ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

ประวัติพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์                                                                                             

พระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์ องค์ที่เห็นในภาพเป็นพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์พิมพ์เเขนตัน เนื้อนวโลหะออกสีนากกลับดำ      ของท่านพริษฐ์ ปิยะนราธร ผู้พิพากษา
เป็นพระกริ่งยุคเเรกที่สมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศน์เททองไว้สมัยสมณศักดิ์ที่เป็นพระธรรมโกษาจารย์ระหว่างปี พ.ศ 2443-2454 การเททองรุ่นนี้มีการทำหลายครั้งเเต่ละครั้งได้จำนวนน้อย ซึ่งมีพิมพ์หลายเเบบเเต่จะคงเนื้อนวโลหะออกสีนากกลับดำถ้าส่ององค์พระในเเสงเเดดจัดๆจะเห็นเนื้อสีนากกลับดำซึ่งเนื้อจะจัดมากๆสมกับพระที่มีอายุมากๆตามกาลเวลา เนื้อเเบบนี้จะเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์พระของรุ่นพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์นี้ ลักษณะสังเกตุของเนื้อพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์จะเป็นเนื้อนวโลหะออกสีนากกลับดำถึงเเม้ในยุคของท่านจะสร้างพระกริ่งรุ่นเเรกคือพระกริ่งเทพโมลีก็ตามโดยเเกะเเบบพิมพ์ที่คิดขึ้นเองเเต่ยังไม่ถูกใจนัก พอสร้างพระกริ่งรุ่นสองคือพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์ ท่านจึงนำพระกริ่งปวเรศของวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีต้นเเบบมาจากพระกริ่งใหญ่ของจีนมาเป็นเเม่เเบบสร้างขึ้นเเต่ปาดบัวหลังออกเพื่อให้พระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์เเตกต่างจากพระกริ่งปวเรศทั้งเนื้อเเละพิมพ์ในรุ่นนี้มี  พระกริ่งธรรมโกษาจารย์ (แขนตัน) กับ พระกริ่งธรรมโกษาจารย์
ประวัติการสร้างพระกริ่ง วัดสุทัศน์เเละพระชัยวัฒน์ วัดสุทัศน์ จากประวัติศาสตร์ได้ปรากฎความจริงชัดเจนว่า ตำราการสร้างพระกริ่งเเละพระชัยวัฒน์เเต่ดั้งเดิมของพระนพรัตน์วัดป่าเเก้ว พระเถรจารย์ผู้ยิ่งใหญ่เเห่งกรุงศรีอยุธยาได้สืบทอดตกต่อมาเป็นชั้นๆโดยไล่เรียงลำดับได้คือ จากต้นตำรับ พระนพรันต์ วัดป่าเเก้วกรุงศรีอยุธยา ตำราการสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ได้ตกเเก่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯกรุงเทพฯ เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ ตำรานั้นได้ตกเเก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศน์ เเละเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์ตำราได้ตกถึงพระมงคลทิพย์มุนีหรือท่านเจ้ามาวัดสามปลื้ม เมื่อทรงทราบเช่นนั้นสมเด็จพระสังฆราชเเพวัดสุทัศน์เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพโมฬี จึงทรงขอตำราสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์จากพระมงคลทิพย์มุนีหรือท่านเจ้ามาเเล้วทำการหล่อหสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์นับตั้งเเต่คือปี พศ 2441 สมเด็จพระสังฆราชเเพทรงหล่อสร้างพระกริ่ง วัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์ วัดสุทัศน์ ตั้งเเต่พศ2441ทุกปีจนถึงพศ 2479นับรวม 38 ปี ตามประวัติบันทึกระบุย้ำไว้ว่าสมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศน์ทรงหล่อสร้าง พระกริ่งวัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์เฉพาะในวันเพ็ญกลางเดือน 12 คือหล่อสร้างเพียงปีละ1วันหมายถึงหนึ่งปีสร้างหนึ่งครั้งเเละหนึ่งวันเพียงเท่านั้น เเละจำนวนการสร้างคือสิ่งสำคัญยิ่งสมเด็จพระสังฆราชเเพจะทรงหล่อสร้างจำนวนตามกำลังวันซึ่งหมายความว่า ถ้าในวันเพ็ญกลางเดือน12 ปีไหนตรงกันกับวันอะไรเเละมีกำลังวันตามหลักโหราศาสตร์กับไสยศาสตร์เท่าไรพระองค์จะทรงหล่อสร้างพระกริ่งวัดสุทัศน์เเละพระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ ตรงตามจำนวนกำลังวันนั้นๆอาทิเช่น วันอาทิตย์ 6 องค์ วันจันทร์ 15 องค์ วันอังคาร 8 องค์ วันพุธ 17 องค์ วันพฤหัสบดี19 องค์ วันศุกร์ 21 องค์ วันเสาร์ 10 องค์ จากกำลังวันดังกล่าวท่านคงจะเห็นได้เเล้วว่า วันที่มีกำลังวันมากที่สุดคือวันศุกร์มีกำลังวัน 21 วัน ดังนั้นตลอดระยะเวลา 38 ปี เเห่งการหล่อสร้างพระกริ่งวัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ สมเด็จพระสังฆราชเเพจะทรงหล่อสร้างได้อย่างมากทึ่สุด ไม่เกิน 798 องค์ ลองเอาจำนวนกำลังวันศุกร์ซึ่งมีกำลังวันมากที่สุด 21 คูณด้วยจำนวนปี 38 พระกริ่งวัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ สมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศน์ จะมีจำนวนการสร้างเพียงอย่างละ798 องค์จากตำราต้นตำรับการสร้างของพระพนรัตน์วัดป่าเเก้วผู้เป็นปรมาจารย์กับเจตนาการสร้างของสมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศน์ ว่าด้วยฤกษ์ยามตามตำรา ตามกำลังวันจำนวนจึงต้องมีเพียงเท่านี้คือมีอย่างละ 798 องค์ต้องมีจำนวนเพียงเท่านี้เพราะเป็นการสร้างเพื่อสืบพระชนม์มายุของพระองค์ท่านอีกโสตหนึ่งในเรื่องกำลังวันตามหลักวิชาโหรศาสตร์เเละไสยศาสตร์จึงต้องเคร่งครัดทึ่สุด จะผิดพลาดมิได้เด็ดขาด เเต่ก็เป็นเรื่องเเปลกทุกวันนี้เซียนใหญ่เซียนเล็กต่างก็มีกันทั้งน้านเมื่อไล่เรียงจากตำนานจึงจับใจความว่ามีลูกศิษย์ของท่านเเอบขอร่วมสร้างด้วย ร่วมด้วยช่วยกันสร้างเสริมออกมาขาย พวกนี้จึงจัดเข้าทำเนียบรุ่น พระกริ่งพระชัยวัฒน์สมทบอันเป็นส่วน เก๊ หรือภาคผนวกพูดกันชัดๆตรงตัวโดยมิต้องเเปลไทยให้เป็นไทยนั่นคือพระกริ่งพระชัยวัฒน์เก๊นั่นเองหรือบล๊อกเสริมที่เสริมกันออกมาจนไม่มีวันหยุดพักผ่อน จวบจนทุกวันนี้ ออกลูก ออกหลานเหลนโหลนจนจำหน้าค่าตากันไม่ได้ นี่คือส่วนหนึ่งในสัจธรรมเเห่งประวัติศาสตร์การกำเนิดพระกริ่งพระชัยวัฒน์สำนักวัดสุทัศน์ทึ่ควรศึกษานำมาเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์เพื่อพิจารณาตัดสินใจเช่าหามาบูชากันต่อไป อย่างไรก็ตามผู้เขียนขอนำเกล็ดความรู้เล็กๆน้อยๆพอสังเขปในยอดพระเครื่องสำนักวัดสุทัศน์พิมพ์หนึ่งของสมเด็จพระสังฆราชเเพอันเป็นพระหลักยอดนิยมสูงสุดซึ่งปรากฎราคาเช่าหาก็เเพงทึ่สุดอีกทั้งยังเป็นพระที่ดูยากทึ่สุดพบเห็นของจริงได้ยากที่สุด มาเสนอเพื่อยังประโยชน์เเก่ท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย
พระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง วัดสุทัศน์
พระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง วัดสุทัศน์ ตามประวัติสร้างเพียงประมาณไม่เกิน 1000 องค์ เป็นยอดพระเครื่องพิมพ์หนึ่งทีอุบัติขึ้น ณ วัดสุทัศน์ เทพวรารามเป็นพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ที่สมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศน์ ทรงรังสรรค์ไว้เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2458 ดำรงตำเเหน่งเป็นพระพหรมมุนี พระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง วัดสุทัศน์ ทรงทำพิธีปลุกเสกนานถึง 3 วัน 3 คืน โดยมีพระยาศุภกรบรรณสาร อยู่ปรนนิบัติรับใช้ในขณะประกอบพิธีอย่างใกล้ชิด

พุทธลักษณะพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง วัดสุทัศน์                                                          1.คล้ายพระกริ่งเเต่ขนาดสัดส่วนเล็กกว่าพระกริ่งมากทีเดียวโดยมีความสูงไม่เกิน 2 ซม เเละความกว้างของฐานเพียงประมาณ 1.3 ซม มีลักษณะเป็นเเบบลอยองค์ประทับเเบบปารมารวิชัย เเละนั่งเเบบขัดเพชรอาสนะฐาน
 2.บัวคว่ำบัวหงาย กึ่งกลางฐานบัวชั้นบน เเละบัวเเถวล่างจะปรากฎเส้นพาดเเบ่งบัวสองเเถวเเละใต้บัวเเถวล่างเป็นขอบฐานเรียบส่วนที่ใต้ฐานบางองค์เจาะอุดบรรจุผงเเต่บางองค์ก็ไม่เจาะอุดผงเเละบางองค์ปรากฎรอยจารอักระยันต์เเต่บางองค์ก็ไม่ปรากฎ                                                                                     เมื่อพิจารณาพุทธลักษณะตั้งเเต่เบื้องบนลงล่างจะพบว่า                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           1.พระเกศเมาลีเป็นต่อมเม็ดพระศกมีลักษณะเป็นตุ่มคล้ายตอกด้วยตุ๊ดตู่                                                 2.ส่วนประกอบด้านพระพักตร์พระเนตรจะเห็นเป็นเเบบลักษณะตาขุด เเบบเดียวกับพระโอษฐ ลำตัวพระองค์ปรากฎเส้นสังฆาฎิที่พระอุระเเละเหนือข้อพระกัปปะ ฝ่าพระหัตถ์ที่วางพาดทับหน้าพระเพลาจะหนาเป็นปื้น                                                                                                                                                      3.ฝ่าพระหัตถ์ที่วางพาดพระชานุดูเป็นเเผ่นหนา เเละปรากฎเป็นเส้นนูนหนาไม่เท่ากัน                             4.ผิวพระจะปรากฎชัดเจนในเเบบกะไหล่ทองเเต่บางองค์กะไหล่ทองลบเลือนจะพบว่า เนื้อในจะออกสีพาดกลับดำ โดยกะไหล่ทองนี้จะเป็นเครื่องชี้บ่งบอกถึงความเก่าคือสีทอง จะปรากฎขัดในความคล้ำหรือสีหมองคล้ำนั่นเอง พระชัยวัฒน์กะไหล่ทองหรือกระบวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์สุทัศน์นับเป็นพระเครื่องที่ดูลำบากยากกับการพิจารณาเเท้ เก๊ เพราะว่าพระเสริมพระศัลยากรรมตกเเต่งมีล้นตลาดจนน่ากลัวอีกทั้งมีเซียนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลในวงการตั้งตัวเป็นเทวดาเเก๊ง ดูขาดไหนเเท้ไหนเก๊ ในวงการเซียนเเท้ที่เป็นที่ยอมรับหลายท่านต่างท้อเเท้เบื่อหน่ายตีจากวงการอำลาไปเเล้วเเทบทั้งสิ้นเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง กลับมาเรื่องพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง วัดสุทัศน์นับเป็นพระเครืองที่พบเห็นได้ยากเพราะสร้างน้อยอีกทั้งเป็นที่นิยมสูงในหมู่นักสะสมผู้มีกระเป๋าหนักราคาเช่าก็สูงเเพงตามจำนวนที่สร้างไปด้วย เเละจากประวัติการสร้างได้กล่าวไว้ว่าสมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศน์สร้างพระชุดนี้มีจำนวนไม่เกิน 1000 องค์เท่านั้นเองเเต่ที่ปรากฎมีมากมายเกินก็โปรดพิจารณากันเอาเอง























0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook