ดังนั้นทางวัดจึงประกาศรื้อถอนพระเจดีย์เล็ก และบอกกล่าวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีสิ่งของที่บรรจุอยู่ในเจดีย์เล็กที่จะรื้อ เผื่อว่าจะมีทายาทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาคัดค้าน ทางวัดรออยู่จนแน่ใจว่าไม่มีการคัดค้านแน่ จึงออกคำสั่งให้ทะลายทันที
ตามที่กล่าวแล้วว่าพระเจดีย์เล็กนั้นมีสี่องค์ อยู่คนละด้านของพระเจดีย์ใหญ่ ด้านละสององค์ช่างได้ทำการรื้อพระเจดีย์เล็กทีละข้าง สิ่งที่พบก็คือ ในเจดีย์เล็กคู่แรกด้านนอกเป็นที่บรรจุกระดูกของผู้ที่วายชนม์ไปแล้ว และในเจดีย์องค์ที่อยู่คู่ถัดไปนั้นเอง เมื่อรื้อออกก็พบพระเนื้อผงอยู่ภายในดังได้นำภาพมาลงประกอบไว้ และเมื่อทำการรื้ออีกด้านหนึ่งก็เป็นอย่างเดียวกันคือ พระเจดีย์เล็กด้านนอกเป็นที่บรรจุกระดูกของผู้วายชนม์และเจดีย์ลูกที่ถัดไปนั้นก็พบพระเนื้อผงเช่นเดียวกัน
ในการรื้อนั้นทางวัดไม่ได้รู้เรื่องมาก่อนว่าพบพระกรุ คุณชลอก็กล่าวว่า พระออกมาสู่มือของคุณชลอก่อน และเมื่อได้พิจารณาดูแล้วก็เทียบเคียงกับคราบกรุพระที่เปิดกรุในเจดีย์ใหญ่ก็มีความเหมือนกันทุกอย่าง และเมื่อสอบถามจากผู้ที่ทำการรื้อพระเจดีย์และนำออกมาให้เช่าเป็นการส่วนตัวในสมัยนั้น ก็พบว่านอกจากจะพบพระพิมพ์ที่แปลกออกไปจากเจดีย์ใหญ่แล้ว ในเจดีย์เล็กยังมีพระพิมพ์เดียวกับเจดีย์ใหญ่หลายพิมพ์ปะปนอยู่ด้วย ซึ่งคุณชลอได้เช่าเอาไว้เทียบเคียง ด้วยทั้งหมดที่เขานำมาให้เช่า
ตอนนั้นคุณชลอกล่าวว่า องค์ละห้าบาทบ้าง สิบบาทบ้าง สวย ๆ หน่อยก็ห้าสิบบาท ร้อยบาท เพราะตอนนั้นพระกรุนี้ยังไม่แพร่หลาย และพระสมเด็จเจดีย์ใหญ่ยังมีอยู่มากหมุนเวียนอยู่ในวงการ และบางคนก็ไม่เชื่อว่าพระกรุเจดีย์เล็กจะมีราคา หรือมีศักดิ์ศรีเท่ากับเจดีย์ใหญ่ เพราะขาดการพิจารณาทางเนื้อและคราบกรุซึ่งต่อ ๆ มาเมื่อพระกรุเจดีย์เล็กออกมาแพร่หลายแล้วจึงได้ยุติกันว่าคราบกรุของเจดีย์เล็กนั้นเหมือนกับเจดีย์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นคราบขี้มอด คราบหนังกระเบนหรือคราบสีน้ำตาลสนิมก็ตามที ซึ่งคุณชอลได้อธิบายให้ผมดูอยู่พักใหญ่ และจากนั้นผมได้ไปถามความเห็นของนักเลงพระที่ชำนาญในการดูพระสมเด็จกรุใหม่ก็พูดอย่างเดียวกันว่าเหมือนกัน
คุณชลอได้ให้ทัศนะว่าสำหรับกรุเจดีย์เล็กนั้นเนื่องจากไม่ได้มีหลักฐานอะไรระบุไว้ว่าบรรจุไว้เมื่อไร หรือใครเป็นเจ้าของกระดูกที่พบนั้น แต่ถ้าพิจารณากันตามข้อเท็จจริงก็คือ คราบกรุและเนื้อหามวลสารก็ยุติได้ว่าเหมือนกรุเจดีย์ใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระนี้น่าจะมีการบรรจุไว้ในเจดีย์เล็กพร้อมกับเจดีย์ใหญ่ โดยวัสดุส่วนผสมเดียวกัน แต่ใช้พิมพ์ที่แปลกออกไปกดพิมพ์ซึ่งถ้าจะสันนิษฐานตามทางของผู้เขียนแล้วเป็นไปได้ไหมที่จะเป็นคนที่มีความสนิทชิดเชื้อกับท่านเสมียนตราด้วง ต้นตระกูลธนโกเศส เมื่อท่านเสมียนตราด้วงได้สร้างพระบรรจุไว้ในเจดีย์ซึ่งเป็นของต้นตระกูลธนโกเศสเล้ว จึงได้ถือโอกาสสร้างเจดีย์เล็กขึ้นบนลานเจดีย์ใหญ่ของต้นตระกูลธนโกเศส และขอสร้างพระบรรจุกรุไว้เพื่อสืบอายุ พระศาสนา และอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ ซึ่งถ้าจะใช้พระพิมพ์เดียวกันก็อาจจะเป็นการไม่สมควร จึงทำพิมพ์ของตนขึ้นมาและขอวัสดุส่วนผสมในคราวเดียวกันกับที่สร้างพระพิมพ์เจดีย์ใหญ่โดยเจ้าประคุณมากดพิมพ์พระแล้วปลุกเสกพร้อมกัน นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์เล็ก และที่เป็นไปได้ก็คือได้พบพระพิมพ์นิยมในเจดีย์ใหญ่ปะปนอยู่ด้วยนั้น ย่อมจะแสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดระหว่างตระกูลธนโกเศส และตระกูลของผู้สร้างพระเจดีย์เล็กโดยได้แบ่งพระพิมพ์นิยมมาบรรจุรวมไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานให้เห็นว่าเป็นพระยุคเดียวกัน (ผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วยสำหรับผู้รู้และมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
พิมพ์ทรงที่พบ
เท่าที่พบในคราวนั้นมีอยู่หกพิมพ์ทรงคือ
1.พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าหมอนขวาน
2.พิมพ์ประจำวันอังคาร (ไสยาสน์)
3.พิมพ์จุฬามณี (เจดีย์แหวกม่าน)
4.พิมพ์ฐานคู่
5.พิมพ์เจดีย์
6.พิมพ์ยืน
ในหกพิมพ์ทรงนี้คุณชลอ รับทอง ได้กรุณาเขียนเพิ่มเติมว่า พิมพ์ที่พบน้อยและมีราคาสูงได้แก่ พิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์ไสยาสน์ พิมพ์เจดีย์แหวกม่าน ซึ่งปัจจุบันสามพิมพ์นี้ราคาสูงกว่าพิมพ์อื่น ส่วนที่พบรองลงมาได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์เจดีย์ ส่วนพิมพ์ยืนนั้นมากที่สุด และเมื่อผมถามต่อไปอีกว่ากะประมาณได้ไหมว่ามีพระจำนวนมากน้อยเท่าใด คุณชลอได้กะไว้ว่ารวมกันแล้วจากการสอบถามและการค้นพบของผู้ที่รื้อพระเจดีย์ว่าไม่เกิน ๔-๕ พันองค์โดยประมาณ จึงทำให้พระกรุนี้พบเห็นกันน้อยมาก และน้อยกว่าพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งพบเห็นกันบ่อย ๆ ถ้ามีทรัพย์สูงพอจะเช่าหา
นอกจากคราบกรุแล้ว เนื้อหามวลสารยังเป็นข้อยุติสำหรับพระกรุนี้ว่า ว่าความเป็นมานั้นคู่มากับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้กาลเวลาเท่านั้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ สำหรับพระพุทธคุณ เท่าที่คุณชลอได้เล่าให้ฟังนั้นว่าเรื่องเมตตา การติดต่องาน ค้าขาย และแคล้วคลาดไม่เป็นรองกรุเจดีย์ใหญ่ทีเดียว และอีกทั้งสนนราคายังย่อมเยากว่ากรุเจดีย์ใหญ่เสียอีก มีเงินหลักหมื่นก็สามารถเป็นเจ้าของกรุนี้ได้แล้ว ไม่เกินสามหมื่นหรือสี่หมื่น โดยพระไม่ชำรุดราคานี้ถ้าหากเป็นกรุเจดีย์ใหญ่แล้วต้องเป็นพระชำรุด
ถ้าท่านมีโอกาสเป็นเจ้าของพระสมเด็จกรุเจดีย์เล็กแล้วละก็ก็จงสบายใจได้ว่าเป็นพระมีกรุแน่นอนและควบคู่มากกับเจดีย์ใหญ่ทุกประการ เป็นที่พึ่งของท่านได้ไม่แตกต่างไปจากเจดีย์ใหญ่ จะแตกต่างก็เพียงราคาเท่านั้นซึ่งผิดกันมาก เมื่อท่านอ่านข้อเท็จจริงนี้จบลงแล้วท่านคิดอย่างไร หรือมีความอยากเป็นเจ้าของพระกรุนี้บ้างหรือเปล่า สำหรับตอนนี้ยากเสียแล้วครับ เพราะกว่าจะเจอแต่ละองค์แสนเข็ญ และเจ้าของก็ไม่ยอมออกตัวเสียด้วยนี่ซีครับคือปัญหาใหญ่
โดย อาจารย์ตรียัมปวาย
ตรียัมปวาย
ตอบปัญหาพระเครื่องตรียัมปวายเปิดเผยข้อเท็จจริง
1.พระสมเด็จวัดวัดเกศไชโยและวัดใหม่ทองเสน มีจริงหรือไม่ 2.พระรอดเนื้อเขียวแท้จริงเป็นอย่างไร
3.พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมใครสร้างกันแน่
5.พระปิดมหาอุตม์ วัดห้วยจรเข้ ใครสร้างกันหรือ
6.พระชัยวัฒน์ ๑๑๘ ของหลวงปู่บุญหรือท่านเจ้ามา
คุณอัมพร บำรุง ร้านอาหารเฟรนชิฟ อ. สุไหงโกลก นราธิวาส
เรียน อาจารย์ตรียัมปวาย ที่เคารพ ก่อนอื่นผมขอเรียกท่านว่า “อาจารย์นะครับ” เพราะท่านเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ ให้แก่ผมในด้านพระเครื่องต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งพระสมเด็จฯ อันเป็นสิ่งเร้นลับ ยากที่ใคร ๆ จะศึกษาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ แต่ท่านเป็นผู้ให้แสงสว่าง และความสำเร็จแก่ผม ในฐานะของผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ผมจึงขอยกท่านไว้เหนือหัว่า “อาจารย์ของผม” มิใช่มายกยอปอปั้นกันนะครับ เป็นความรู้สึกอันแท้จริงจากหัวใจ...ผมศิษย์คนใหม่ของอาจารย์ มีความปรารถนาอันสูงสุด ที่จะฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์ที่เคารพรักต่ออาจารย์ ชั่วกาลนาน...ปริอรรถาธิบายฯ เรื่องพระสมเด็จฯของอาจารย์นั้นนับว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และเป็นวิทยาการอันสูงส่ง ซึ่งยังไม่เคยมีใครสามารถทำได้มาก่อน และทั้งต่อไปในอนาคตอีกด้วย... ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องฯ เมื่อปี ๒๕๐๕ โดยเฉพาะเรื่องพระสมเด็จฯ ผมได้สนใจศึกษาเป็นพิเศษ จนถึงปี ๑๘ ก็ยังมืดแปดด้านอยู่นั่นเอง แทบหมดอาลัยตายอยาก...
อยู่มาไม่กี่วันนี้ พลันรู้สึกหูตาสว่างขึ้น พยายามหาโอกาสพิจารณาของจริง จากบุคคลต่าง ๆ และทบทวน ปริอรรถาธิบายอย่างละเอียด จึงพบว่าที่แท้ผมก็มีพระสมเด็จอยู่ถึง ๘ องค์ เป็นของวัดระฆังและบางขุนพรหม อย่างละเท่า ๆ กัน...อยากจะนำมาปรึกษาอาจารย์ ตามแอ็ดเดรสส์ของอาจารย์นั้นไม่ทราบว่าอยู่ถนนอะไร และจะพบอาจารย์ได้วันเวลาใด...ด้วยบุญกุศลและอานุภาพแห่งหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ของจงช่วยให้อาจารย์ประสบแต่ความสุข ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น...
คุณอัมพรฯ ที่รัก ขอขอบคุณอย่างสูงที่ได้กรุณาให้เกียรติและยกย่องผมปานนี้ แต่มันเกินความเป็นจริงไปมาก ผมเองกล่าวอยู่เสมอว่าตนเองเป็นแต่นักพระเครื่องฯ ธรรมดา ๆ ผู้หนึ่งเท่านั้น ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องพระเครื่องฯ อีกมากนัก นี่ก็เป็นคำกล่าวจากใจจริงเหมือนกัน ฉะนั้นเรามาเป็นเพื่อนกันดีกว่า มีอะไรพยายามช่วยเหลือกันได้ก็ช่วยกันไป พิจารณาเรื่องราวของคุณแล้วอยากจะบอกคุณว่า ผมกำลังมีความกังวลใจบางอย่าง เกรงว่าบางที อาจจะทำให้คุณเสียกำลังใจปริถาอรรถาธิบายฯ นั้นให้ในเรื่องหลักทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะให้ประสบการณ์แก่ผู้ศึกษาได้ การถอดรายละเอียดจากของจริง แล้วแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร คำอธิบายลงในตำรานั้น ปัญหามีอยู่ว่า ผู้ศึกษา เมื่ออ่านรายลักษณ์อักษรแล้วสามารถจะแปลงกลับ ให้เป็นรายละเอียดของ ๆ จริง แจ่มชัดอยู่ในจินตภาพของตนได้หรือไม่? แน่เหลือเกิน ผู้ที่ขาดประสบการณ์ย่อมไม่อาจทำได้ถูกต้อง จึงได้ให้ข้อแนะนำไว้ว่า จะต้องหาโอกาสฝึกฝนจากองค์วัตถุ คือพระด้วยให้มากที่สุด สมัยนี้นับว่าสะดวก ที่มีการประกวดพระ จงใช้เป็นเวทีฝึกสายตาใหได้เสมอ พระที่ติดรางวัลนั้น ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์เป็นของแท้ จะมีผิดพลาดบ้างก็น้อยที่สุด
ผมเกรงว่าพระทั้ง ๘ องค์ของคุณ จะมิใช่พระสมเด็จฯของจริง ผมได้รับจดหมายลักษณะทำนองเดียวกับคุณ หลายสิบฉบับ ครั้นเมื่อนำพระมาตรวจแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีของจริงเลย ความรู้สึกที่ว่าพระของตนที่มีอยู่มีลักษณะถูกต้องตามตำรานั้น ส่วนมากที่สุดเกิดจากอุปาทานที่เข้าข้างตัวเอง ของผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงข้อเท็จจริงของพระสมเด็จฯ อุปาทานเข้าข้างตัวเองนี้ จัดว่าเป็น โรคชนิดหนึ่งของนักศึกษาที่ยังขาดประสบการณ์ ซึ่งปรากฎมากที่สุด นี่แหละคือข้อเท็จจริงที่อยากจะบอกคุณไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะนำพระมาตรวจ นำพระของคุณมาเถิดผมจะตรวจให้ มาตามวันเวลาและแผนผังที่ “เปิดโลก” แจ้งให้ทราบ ขอภาวนาให้พระทั้ง ๘ องค์ของคุณจงเป็นพระสมเด็จฯ แท้ สักองค์หนึ่งเถิด
คุณ...(อ่านไม่ออก)
๓๓๔/๔ ถนนไตรรัตน์ อ. เมือง ชุมพร
ถาม ผมมีพระสมเด็จฯ อยู่องค์หนึ่ง ได้มาตั้งแต่รับราชการอยู่จังหวัดตราด ประมาณ ๑๐ ปีมาแล้ว จากผู้ที่มีอายุมากแล้ว ซึ่งแกก็ได้เก็บเอาไว้นานมากแล้วด้วย มีรูปร่างตามที่วาดรูปมานี้ มี ๙ ชั้น ขี้กรุมาก เนื้อแน่นแข็ง มีอักขระขอมอยู่ด้วย เนื้อสวยมาก ไม่ทราบว่าเป็นของกรุไหน เซียนหลายคนบอกได้แต่ว่า เป็นของเก่ามาก แต่ไม่ทราบว่าที่ไหน ทีแรกบางคนบอกว่า เป็นของวัดเกศไชโย แต่ก็ไม่แน่ เพราะอกไม่ร่อง
ตอบ เซียนคนนี้ ก็บอกไม่ถูกเหมือนกันเป็นของกรุไหน แต่ไม่ใช่ของวัดเกศไชโยแน่ บอกได้เพียงว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ ไม่ใช่ของเก๊ของเถื่อนแน่นอน คลับคล้ายคลับคลาว่า ดูเหมือนจะมีคนเขียนลงในนิตยสารพระเครื่องฯ เล่มใดเล่มหนึ่ง หรือในคอลัมน์การตอบปัญหามาบ้างแล้ว แต่นึกไม่ออกว่าเล่มใด ทีหน้าทีหลัง จะเขียนมาถามอีกละก็ เขียนชื่อให้มันอ่านออกสักหน่อย หากติดเซ็นหวัด เพื่อป้องกันไม่ให้ใครปลอมลายมือได้ละก็น่าจะวงเล็บเขียนให้ชัด ๆ กำกับมาด้วย คนเรา ถ้าไม่รู้จักชื่อแซ่กันละก็ คุยกันไม่ค่อยออกรสจริงไหม
คุณสมศักดิ์ สมานเหมาะ
๑๗ ซอยร่วมศิริ วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
เรียน อาจารย์ตรียัมปวาย ที่เคารพ... ผมยินดีที่อาจารย์กลับมาตอบปัญหา ให้ความกระจ่างแก่ผู้นิยมเลื่อมใสพระเครื่องฯ รุ่นน้อง ๆ หรือหลาน ๆ ต่อไปอีก เพราะในปัจจุบัน พวกเราไม่ทราบว่าจะไปสอบถามจากผู้ใด ที่จะมีความรู้ด้านนี้เท่าเทียมอาจารย์ได้... ขอให้อาจารย์และครอบครัวจงมความสุข ความเจริญตอลดไป ด้วยความเคารพอย่างสูง
ความจริงผมถูกเขาเกณฑ์ให้มาตอบปัญหาน่ะ ผมปฏิเสธเขาไปแล้วว่า ควรหาผู้อื่นตอบจะดีกว่า เพราะโดยนื้อแท้แล้ว ผมสนใจจริงจัง เฉพาะพระเครื่องฯ หรือเหรียญรุ่นเก่าที่เป็นหลัก ๆ เท่านั้น อีกประการหนึ่ง เมื่ออายุมากเข้าความทรงจำก็เสื่อมลง บางทีพระที่เคยรู้จักก็หลงลืมนึกไม่ออก แต่การตอบปัญหานั้นมีเวลาจำกัดต้องส่งต้นฉบับล่วงหน้า ไม่มีเวลาเพียงพอต่อการสอบค้น นอกจากนั้นขณะนี้เกือบจะเรียกได้ว่า ไม่ได้เข้าสนามพระเลย จึงไม่มีโอกาสได้ปรึกษาหารือกับพรรคพวกเพื่อนฝูงในเรื่องพระ ที่ไม่เข้าสนามพระก็เพราะว่า ไม่ว่าจะมองไปทางไหน เห็นแต่คนหน้าเปื้อนธนบัตรเหมือน ๆ กัน ไปหมด เลยเวียนหัวตาลาย พาลจะเป็นลม
1.ขอทราบประวัติ ของหลวงพ่อโม วัดสามจีน
: หลวงพ่อโม (พระครูวิริยะกิจการี) วัดสามจีน (วัดไตรมิตร) (นามสมณศักดิ์คล้าย ๆ ของหลวงพ่อบุญนาค “พระครูวิริยาธิการี” วัดหัวหิน) เป็นเกจิอาจารย์สักชื่อดังมาก เพราะเป็นอาจารย์สักให้พวกลั่กกั้ก นักเลงแกงค์ใหญ่ครั้งกระโน้น จึงเป็นคู่รักคู่แค้นกับหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน อาจารย์สักนักเลงแกงค์เก้ายอด หลวงพ่อโม เกิดปี ๒๔๐๒ ที่บ้านตลาดน้อย กรุงเทพฯ โยมบิดามารดาชื่อ นายลิ้มและนางกิมเฮียง แซ่ฉั่ว เป็นคนจีนอุปสมบทที่วัดสามจีน พระครูถาวรสมณวงศ์ (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นพระกรรมวาจาฯ และพระอาจารย์แย้ม เป็นพระอนุศาสน์ ท่านสร้างพระเครื่องฯ ที่เรียกกันว่า “พระชินราชวัดสามจีน” องค์พระคล้ายพระพุทธชินราช กรอบทรงข้าวบิณฑ์ ฐานตัด คล้ายพระวัดเสาธงทอง ลพบุรีมาก แต่สัณฐานย่อมกว่าเล็กน้อย มีทั้งเนื้อดีบุก และดินเผา ออกเหรียญฉลองอายุครบ ๖๐ ปี เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อเงิน รูปครึ่งองค์ มีกรอบพวงมาลัยและอุณาโลม ทำนองเหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย และมีอักขระขอมอยู่ข้างล่างว่า “พระครูวิริยะกิจการี” ด้านหลังมียันดอกเลา ประกอบด้วยสูรย์จันทร์ และอักขระขอม หลวงพ่อมรณภาพปี ๒๔๗๒ อายุ ๗๐ ปี
๒. ขอทราบประวัติ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
: ประวัติของหลวงพ่อทา ยังไม่มีโอกาสค้นคว้า ให้ละเอียดแน่ชัดได้ เช่นเดียวกับหลวงพ่อนาค วัดห้วยจรเข้ นครปฐม ขอสรุปตามข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้ เพียงสังเขปไปพลางก่อน หลวงพ่อเกิดประมาณปี ๒๓๗๘ ที่หมู่บ้านหนองเสือ ต. หนองดินแดง อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญพระกัมมัฏฐานและธุดงส์มาก อีกทั้งเรื่องวิทยาคม เฮี้ยนและดุที่สุดในบรรดาพระอาจารย์ยุคเก่า ของนครปฐม บรรพชาเป็นสามเณร แต่ยังเยาว์วัยแล้ว อุปสมบท ณ วัดบ้านฆ้อง อ. โพธาราม ราชบุรี ภายหลังได้ครองวัดพะเนียงแตก ต. ห้วยชัน อ.เมือง จ. นครปฐม สร้างพระเครื่องฯ ไว้ ๒-๓ ชนิด ได้แก่ พระสมาธิเพชรซุ้มโพธิ (แบบแบน) เนื้อทองแดง และทองเหลือง (เป็นพระหล่อ) ด้านหลังมีอักขระ “มะ” (ในพิมพ์) บางองค์มีการจารสระอิเพิ่มเติมเป็น “มิ” มีอุณาโลมประกอบ พระสมาธิเพชรรอบคอระฆัง เนื้อทองแดงและทองเหลือง (หล่อ) ด้านหลังมีอักขระ “มิ” และอุณาโลมประกอบ มีทั้งแบบมีห่วงในตัวและไม่มีห่วง พระสมาธิเพชรกรอบหยดน้ำ ด้านหลัง “มิ” พระมหาอุตม์แบบต่าง ๆ เช่น พิมพ์มือปิดเข่า พิมพ์เกลอเดี่ยว พิมพ์สามเกลอ เหล่านี้เป็นเนื้อเมฆภัสสร์ และพิมพ์กลม หลัง “อุ” (แบบตั้งโต๊ะกัง) เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ขมวดมวย “เช่เด่น” (คล้ายฤาษีสวมชฎา) เนื้อเมฆภัสสร์ ด้านหลังเป็นยันต์เฉลวเพชร หลวงพ่อมรณะประมาณปี ๒๔๖๘
เรื่องของหลวงพ่อทานั้นมักมีศัพท์แปลก ๆ เช่นคำว่า “เช่เด่น” ที่เรียกพระมหาอุตม์ แบบขมวดมวยนั้น ก็เห็นเรียกกันมาช้านานแล้ว จนบัดนี้ยังไม่ทราบว่า หมายความว่ากระไร คำว่า “ยันต์เฉลวเพชร” (บางคนเรียกว่า “เฉลียวเพชร”) ก็เหมือนกัน ที่ไม่ทราบความหมายส่วนตัวหลวงพ่อนั้น ก็ได้รับสมญาเกียรตินามว่า “โสกุดร” (บางคนเรียกเพี้ยนว่า “โสอุดร”) อันนี้เดาได้ว่าเพี้ยนมาจากคำเดิมว่า “โลกุดร” อันได้แก่ “โลกุตระ” เพราะคนรุ่นเก่า ๆ ของนครปฐมเชื่อกันว่า ท่านอาจจะได้ ธรรมวิเศษบางประการเพราะท่านเคร่งกัมมัฐฏานและธุดงส์วัตรเป็นที่สุด แต่ก็สงสัยกันว่าทำไมท่านจึงดุนัก จากคำเล่าลือ “โลกุดร” นี้เอง ทำให้พระเถระฝ่ายปกครององค์หนึ่งในจังหวัด กล่าวโทษท่านทำนองอวดอุตริมนุษยธรรม แต่ความจริงท่านหาได้ทำเช่นนั้นไม่ ตรงข้ามท่านห้ามปรามชาวบ้านมิให้เรียกท่านเช่นนั้น สำหรับพระเถระองค์ที่คอยจ้องเพ่งโทษท่านนั้น ท่านได้ใช้อำนาจจิต สะกดให้ต้องตื่นแต่เช้ามืดแล้วเดินทางออกจากวัดซึ่งอยู่ในเมืองตรงมาสู่วัดพะเนียงแตก ให้มายืนนิ่งอยู่ที่หน้าวัดนับเป็นชั่วโมง แล้วก็เดินทางกลับ ทรมานอยู่เช่นนี้ร่วมเดือนหนึ่ง ท่านจึงได้ถอนอำนาจอิทธิเวทย์ออก งานประจำปีของวัดพะเนียงแตก ท่านจะนั่งอยู่กลางศาลาแวดล้อมด้วยศิษยานุศิษย์ เนืองแน่น คนที่มาเที่ยวงานไม่มีใครกล้าเมาสุราอาละวาด หรือมีนักเลงมาก่อกวนใด ๆ เลย มีอยู่ครั้งหนึ่ง นักเลงต่างจังหวัดดูเหมือนจะเป็นคนทางสุพรรณมาก่อวิวาทขึ้น ท่านสะกดเรียกตัวมาให้พระเณรจับมัดขึง เข้ากับเสาศาลาแล้วโบยด้วยหางกระเบน เรื่องเกร็ดฝอยของหลวงพ่อทายังมีอีกมาก ผมเป็นลูกนครปฐม ได้ยินญาติผู้ใหญ่และผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าเรื่องของท่านให้ฟังอยู่หลายเรื่อง ถ้ามีโอกาสค้นคว้าข้อมูลของหลวงพ่อได้แน่ชัดกว่านี้ ก็อาจเขียนเรื่องของท่านบ้าง
๓. พระพุทธคุณ ของพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ กับพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมแตกต่างกันหรือไม่
: ไม่น่าจะแตกต่างกัน เพราะองค์ผู้สร้าง คือท่านพระคุณสมเด็จฯ องค์เดียวกัน ใช้ผงวิเศษเป็นอิทธิวัตถุหลัก ๕ ประการ ในการผสมเนื้อพระเช่นเดียวกัน และใช้พระคาถาชินบัญชรปลุกเสกเช่นเดียวกัน ส่วนกรณีที่มีบางคนเขียนว่า “พระสมเด็จฯ บางขุนพรหมไม่ใช่พระที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง หากเป็นพระของเสมียนตราด้วง” ก็ดีและบางคนเขียนว่า “มีผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์อวดรู้ดีว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯปลุกเสกพระของท่าน ด้วยคาถาชินบัญชร ท่านอาจปลุกเสกด้วยคาถาบทอื่นก็ได้” ก็ดี ตลอดจนปัญหาเรื่อง พระสมเด็จฯ เกศไชโยและพระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสน ซึ่งมีผู้สงสัยและไต่ถามมากมาก จะได้รวมกล่าวในปรารภตอนท้ายอีกครั้ง
๔. พระรอดกับพระคงเป็นพระที่สร้างสมัยเดียวกันหรือเปล่า
: จากการสอบค้น และสันนิษฐานของผม บ่งชี้ได้ว่าเป็นพระรุ่นเดียวกัน สร้างในสมัยที่มอญ (นางจามเทวี) ปกครองกรุงหริภุญไชย ราว ปี พ.ศ. ๑๒๐๐ เรื่องนี้ก็มีผู้แย้งว่า พระเครื่องฯ สกุลลำพูนมีอายุการสร้างไม่เกิน ๖๐๐ ปี อีกคนหนึ่งค้านในเรื่อง หลักการเปรียบเทียบทางเนื้อ ระหว่างพระคงกับพระรอดและเนื้อผงหิน (สีเขียว) ของพระรอดหรือพระคง ว่าเกิดจากการเปลี่ยนสี จากสีดำมาเป็นสีเขียวด้วยการเพิ่มอุรหภูมิ เรื่องนี้จะนำไปกล่าวรวมกันไว้ในตอนท้าย เช่นเดียวกัน
ปรารภท้ายการตอบปัญหา
ระหว่างที่ว่างเว้น การตอบปัญหาพระเครื่องฯ ไประยะหนึ่งนั้นได้มีปัญหาใหญ่ ๆ ที่คั่งค้าง ซึ่งมีผู้ไต่ถามมามาก สาเหตุเกิดจาก มีนักเขียนเรื่องพระบางคนได้เขียนให้ทัศนะแปลก ๆ อันผิดไปจากข้อเท็จจริง มีทั้งเขียนมานานแล้ว และเพิ่งขียนขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ จึงจำเป็นต้องถือโอกาสชี้แจง ความเป็นจริงให้ผู้ศึกษาได้ทราบรวมกันไป ในโอกาสนี้
1. พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เคยมีผู้เขียนลงนิตยสารพระเครื่องฯ ฉบับหนึ่ง นานมาแล้วว่าพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม มิใช่เป็นของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโต แต่เป็นพระที่เสมียนตราด้วงสร้าง โดยอาราธนาพะอาจารย์ต่าง ๆ มีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นประธาน มาทำพิธีปลุกเสก จึงทำให้มีผู้ติดใจปัญหาเรื่องนี้และไถ่ถามมาเสมอ ปริอรรถาธิบายฯ เล่ม ๑ ฉบับพิมพ์แรก ๆ ได้ถ่ายทอดจากบันทึกเดิม ของผู้ที่ได้สัมภาษณ์ พระธรรมถาวร (ช่วง) ในลักษณะคำต่อคำ มิได้มีการวิเคราะห์ ดังนั้นผู้ที่อ่านปริอรรถาธิบายฯ เล่ม ๑ ฉบับพิมพ์แรก ๆ จึงอาจสำคัญผิดคลาดเคลื่อนไปได้ว่า เสมียนตราด้วงจัดสร้างพระกรุนี้ขึ้นโดยใช้คณาจารย์ร่วมปลุกเสก โดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นประธาน ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ความข้อนี้ ได้ปรับปรุงแก้ไขให้ชี้ชัดแล้วในฉบับพิมพ์หลัง ๆ กล่าวคือ การสร้างพระกรุนี้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เสมียนตราด้วง เป็นผู้มีความดำริให้สร้าง โดยอาราธนาท่านเจ้าพระคุณฯสมเด็จไปสร้าง ทั้งแม่พิมพ์ และผงวิเศษได้รับอนุญาตให้ขนเอาไปจากวัดระฆังฯ และท่านเจ้าพระคุณ เป็นผู้ปลุกเสกโดยอาจารย์อื่น ๆ ก็ร่วมด้วย เพราะเป็นการจัดพิธีการสร้างขึ้น ต่างกับพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ที่ท่านเจ้าพระคุณสร้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีการจัดพิธี แต่ก็หนีการปลุกเสกหมู่ไม่ได้ ทั้งนี้ โดยที่ท่านยังได้เอาพระที่ตากแห้งแล้ว เข้าไปไว้ในพระอุโบสถ ให้ได้รับอิทธิพลจากการสวดมนต์ทำวัตร ของพระลูกวัดของท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการปลุกเสกหมู่ด้วยนั่นเอง นอกจากนั้น ท่านยังได้ขอให้พระลูกวัด ช่วยกันปลุกเสกโดยตรงอีกด้วย
ดังนั้น ฐานะที่แท้จริงของเสมียนตราด้วง ในการนี้ ก็คือ พิธีกร หรือผู้จัดการในการสร้าง เช่นเดียว กับ พระยาทิพยโกษาและพระยาสุภกรบรรณสาร เป็นพิธีการในการสร้างพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชแพ หรือ นาย เป็งย้งฯ เป็นผู้จัดสร้างพระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งหล่อที่ว้ดสุทัศน์ฯ เมื่อปลายปี ๒๑ นี้ ซึ่งจะต้องเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ว่า “พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ รุ่นจัดสร้างโดย นายเป็งย้งฯ” มิใช่จะเรียกว่า “พระกริ่งหลวงพ่อเป็งย้งฯ รุ่นปลุกเสกโดยหลวงปู่โต๊ะ” ฉันใดก็ดี คงจะไม่มีใครพิเรน ไปเรียกพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมว่า “พระหลวงพ่อด้วง ปลุกเสกโดย สมเด็จพุฒาจารย์โต” เป็นแน่ วงการพระเครื่องฯ นั้นปราศจากความคลางแคลง ในเรื่องนี้เลย จะเห็นได้จากราคาพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม ที่ประเมินเช่าบูชากันอยู่ในขณะนี้ สูงอย่างคาดไม่ถึง
2. พระคาถาชินบัญชร มีบุคคลอีกผู้หนึ่ง ได้เขียนไว้ในนิตยสารพระเครื่องฯ อีกฉบับหนึ่ง เมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ว่า “มีผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์อวดรู้ดีว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ปลุกเสกพระสมเด็จฯ ด้วยคาถาชินบัญชรนั้น รู้ได้อย่างไร ท่านอาจปลุกเสกด้วยบทอื่นก็ได้” ผู้ที่เผยแพร่ให้ผู้คนทั้งหลายได้ทราบว่าท่านเจ้าพระคุณฯ ใช้พระคาถาชินบัญชร ปลุกเสกพระสมเด็จฯ ก็คือผม และผมเองก็ไม่ได้ตั้งตัวเป็นอาจารย์ใคร ได้แต่คอยปฏิเสธว่า เป็นเพียงนักศึกษาพระเครื่องฯ คนหนึ่งเท่านั้น แต่บุคคลผู้นี้ได้เคยสถาปนาตนเองว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญพระรอดกับพระกำแพงซุ้มกอ มันจึงกลายเป็นเรื่องโอละพ่อกัน การที่ผมเขียนว่าท่านเจ้าพระคุณฯใช้พระคาถาบทนี้ ปลุกเสกพระของท่าน ก็มิได้อวดดี หากได้อ้างหลักฐานที่มาที่ไปไว้อย่างชัดเจนแล้ว และถ้าหากสงสัยว่าจะมิใช่เช่นนั้น ก็ไหนลองบอกหน่อยซิว่า ท่านเจ้าพระคุณฯ ใช้พระคาถาบทไหน หรืออาจเป็นคาถา “โอม มหาละลวย””””
3. พระสมเด็จฯ เกศไชโยและพระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสน ผมเคยตอบปัญหาพระเครื่องฯ คราวหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ยอมรับพระสมเด็จฯ เกศไชโยว่า เป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯสร้าง และบอกความจริงว่า พระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสนมีแต่ของเถื่อนทั้งสิ้น แล้วก็มีผู้เขียนในหนังสือพระเครื่องฯฉบับหนึ่ง เขียนโจมตีผมเป็นการใหญ่ติดต่อกันอยู่หลายฉบับ ตอนท้ายถึงกับประกาศท้าทายให้คนปลอมมาทำพิสูจน์ต่อหน้ากรรมการ โดยวางเงินก้อนใหญ่เป็นเดิมพัน ผมทราบภายหลังว่าคนผู้นี้เป็นจ่านายสิบตำรวจนอกราชการ และเป็นผู้เซ็งลี้พระทั้งสองชนิดนี้อยู่ จึงเป็นการขัดผลประโยชน์กันขึ้น โดยไม่ได้เจตนาเลย ตอนนั้นผมกำลังว่างเว้นจากการตอบปัญหาพระเครื่องฯ จึงมิได้มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง ความจริง นายจ่าผู้นี้เขียนท้าทายขึ้นมาโดยขาดสามัญสำนึก เพราะคนปลอมพระที่ไหน เขาจะแสดงตัวรับท้าพนัน เพราะมันเสี่ยงต่อการ ถูกประชาทัณฑ์จากบรรดาผู้ที่เช่าพระ ๒ ชนิดนี้ไปจากจ่าแก่คนนั้น
ผู้ที่ปลอมพระสมเด็จฯ เกศไชโยยุคนี้ ที่แพร่หลายมาก มีชื่อสำเนียงคล้าย ๆ “นายเง็ก” และ “นายตี๋เขื่อง” เป็นคนทางบางขุนเทียนผลิตออกมา เป็นเรือนพันองค์ทีเดียว ทะยอยส่งผ่านมือมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงอีตาจ่าแก่ผู้นี้ ส่วนผู้ทำพระสมเด็จฯ วัดใหม่ทองเสน เถื่อนนั้นมีสำเนียงคล้าย ๆ “นายเวียก” วายร้ายคนหนึ่ง ในกระบวนการยุทธจักรนั่นเอง ทำแล้วก็งุบงิบกับชีต้นเจ้ากูหัวปู่วัด เอายัดกรุแล้วประกาศว่าพบกรุพระสมเด็จฯ ที่วัดนั้น นายจ่าเฒ่าผู้นี้ ก็ไปรับเอามาจำหน่าย ควบคู่กันไปกับพระสมเด็จฯ เกศไชโย ได้ทราบว่า หลอกเอาเงินชาวบ้านไปได้ไม่น้อย แต่ที่ถูกนำมาคืนก็หลายรายเลยเขียนโจมตีผม เป็นการใหญ่ เพราะมาขัดคอขัดลาภแกเข้า จนกระทั่งเฒ่าแก่ เจ้าของนิตยสารพระเครื่องฯ ฉบับนั้น เขารำคาญจึงได้อัปเปหิคุณจ่า ออกไปจากทุกหน้าที่ของหนังสือเล่มนั้น ค่าที่เขียนไม่เอาไหน คอยแต่เขียนโฆษณา ค้าพระเถื่อน ๒ ชนิดนี้ นี่แหละ ผู้ที่ถ่มน้ำรายรดฟ้า ย่อมหาความเจริญมิได้
4. พระรอด เคยมีผู้เขียนค้านเรื่องพระรอดว่า ที่ผมกล่าวว่าเป็นพระโบราณรุ่นเก่าแก่ ยุคจามเทวีนั้น ไม่จริง แต่เป็นพระที่มีอายุการสร้างเพียง ๖๐๐ ปีเท่านั้น แต่ก็หาได้แสดงเหตุผลใด ๆ ให้ชี้ชัดในข้อคัดแย้งนี้ไม่ ธรรมดาการค้านทฤษฎีของผู้อื่น ตนเองจะต้องประมวลเหตุผลหลักฐานที่เหนือกว่า มาแสดงให้เห็นชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะฟังไม่ขึ้น อีกรายหนึ่งเกี่ยวกัยเรื่องพระรอด ที่มีการค้านว่า ทฤษฎีการเปรียบเทียบเนื้อพระคง กับ พระรอด ที่ผมกล่าวไว้ในปริอรรถาธิบายฯ เล่มที่ ๓ นั้น ใช้ไม่ได้ เพราะว่าเนื้อพระทั้ง ๒ ชนิดนี้ต่างกันมาก แสดงว่าคน ๆ นี้ อ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ เนื้อพระคงที่จัด ๆ นั้น บางองค์จัดซึ้งกว่าเนื้อพระรอดเสียอีก เขาเคยเห็นแต่พระคงที่เพิ่งขุดขึ้นมาจากดินใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่เคยเห็นพระคงรุ่นเก่าเนื้องาม ๆ ฉะนั้น เหตุใดจะอนุมานไม่ได้ว่า เพราะเนื้อคงที่จัด ๆ นั้นหากมีความจัดซึ้ง และละเอียดขึ้นไปกว่านี้อีกประมาณ ๑๐ เท่า จะเป็นเนื้อพระรอดไม่ได้ คนที่ค้านเรื่องนี้ไม่ใช่ใครคือเจ้าเก่านั่นเอง ได้แก่ ผู้สถาปนาตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญพระรอดและพระกำแพงซุ้มกอ ที่เลื่อมใสคาถาโอมมหาละลวยเป็นชีวิต นอกจากนั้น เขายังค้านเรื่อง เนื้อพระรอดชนิดผงหิน (สีเขียว) ว่าไม่ใช่เนื้อผงหิน แต่สีเขียวเกิดจากความร้อนสูง ทำให้เนื้อดำเปลี่ยนเป็นสีเขียวได้ เขาอ้างเซรามิค เกี่ยวกับควอซในเนื้อดินเผาจะละลายหลอม ทำให้เนื้อพระกลายเป็นสีเขียว เรื่องเครื่องเคลือบที่เกิดจากควอซละลายนั้น เป็นคนละลักษณะกับ เนื้อผงหินของพระรอดโดยสิ้นเชิง และการที่อ้างว่าดีกรีอุณหภูมิเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ จะทำให้เนื้อดินเปลี่ยนสีไปนั้น หาได้เฉลียวใจไม่ว่า โบราณมีอุปกรณ์เพิ่มอุณหภูมิสูงเช่นนั้นหรือ ล้วนแล้วแต่ไปเอาตัวเลขมาจากโรงงานอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน มากล่าวทั้งดุ้น ความจริงเนื้อเขียวเป็นเนื้อผงหินที่มีแรงดึงดูดภายใน จึงดึงแคลเซี่ยมในดินมาจับพอกตัวตามผิวเนื้อ ที่เรียกว่า “คราบคำ” ซึ่งจะไม่ปรากฎสำหรับเนื้อดินเผาเลย ลองค้านข้อนี้ให้ได้สิ การกล่าวอ้างหลักฐานต่าง ๆ นั้น มิใช่เที่ยวไปหยิบตำราเล่มนั้นเล่มนี้แล้วยกเอาของเขามาทั้งดุ้น เช่นไปเอาเรื่องเซรามิค มาวิจารณ์เรื่องพระรอดล้วน ๆ การเขียนหนังสือนั้นไม่ได้ใช้แต่เพียงมือ และนัยน์ตาเท่านั้น ต้องใช้ปัญญาด้วย เป็นอย่างมาก แล้วก็คนฉลาดนั้นเขาไม่สถาปนาตนเอง เป็นอาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญดอกจะบอกให้ จะเป็นได้หรือไม่นั้น คนอื่นเขาเป็นผู้ตั้งให้
5. พระมหาอุตม์หลวงพ่อนาควัดห้วยจรเข้ พระชนิดนี้ก็มีคนเขียนว่า “ไม่ใช่พระของหลวงพ่อนาคสร้าง แต่เป็นพระของหลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี” นอกจากนั้นยังกล่าวต่อไปว่า “สำหรับพระมหาอุตม์ ของหลวงพ่อนาคนั้นจนบัดนี้ยังไม่มีใครทราบว่าลักษณะอย่างไร” เขียนอย่างนี้เป็นการดูถูกวงการพระเครื่องฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักพระเครื่องฯ นครปฐมอย่างจัด เรื่องการสร้างพระมหาอุตม์ของหลวงพ่อนาคนั้น หาใช่เป็นเรื่องเก่าแก่ดึกดำบรรพ์ ที่ไม่อาจสืบทอดเรื่องราวถึงปัจจุบันนี้หรือไม่ สมภารวัดห้วยจรเข้ ถัดจากหลวงพ่อนาค (พระครูปัจฉิมทิศบริหาร) ก็มาถึงหลวงพ่อสุก (พระครูอุตรการบดี) แล้วก็ถึงหลวงพ่อล้ง สมภารองค์ปัจจุบัน คนนครปฐมที่มีพระเครื่องฯชนิดนี้อยู่ ส่วนมากได้รับจากบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระโดยตรงจากมือหลวงพ่อนาค และได้รับคำบอกเล่าเสืบต่อกันลงมา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแน่ชัด เมื่อเอาพระมาเทียบกันดู ก็เป็นแบบอย่างทำนองเดียวกัน ซึ่งจะมีอยู่ ๒-๓ พิมพ์ องค์ที่หลวงพ่อนาคมอบให้หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้วไว้ และตกมาอยู่กับหลวงปู่เพิ่มทุกวันนี้ ก็มีลักษณะตรงกับคนอื่น ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งได้รับตกทอดเป็นมรดกมาดังกล่าว พระมหาอุตม์ หลวงพ่อนาค มีลักษณะและแบบพิมพ์ต่าง ๆ อยู่ในฟอร์มที่ชมรมนครปฐมจัดประกวดคราวที่แล้วนั่นเอง (แต่ไม่ควรใช้คำว่า “พิมพ์ตัวผู้” และ “พิมพ์ตัวเมีย” ซึ่งถูกวิจารณ์ค่อนข้างหนัก ควรใช้คำว่า “พิมพ์ป้อม” และ “พิมพ์ป้าน”
6. พระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ พิมพ์ชลูด ฐานมีเลข 118 นิตยสารฉบับเดียวกันกับ ข้อ ๕ เล่มที่ออกเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้นำเอาพระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ พิมพ์ชลูด ฐานมีเลข118 มาทำภาพหน้าปก แล้วอธิบายว่าเป็นพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา ซึ่งเป็นความผิดพลาด อย่างถนัดอีก ความจริงเป็นพระชัยวัฒน์ ของหลวงปู่บุญ พิมพ์ชลูด เช่นเดียวกับพิมพ์ชลูดอื่น ไ แต่เป็น องค์ยอดพุ่ม จึงได้มีการจารึกเลข 118 ไว้ใต้บัว ซึ่งทำให้ฐานสูงกว่าพิมพ์ชลูดธรรมดา ตัวเลขนี้หมายถึง ร.ศ. 118 ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๒ อันเป็นปีที่สร้าง พระชัยวัฒน์ของวัดกลางบางแก้ว
การเขียนเรื่อง พระเครื่อง หรือออื่นใดก็ตาม ผู้เขียนควรจะแข่งขันกันในด้านคุณภาพ สร้างผลงานให้คนอ่านเขายอมรับ มิใช่คอยกระแนะกระแหนหรือโจมตีกัน ซึ่งจะไม่มีวันดังวันเด่นขึ้นมาได้เลย แต่จะถึงจุดดับเสียก่อน เพราะความอหังการของตน ปากกานั้นหาได้มีอยู่ในความครอบครองของใคร แต่ผู้เดียวไม่ อีกทั้งไม่แน่ว่า ปากของด้ามไหนจะคมกว่ากันอีกด้วย ความนิยมของมหาชนนั้น เป็นพลังลึกลับที่ทรงอำนาจมาก ทั้งจะไปกะเกณฑ์กันก็มิได้ มันขึ้นอยู่กับผลงานของบุคคลเป็นสำคัญ ผู้ศึกษาพระเครื่องฯ นั้นเป็นปัญญาชน เมื่อเขาได้ตรวจข้อเขียนผลงานของแต่ละรายแล้ว เขาก็ประเมินค่าได้เองว่า ใครมีฝีมือแค่ไหน และใครบ้าง ที่ลอกกากตำราของใครมาเขียน
ผมเองมีความเคารพนับถือครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่อยู่เสมอ แม้เพียงท่านจะให้ “นะ” ตัว “โม” ตัว ก็ต้องกราบท่าน เพราะองค์สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงสอนไว้ว่า “การให้วิทยาทาน เป็นสิ่งที่สูงค่า ยิ่งกว่าการให้ทานทั้งหลาย”
ที่มา ปริศนา ? พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย
โดย เสี้ยนไม้
คเณศ์พรพระเครื่อง ฉบับที่ ๔๓
ปริศนา ? พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย
พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จัดเป็นพระเครื่องเนื้อผงที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เพียงรองจากพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหมเท่านั้น เพราะนักนิยมพระเครื่องทั้งหลายเชื่อกันว่าพระดังกล่าวสร้างโดย พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง ผู้สร้างพระสมเด็จอันลือลั่น
แต่มีนักนิยมพระเครื่องรุ่นใหม่ ๆ หลายต่อหลายท่านติดใจสงสัย และข้องใจกันว่า พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโยนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้สร้างจริงหรือ ก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้สร้างกันแน่
จากข้อมูลที่นำมาอ้างอิงกันว่า พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นผู้สืบเนื่องมาจาก ประวัติการสร้าง “พระมหาพุทธพิมพ์” หรือพระพุทธรูปนั่งที่วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านเป็นผู้ดำริจัดสร้าง
ตามตำนานบันทึกไว้ว่า การสร้างพระพุทธรูปครั้งนี้ ได้กระทำเป็น ๒ คราว คราวแรกสร้างเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตมาก ใช้วิธีก่ออิฐถือดิน แต่แล้วก็พังทลายลงมา
ในคราวที่สองนี้ กระทำเช่นเดียวกับคราวแรก แต่ได้ลดขนาดองค์พระให้เล็กลงกว่าเดิม ถึงกระนั้นก็ยังคงมีขนาดใหญ่มากอยู่นั่นเอง ไม่ได้ปิดทอง นั่งอยู่กลางแจ้งมองเห็นแต่ไกล การก่อสร้างใช้เวลาเกือบ ๓ ปี ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๖ – ๒๔๐๗ และได้นำพระเครื่องลักษณะพระผงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก เข้ามาบรรจุในองค์พระนั่งใหญ่นี้ด้วย
จากบันทึกของพระอาจารย์ขวัญที่เคยสัมภาษณ์ พระธรรมถาวร ได้ความว่า
“...สำหรับของวัดไชโย ก็มีพิมพ์ทรง ๕ ชั้น พิมพ์ทรง ๖ ชั้น พิมพ์ทรง ๗ ชั้น (หูบายศรี) และรวมทั้งพิมพ์ทรง ๗ ชั้น (หูธรรมดา) รุ่นแรกของวัดระฆัง ที่เอาไปบรรจุไว้ที่วัดเกศไชโยด้วย...”
ผมเคยสอบถามเรื่องราวของที่มาพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จากนักเล่นพระรุ่นอาวุโส ซึ่งท่านขอสงวนนามไว้ได้ความว่า
“...ในราวปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เศษ ๆ มีตาแป๊ะแก่ ๆ คนหนึ่ง แกลงมาจากอ่างทอง แกได้นำพระเนื้อผงซึ่งมีหลายพิมพ์ มีทั้งฐาน ๗ ชั้นและ ๖ ชั้น พิมพ์ทรงต่าง ๆ มาขายอยู่บริเวณสนามพระที่ศาลอาญาเก่า
เมื่อได้พิจารณาดูพิมพ์ดูเนื้อกันเห็นเข้าท่าก็ซักไซร้ไล่เรียงกัน จึงตกลงซื้อขายในราคาไว้ในราคาองค์ละ ๓๐-๕๐ บาท ชื่อของพระวัด (เกศ) ไชโย ก็เกิดขึ้นตอนนั้น ส่วนตาแป๊ะที่ว่า แกชอบลงมาวันเสาร์-อาทิตย์...”
หลังจากนั้นไม่นาน การตื่นตัวในพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย เริ่มมีมากขึ้น พระดังกล่าวเริ่มหายไปจากสนาม จนกระทั่งมาปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สนามพระได้ย้ายมาตั้งที่ลานอโศกวัดมหาธาตุ ก็ได้มีพระพิมพ์ดังกล่าว ทะลักเข้าในสนามเป็นจำนวนมาก ราคาซื้อขายในตอนนั้น พิมพ์ ๖ ชั้น ซื้อขายกัน ๓ องค์ ๑๐๐ บาท ส่วนพิมพ์ ๗ ชั้น ซื้อขายกันถึง ๑,๐๐๐ บาท สืบได้ความว่าเป็นสมบัติของพระครูรอด อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เกรียบ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ตามประวัติพระชุดนี้ เก็บไว้ในหอไตรกลางสระน้ำ (ปัจจุบันถมที่แล้ว) ต่อมาพระครูรอดไปพบเข้า จึงได้นำมาเก็บไว้ในกุฏิและได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านไปเป็นจำนวนมาก เมื่อพระครูรอดลาสึก ก็ได้นำพระที่เหลือไปเก็บไว้ที่บ้าน จนกระทั่งท่านเสียชีวิตลง ลูกหลานจึงได้นำมาขาย พระชุดนี้จึงได้ทะลักเข้ามาในสนามเป็นจำนวนมาก นักเล่นพระเรียกกันว่า “พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย กรุวัดโพธิ์เกรียบ”
สำหรับการเปิดกรุพระสมเด็จวัด ใหม่อมตรส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ปรากฎว่านอกจากจะมีพระสมเด็จพิมพ์นิยมทั้ง ๙ พิมพ์ทรง บรรจุภายในกรุแล้ว ยังมีพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง และพระพิมพ์แปลก ๆ อีกหลายพิมพ์ รวมทั้งพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย พิมพ์ ๗ ชั้น และพิมพ์ ๖ ชั้นอยู่ภายในกรุดังกล่าวถึง ๖ องค์ แต่ละองค์มีขี้กรุสภาพเดียวกับพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ทุกประการ
ในทัศนะของท่านอาจารย์ตรียัมปวายผู้ล่วงลับไปแล้ว เคยเขียนบทความเกี่ยวกับพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย ไว้ความว่า
“...สำหรับในทางทรรศนียะนั้นพระวัดเกศไชโย ยังไม่มีองค์ไหนเลยที่จะชี้ชัดได้ว่า เป็นของแท้หรือของจริงล้วนเป็นพระเนื้อใหม่ ๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้ามีการบรรจุพระสมเด็จไว้ ณ กรุวัดนี้จริงก็น่าจะเป็นพิมพ์มาตรฐานทั้ง ๙ พิมพ์ทรง แต่ก็สืบไม่ได้จนบัดนี้ว่า กรุเปิดเมื่อใด
ส่วนพิมพ์ ๕, ๖ และ ๗ ชั้นนั้น ถ้าของจริงก็น่าจะเป็นของอดีตเจ้าอาวาสวัดไชโยองค์ใดองค์หนึ่งสร้างขึ้น เพราะลักษณะเนื้อไม่เก่าพอ และเป็นคนละชนิดกับเนื้อพระสมเด็จ
และที่เห็นได้ชัดว่าเป็นของเถื่อนก็คือ ที่ระบาดกันแพร่หลายในขณะนี้ ส่งเข้าประกวดติดรางวัลอันดับต่าง ๆ ทั้งสิ้น ส่วนนักพระเครื่องอาวุโสและผู้ช่ำชองของวงการพระเครื่องหลายท่านไม่มีใครเลยที่เล่นพระสมเด็จวัดเกศไชโย...”
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังคงได้ฟังทัศนะของ คุณสามารถ คงสัตย์ นักเขียนและผู้แต่งตำราเหรียญ ท่านเคยไปอุปสมบทที่วัดไชโย และสอบถามเรื่องพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย ปรากฎว่าไม่มีเค้ามูลใด ๆ ให้สืบเสาะได้
สำหรับในทัศนะของผู้เขียน เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาระหว่างพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จะเห็นได้ว่าแตกต่างกัน
พระสมเด็จวัดระฆังนั้น เนื้อหาจะหนักไปทางแก่มวลสาร เนื้อพระจึงมีความแกร่งแต่แฝงความหนึกนุ่ม ตรงข้ามกับพระสมเด็จบางขุนพรหมจะมีมวลสารน้อยแก่ไปทางปูน เนื้อพระ จึงมีความแกร่งและแห้งตัวสูง
ส่วนพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโยเนื้อพระที่สังเกตได้ชัดเจนคือ จะเป็นพระเนื้อผงน้ำมัน เนื้อพระจึงดูกระด้าง เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นคราบสีน้ำตาลที่เรียกว่า “คราบสนิมเหล็ก” จับอยู่ และมีรอยขนแมวทั้งหน้าและหลัง
นอกจากนี้ ภายในเนื้อพระ คล้ายกับมีส่วนผสมของเมล็ดกล้วยตำละเอียดซึ่งจะมีเฉพาะพระที่สร้างในยุคหลังเท่านั้น
หันมาพิจารณาขอบข้าง ถ้าเป็นของวัดระฆังและบางขุนพรหม การตัดขอบจะเป็นแบบตัดคว่ำลง ขอบข้างบางด้านจะตัดชิด เมื่อถึงอายุจะมีการหดตัวของเนื้อแลดูเป็นธรรมชาติ
แต่การตัดขอบข้างของพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จะเป็นการเหลือกรอบกระจกไว้ขอบโดยรอบจะมีลักษณะเหมือนเป็นการลบขอบด้วยการตะไบขอบทั้งสี่ด้าน ซึ่งพระที่ฝนขอบข้างด้วยตะไบหรือกระดาษทราย จะปรากฏในพระยุคหลัง อาทิ พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทร์ เป็นต้น
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เศษ ที่วัดไชโยได้มีการซ่อมแซมวิหารพระมหาพุทธพิมพ์ บรรดาช่างที่ซ่อมแซมวิหารได้ทำเสาวิหารร้าวปูนกระเทาะลงมาได้พบพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย จำนวนหนึ่ง ติดฝังอยู่ในเสาและถูกปูนโบกทับไว้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทราบกันเฉพาะบรรดาช่างที่ไปช่วยงานในคราวนั้น และแต่ละคนได้รับพระไป ต่างก็หวงแหนพระชุดนี้กันมาก
ส่วนเรื่องที่ว่าพระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย เป็นของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯสร้างไว้หรือไม่นั้น ก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป แต่บรรดานักเล่นพระรุ่นใหม่ ให้ความสนใจและค้นคว้าข้อมูลใหม่ ๆ มานำเสนอโดยตลอด
สำหรับผู้เขียนเอง เชื่อว่า พระสมเด็จวัด (เกศ) ไชโย เป็นพระแท้แน่นอนแต่จะสร้างโดยผู้ใด ออกจากกรุไหนนั้นคงเป็นเรื่องรองลงมา เพราะพระดังกล่าวมีประสบการณ์อภินิหารมาแล้วมากมาย โดยเฉพาะเรื่องคงกระพันแคล้วคลาดเป็นเอก ผิดกับพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหม ซึ่งหนักไปทางเมตตามหานิยม ที่รู้จริงก็คือ เขาเล่นกันเป็นแสนเชียวล่ะ จะบอกให้
ข้อสังเกตพระสมเด็จเกศไชโยของเทพศรี
ที่มา : หนังสือ “ข้อสังเกตพระเครื่องสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เล่มหนึ่ง โดยเทพศรี
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ๑๖ เมษายน ๒๕๔๓
หน้า ๒๒๒ ต่อ ๒๒๔ ต่อ ๒๒๘ ต่อ ๒๒๖ ต่อ ๒๒๙ และ ๒๓๐
พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหารนี้มีปัญหามากเป็นที่น่าสังเกต มีมากท่านไม่ยอมเชื่อว่า เป็นของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างจริง เพราะมีความเห็นว่าเป็นพระสมเด็จ ไม่มีคราบกรุและมูลกรุเลย ทำไมจึงบอกว่าแตกออกมาจากกรุใต้ฐานองค์พระมหาพุทธพิมพ์ ถ้าอยู่ในกรุจริงจะต้องมีร่องรอยคราบกรุและมูลกรุเกิดขึ้นให้เห็นไม่มากก็น้อย และอีกประการหนึ่งในด้านแบบพิมพ์ทรง โดยเฉพาะพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องตลอด ขาดศิลป เป็นช่างชาวบ้านนอกแกะแม่พิมพ์ชัด ๆ โดยให้เหตุผลว่าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านคงไม่ใช้แม่พิมพ์ที่ขาดศิลป ขาดความสวยงามแบบนี้ และช่างหลวงที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯกล้าที่จะแกะแม่พิมพ์ชนิดหยาบ ๆ แบบนี้ขึ้นถวายเชียวหรือ ปัญหาจึงไม่ยุติ ทุกวันนี้ยังเถียงกันไม่จบ เพราะสืบหาหลักฐานแน่นอนไม่ได้ว่าพระสมเด็จวัดไชโยวรวิหารเป็นของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯสร้างทุกพิมพ์ นำไปบรรจุไว้ นักนิยมพระเครื่องบางท่านยืนยันหนักหนาว่า เป็นพระที่อยู่ในกรุใต้ฐานพระมหาพุทธพิมพ์ได้แตกกรุออกมา มีหมายเหตุจากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย พิมพ์ครั้งที่ ๖ หน้า ๑๗๘ ได้เขียนไว้ดังนี้
“หมายเหตุ คำกล่าวของพระอาจารย์ขวัญในเรื่องที่ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จแบบ ฐาน ๕ ชั้น ๖ ชั้น และ ๙ ชั้น ฯลฯ ไว้กรุวัดไชโยวรวิหารนี้ นับเป็นเรื่องที่หาความกระจ่างไม่ได้ เพราะขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎ กล่าวคือ พระที่เรียกว่า “พระสมเด็จเกศไชโย” นั้น ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมาหลายวาระแล้ว ปรากฎมีแต่ของเถื่อนทั้งสิ้น และมีปริมาณมากมายที่สุด ยังไม่เคยมีปรากฎของจริงและจึงไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับวงการพระเครื่องชั้นสูง”
ทีนี้มาพูดถึงเรื่องปัญหาพระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร ท่านจงวินิจฉัยพิจารณาด้วยเหตุผล ส่วนกระผมเองได้ศึกษาและอ่านหนังสือมาหลายเล่ม มีทั้งหนังสือเก่าและปัจจุบันเกี่ยวกับพระเครื่องของวัดไชโยวรวิหาร พร้อมทั้งได้ศึกษาค้นคว้าหาดูพิมพ์ต่าง ๆ พิจารณาดูแล้วทำให้ไม่แน่ใจว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านจะสร้างไว้มากพิมพ์ขนาดนั้น และไม่มีลักษณะที่เป็นพระบรรจุกรุเลย ไม่มีคราบกรุ มูลกรุปรากฏให้เห็น องค์พระมีความสวยงามใหม่เอี่ยมเกลี้ยงเกลาผิดปกติ ไม่มีร่องรอยสึกกร่อน รูพรุนหลุมบ่อ เนื้อพระเก่าตามอายุสมกับที่สร้างมาเป็นเวลาถึง ๑๐๐ กว่าปี ส่วนพระสมเด็จวัดไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอด พิจารณาดูทั้งเนื้อและแบบพิมพ์ ยิ่งไม่เชื่อว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง แบบพิมพ์พระพักตร์เป็นรูปดาวหกแฉก องค์พระและวงแขนเป็นรูปการ์ตูน เป็นลักษณะของช่างชาวบ้านช่างบ้านนอกแกะแม่พิมพ์ ขาดความรู้ด้านศิลป เป็นแบบพิมพ์ที่แกะง่ายกว่ากัน (รายละเอียดพระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ ๖ ชั้น อกร่องอกตลอดโปรดซื้อหาอ่านในหนังสือข้อสังเกตฯ เล่ม ๒ ของกระผม) นักพระเครื่องรุ่นเก่าได้เคยเล่าให้กระผมฟัง จะถูกผิดอย่างไรกระผมขออภัยด้วย เพราะกระผมเกิดไม่ทัน ท่านเล่าให้ฟังว่า
วัดเกศไชโยนี้ ความจริงวัดนี้ชื่อวัดไชโยวรวิหาร ไม่มีคำว่าเกศ แต่มีหลวงตาท่านหนึ่งบวชจำพรรษาอยู่ในวัดนี้ ชื่อว่า หลวงตาเกศ หลวงตาท่านนี้แหละได้สร้างพระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก เลียนแบบขอบกระจกอกร่อง หูบายศรีไว้มากมายหลายพิมพ์ มี ๖ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น จำหน่ายหาผลประโยชน์ ชาวบ้านก็เลยเรียกพระของท่านว่า พระวัดเกศไชโย ต่อมาไม่ทราบว่า เพราะเหตุใดท่านเจ้าอาวาสไม่ให้จำพรรษาอยู่ในวัดนี้ หลวงตาเกศก็เลยต้องไปจำพรรษาอยู่วัดอื่น สร้างพระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักจำหน่ายต่อไป เพราะฉะนั้นพระวัดเกศไชโยจึงไม่มีคราบกรุและมูลกรุ หลวงตาเกศท่านนี้ไม่เก่งเรื่องไสยเวทและพลังจิตเท่าไร
นักพระเครื่องได้บอกเล่าต่อ มีผู้อยู่ในละแวกแถววัดอินทร์บางขุนพรหม กรุงเทพฯบางท่านยืนยันด้วยว่าพระสมเด็จวัดเกศไชโยนั้น พระอาจารย์เลี่ยมหรือหลวงตาเลี่ยมที่เคยรักษาการเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทร์สืบต่อจากหลวงปู่ภูอยู่พักหนึ่ง ก่อนหน้าพระอินทร์สมาจารย์ (เงิน) จะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทร์ เป็นผู้สร้างขึ้น กระผมวิเคราะห์ด้วยเหตุและผลคงจะหาข้อสรุปได้ว่า
1.พระสมเด็จวัดไชโยพิมพ์ ๗ ชั้นอกร่อง หูบายศรี นักพระเครื่องรุ่นเก่าได้พบเห็นกันมานานแล้ว (โปรดอ่านรายละเอียดจากหนังสือข้อสังเกตฯ เล่ม ๒ของกระผมหน้า ๒๑๖ -๒๓๑) ตั้งแต่สมัยนักเล่นพระยังเล่นกันอยู่ในร้านกาแฟมหาผันและหน้าศาลอาญา ในสมัยนั้นยังไม่มีพระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอด และไม่มีใครรู้จักเลย ถ้ามีก็ต้องมีนักเล่นพระรุ่นเก่าเล่าสู่กันฟังบ้าง
2.พระพุทธคุณของพระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์ ๗ ชั้นอกร่องหูบายศรีมีพระพุทธคุณสูงและประสบการณ์มามาก นักพระเครื่องรุ่นเก่าต่างก็ทราบดีด้วยกันทั้งนั้น เมื่อนำมาเทียบกับพระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอดห่างไกลกันมา กระผมได้ศึกษาค้นคว้าเล่นหา พระสมเด็จมาเกือบ ๔๐ ปี พบพระสมเด็จพิมพ์ ๗ ชั้น อกร่อง หูบายศรีแท้ ๆ ไม่เกิน ๑๕ องค์ (คงแตกหักสูญหายไปหมด) นอกนั้นมีแต่พระปลอมทั้งสิ้น ทำปลอมเก่าก็มีมาก ทำปลอมใหม่ก็มีมากส่วนพระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องอกตลอด กระผมเคยอาราธนาขึ้นคอ ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ผลเลย พระพุทธคุณอ่อนมาก (นิสัยของกระผมชอบสังเกตทดลองโดยใช้วิธีอาราธนาขึ้นคอไปทำงานหรือออกไปสังคม) ทำให้เชื่อได้ว่า ไม่ใช่พระของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง
3.แม่พิมพ์ขาดศิลป ช่างที่แกะแม่พิมพ์วัดไชโยพิมพ์ ๖ ชั้นสองพิมพ์นี้ ไม่ใช่ช่างหลวงเป็นช่างราษฎร (ชาวบ้าน) ธรรมดา พระพักตร์ของพระสมเด็จพิมพ์อกตัน ก็ยังมีเค้าเหมือนพิมพ์ ๗ ชั้นบ้าง คือพระพักตร์หูบายศรี แต่พระพักตร์ของพิมพ์ ๖ ชั้นอกตลอดดูแล้วเหมือนรูปดาวหกแฉก ช่วงพระพาหา (แขน) ทั้ง ๒ พิมพ์เป็นขีดหักมุมเข้าหากัน อกเป็นเส้นขีด ๒ เส้น เป็นพิมพ์การ์ตูนไปดูแล้วขาดความสวยงามประณีต ช่างที่แกะแม่พิมพ์มีฝีมือหยาบมากขาดความรู้ทางศิลป เพราะฉะนั้นกระผมจึงเชื่อได้ว่า ไม่ใช่พระของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้าง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีช่างหลวงที่มีฝีมือดี คอยถวายคำแนะนำคงไม่ออกแบบแกะแม่พิมพ์แบบนี้แน่
4.ที่ว่าเป็นหลักฐานข้ออ้างถึงพบพระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นนี้ในกรุวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม เมื่อคราวเปิดกรุเจดีย์ใหญ่เป็นทางการ พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้พบหนึ่งองค์ มีคราบกรุ มูลกรุจับเป็นผื่นเต็มไปหมด นำออกมาพิมพ์โชว์หน้าปกในหนังสือพิมพ์พระเครื่องนั้น ก็มีเหตุผลไม่เพียงพอ เพราะพบเพียงหนึ่งองค์เท่านั้น ถ้ามีหลาย ๆ องค์ก็พอจะเชื่อถือกันได้ แต่โปรดอย่าลืมนะครับว่า พระเจดีย์องค์ใหญ่ วัดใหม่อมตรสนี้มีหลวงตารายและหลวงตาคล้ายซึ่งเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ในวัดนี้ได้สร้างพระสมเด็จไว้จำนวนหนึ่ง พิมพ์ทรงเหมือนกับพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่านำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่คนร้ายขุดเจาะเจดีย์เป็นโพรง อาจจะหลงนำเอาพิมพ์พระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นบรรจุเข้าไปด้วย แล้วจึงซ่อมอุดปากโพรงเจดีย์ที่คนร้ายลอบขุดไว้ให้สนิทคงอยู่ในสภาพเดิม เมื่อเปิดกรุเป็นทางการออกมาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พบพระสมเด็จของหลวงตาราย หลวงตาคล้ายจำนวนหนึ่งก็มีคราบกรุและมูลกรุจับเกาะเป็นผื่นเต็มไปหมด คณะกรรมการวัดได้นำมาเปรียบเทียบกับพระสมเด็จของหลวงตาทั้งสองที่ชาวบ้านในละแวกนั้นได้รับแจกจากหลวงตาที่ไม่ได้นำไปบรรจุกรุ เปรียบเทียบคัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง จึงได้พระสมเด็จบางขุนพรหมแท้ ๆ จำนวนไม่มากนัก ที่เรียกกันว่าเป็นพระกรุใหม่ เพราะฉะนั้น พระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นวัดเกศไชโยพบในกรุนี้ เพียงหนึ่งองค์เท่านั้น เป็นหลักฐานไม่เพียงพอที่จะเชื่อถือได้ว่าเป็นพระสมเด็จของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้างด้วยตัวท่านเอง
สรุปแล้วเป็นที่เชื่อแน่นอนว่า พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหารพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก (ต้อ) ๗ ชั้น เป็นพระที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปแจกให้แก่ญาติโยมชาวบ้านที่มาช่วยกันก่อสร้างองค์พระมหาพุทธพิมพ์ที่จังหวัดอ่างทอง ไม่ได้นำไปบรรจุกรุแต่อย่างใด ส่วนพระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้น อกตันและอกตลอด ไม่ใช่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง แต่ไม่ทราบว่าอาจารย์ไหนสร้าง ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาวินิจฉัยเอาเองนะครับ ก็ต้องกราบขออภัยไว้อีกครั้ง ณ ที่นี้”
ที่มา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระกรุเจดีย์เล็ก วัดบางขุนพรหม
จากการสัมภาษณ์ คุณชลอ รับทอง
โดยกอง บ.ก.
พระเครื่องประยุกต์ ฉบับที่ ๖๑
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๓
วัดบางขุนพรหมต้นกำเนิดกรุ
วัดบางขุนพรหมอยู่ในตำบลบางขุนพรหม อยู่เยื้องกับวัดอินทรวิหาร ซึ่งในวัดนั้นแต่เดิมเป็นวัดที่ต้นตระกูลธนโกเศสได้ทำนุบำรุงตลอดมมา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ก่อนหน้าเจ้าประคุณสมเด็จจะมรณภาพเพียงสองปี มีหลักฐานยืนยันกันได้ว่า ท่านเสมียนตราด้วง ต้นตระกูล ธนโกเศส ได้ไปอาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี จากวัดระฆังให้มาเป็นประธานสร้างพระสมเด็จไว้ เพื่อสืบอายุพระศาสนา และนำบรรจุไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ในวัด
หลังจากเจ้าประคุณสมเด็จได้สิ้นชีพิตักษัยไปแล้ว พระสมเด็จของท่านที่สร้างไว้ ณ วัดระฆังได้หมดไป และเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ อันเป็นปีที่ได้ได้รับการบีบคั้นจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทดินแดนอินโดจีน และไทยเสียดินแดน ผู้คนได้เสาะหาพระมาติดตัวเพื่อสู้กับต่างชาติ ในตอนนั้นพระวัดรังษีมีชื่อเสียงมาก และในวาระนั้น ได้มีการระลึกถึงวัดบางขุนพรหมที่ท่านเสมียนตราด้วงได้สร้างพระบรรจุไว้ (ผู้เขียนเกิดไม่ทันครับ แต่ได้อ่านจากหนังสือหลายเล่ม และจากปากคำของรุ่นก่อน ๆ เล่าให้ฟังว่า) ผู้คนพากันมาที่พระเจดีย์ใหญ่กันล้นหลาม เพราะรู้ว่าในนั้นมีพระสมเด็จบรรจุไว้ แต่จะทลายพระเจดีย์ไม่มีใครทำกัน คนโบราณถือโชคลาง จึงได้แต่เอาไม้ไผ่ผูกเชือกเอาดินเหนียว ๆ ตำโขลกให้ละเอียดแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ติดปลายเชือก ทำเป็นตุ้มแล้วยื่นปลายไม้เข้าไปตามช่องลมระบายอากาศของพระเจดีย์ปล่อยลูกตุ้มดินลงไปที่ก้นกรุ เพื่อให้ดินเหนียวนั้น ติดกับองค์พระขึ้นมามากบ้างน้อยบ้าง นำติดตัวปรากฏว่ามีอิทธิปาฏิหารย์เหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังทุกประการ ตกพระกันมากเข้าจนไม่มีพระจะติดดินเหนียว ก็เลิกลากันไป เพราะคนสมัยนั้นไม่มีใครโลภเอาออกมาขาย
การเปิดกรุเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้นเอง ได้มีการลักลอบขุดกรุเจดีย์ใหญ่ ได้พระไปจำนวนหนึ่ง ไม่ปรากฎว่าได้ไปมากน้อยเท่าใด และพระนั้นได้แพร่ออกสู่นักสะสมหลายสาย จนในที่สุดทางวัดก็รู้เรื่องเข้า จึงทำการขอกำลังตำรวจทหารมารักษาการ และได้ขออนุญาตกรมศิลปากรขุดพระเจดีย์นำพระออกมารักษาไว้ และให้สาธุชนเช่าต่อไป ในการเปิดครั้งนั้น มี ฯพณฯ พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นประธาน ได้พระสมเด็จมาจำนวนมากมาวย และทางวัดได้จัดให้เช่าบูชาเพื่อนำมาสร้างเสนาสนะในวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) และสร้างเจดีย์ใหม่ให้ถาวร
พระที่เปิดกรุได้ในครั้งนั้น มีคราบกรุมากมาย และหนามาก มีที่คราบกรุน้อยบ้างก็ไม่เท่ากับคราบกรุหนา นักเลงพระจึงคิดถึงพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่ขึ้นจากกรุในสมัย ร.ศ. ๑๑๒ ที่คราบกรุมีน้อยเนื้อจัด และคราบกรุนั้นผิดกับกรุที่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงแยกเรียกพระกรุนี้เสียเป็นสองชื่อ คือ เนื้อจัดและมีคราบกรุน้อยที่พบก่อน และหมุนเวียนในวงการว่า “กรุเก่า” และพระที่มีคราบกรุหนาที่ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ว่า “กรุใหม่”
เอาละครับ ผมว่าถึงกรุเจดีย์ใหญ่แล้ว ทีนี้ขอว่าถึงกรุเจดีย์เล็ก ที่เราเรียกกันว่าเจดีย์เล็กนั้น เป็นเจดีย์ที่อยู่ตรงไหน และมีความเป็นมาอย่างไร ผมเชื่อว่าทุกคนรู้จักคำว่า เจดีย์เล็ก วัดบางขุนพรหม ที่รู้จักเพราะมีการเขียนเผยแพร่ในที่ต่าง ๆ ว่ามีการพบกรุพระด้วย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเจดีย์เล็กนั้นอยู่ที่ไหนของเจดีย์ใหญ่ ผู้เขียนจึงวกเวียนอยู่กับการเสาะหาผู้ที่ใกล้ชิด และสามารถบอกได้ว่า พระเจดีย์เล็กนั้นอยู่ที่ใดและการพบพระพบอย่างไร และทัศนะของพระกรุนี้ ซึ่งในที่สุดผู้เขียนก็ได้รู้จักกับ คุณชลอ รับทอง ซึ่งผู้เขียนได้สอบถามถึงความเป็นมาของพระกรุนี้ จึงได้ความกระจ่าง และได้ให้ช่างศิลปเขียนภาพตามคำบอกเล่าของคุณชลอ รับทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพพจน์ว่า คำว่า เจดีย์เล็กนั้นอยู่ที่ไหน และสำคัญอย่างไรกับเจดีย์ใหญ่บ้าง
สถานที่ตั้งของเจดีย์เล็ก
คุณชลอ ได้ท้าวความให้ผู้เขียนฟังว่าพระเจดีย์ใหญ่ที่พบกรุพระสมเด็จนั้น เป็นเจดีย์ที่ทางวัดได้ซ่อมสร้างและยังคงสภาพให้เห็นอยู่ถึงปัจจุบัน แต่เจดีย์เล็กท่านเดินหาอย่างไรก็ไม่พบ เพราะไม่มีอยู่แล้ว ทางวัดได้รื้อออกทิ้งไปแล้ว แต่เดิมนั้นเจดีย์เล็กนั้นอยู่ในสภาพดังนี้
ในสถานที่ตั้งพระเจดีย์ใหญ่นั้น มีลานรอบพระเจดีย์ และมีบันไดทางขึ้นอยู่สองทางทางด้านซ้ายและทางด้านขวาของเจดีย์ใหญ่ เพื่อเป็นทางเดินเข้าไปนมัสการเจดีย์ ตามแบบโบราณทั่วไปและในฝั่งตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นนั้นเอง เป็นที่ตั้งขององค์เจดีย์เล็ก ซึ่งสร้างกำกับอยู่สองข้างของเจดีย์ใหญ่เช่นเดียวกับทางขึ้น
พระเจดีย์เล็กนั้นสร้างแบบเดียวกับเจดีย์ใหญ่แต่ย่อมกว่า คู่กันอยู่คนด้านละสององค์รวมกันเป็นสี่องค์ ขอให้ดูรูปภาพวาดประกอบด้วยเพราะเขียนขึ้นจากปากคำของคุณชลอ ซึ่งคุ้นเคยกับวัดบางขุนพรหม และพระกรุนี้ดีบอกให้วาดอีกที
พระเจดีย์เล็กทั้งสี่องค์นี้สภาพการก่อสร้างและศิลปเป็นแบบและยุคเดียวกับพระเจดีย์ใหญ่ทุกประการ เมื่อมีการพบกรุพระในพระเจดีย์องค์ใหญ่แล้ว พระเจดีย์เล็กก็ไม่มีใครสนใจกัน จนกระทั่งเมื่อทางวัดได้รายได้จากการให้เช่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งพระหมดไปแล้ว จึงได้นำรายได้นั้นไปปรับปรุงก่อสร้างเสนาสนะในวัด และปรับบริเวณวัดให้กว้างขึ้น และจะสร้างพระเจดีย์ใหญ่ให้คงสภาพต่อไป เพราะได้เจาะพระเจดีย์นำพระออกมาเกรงจะทลายลง และเมื่อจะสร้างพระเจดีย์ใหญ่และปรับพื้นที่นั้นก็จำต้องรื้อลานรอบพระเจดีย์ออก ดังนั้นทางวัดจึงประกาศรื้อถอนพระเจดีย์เล็ก และบอกกล่าวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีสิ่งของที่บรรจุอยู่ในเจดีย์เล็กที่จะรื้อ เผื่อว่าจะมีทายาทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาคัดค้าน ทางวัดรออยู่จนแน่ใจว่าไม่มีการคัดค้านแน่ จึงออกคำสั่งให้ทะลายทันที
ตามที่กล่าวแล้วว่าพระเจดีย์เล็กนั้นมีสี่องค์ อยู่คนละด้านของพระเจดีย์ใหญ่ ด้านละสององค์ช่างได้ทำการรื้อพระเจดีย์เล็กทีละข้าง สิ่งที่พบก็คือ ในเจดีย์เล็กคู่แรกด้านนอกเป็นที่บรรจุกระดูกของผู้ที่วายชนม์ไปแล้ว และในเจดีย์องค์ที่อยู่คู่ถัดไปนั้นเอง เมื่อรื้อออกก็พบพระเนื้อผงอยู่ภายในดังได้นำภาพมาลงประกอบไว้ และเมื่อทำการรื้ออีกด้านหนึ่งก็เป็นอย่างเดียวกันคือ พระเจดีย์เล็กด้านนอกเป็นที่บรรจุกระดูกของผู้วายชนม์และเจดีย์ลูกที่ถัดไปนั้นก็พบพระเนื้อผงเช่นเดียวกัน
ในการรื้อนั้นทางวัดไม่ได้รู้เรื่องมาก่อนว่าพบพระกรุ คุณชลอก็กล่าวว่า พระออกมาสู่มือของคุณชลอก่อน และเมื่อได้พิจารณาดูแล้วก็เทียบเคียงกับคราบกรุพระที่เปิดกรุในเจดีย์ใหญ่ก็มีความเหมือนกันทุกอย่าง และเมื่อสอบถามจากผู้ที่ทำการรื้อพระเจดีย์และนำออกมาให้เช่าเป็นการส่วนตัวในสมัยนั้น ก็พบว่านอกจากจะพบพระพิมพ์ที่แปลกออกไปจากเจดีย์ใหญ่แล้ว ในเจดีย์เล็กยังมีพระพิมพ์เดียวกับเจดีย์ใหญ่หลายพิมพ์ปะปนอยู่ด้วย ซึ่งคุณชลอได้เช่าเอาไว้เทียบเคียง ด้วยทั้งหมดที่เขานำมาให้เช่า
ตอนนั้นคุณชลอกล่าวว่า องค์ละห้าบาทบ้าง สิบบาทบ้าง สวย ๆ หน่อยก็ห้าสิบบาท ร้อยบาท เพราะตอนนั้นพระกรุนี้ยังไม่แพร่หลาย และพระสมเด็จเจดีย์ใหญ่ยังมีอยู่มากหมุนเวียนอยู่ในวงการ และบางคนก็ไม่เชื่อว่าพระกรุเจดีย์เล็กจะมีราคา หรือมีศักดิ์ศรีเท่ากับเจดีย์ใหญ่ เพราะขาดการพิจารณาทางเนื้อและคราบกรุซึ่งต่อ ๆ มาเมื่อพระกรุเจดีย์เล็กออกมาแพร่หลายแล้วจึงได้ยุติกันว่าคราบกรุของเจดีย์เล็กนั้นเหมือนกับเจดีย์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นคราบขี้มอด คราบหนังกระเบนหรือคราบสีน้ำตาลสนิมก็ตามที ซึ่งคุณชอลได้อธิบายให้ผมดูอยู่พักใหญ่ และจากนั้นผมได้ไปถามความเห็นของนักเลงพระที่ชำนาญในการดูพระสมเด็จกรุใหม่ก็พูดอย่างเดียวกันว่าเหมือนกัน
คุณชลอได้ให้ทัศนะว่าสำหรับกรุเจดีย์เล็กนั้นเนื่องจากไม่ได้มีหลักฐานอะไรระบุไว้ว่าบรรจุไว้เมื่อไร หรือใครเป็นเจ้าของกระดูกที่พบนั้น แต่ถ้าพิจารณากันตามข้อเท็จจริงก็คือ คราบกรุและเนื้อหามวลสารก็ยุติได้ว่าเหมือนกรุเจดีย์ใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระนี้น่าจะมีการบรรจุไว้ในเจดีย์เล็กพร้อมกับเจดีย์ใหญ่ โดยวัสดุส่วนผสมเดียวกัน แต่ใช้พิมพ์ที่แปลกออกไปกดพิมพ์ซึ่งถ้าจะสันนิษฐานตามทางของผู้เขียนแล้วเป็นไปได้ไหมที่จะเป็นคนที่มีความสนิทชิดเชื้อกับท่านเสมียนตราด้วง ต้นตระกูลธนโกเศส เมื่อท่านเสมียนตราด้วงได้สร้างพระบรรจุไว้ในเจดีย์ซึ่งเป็นของต้นตระกูลธนโกเศสเล้ว จึงได้ถือโอกาสสร้างเจดีย์เล็กขึ้นบนลานเจดีย์ใหญ่ของต้นตระกูลธนโกเศส และขอสร้างพระบรรจุกรุไว้เพื่อสืบอายุ พระศาสนา และอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ ซึ่งถ้าจะใช้พระพิมพ์เดียวกันก็อาจจะเป็นการไม่สมควร จึงทำพิมพ์ของตนขึ้นมาและขอวัสดุส่วนผสมในคราวเดียวกันกับที่สร้างพระพิมพ์เจดีย์ใหญ่โดยเจ้าประคุณมากดพิมพ์พระแล้วปลุกเสกพร้อมกัน นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์เล็ก และที่เป็นไปได้ก็คือได้พบพระพิมพ์นิยมในเจดีย์ใหญ่ปะปนอยู่ด้วยนั้น ย่อมจะแสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดระหว่างตระกูลธนโกเศส และตระกูลของผู้สร้างพระเจดีย์เล็กโดยได้แบ่งพระพิมพ์นิยมมาบรรจุรวมไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานให้เห็นว่าเป็นพระยุคเดียวกัน (ผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วยสำหรับผู้รู้และมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
พิมพ์ทรงที่พบ
เท่าที่พบในคราวนั้นมีอยู่หกพิมพ์ทรงคือ
1.พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าหมอนขวาน
2.พิมพ์ประจำวันอังคาร (ไสยาสน์)
3.พิมพ์จุฬามณี (เจดีย์แหวกม่าน)
4.พิมพ์ฐานคู่
5.พิมพ์เจดีย์
6.พิมพ์ยืน
ในหกพิมพ์ทรงนี้คุณชลอ รับทอง ได้กรุณาเขียนเพิ่มเติมว่า พิมพ์ที่พบน้อยและมีราคาสูงได้แก่ พิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์ไสยาสน์ พิมพ์เจดีย์แหวกม่าน ซึ่งปัจจุบันสามพิมพ์นี้ราคาสูงกว่าพิมพ์อื่น ส่วนที่พบรองลงมาได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์เจดีย์ ส่วนพิมพ์ยืนนั้นมากที่สุด และเมื่อผมถามต่อไปอีกว่ากะประมาณได้ไหมว่ามีพระจำนวนมากน้อยเท่าใด คุณชลอได้กะไว้ว่ารวมกันแล้วจากการสอบถามและการค้นพบของผู้ที่รื้อพระเจดีย์ว่าไม่เกิน ๔-๕ พันองค์โดยประมาณ จึงทำให้พระกรุนี้พบเห็นกันน้อยมาก และน้อยกว่าพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งพบเห็นกันบ่อย ๆ ถ้ามีทรัพย์สูงพอจะเช่าหา
นอกจากคราบกรุแล้ว เนื้อหามวลสารยังเป็นข้อยุติสำหรับพระกรุนี้ว่า ว่าความเป็นมานั้นคู่มากับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้กาลเวลาเท่านั้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ สำหรับพระพุทธคุณ เท่าที่คุณชลอได้เล่าให้ฟังนั้นว่าเรื่องเมตตา การติดต่องาน ค้าขาย และแคล้วคลาดไม่เป็นรองกรุเจดีย์ใหญ่ทีเดียว และอีกทั้งสนนราคายังย่อมเยากว่ากรุเจดีย์ใหญ่เสียอีก มีเงินหลักหมื่นก็สามารถเป็นเจ้าของกรุนี้ได้แล้ว ไม่เกินสามหมื่นหรือสี่หมื่น โดยพระไม่ชำรุดราคานี้ถ้าหากเป็นกรุเจดีย์ใหญ่แล้วต้องเป็นพระชำรุด
ถ้าท่านมีโอกาสเป็นเจ้าของพระสมเด็จกรุเจดีย์เล็กแล้วละก็ก็จงสบายใจได้ว่าเป็นพระมีกรุแน่นอนและควบคู่มากกับเจดีย์ใหญ่ทุกประการ เป็นที่พึ่งของท่านได้ไม่แตกต่างไปจากเจดีย์ใหญ่ จะแตกต่างก็เพียงราคาเท่านั้นซึ่งผิดกันมาก เมื่อท่านอ่านข้อเท็จจริงนี้จบลงแล้วท่านคิดอย่างไร หรือมีความอยากเป็นเจ้าของพระกรุนี้บ้างหรือเปล่า สำหรับตอนนี้ยากเสียแล้วครับ เพราะกว่าจะเจอแต่ละองค์แสนเข็ญ และเจ้าของก็ไม่ยอมออกตัวเสียด้วยนี่ซีครับคือปัญหาใหญ่
2 ความคิดเห็น:
คือผมไม่ทราบว่าพระสมเด็จเกษไชโยที่เซียนแท้เซียนปลอมจะบอกว่าไม่ใช่สมเด็จโตสร้างนั้น แต่สิ่งหนึ่งที่เซียนพวกนี้นำมาให้ดูไม่ได้คือหลักฐาน เพราะทุกความเห็นที่กล่าวมาเป็นการอ้างคนนู้นทีคนนี้ที ไม่ทราบว่าท่านทั้งหลายเกิดทันสมเด็จโดหรือไม่ เพราะอย่างน้อยจังหวัดอ่างทองอุตส่าห์เอามาเขียนเป็นคำขวัญ จังหวัด ผมก็ไม่รู้ว่าเขามาเขียนได้อย่างไร ถ้าเขาเชื่อพวกเซ๊ยนแท้เซียนปลอมเหล่านี้ที่วิจารณ์ว่าสมเด็จโตไม่ได้สร้างวัดเกษ ส่วนที่บอกว่าวัดเกษลองใส่ไม่มีพุทธคุณนั้น พวกนี้นี้สุดยอดครับ(เรื่องอะไรไม่รู้)
สรุปแล้วเป็นที่เชื่อแน่นอนว่า พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหารพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก (ต้อ) ๗ ชั้น เป็นพระที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปแจกให้แก่ญาติโยมชาวบ้านที่มาช่วยกันก่อสร้างองค์พระมหาพุทธพิมพ์ที่จังหวัดอ่างทอง ไม่ได้นำไปบรรจุกรุแต่อย่างใด ส่วนพระสมเด็จวัดเกศไชโยพิมพ์ ๖ ชั้น อกตันและอกตลอด ไม่ใช่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้าง แต่ไม่ทราบว่าอาจารย์ไหนสร้าง ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาวินิจฉัยเอาเองนะครับ ก็ต้องกราบขออภัยไว้อีกครั้ง ณ ที่นี้” ปล.น่าสนใจมากครับ
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ