ประวัติกรุวัดราชสิงขร
รูปภาพพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขรพิมพ์สังฆาฎิทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง
หนาน คำฟู
นิตยสาร “พระเครื่องประยุกต์” ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๓๒๗
ประจำวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒
ยังเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบว่าใครเป็นผู้สร้างและนำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ใหญ่ตั้งแต่เมื่อไหร่ ท่านพระครูบวรพัฒนโกศล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันก็ไม่ทราบ
สอบถามคนเก่าแก่อย่างคุณลุงเวียนที่ยังวนเวียนเข้าออกในวัดก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร จากการเปิดเผยของท่านพระครูร่วมกับพระในวัดและฆราวาสอีกหลายท่านพอจะได้ความว่าพระพิมพ์ต่าง ๆกรุวัดราชสิงขร ส่วนมากเป็น เนื้อผง พอแยกเนื้อได้ดังนี้
1.เนื้อผง ๙๕%
2.เนื้อดิน ๑๐ %
3.เนื้อโลหะ ๕%
สรุป เนื้อผง มีจำนวนมากกว่า และยังมีพิมพ์ต่าง ๆ อีกหลายพิมพ์ทำนอง พระฝากกรุ คือมีพิมพ์จากวัดวาอารามกรุต่าง ๆ ในนคร ทั้งกรุวัดเงิน คลองเตยที่อยู่ใต้ลำน้ำเจ้าพระยาลงไปก็มีพบในกรุวัดราชสิงขรนี้เช่นกัน
มากที่สุดของกรุวัดราชสิงขรคือ พิมพ์สมเด็จ
เท่าที่คุณอุดมพร คชหิรัญ (นาท ภูวนัย) พระเอกนักเล่นพระได้รวบรวมเอาไว้และเขียนลงในหนังสือ “เทศาภิบาล” ของกรมการปกครอง มีพิมพ์ต่าง ๆ ในกรุวัดราชสิงขรสรุปได้ดังนี้คือ
1.พิมพ์พระประธาน
2.พิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่
3.พิมพ์ใหญ่
4.พิมพ์ทรงเจดีย์ (แบบวัดระฆัง)
5.พิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก
6.พิมพ์เกศบัวตูม
7.พิมพ์ พระราชลัญจกร ร.๕
8.พิมพ์เส้นด้าย
9.พิมพ์ฐานคู่
10.พิมพ์พิเศษ
เมื่อทำการคัดพระแล้วพบว่าพิมพ์ พระราชลัญจกร มีน้อยมากประมาณ ๑๐ องค์เศษ
บางองค์ตื่นเต้นมาก เพราะมีส่วนคล้ายคลึงกับกรุวัดบางขุนพรหมอย่างยิ่งทั้งเนื้อหาสาระและมวลสารคลอดจนพิมพ์ทรง
ถ้าไม่บอกว่าเป็นกรุวัดราชสิงขร ผมว่า คงตื่นเต้นกันทีเดียวแหละ
ที่มาของพระกรุ
ท่านพระครู เจ้าอาวาสวัดได้กรุณาเปิดเผยถึงเรื่องราวความเป็นมาของท่านและของกรุวัดราชสิงขรพระนี้ให้ผมทราบอย่างสรุป ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนเพื่อวิเคราะห์หาที่มาอันแท้จริงของกรุนี้ต่อไป (ผู้ใดทราบจะแจ้งเป็นวิทยาทานส่งไปที่วัดราชสิงขร ก็ได้ครับ)
ท่านพระครูบวรพัฒนโกศล นามเดิม อุไร นามสกุล “แก้วประสิทธิ์” พื้นเพเดิม หมู่ที่ ๓ ต. เมืองเก่า อ. พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา หรือแปดริ้ว เกิด ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
หลังจากอุปสมบทได้ ๑ พรรษาก็มาอยู่วัดไตรมิตรวราราม แหลมฟ้าผ่า สมุทรปราการ ภายหลังสอบได้นักธรรมเอก เป็นพระใบฎีกาฐานาของ พระวิสุทธิธรรมาจารย์ วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กทม. และย้ายมาอยู่ที่วัดราชสิงขรแต่นั้นมาประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นพระครูธรรมธร ฐานาของพระธรรมรัตนากร วัดมหาธาตุฯ
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิงขร จนบัดนี้เป็นเวลา ๑๗ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูบวรพัฒนโกศล
พ.ศ. ๒๕๒๙ เลื่อนศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกราชทินนามเดิม
จากประวัติของท่านพระครูพอจะทราบได้ว่าท่านมาครองวัดนี้ได้เพียง ๑๗ ปี บวกกับอยู่มาแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ รวมแล้วอยู่วัดนี้ ๒๗ ปี ก็ยังหาคำตอบไม่ได้เรื่อง ความเป็นมาของกรุวัดราชสิงขรนี้แต่อย่างใด
เหตุที่พบพระในกรุวัดราชสิงขร
เล่าต่อมาท่ามกลาง พระ เณร ฆราวาส ที่ใกล้ชิดหลายคนเป็นสักขีพยานมีทั้งผู้อาวุโสกว่าและอ่อนกว่าเพื่อคอยเสริมบางตอนที่ขาดช่วงให้สมบูรณ์โดยเปิดเผย และให้ประโยชน์ในการแสวงหาข้อมูลในครั้งนี้อย่างมาก
ลุงเวียน หรือ คุณสุพัฒน์ ธงถาวรสุวรรณ หรือเฮียเซียะ ศิษย์เก่าวัดราชสิงขรมาแต่เด็ก
ประมาณเดือนมิถุนายน ปี ๒๕๒๖ (ก็หลายปีมาแล้ว) ท่านพระครูมีคำสั่งให้ พระ เณร ช่วยกันทำความสะอาดบริเวณองค์เจดีย์ข้างกุฏิของท่าน (หน้าวิหารเก่า) ตามรอบ ๆ ฐานพระเจดีย์มีช่อง ๆ สำหรับบรรจุอัฐิของผู้ล่วงลับจำนวนหลายช่องด้วยกันทั้งหมด ๑๕ ช่อง ระหว่างทำความสะอาดพบว่ามีอยู่ช่องหนึ่งปิดด้วยอิฐชำรุดทะลุเป็นโพรง ก็รายงานให้ท่านพระครูทราบต่อมาประกาศให้ญาติโยมทั้งหลายทราบผ่านทางสื่อมวลชนหลายแขนง เพื่อให้ญาติโยมทั้งหลายเจ้าของอัฐิมาพบเพื่อหารือในการที่จะทำการบูรณะช่องเก็บอัฐิต่อไป บางช่องก็ปรากฎชื่อนามสกุล อ่านได้บางช่องก็เลอะเลือนอ่านไม่ออก
มีช่องหนึ่งอ่านได้แต่คำหน้าว่า “พระยา...” ข้อความต่อไปเลอะเลือนอ่านไม่ออก บรรทัดต่อมาคือ พ.ศ. ๒๔๔๓
ทำการเปิดออกดูพบโกฎไม้ผุพังกลายเป็นผงปะปนกับกระดูกรวมกันอยู่จึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ในขวดโหลเขียนปะหน้าเท่าที่พออ่านได้แค่นั้น ทางวัดรักษาเอาไว้เพื่อรอญาติ
หลังจากนั้นก็ทำความสะอาดช่องดังกล่าวด้วยการงัดแผ่นอิฐที่ขวางอยู่เพื่อความสะดวกในการบูรณะใหม่ หยุดพักแล้วดำเนินต่อไปใหม่ทั้ง ๆ ที่เป็นเวลากลางคืนแต่คนแยะมาช่วยกันบูรณะทำความสะอาด พระเณรหลายรูปขยันขันแข็งกันดี
จากการขุดเจาะและกวาดในช่องดังกล่าวนี้ พระ เณร ก็ตกตะลึงแทนที่จะเป็นเศษกระดูกของผู้ล่วงลับติดออกมากลับกลายเป็นก้อนดินที่เกาะตัวแน่นเมื่อนำมาดูในแสงสว่างก็พบว่า
เป็นพระเครื่องที่เกาะติดเป็นก้อนกลมหนา
ให้จอบกวาดเข้าไปโกยออกมาอีก ก็มีพระพิมพ์ในกรุวัดราชสิงขรติดออกมาจำนวนมากจนกระทั่งเกือบรุ่งเช้า พระ เณรไม่ต้องจำวัดกันละ เมื่อรู้ว่าพบพระพิมพ์ชาวบ้านใกล้วัดเริ่มทยอยกันเข้ามาดูจากหนึ่งคนเป็นสิบ ๆ คน ล้วนแต่คนข้างวัดไม่มีคนอื่น ๆ
ช่วยกันบรรจุพระเครื่องที่พบใส่ลังกระดาษกล่องใหญ่บ้างเล็กบ้าง คุณลุงเวียน คุณเซียะ รวมอยู่ด้วยในจำนวนฆราวาสที่มาช่วยในครั้งนี้บรรจุได้ถึง ๑๔ กล่อง (ยังไม่หมด)
เมื่อทำการกวาดเก็บโดยการใช้จอบโกยออกมาเพราะช่องเล็กแคบเกินกว่าคนจะมุดเข้าไปได้ ถึงได้ก็ไม่มีใครกล้ามุดเข้าไปด้วยมืดและวังเวงพอสมควร
บรรดา พระ เณร และฆราวาส ใกล้วัด ญาติโยมที่คุ้นเคยกันดีก็มาช่วยกันคัดพระ ตรวจนับ จำนวนที่คงสภาพสมบูรณ์ ไม่แตกหักจนป่น แยกออกเป็น ๒ กอง คือกองสมบูรณ์ กับ แตกหัก เฉพาะที่สมบูรณ์มีจำนวนมากกว่า ๔๐,๐๐๐ องค์ รวมพระทุกชนิดยังไม่แยกประเภท
ทุกองค์มีคราบจับบางบ้าง หนาบ้าง
ต่อมาได้มอบหมายให้พระทวี วัดหนัง บางขุนเทียน นำไปล้างคราบ มีพระเหลือประมาณ ๒๐,๐๐๐ องค์เศษ ๆ ต่อมาพระทวีได้ขอพระพิมพ์เหล่านี้นำเอาไปให้เช่าบูชาจัดหาทุนสร้างเขื่อนให้วัดนางนอง ตามที่พระรัตนกวี เจ้าอาวาสวัดนางนองเป็นผู้แนะนำมาพบ พระพิมพ์นี้เอาไปให้พระทวี ล้างคราบ
ก่อนจะนำออกเช่าบูชา พระพิมพ์ที่พบทั้งหมดถูกนำเข้าพิธีพุทธาภิเศกอีกครั้ง และนำไปฝากพิธีหลายแห่งด้วยกันด้วยไม่ทราบว่ามีผู้ใดสร้างไว้แต่เมื่อใด
จะเป็นของจริงของปลอมไม่แน่ใจ เข้าพิธีเอาไว้ก่อนเพื่อความเป็นมงคล และถูกต้องตามพิธีกรรมสร้างพระ
วัดนางนองได้รับพระไปประมาณ ๑๐,๐๐๐ องค์ ออกให้เช่าบูชาหรือมอบให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างเขื่อนกั้นน้ำหน้าวัดองค์ละ ๑๐๐ บาท ได้พระพิมพ์ สมเด็จไป ๑ องค์ ปรากฏว่าชั่วระยะเวลาไม่ถึง ๒ เดือน พระหมดเกลี้ยงเพราะบางคนทำบุญจำนวนมากเอาพระไปจำนวนมาก
ฝ่ายท่านพระครูวัดราชสิงขรเห็นว่าวัดนางนองทำประโยชน์สร้างเขื่อนอยู่ ก็อนุโมทนาบริจาคให้อีกกว่า ๑๐,๐๐๐ องค์รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐,๐๐๐ องค์ มีเหลืออยู่ที่วัดราชสิงขรจริง ๆ ตอนนั้นไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ องค์ แต่ก็แจกกันเกรียวกราว ตอนใครทำบุญที่วัดเป็นต้องได้กันทุกคน
ต่อมาพระเหล่านี้ชักเหลือน้อยเข้า บรรดาพระ เณร ฆราวาส ผู้รับใช้ในวัดในฐานะศิษย์เก่าต้องแยกพระออกมาไว้ต่างหากจากพระครูเพราะท่านเอาแต่แจกอย่างเดียว
มีการกำหนดอัตราเช่าบูชาขึ้นเพื่อสมทบทุนสำหรับบูรณะวัดต่อไป พิมพ์ที่มีน้อยก็แพงหน่อยและต่ำลงมาตามจำนวนมากน้อยของพระพิมพ์ที่มีอยู่แต่กระนั้นก็มีผู้เข้าวัดกันทุกวัน
บางองค์นำไปใส่ตลับทองกลายเป็น กรุบางขุนพรหม ไป ก็ไม่ใช่น้อย ภายหลังได้สร้างพระขึ้นมาใหม่นำเศษหัก ๆ ชำรุดสร้างเป็นพระเครื่องขึ้นใหม่ “หลวงพ่อแดง” มาถึงวันนี้ ชักหายากเข้าทุกที ไหนจะหมดไปเพราะแจก และยังนำมาสร้าง “หลวงพ่อแดง” พระพุทธรูป พระประธานในพระวิหารที่ศักดิ์สิทธิ์อีก
ผมไปที่วัดนี้ปลายแถวเสียแล้ว ได้มากคือ รูปที่คุณเซียะกรุณาถ่ายมอบให้เพื่อเป็นวิทยาทานนำมาเผยแพร่แค่นี้แหละที่เรียกว่าสมบูรณ์กับพระแตก ๆ หัก ชำรุด ดินเกาะหนาอีก ๔ – ๕ องค์ก็มาศึกษากับสมบูรณ์มนตลับ “แป๊ะตั๊ง” อีก ๑ องค์จากความกรุณาของท่านพระครู
ท่านพระครูเองก็หมดนอกจากแตก ๆ หัก ๆ ที่ท่านเก็บเอาไว้ศึกษาของท่าน
สรุปแล้วจนบัดนี้ก็ยังไม่ทราบว่า พระพิมพ์เหล่านี้นับหมื่น ๆ องค์ ใครนำมาบรรจุไว้ในกรุวัดราชสิงขรจะเป็นของแท้หรือของปลอมก็ไม่ทราบได้ไม่มีใครให้คำตอบที่สมบูรณ์ได้
ผมเอาไปให้เพื่อพ้องสันทัดของวงการแยกแยะวิเคราะห์กันว่า
บางพิมพ์เข้า บางขุนพรหม บางพิมพ์เตลิดออกออกไปเป็นพิมพ์ใหม่ เนื้อหา สาระ มวลสาร คราบกรุแจ๋ว ชนิดเล่นได้ อายุการบรรจุต้องหลายปีไม่อย่างนั้นคงไม่มีดินจับเกาะคราบผิวหนา และ แข็งอย่างนี้
ที่แน่นอนคือ การทำพระปลอมยัดกรุ เพื่อหวังผลประโยชน์นั้นดูแล้วยาก เพราะพระที่ขึ้นมามีจำนวนมอย่างน้อย ๔๐,๐๐๐ องค์ ต้นทุนการผลิตอย่างน้อยองค์ละบาทก็ ๔๐,๐๐๐ กว่าบาท คงไม่มีใครใจถึงลงทุนมากขนาดนี้ และที่สำคัญคือ ไม่พระกรุวัดราชสิงขรออกมาสวนในสนามแต่อย่างใด
ตามหลักการทำปลอม เมื่อกรุแตกเปิดขึ้น จะมีของสวนกระจายตามสนาม แผงพระ และศูนย์พระแต่นี่เงียบแทบไม่มีใครรู้ทั้ง ๆ ที่กรุแตกมาแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึงวันนี้ได้ ๖ ปีแล้ว
ลองพิจารณากันดู ในยุคที่การสร้างพระเนื้อผงเริ่มปรากฏนิยมขึ้นคือในช่วงสมัย ร.๕ ตอนกลาง วัดวาอารามในกรุงหลายวัดเริ่มสร้างพระเนื้อผง เช่น วัดเงิน คลองเตย บางขุนพรหม ฯลฯ คงจะมีพระคณาจารย์ร่วมกับผู้แสวงบุญจัดสร้างขึ้นโดยนำพระพิมพ์ของวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) วัดพลับ (พบพิมพ์วัดพลับด้วย) โดยการสร้างร่วมสมัยในยุคนั้นทั้งเนื้อมวลสารและพิมพ์ทรงคล้ายกันมากก็ได้
จึงยังไม่มีคำตอบที่จะแจ้งว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างเมื่อไหร่ คำตอบชัด ๆ คือ ความเก่า และคราบผิวที่แห้งสนิทดี ลองแวะไปขอชมที่วัดราชสิงขรดูซิครับ (มีแตก ๆ หัก ๆ ให้ชม)” พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร ตอนที่ ๒
กล่าวนำ
ผู้สนใจที่จะศึกษาและสะสมพระเนื้อผงสกุลพระสมเด็จ ควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม เพิ่อท่านจะได้มาถูกทาง และไม่ต้องเสียเวลาในการศึกษาและสะสมแบบ “หลงทาง” หรือ “เข้าทาง”
ประการแรก ตัดความเป็นพุทธพาณิชย์ออกจากจิตใจตั้งแต่เริ่ม สมเด็จโตท่านไม่ต้องการให้พระของท่านผ่านมือด้วยราคาแพงลิบลิ่วจนคนรวยกระเป๋าหนักเท่านั้นที่จะเป็นเจ้าของได้ ท่านทำพระสำหรับทุกคน เริ่มต้นด้วยการ “แจก” และเก็บลงกรุเพื่อให้เป็นสมบัติถึงรุ่นหลัง และเจตนารมย์ได้ถูกสืบต่อกันมาในสายวัดทั้งสามของท่าน โดยศิษย์และเกจิอาจารย์รุ่นหลังที่ทำพระพิมพ์สมเด็จอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย ดังนั้นท่านควรเริ่มสะสมด้วยความรู้สึกเดียวกัน คือให้ความสำคัญด้าน “คุณค่า” มากกว่า “เงินตรา” ไม่ว่าจะเช่าซื้อเข้ามาหรือเปลี่ยนมือออกไป
ประการที่สอง เข้าใจปิระมิดแห่งพระสมเด็จว่าพระของท่านหรือพระของลูกศิษย์ที่สร้างตามท่าน จนกลายเป็นพระยอดนิยมที่สร้างกันทั่วไปในปัจจุบัน มีหลากหลายทั้งเนื้อหา พิมพ์ทรง และความนิยม ผู้ทำได้แบ่งให้ท่านทราบคร่าว ๆ แล้วถึง
ยอดปิระมิด ยกให้เซียนใหญ่กับผู้สนใจจะเช่าบูชาพระราคาแพงหลักล้านขึ้นไป
ชั้นบน สำหรับพระสมเด็จโตที่ไม่ใช่พระพิมพ์นิยม พระเนื้อผงร่วมสมัย และพระลูกศิษย์ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๕
ชั้นกลาง คือพระเนื้อผงที่สร้างจากนั้นจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งครบ ๑๕๐ ปี ที่ท่านมรณภาพ
ชั้นล่าง คือพระเนื้อผงยุคใหม่หลัง พ.ศ. ๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน
ประการที่สาม เข้าใจสูตรในการสร้างพระเนื้อผงตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน วิธีนี้จะช่วยท่านแยกแยะถึงเนื้อและที่มาของเนื้อพระสมเด็จและพระเนื้อผงอื่น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
สูตร ๑ สูตรสมเด็จโต เป็นสูตรที่มีผงวิเศษของท่านเป็นมวลสารรอง
สูตร ๒ สูตรโบราณ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อผงยุคก่อนสมเด็จโต เช่นพระวัดเงิน คลองเตย
สูตร ๓ สูตรมวลสารน้อย เช่นพระหลวงปู่นาค หลวงปู่หิน ยุคหลัง
สูตร ๔ พระผสมผงเก่า เช่นพระหลวงตาพัน หลวงปู่ลำภู บางขุนพรหม ๐๙
สูตร ๕ พระผสมกาววิทยาศาสตร์ เช่นพระเจ้าคุณนรฯ สร้างโดยเจ้าคุณอุดม วัดเทพศิรินทร์
สูตร ๖ พระผงสูตรจตุคาม ส่วนผสมหลากหลายที่สุด
ประการที่สี่ เข้าใจโครงสร้างพระร่วมสมัยและพระลูกศิษย์ ว่าความนิยมของพระเนื้อผงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักไม่ต่างอะไรกับกระแสจตุคามรามเทพที่ซาไป สมัยนั้นสมเด็จโตคิดค้นทั้งรูปแบบพระสมเด็จที่ท่านได้เค้าพระพุทธเจ้ามาจาก พระสัมพุทธพรรณี จนเกิดพิมพ์ทรงพระสมเด็จที่หลากหลายและสวยงาม ภายในรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักที่ไม่เหมือนใคร รวมทั้งการใช้ปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลักแทรกด้วยผงวิเศษและมวลสารมงคล เช่น เกสรดอกไม้แห้ง สมเด็จโตท่านสร้างพระสมเด็จจนเป็นที่นิยมชมชอบของคนทั้งปวง จึงเกิดกระแสการสร้างพระเนื้อผงพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักตามวัดต่าง ๆ และนิยมบรรจุกรุเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาตามแบบท่าน
ดังนั้นในปิระมิดชั้นบน จึงมีพระสมเด็จมากมายที่ไม่ได้สร้างที่วัดระฆังและไม่ได้สร้างโดยสมเด็จโต เริ่มจากวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้วัดระฆังเริ่มสร้างพระสมเด็จขึ้นมาบ้าง เช่นวัดอมรินทราวาส (วัดบางหว้าน้อย) วัดละครทำ วัดเจ้าอาม วัดอัมพวา วัดราชสิทธาหรือวัดพลับ (โดยสมภารกุ่ยไม่ใช่สังฆราชสุก ไก่เถื่อน) ต่อมาวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลก็เริ่มสร้างบ้าง ส่วนใหญ่จะบรรจุไว้ตามแบบอย่างสมเด็จโตที่สร้างพระสมเด็จฝากกรุไว้ที่เจดีย์วัดใหม่อมตรส เช่น วัดสร้อยทอง และวัดราชสิงขร
ยังไม่นับในสายวัดระฆังเองที่มีการสร้างพระเนื้อผงสกุลสมเด็จหลังสมเด็จโตและก่อนยุคหลวงปู่นาค หลวงปู่หิน
พระร่วมสมัยและพระลูกศิษย์เหล่านี้เป็นปริศนาใหญ่ของวงการพระเครื่องที่ไม่มีคนค้นคว้าและหาข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่ไปคิดภาพลักษณ์พระสมเด็จยอดปิระมิดซึ่งอ้างว่าเป็นพิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย โดยไม่ค้นคว้าให้ลึกซึ้งว่าเป็นท่านคนเดียวหรือที่แกะพิมพ์สวยงามแบบนี้ ช่างอื่นที่เลียนพิมพ์ท่านไม่มีหรือ
รวมทั้งคำถามที่ว่าเป็นไปได้ไหมที่จะเอาแม่พิมพ์ของท่านมาสร้างพระหลังจากสมเด็จโตมรณภาพโดยพระอาจารย์ท่านอื่น ๆ ของวัดระฆัง หรือมีการแกะพิมพ์ใหม่ภายหลังสมเด็จโตโดยช่างที่เลียนพิมพ์กรอบกระจกของท่าน
เราจึงได้เห็นพระเหล่านี้ออกสู่ตลาดมากมาย โดยไม่มีใครค้นคว้าหรือศึกษาให้รู้ชัดว่าเป็นพระยุคไหนและแกะพิมพ์โดยช่างชุดใด เป็นเพียงนิยมกันในบางกลุ่ม ซึ่งสับสนและปนเปกับพระ “ลอกพิมพ์” ที่มีคนหัวใสใจคดสร้างขึ้นเพื่อหลอกล่อนักสะสมรุ่นใหม่ทีไม่ทันเกม
วงการพระเครื่องไม่สนใจพระในโครงสร้างนี้ ส่วนใหญ่จะถูกตีเหมาเป็น “พระไม่แท้” ถ้าเนื้อหาและพิมพ์ทรงไม่ได้เป็นไปตามพระสมเด็จยอดปิระมิด ส่วนองค์ที่เนื้อหาใช้ได้ พิมพ์ทรงใกล้เคียง ก็จะถูกสร้างมาตรฐานยกระดับขึ้นเป็นพระสมเด็จโต และซื้อขายเปลี่ยนมือในราคาแพงลิบลิ่ว
ยกตัวอย่างให้เห็น เช่น พระสมเด็จองค์สวยของนักการเมือง นามสกุลตรงกับชื่อจังหวัดที่มีความหมายว่า “ดอกบัว”ลงปกนิตยสารเจ้าเก่าที่ลอกแบบพรีเชียสแมกกาซีนของอาจารย์รังสรรค์ และพระสมเด็จองค์ลงปกเล่มล่าสุดของนิตยสารชื่อฝรั่งแปลเป็นไทยว่า “ศิลป์สยาม”ซึ่งเป็นหนังสือระดับแพงเหมือนกัน ในชื่อพระ “องค์อธิบดี” ในความเห็นของผู้ทำ ทั้งสององค์นี้ไม่ใช่พระสมเด็จโต เป็นพระยุคหลังที่อยู่ในโครงสร้างพระร่วมสมัยและพระลูกศิษย์
เช่นเดียวกับพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร ที่ถูกเข้าใจเป็น “พระไม่แท้” ถ้าเนื้อและพิมพ์ทรงแปลกออกไป และตีราคาเป็น “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ในองค์ที่ดูดี คนขายพระที่เป็นคนรุ่นเก่าและรู้จริงจะไม่บอกท่านหรอกว่าเป็นพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร เพราะเขาอยากทำกำไรมาก ๆ จากพระแท้ที่เขาย้ายกรุย้ายวัด แต่ก็ยังมีคนขายพระอีกมากที่ไม่รู้จักและเข้าใจผิดจริง ๆ
ทั้งสองกรณีมีผลลัพธ์แบบเดียวกัน คนซื้อได้พระแท้แต่ผิดวัดผิดราคา
บทความในหนังสือพระยุคเก่า
หากจะค้นหาบทความเก่า ๆ เกี่ยวกับพระเครื่องหลายกรุที่ถูกลืมในปัจจุบันต้องถอยเวลาไปอย่างน้อยยี่สิบปี ในยุคที่นักเขียน นักค้นคว้าและนักขายพระแยกจากกัน นักเขียนมีหน้าที่เขียน นักค้นคว้ามีหน้าที่ค้นคว้า ไม่มีหน้าที่ขายพระ ส่วนนักขายพระก็ขายพระไปอย่างเดียว ไม่ต้องเขียน ไม่ต้องค้น
ผิดกับสมัยนี้ที่นักเขียน นักค้นคว้าหายไปหมดแล้ว ขาดตอนตั้งแต่สมัยลดค่าเงินบาทเมื่อสิบกว่าปีก่อน นิตยสารพระที่ลงเรื่องราวอันเป็นสาระน่ารู้หายตายจากไปจากตลาด เพราะตอนนั้นคนอ่านไม่มีอารมณ์อยากรู้ อยากซื้อขายพระอย่างเดียว เพื่อหาปัจจัยมาดำรงชีพในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ นั่นเป็นที่มาของนิตยสารขายพระอย่างเดียวที่โหนกระแสมาจนถึงทุกวันนี้
พระกรุวัดราชสิงขรก็ต้องถอยไปหลังจากนั้นอีก จึงมีคนกล่าวถึง เพราะในยุค พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา วงการพระเครื่องบูมมาก คนจำนวนมากรวมทั้งผู้ทำเว็บถูกดูดเข้ามาในกระแสความนิยมสะสมพระเครื่อง เพราะเงินทองมีคล่องไหลมาเทมา เช่าพระแพง ๆ เท่าไหร่ก็ได้
จึงไม่จำเป็นต้องบอกให้มือใหม่หัดสะสมพระรู้ละเอียดนักถึงคุณสมบัติของพระกรุนี้ เพราะย้ายวัดขายเป็นพระสมเด็จโตได้ง่าย ๆ
ผู้ปลุกกระแสความนิยมพระกรุวัดราชสิงขร ได้แก่ พระเอกหนังรุ่นเก่าในนาม “นาท ภูวนัย” อาชีพหลักก็คือ ข้าราชการ กรมการปกครองที่ไต่เต้ามาตั้งแต่ปลัดอำเภอ จนเกษียณในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อไม่นานมานี้
ท่านเขียนเรื่องพระกรุวัดราชสิงขรไว้ในหนังสือ ของกรมการปกครองชื่อ “เทศาภิบาล” ฉบับที่ ๒ ปีที่ ๘๓ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑ หรือเมื่อ ๒๑ ปีที่ผ่านมาแล้ว จากนั้นจึงมีนักเขียนหลายสำนักเขียนถึงพระกรุนี้บ้าง ดังจะขอเอ่ยนามไว้ดังนี้
1. นาท ภูวนัย หรือคุณ “อุดมพร คชหิรัญ” เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ในหนังสือ “เทศาภิบาล” ดังได้เอ่ยมาแล้ว
2. พุทธสัญจร เขียนเรื่อง “แวะมนัสการหลวงพ่อแดง พุทธรูปสำคัญ วัดราชสิงขร” ลงในหนังสือ “ศูนย์พระเครื่อง” ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๓ ปักษ์หลัง มิถุนายน ๒๕๓๒ และฉับที่ ๑๔ ปักษ์แรก กรกฎาคม ๒๕๓๒
3. หนาน คำฟู เขียนบทความชื่อ “กรุวัดราชสิงขร” ลงในหนังสือ “พระเครื่องประยุกต์” ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๓๒๙ ประจำวันที่ ๑๐-๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นบทความประเดิมเว็บบอร์ด “เรื่องเก่าเล่าใหม่” ในวันนี้
4. มงคล นพคุณ เขียนเรื่อง “พระพิมพ์ตระกูลสมเด็จ และพระผงหลวงพ่อแดงเนื้อกรุ วัดราชสิงขร บางคอแหลม กทม.” ลงในหนังสือ “เซียนพระ” เล่มที่ ๗๕ ๗๖ ๗๗ ไม่ระบุวันเดือนปี ที่ออกจำหน่าย ดูจากโฆษณาให้เช่าบูชาวัตถุมงคลในเล่มระบุเวลาประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๔
หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฎบทความเกี่ยวกับพระกรุนี้ นอกจากจะพบบ้างในการโฆษณาขายพระกรุนี้ตามหน้าหนังสือพระ แต่ไม่มีการพูดถึงแป็นเรื่องเป็นราว หรือแนะนำนักสะสมรุ่นใหม่ให้รู้จัก
ดังนั้นพระกรุนี้จึงถูกจำแนกโดยเซียนพระผู้กำหนดกลไกตลาดของราคาพระเครื่องเป็น ๒ ลักษณะ
1.ถูกตัดสินให้เป็นพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าดังที่มีคนให้ราคาพระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายที่เล่าให้ฟังในตอนที่แล้ว แบบ “ไม่ต้องประกัน” ในราคาครึ่งแสน
2.พระองค์ที่ดูไม่เข้าเค้า แบบมีขี้กรุไม่มาก หรือพิมพ์ทรงไม่เข้ามาตรฐานพระสมเด็จบางขุนพรหม ก็ถูกตีความเป็น “พระไม่แท้” ได้ว่าจะเป็นคำตัดสินแบบ “ผิดพิมพ์” บ้าง หรือ “เนื้อไม่ใช่” บ้าง
สรุปข้อมูลของพระกรุวัดราชสิงขร
1.ทางวัดราชสิงขรต้องการบูรณะช่องสำหรับบรรจุอัฐิรอบพระเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จึงได้พบพระกรุนี้ในช่องบรรจุอัฐิช่องหนึ่งซึ่งเป็นของพระยาท่านหนึ่งบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ และได้พบพระจำนวนมากในช่องนั้น
2.พระที่พบมีจำนวนมากประมาณ ๕๐,๐๐๐ องค์ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จ ส่วนพระเนื้อผงวัดพลับ วัดเงินมีไม่มาก พระเนื้อดินมีหลายพิมพ์ เป็นพระพิมพ์ลำพูน พิษณุโลก และกำแพงเพชร
3.พระพิมพ์สมเด็จส่วนใหญ่เป็นพิมพ์บางขุนพรหมและพิมพ์อื่น ๆ มีจำนวนมากที่สุดประมาณ ๔๐,๐๐๐ องค์ เสียดายที่มีขี้กรุจับและแตกหักเสียหาย แต่ก็ยังเหลือพระที่สมบูรณ์จำนวนหลายหมื่นองค์
4.พระที่แตกหักได้นำมาบดและสร้างเป็นพระเครื่อง “หลวงพ่อแดง” และแจกจ่ายไปจนหมดเช่นกัน
5.พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขรเริ่มได้รับความนิยม เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ดังที่คุณนาท ภูวนัย กล่าวไว้ว่า
“คือช่วงนั้นตอนปลายปี ๒๕๒๙ สนามพระไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ๆ ต่างก็ฮือฮากับข่าวว่า พระสมเด็จวัดระฆังบ้าง บางขุนพรหมบ้าง ไหลเข้าสนามพระกันเป็นว่าเล่น แถมยังปล่อยกันเป็นแสน แต่พิมพ์จะเพี้ยนไปบ้าง ส่วนเนื้อมวลสารนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ใช่ของแท้ แล้วก็ไม่มีใครเฉลียวใจว่าเป็นกรุวัดราชสิงขร”
6.แสดงว่าตั้งแต่ยี่สิบกว่าปีก่อนมาจนถึงทุกวันนี้ พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร องค์นี้พิมพ์ถูกต้องและมีคราบกรุ ถูกเล่นหาเป็นพระสมเด็จโต และเช่าบูชากันด้วยราคาแพง
สำหรับพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร พิมพ์ต่าง ๆ ผู้ทำต้องขอท่านผู้อ่านอดใจคอยตอนที่ ๓ ที่จะแสดงพระสมเด็จกรุนี้ให้ชมในหลากพิมพ์ทรงว่าใกล้เคียงกับพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมหรือไม่
พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร ตอนที่ ๓
พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร พิมพ์ทรงต่าง ๆ
บทสรุป
1.พระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จกรุนี้มีที่มาที่ไปชัดเจน ทั้งตัวบุคคล และบทความที่เกี่ยวข้องย้อนหลังไปกว่ายี่สิบปี
2.ทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อหาใกล้เคียงกับพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมของวัดใหม่อมตรส บางองค์ที่พิมพ์และคราบกรุดูดีมาก ๆ ถูกย้ายวัดเป็นกรุบางขุนพรหมและขายในราคาแพง
3.จำนวนพระสภาพสมบูรณ์ที่ออกจากกรุมีเป็นหมื่นองค์ มากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมที่คาดว่าทั้งกรุเก่า กรุใหม่ มีรวมกันไม่เกิน ๗,๐๐๐ องค์ ดังนั้นโอกาสที่ผู้อ่านอาจพบพระพิมพ์นี้ในตลาดพระมีมากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายเท่า เพียงแต่ท่านไม่รู้จัก และองค์ที่พิมพ์กับสภาพไม่ใกล้เคียงกับพระสมเด็จบางขุนพรหมก็ถูกตีเหมาเป็น “พระไม่แท้” เพราะเขาไม่รู้จริง
4.ตามประวัติของวัดราชสิงขร พระชุดนี้ไม่ได้สร้างโดยสมเด็จโต น่าจะเป็นสร้างในยุคกลางของรัชกาลที่ ๕ แต่อาจนำพิมพ์เก่าหรือเลียนพิมพ์ของสมเด็จบางขุนพรหมมาสร้างพระขึ้นใหม่ก็เป็นได้
5.การที่กรุวัดราชสิงขรมีพระเนื้อดิน และพระเนื้อผงกรุอื่น เช่น พระวัดพลับ ปนอยู่ด้วย นำไปสู่ข้อสังเกตว่าพระชุดเหล่านั้นทั้งพระพิมพ์บางขุนพรหมและพระพิมพ์วัดพลับน่าจะถูกสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน คือราว พ.ศ. ๒๔๔๐ ในส่วนพระวัดพลับเป็นการยืนยันข้อสันนิษฐานของผู้ทำว่าสร้างในสมัยหลังสมเด็จโตและไม่ได้สร้างโดยสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เพราะท่านมรณภาพไปก่อนหน้าสมเด็จโต
6.พระที่มีคราบกรุหรือมีผลึกแคลเซียมชัดเจน อีกพิมพ์ก็ถูกตามตำราดูพระสมเด็จ ไม่จำเป็นต้องสร้างและปลุกเสกโดยสมเด็จโตเสมอไป พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขรที่นำให้ท่านชมวันนี้ไม่ใช่พระสมเด็จโต แต่อาจสร้างโดยเกจิอาจารย์รุ่นหลังและอาจใช้แม่พิมพ์บางขุนพรหม หรืออาจเลียนพิมพ์สร้างแม่พิมพ์ใหม่ก็เป็นได้ ดังนั้นหากท่านผู้อ่านพบพระสมเด็จแบบนี้ก็อย่าเพิ่งดีใจว่าเป็นพระสมเด็จโต หรือถ้าโดนใคร “สวด” ว่าไม่ใช่ “พระแท้” ก็อย่าเพิ่งเชื่อเขา
ก็ขอให้นึกถึงพระกรุวัดราชสิงขรนี้ก็แล้วกัน
รูปภาพพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขรพิมพ์สังฆาฎิทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง
หนาน คำฟู
นิตยสาร “พระเครื่องประยุกต์” ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๓๒๗
ประจำวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒
ยังเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบว่าใครเป็นผู้สร้างและนำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ใหญ่ตั้งแต่เมื่อไหร่ ท่านพระครูบวรพัฒนโกศล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันก็ไม่ทราบ
สอบถามคนเก่าแก่อย่างคุณลุงเวียนที่ยังวนเวียนเข้าออกในวัดก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร จากการเปิดเผยของท่านพระครูร่วมกับพระในวัดและฆราวาสอีกหลายท่านพอจะได้ความว่าพระพิมพ์ต่าง ๆกรุวัดราชสิงขร ส่วนมากเป็น เนื้อผง พอแยกเนื้อได้ดังนี้
1.เนื้อผง ๙๕%
2.เนื้อดิน ๑๐ %
3.เนื้อโลหะ ๕%
สรุป เนื้อผง มีจำนวนมากกว่า และยังมีพิมพ์ต่าง ๆ อีกหลายพิมพ์ทำนอง พระฝากกรุ คือมีพิมพ์จากวัดวาอารามกรุต่าง ๆ ในนคร ทั้งกรุวัดเงิน คลองเตยที่อยู่ใต้ลำน้ำเจ้าพระยาลงไปก็มีพบในกรุวัดราชสิงขรนี้เช่นกัน
มากที่สุดของกรุวัดราชสิงขรคือ พิมพ์สมเด็จ
เท่าที่คุณอุดมพร คชหิรัญ (นาท ภูวนัย) พระเอกนักเล่นพระได้รวบรวมเอาไว้และเขียนลงในหนังสือ “เทศาภิบาล” ของกรมการปกครอง มีพิมพ์ต่าง ๆ ในกรุวัดราชสิงขรสรุปได้ดังนี้คือ
1.พิมพ์พระประธาน
2.พิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่
3.พิมพ์ใหญ่
4.พิมพ์ทรงเจดีย์ (แบบวัดระฆัง)
5.พิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก
6.พิมพ์เกศบัวตูม
7.พิมพ์ พระราชลัญจกร ร.๕
8.พิมพ์เส้นด้าย
9.พิมพ์ฐานคู่
10.พิมพ์พิเศษ
เมื่อทำการคัดพระแล้วพบว่าพิมพ์ พระราชลัญจกร มีน้อยมากประมาณ ๑๐ องค์เศษ
บางองค์ตื่นเต้นมาก เพราะมีส่วนคล้ายคลึงกับกรุวัดบางขุนพรหมอย่างยิ่งทั้งเนื้อหาสาระและมวลสารคลอดจนพิมพ์ทรง
ถ้าไม่บอกว่าเป็นกรุวัดราชสิงขร ผมว่า คงตื่นเต้นกันทีเดียวแหละ
ที่มาของพระกรุ
ท่านพระครู เจ้าอาวาสวัดได้กรุณาเปิดเผยถึงเรื่องราวความเป็นมาของท่านและของกรุวัดราชสิงขรพระนี้ให้ผมทราบอย่างสรุป ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนเพื่อวิเคราะห์หาที่มาอันแท้จริงของกรุนี้ต่อไป (ผู้ใดทราบจะแจ้งเป็นวิทยาทานส่งไปที่วัดราชสิงขร ก็ได้ครับ)
ท่านพระครูบวรพัฒนโกศล นามเดิม อุไร นามสกุล “แก้วประสิทธิ์” พื้นเพเดิม หมู่ที่ ๓ ต. เมืองเก่า อ. พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา หรือแปดริ้ว เกิด ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
หลังจากอุปสมบทได้ ๑ พรรษาก็มาอยู่วัดไตรมิตรวราราม แหลมฟ้าผ่า สมุทรปราการ ภายหลังสอบได้นักธรรมเอก เป็นพระใบฎีกาฐานาของ พระวิสุทธิธรรมาจารย์ วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กทม. และย้ายมาอยู่ที่วัดราชสิงขรแต่นั้นมาประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นพระครูธรรมธร ฐานาของพระธรรมรัตนากร วัดมหาธาตุฯ
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิงขร จนบัดนี้เป็นเวลา ๑๗ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูบวรพัฒนโกศล
พ.ศ. ๒๕๒๙ เลื่อนศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกราชทินนามเดิม
จากประวัติของท่านพระครูพอจะทราบได้ว่าท่านมาครองวัดนี้ได้เพียง ๑๗ ปี บวกกับอยู่มาแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ รวมแล้วอยู่วัดนี้ ๒๗ ปี ก็ยังหาคำตอบไม่ได้เรื่อง ความเป็นมาของกรุวัดราชสิงขรนี้แต่อย่างใด
เหตุที่พบพระในกรุวัดราชสิงขร
เล่าต่อมาท่ามกลาง พระ เณร ฆราวาส ที่ใกล้ชิดหลายคนเป็นสักขีพยานมีทั้งผู้อาวุโสกว่าและอ่อนกว่าเพื่อคอยเสริมบางตอนที่ขาดช่วงให้สมบูรณ์โดยเปิดเผย และให้ประโยชน์ในการแสวงหาข้อมูลในครั้งนี้อย่างมาก
ลุงเวียน หรือ คุณสุพัฒน์ ธงถาวรสุวรรณ หรือเฮียเซียะ ศิษย์เก่าวัดราชสิงขรมาแต่เด็ก
ประมาณเดือนมิถุนายน ปี ๒๕๒๖ (ก็หลายปีมาแล้ว) ท่านพระครูมีคำสั่งให้ พระ เณร ช่วยกันทำความสะอาดบริเวณองค์เจดีย์ข้างกุฏิของท่าน (หน้าวิหารเก่า) ตามรอบ ๆ ฐานพระเจดีย์มีช่อง ๆ สำหรับบรรจุอัฐิของผู้ล่วงลับจำนวนหลายช่องด้วยกันทั้งหมด ๑๕ ช่อง ระหว่างทำความสะอาดพบว่ามีอยู่ช่องหนึ่งปิดด้วยอิฐชำรุดทะลุเป็นโพรง ก็รายงานให้ท่านพระครูทราบต่อมาประกาศให้ญาติโยมทั้งหลายทราบผ่านทางสื่อมวลชนหลายแขนง เพื่อให้ญาติโยมทั้งหลายเจ้าของอัฐิมาพบเพื่อหารือในการที่จะทำการบูรณะช่องเก็บอัฐิต่อไป บางช่องก็ปรากฎชื่อนามสกุล อ่านได้บางช่องก็เลอะเลือนอ่านไม่ออก
มีช่องหนึ่งอ่านได้แต่คำหน้าว่า “พระยา...” ข้อความต่อไปเลอะเลือนอ่านไม่ออก บรรทัดต่อมาคือ พ.ศ. ๒๔๔๓
ทำการเปิดออกดูพบโกฎไม้ผุพังกลายเป็นผงปะปนกับกระดูกรวมกันอยู่จึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ในขวดโหลเขียนปะหน้าเท่าที่พออ่านได้แค่นั้น ทางวัดรักษาเอาไว้เพื่อรอญาติ
หลังจากนั้นก็ทำความสะอาดช่องดังกล่าวด้วยการงัดแผ่นอิฐที่ขวางอยู่เพื่อความสะดวกในการบูรณะใหม่ หยุดพักแล้วดำเนินต่อไปใหม่ทั้ง ๆ ที่เป็นเวลากลางคืนแต่คนแยะมาช่วยกันบูรณะทำความสะอาด พระเณรหลายรูปขยันขันแข็งกันดี
จากการขุดเจาะและกวาดในช่องดังกล่าวนี้ พระ เณร ก็ตกตะลึงแทนที่จะเป็นเศษกระดูกของผู้ล่วงลับติดออกมากลับกลายเป็นก้อนดินที่เกาะตัวแน่นเมื่อนำมาดูในแสงสว่างก็พบว่า
เป็นพระเครื่องที่เกาะติดเป็นก้อนกลมหนา
ให้จอบกวาดเข้าไปโกยออกมาอีก ก็มีพระพิมพ์ในกรุวัดราชสิงขรติดออกมาจำนวนมากจนกระทั่งเกือบรุ่งเช้า พระ เณรไม่ต้องจำวัดกันละ เมื่อรู้ว่าพบพระพิมพ์ชาวบ้านใกล้วัดเริ่มทยอยกันเข้ามาดูจากหนึ่งคนเป็นสิบ ๆ คน ล้วนแต่คนข้างวัดไม่มีคนอื่น ๆ
ช่วยกันบรรจุพระเครื่องที่พบใส่ลังกระดาษกล่องใหญ่บ้างเล็กบ้าง คุณลุงเวียน คุณเซียะ รวมอยู่ด้วยในจำนวนฆราวาสที่มาช่วยในครั้งนี้บรรจุได้ถึง ๑๔ กล่อง (ยังไม่หมด)
เมื่อทำการกวาดเก็บโดยการใช้จอบโกยออกมาเพราะช่องเล็กแคบเกินกว่าคนจะมุดเข้าไปได้ ถึงได้ก็ไม่มีใครกล้ามุดเข้าไปด้วยมืดและวังเวงพอสมควร
บรรดา พระ เณร และฆราวาส ใกล้วัด ญาติโยมที่คุ้นเคยกันดีก็มาช่วยกันคัดพระ ตรวจนับ จำนวนที่คงสภาพสมบูรณ์ ไม่แตกหักจนป่น แยกออกเป็น ๒ กอง คือกองสมบูรณ์ กับ แตกหัก เฉพาะที่สมบูรณ์มีจำนวนมากกว่า ๔๐,๐๐๐ องค์ รวมพระทุกชนิดยังไม่แยกประเภท
ทุกองค์มีคราบจับบางบ้าง หนาบ้าง
ต่อมาได้มอบหมายให้พระทวี วัดหนัง บางขุนเทียน นำไปล้างคราบ มีพระเหลือประมาณ ๒๐,๐๐๐ องค์เศษ ๆ ต่อมาพระทวีได้ขอพระพิมพ์เหล่านี้นำเอาไปให้เช่าบูชาจัดหาทุนสร้างเขื่อนให้วัดนางนอง ตามที่พระรัตนกวี เจ้าอาวาสวัดนางนองเป็นผู้แนะนำมาพบ พระพิมพ์นี้เอาไปให้พระทวี ล้างคราบ
ก่อนจะนำออกเช่าบูชา พระพิมพ์ที่พบทั้งหมดถูกนำเข้าพิธีพุทธาภิเศกอีกครั้ง และนำไปฝากพิธีหลายแห่งด้วยกันด้วยไม่ทราบว่ามีผู้ใดสร้างไว้แต่เมื่อใด
จะเป็นของจริงของปลอมไม่แน่ใจ เข้าพิธีเอาไว้ก่อนเพื่อความเป็นมงคล และถูกต้องตามพิธีกรรมสร้างพระ
วัดนางนองได้รับพระไปประมาณ ๑๐,๐๐๐ องค์ ออกให้เช่าบูชาหรือมอบให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างเขื่อนกั้นน้ำหน้าวัดองค์ละ ๑๐๐ บาท ได้พระพิมพ์ สมเด็จไป ๑ องค์ ปรากฏว่าชั่วระยะเวลาไม่ถึง ๒ เดือน พระหมดเกลี้ยงเพราะบางคนทำบุญจำนวนมากเอาพระไปจำนวนมาก
ฝ่ายท่านพระครูวัดราชสิงขรเห็นว่าวัดนางนองทำประโยชน์สร้างเขื่อนอยู่ ก็อนุโมทนาบริจาคให้อีกกว่า ๑๐,๐๐๐ องค์รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐,๐๐๐ องค์ มีเหลืออยู่ที่วัดราชสิงขรจริง ๆ ตอนนั้นไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ องค์ แต่ก็แจกกันเกรียวกราว ตอนใครทำบุญที่วัดเป็นต้องได้กันทุกคน
ต่อมาพระเหล่านี้ชักเหลือน้อยเข้า บรรดาพระ เณร ฆราวาส ผู้รับใช้ในวัดในฐานะศิษย์เก่าต้องแยกพระออกมาไว้ต่างหากจากพระครูเพราะท่านเอาแต่แจกอย่างเดียว
มีการกำหนดอัตราเช่าบูชาขึ้นเพื่อสมทบทุนสำหรับบูรณะวัดต่อไป พิมพ์ที่มีน้อยก็แพงหน่อยและต่ำลงมาตามจำนวนมากน้อยของพระพิมพ์ที่มีอยู่แต่กระนั้นก็มีผู้เข้าวัดกันทุกวัน
บางองค์นำไปใส่ตลับทองกลายเป็น กรุบางขุนพรหม ไป ก็ไม่ใช่น้อย ภายหลังได้สร้างพระขึ้นมาใหม่นำเศษหัก ๆ ชำรุดสร้างเป็นพระเครื่องขึ้นใหม่ “หลวงพ่อแดง” มาถึงวันนี้ ชักหายากเข้าทุกที ไหนจะหมดไปเพราะแจก และยังนำมาสร้าง “หลวงพ่อแดง” พระพุทธรูป พระประธานในพระวิหารที่ศักดิ์สิทธิ์อีก
ผมไปที่วัดนี้ปลายแถวเสียแล้ว ได้มากคือ รูปที่คุณเซียะกรุณาถ่ายมอบให้เพื่อเป็นวิทยาทานนำมาเผยแพร่แค่นี้แหละที่เรียกว่าสมบูรณ์กับพระแตก ๆ หัก ชำรุด ดินเกาะหนาอีก ๔ – ๕ องค์ก็มาศึกษากับสมบูรณ์มนตลับ “แป๊ะตั๊ง” อีก ๑ องค์จากความกรุณาของท่านพระครู
ท่านพระครูเองก็หมดนอกจากแตก ๆ หัก ๆ ที่ท่านเก็บเอาไว้ศึกษาของท่าน
สรุปแล้วจนบัดนี้ก็ยังไม่ทราบว่า พระพิมพ์เหล่านี้นับหมื่น ๆ องค์ ใครนำมาบรรจุไว้ในกรุวัดราชสิงขรจะเป็นของแท้หรือของปลอมก็ไม่ทราบได้ไม่มีใครให้คำตอบที่สมบูรณ์ได้
ผมเอาไปให้เพื่อพ้องสันทัดของวงการแยกแยะวิเคราะห์กันว่า
บางพิมพ์เข้า บางขุนพรหม บางพิมพ์เตลิดออกออกไปเป็นพิมพ์ใหม่ เนื้อหา สาระ มวลสาร คราบกรุแจ๋ว ชนิดเล่นได้ อายุการบรรจุต้องหลายปีไม่อย่างนั้นคงไม่มีดินจับเกาะคราบผิวหนา และ แข็งอย่างนี้
ที่แน่นอนคือ การทำพระปลอมยัดกรุ เพื่อหวังผลประโยชน์นั้นดูแล้วยาก เพราะพระที่ขึ้นมามีจำนวนมอย่างน้อย ๔๐,๐๐๐ องค์ ต้นทุนการผลิตอย่างน้อยองค์ละบาทก็ ๔๐,๐๐๐ กว่าบาท คงไม่มีใครใจถึงลงทุนมากขนาดนี้ และที่สำคัญคือ ไม่พระกรุวัดราชสิงขรออกมาสวนในสนามแต่อย่างใด
ตามหลักการทำปลอม เมื่อกรุแตกเปิดขึ้น จะมีของสวนกระจายตามสนาม แผงพระ และศูนย์พระแต่นี่เงียบแทบไม่มีใครรู้ทั้ง ๆ ที่กรุแตกมาแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึงวันนี้ได้ ๖ ปีแล้ว
ลองพิจารณากันดู ในยุคที่การสร้างพระเนื้อผงเริ่มปรากฏนิยมขึ้นคือในช่วงสมัย ร.๕ ตอนกลาง วัดวาอารามในกรุงหลายวัดเริ่มสร้างพระเนื้อผง เช่น วัดเงิน คลองเตย บางขุนพรหม ฯลฯ คงจะมีพระคณาจารย์ร่วมกับผู้แสวงบุญจัดสร้างขึ้นโดยนำพระพิมพ์ของวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) วัดพลับ (พบพิมพ์วัดพลับด้วย) โดยการสร้างร่วมสมัยในยุคนั้นทั้งเนื้อมวลสารและพิมพ์ทรงคล้ายกันมากก็ได้
จึงยังไม่มีคำตอบที่จะแจ้งว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างเมื่อไหร่ คำตอบชัด ๆ คือ ความเก่า และคราบผิวที่แห้งสนิทดี ลองแวะไปขอชมที่วัดราชสิงขรดูซิครับ (มีแตก ๆ หัก ๆ ให้ชม)” พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร ตอนที่ ๒
กล่าวนำ
ผู้สนใจที่จะศึกษาและสะสมพระเนื้อผงสกุลพระสมเด็จ ควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม เพิ่อท่านจะได้มาถูกทาง และไม่ต้องเสียเวลาในการศึกษาและสะสมแบบ “หลงทาง” หรือ “เข้าทาง”
ประการแรก ตัดความเป็นพุทธพาณิชย์ออกจากจิตใจตั้งแต่เริ่ม สมเด็จโตท่านไม่ต้องการให้พระของท่านผ่านมือด้วยราคาแพงลิบลิ่วจนคนรวยกระเป๋าหนักเท่านั้นที่จะเป็นเจ้าของได้ ท่านทำพระสำหรับทุกคน เริ่มต้นด้วยการ “แจก” และเก็บลงกรุเพื่อให้เป็นสมบัติถึงรุ่นหลัง และเจตนารมย์ได้ถูกสืบต่อกันมาในสายวัดทั้งสามของท่าน โดยศิษย์และเกจิอาจารย์รุ่นหลังที่ทำพระพิมพ์สมเด็จอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย ดังนั้นท่านควรเริ่มสะสมด้วยความรู้สึกเดียวกัน คือให้ความสำคัญด้าน “คุณค่า” มากกว่า “เงินตรา” ไม่ว่าจะเช่าซื้อเข้ามาหรือเปลี่ยนมือออกไป
ประการที่สอง เข้าใจปิระมิดแห่งพระสมเด็จว่าพระของท่านหรือพระของลูกศิษย์ที่สร้างตามท่าน จนกลายเป็นพระยอดนิยมที่สร้างกันทั่วไปในปัจจุบัน มีหลากหลายทั้งเนื้อหา พิมพ์ทรง และความนิยม ผู้ทำได้แบ่งให้ท่านทราบคร่าว ๆ แล้วถึง
ยอดปิระมิด ยกให้เซียนใหญ่กับผู้สนใจจะเช่าบูชาพระราคาแพงหลักล้านขึ้นไป
ชั้นบน สำหรับพระสมเด็จโตที่ไม่ใช่พระพิมพ์นิยม พระเนื้อผงร่วมสมัย และพระลูกศิษย์ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๕
ชั้นกลาง คือพระเนื้อผงที่สร้างจากนั้นจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งครบ ๑๕๐ ปี ที่ท่านมรณภาพ
ชั้นล่าง คือพระเนื้อผงยุคใหม่หลัง พ.ศ. ๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน
ประการที่สาม เข้าใจสูตรในการสร้างพระเนื้อผงตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน วิธีนี้จะช่วยท่านแยกแยะถึงเนื้อและที่มาของเนื้อพระสมเด็จและพระเนื้อผงอื่น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
สูตร ๑ สูตรสมเด็จโต เป็นสูตรที่มีผงวิเศษของท่านเป็นมวลสารรอง
สูตร ๒ สูตรโบราณ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อผงยุคก่อนสมเด็จโต เช่นพระวัดเงิน คลองเตย
สูตร ๓ สูตรมวลสารน้อย เช่นพระหลวงปู่นาค หลวงปู่หิน ยุคหลัง
สูตร ๔ พระผสมผงเก่า เช่นพระหลวงตาพัน หลวงปู่ลำภู บางขุนพรหม ๐๙
สูตร ๕ พระผสมกาววิทยาศาสตร์ เช่นพระเจ้าคุณนรฯ สร้างโดยเจ้าคุณอุดม วัดเทพศิรินทร์
สูตร ๖ พระผงสูตรจตุคาม ส่วนผสมหลากหลายที่สุด
ประการที่สี่ เข้าใจโครงสร้างพระร่วมสมัยและพระลูกศิษย์ ว่าความนิยมของพระเนื้อผงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักไม่ต่างอะไรกับกระแสจตุคามรามเทพที่ซาไป สมัยนั้นสมเด็จโตคิดค้นทั้งรูปแบบพระสมเด็จที่ท่านได้เค้าพระพุทธเจ้ามาจาก พระสัมพุทธพรรณี จนเกิดพิมพ์ทรงพระสมเด็จที่หลากหลายและสวยงาม ภายในรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักที่ไม่เหมือนใคร รวมทั้งการใช้ปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลักแทรกด้วยผงวิเศษและมวลสารมงคล เช่น เกสรดอกไม้แห้ง สมเด็จโตท่านสร้างพระสมเด็จจนเป็นที่นิยมชมชอบของคนทั้งปวง จึงเกิดกระแสการสร้างพระเนื้อผงพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักตามวัดต่าง ๆ และนิยมบรรจุกรุเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาตามแบบท่าน
ดังนั้นในปิระมิดชั้นบน จึงมีพระสมเด็จมากมายที่ไม่ได้สร้างที่วัดระฆังและไม่ได้สร้างโดยสมเด็จโต เริ่มจากวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้วัดระฆังเริ่มสร้างพระสมเด็จขึ้นมาบ้าง เช่นวัดอมรินทราวาส (วัดบางหว้าน้อย) วัดละครทำ วัดเจ้าอาม วัดอัมพวา วัดราชสิทธาหรือวัดพลับ (โดยสมภารกุ่ยไม่ใช่สังฆราชสุก ไก่เถื่อน) ต่อมาวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลก็เริ่มสร้างบ้าง ส่วนใหญ่จะบรรจุไว้ตามแบบอย่างสมเด็จโตที่สร้างพระสมเด็จฝากกรุไว้ที่เจดีย์วัดใหม่อมตรส เช่น วัดสร้อยทอง และวัดราชสิงขร
ยังไม่นับในสายวัดระฆังเองที่มีการสร้างพระเนื้อผงสกุลสมเด็จหลังสมเด็จโตและก่อนยุคหลวงปู่นาค หลวงปู่หิน
พระร่วมสมัยและพระลูกศิษย์เหล่านี้เป็นปริศนาใหญ่ของวงการพระเครื่องที่ไม่มีคนค้นคว้าและหาข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่ไปคิดภาพลักษณ์พระสมเด็จยอดปิระมิดซึ่งอ้างว่าเป็นพิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย โดยไม่ค้นคว้าให้ลึกซึ้งว่าเป็นท่านคนเดียวหรือที่แกะพิมพ์สวยงามแบบนี้ ช่างอื่นที่เลียนพิมพ์ท่านไม่มีหรือ
รวมทั้งคำถามที่ว่าเป็นไปได้ไหมที่จะเอาแม่พิมพ์ของท่านมาสร้างพระหลังจากสมเด็จโตมรณภาพโดยพระอาจารย์ท่านอื่น ๆ ของวัดระฆัง หรือมีการแกะพิมพ์ใหม่ภายหลังสมเด็จโตโดยช่างที่เลียนพิมพ์กรอบกระจกของท่าน
เราจึงได้เห็นพระเหล่านี้ออกสู่ตลาดมากมาย โดยไม่มีใครค้นคว้าหรือศึกษาให้รู้ชัดว่าเป็นพระยุคไหนและแกะพิมพ์โดยช่างชุดใด เป็นเพียงนิยมกันในบางกลุ่ม ซึ่งสับสนและปนเปกับพระ “ลอกพิมพ์” ที่มีคนหัวใสใจคดสร้างขึ้นเพื่อหลอกล่อนักสะสมรุ่นใหม่ทีไม่ทันเกม
วงการพระเครื่องไม่สนใจพระในโครงสร้างนี้ ส่วนใหญ่จะถูกตีเหมาเป็น “พระไม่แท้” ถ้าเนื้อหาและพิมพ์ทรงไม่ได้เป็นไปตามพระสมเด็จยอดปิระมิด ส่วนองค์ที่เนื้อหาใช้ได้ พิมพ์ทรงใกล้เคียง ก็จะถูกสร้างมาตรฐานยกระดับขึ้นเป็นพระสมเด็จโต และซื้อขายเปลี่ยนมือในราคาแพงลิบลิ่ว
ยกตัวอย่างให้เห็น เช่น พระสมเด็จองค์สวยของนักการเมือง นามสกุลตรงกับชื่อจังหวัดที่มีความหมายว่า “ดอกบัว”ลงปกนิตยสารเจ้าเก่าที่ลอกแบบพรีเชียสแมกกาซีนของอาจารย์รังสรรค์ และพระสมเด็จองค์ลงปกเล่มล่าสุดของนิตยสารชื่อฝรั่งแปลเป็นไทยว่า “ศิลป์สยาม”ซึ่งเป็นหนังสือระดับแพงเหมือนกัน ในชื่อพระ “องค์อธิบดี” ในความเห็นของผู้ทำ ทั้งสององค์นี้ไม่ใช่พระสมเด็จโต เป็นพระยุคหลังที่อยู่ในโครงสร้างพระร่วมสมัยและพระลูกศิษย์
เช่นเดียวกับพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร ที่ถูกเข้าใจเป็น “พระไม่แท้” ถ้าเนื้อและพิมพ์ทรงแปลกออกไป และตีราคาเป็น “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ในองค์ที่ดูดี คนขายพระที่เป็นคนรุ่นเก่าและรู้จริงจะไม่บอกท่านหรอกว่าเป็นพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร เพราะเขาอยากทำกำไรมาก ๆ จากพระแท้ที่เขาย้ายกรุย้ายวัด แต่ก็ยังมีคนขายพระอีกมากที่ไม่รู้จักและเข้าใจผิดจริง ๆ
ทั้งสองกรณีมีผลลัพธ์แบบเดียวกัน คนซื้อได้พระแท้แต่ผิดวัดผิดราคา
บทความในหนังสือพระยุคเก่า
หากจะค้นหาบทความเก่า ๆ เกี่ยวกับพระเครื่องหลายกรุที่ถูกลืมในปัจจุบันต้องถอยเวลาไปอย่างน้อยยี่สิบปี ในยุคที่นักเขียน นักค้นคว้าและนักขายพระแยกจากกัน นักเขียนมีหน้าที่เขียน นักค้นคว้ามีหน้าที่ค้นคว้า ไม่มีหน้าที่ขายพระ ส่วนนักขายพระก็ขายพระไปอย่างเดียว ไม่ต้องเขียน ไม่ต้องค้น
ผิดกับสมัยนี้ที่นักเขียน นักค้นคว้าหายไปหมดแล้ว ขาดตอนตั้งแต่สมัยลดค่าเงินบาทเมื่อสิบกว่าปีก่อน นิตยสารพระที่ลงเรื่องราวอันเป็นสาระน่ารู้หายตายจากไปจากตลาด เพราะตอนนั้นคนอ่านไม่มีอารมณ์อยากรู้ อยากซื้อขายพระอย่างเดียว เพื่อหาปัจจัยมาดำรงชีพในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ นั่นเป็นที่มาของนิตยสารขายพระอย่างเดียวที่โหนกระแสมาจนถึงทุกวันนี้
พระกรุวัดราชสิงขรก็ต้องถอยไปหลังจากนั้นอีก จึงมีคนกล่าวถึง เพราะในยุค พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา วงการพระเครื่องบูมมาก คนจำนวนมากรวมทั้งผู้ทำเว็บถูกดูดเข้ามาในกระแสความนิยมสะสมพระเครื่อง เพราะเงินทองมีคล่องไหลมาเทมา เช่าพระแพง ๆ เท่าไหร่ก็ได้
จึงไม่จำเป็นต้องบอกให้มือใหม่หัดสะสมพระรู้ละเอียดนักถึงคุณสมบัติของพระกรุนี้ เพราะย้ายวัดขายเป็นพระสมเด็จโตได้ง่าย ๆ
ผู้ปลุกกระแสความนิยมพระกรุวัดราชสิงขร ได้แก่ พระเอกหนังรุ่นเก่าในนาม “นาท ภูวนัย” อาชีพหลักก็คือ ข้าราชการ กรมการปกครองที่ไต่เต้ามาตั้งแต่ปลัดอำเภอ จนเกษียณในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อไม่นานมานี้
ท่านเขียนเรื่องพระกรุวัดราชสิงขรไว้ในหนังสือ ของกรมการปกครองชื่อ “เทศาภิบาล” ฉบับที่ ๒ ปีที่ ๘๓ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑ หรือเมื่อ ๒๑ ปีที่ผ่านมาแล้ว จากนั้นจึงมีนักเขียนหลายสำนักเขียนถึงพระกรุนี้บ้าง ดังจะขอเอ่ยนามไว้ดังนี้
1. นาท ภูวนัย หรือคุณ “อุดมพร คชหิรัญ” เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ในหนังสือ “เทศาภิบาล” ดังได้เอ่ยมาแล้ว
2. พุทธสัญจร เขียนเรื่อง “แวะมนัสการหลวงพ่อแดง พุทธรูปสำคัญ วัดราชสิงขร” ลงในหนังสือ “ศูนย์พระเครื่อง” ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๓ ปักษ์หลัง มิถุนายน ๒๕๓๒ และฉับที่ ๑๔ ปักษ์แรก กรกฎาคม ๒๕๓๒
3. หนาน คำฟู เขียนบทความชื่อ “กรุวัดราชสิงขร” ลงในหนังสือ “พระเครื่องประยุกต์” ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๓๒๙ ประจำวันที่ ๑๐-๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นบทความประเดิมเว็บบอร์ด “เรื่องเก่าเล่าใหม่” ในวันนี้
4. มงคล นพคุณ เขียนเรื่อง “พระพิมพ์ตระกูลสมเด็จ และพระผงหลวงพ่อแดงเนื้อกรุ วัดราชสิงขร บางคอแหลม กทม.” ลงในหนังสือ “เซียนพระ” เล่มที่ ๗๕ ๗๖ ๗๗ ไม่ระบุวันเดือนปี ที่ออกจำหน่าย ดูจากโฆษณาให้เช่าบูชาวัตถุมงคลในเล่มระบุเวลาประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๔
หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฎบทความเกี่ยวกับพระกรุนี้ นอกจากจะพบบ้างในการโฆษณาขายพระกรุนี้ตามหน้าหนังสือพระ แต่ไม่มีการพูดถึงแป็นเรื่องเป็นราว หรือแนะนำนักสะสมรุ่นใหม่ให้รู้จัก
ดังนั้นพระกรุนี้จึงถูกจำแนกโดยเซียนพระผู้กำหนดกลไกตลาดของราคาพระเครื่องเป็น ๒ ลักษณะ
1.ถูกตัดสินให้เป็นพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าดังที่มีคนให้ราคาพระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายที่เล่าให้ฟังในตอนที่แล้ว แบบ “ไม่ต้องประกัน” ในราคาครึ่งแสน
2.พระองค์ที่ดูไม่เข้าเค้า แบบมีขี้กรุไม่มาก หรือพิมพ์ทรงไม่เข้ามาตรฐานพระสมเด็จบางขุนพรหม ก็ถูกตีความเป็น “พระไม่แท้” ได้ว่าจะเป็นคำตัดสินแบบ “ผิดพิมพ์” บ้าง หรือ “เนื้อไม่ใช่” บ้าง
สรุปข้อมูลของพระกรุวัดราชสิงขร
1.ทางวัดราชสิงขรต้องการบูรณะช่องสำหรับบรรจุอัฐิรอบพระเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จึงได้พบพระกรุนี้ในช่องบรรจุอัฐิช่องหนึ่งซึ่งเป็นของพระยาท่านหนึ่งบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ และได้พบพระจำนวนมากในช่องนั้น
2.พระที่พบมีจำนวนมากประมาณ ๕๐,๐๐๐ องค์ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จ ส่วนพระเนื้อผงวัดพลับ วัดเงินมีไม่มาก พระเนื้อดินมีหลายพิมพ์ เป็นพระพิมพ์ลำพูน พิษณุโลก และกำแพงเพชร
3.พระพิมพ์สมเด็จส่วนใหญ่เป็นพิมพ์บางขุนพรหมและพิมพ์อื่น ๆ มีจำนวนมากที่สุดประมาณ ๔๐,๐๐๐ องค์ เสียดายที่มีขี้กรุจับและแตกหักเสียหาย แต่ก็ยังเหลือพระที่สมบูรณ์จำนวนหลายหมื่นองค์
4.พระที่แตกหักได้นำมาบดและสร้างเป็นพระเครื่อง “หลวงพ่อแดง” และแจกจ่ายไปจนหมดเช่นกัน
5.พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขรเริ่มได้รับความนิยม เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ดังที่คุณนาท ภูวนัย กล่าวไว้ว่า
“คือช่วงนั้นตอนปลายปี ๒๕๒๙ สนามพระไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ๆ ต่างก็ฮือฮากับข่าวว่า พระสมเด็จวัดระฆังบ้าง บางขุนพรหมบ้าง ไหลเข้าสนามพระกันเป็นว่าเล่น แถมยังปล่อยกันเป็นแสน แต่พิมพ์จะเพี้ยนไปบ้าง ส่วนเนื้อมวลสารนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ใช่ของแท้ แล้วก็ไม่มีใครเฉลียวใจว่าเป็นกรุวัดราชสิงขร”
6.แสดงว่าตั้งแต่ยี่สิบกว่าปีก่อนมาจนถึงทุกวันนี้ พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร องค์นี้พิมพ์ถูกต้องและมีคราบกรุ ถูกเล่นหาเป็นพระสมเด็จโต และเช่าบูชากันด้วยราคาแพง
สำหรับพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร พิมพ์ต่าง ๆ ผู้ทำต้องขอท่านผู้อ่านอดใจคอยตอนที่ ๓ ที่จะแสดงพระสมเด็จกรุนี้ให้ชมในหลากพิมพ์ทรงว่าใกล้เคียงกับพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมหรือไม่
พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร ตอนที่ ๓
พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขร พิมพ์ทรงต่าง ๆ
ด้านหน้าเเละด้านหลัง
กครุฑทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง
บทสรุป
1.พระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จกรุนี้มีที่มาที่ไปชัดเจน ทั้งตัวบุคคล และบทความที่เกี่ยวข้องย้อนหลังไปกว่ายี่สิบปี
2.ทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อหาใกล้เคียงกับพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมของวัดใหม่อมตรส บางองค์ที่พิมพ์และคราบกรุดูดีมาก ๆ ถูกย้ายวัดเป็นกรุบางขุนพรหมและขายในราคาแพง
3.จำนวนพระสภาพสมบูรณ์ที่ออกจากกรุมีเป็นหมื่นองค์ มากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมที่คาดว่าทั้งกรุเก่า กรุใหม่ มีรวมกันไม่เกิน ๗,๐๐๐ องค์ ดังนั้นโอกาสที่ผู้อ่านอาจพบพระพิมพ์นี้ในตลาดพระมีมากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายเท่า เพียงแต่ท่านไม่รู้จัก และองค์ที่พิมพ์กับสภาพไม่ใกล้เคียงกับพระสมเด็จบางขุนพรหมก็ถูกตีเหมาเป็น “พระไม่แท้” เพราะเขาไม่รู้จริง
4.ตามประวัติของวัดราชสิงขร พระชุดนี้ไม่ได้สร้างโดยสมเด็จโต น่าจะเป็นสร้างในยุคกลางของรัชกาลที่ ๕ แต่อาจนำพิมพ์เก่าหรือเลียนพิมพ์ของสมเด็จบางขุนพรหมมาสร้างพระขึ้นใหม่ก็เป็นได้
5.การที่กรุวัดราชสิงขรมีพระเนื้อดิน และพระเนื้อผงกรุอื่น เช่น พระวัดพลับ ปนอยู่ด้วย นำไปสู่ข้อสังเกตว่าพระชุดเหล่านั้นทั้งพระพิมพ์บางขุนพรหมและพระพิมพ์วัดพลับน่าจะถูกสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน คือราว พ.ศ. ๒๔๔๐ ในส่วนพระวัดพลับเป็นการยืนยันข้อสันนิษฐานของผู้ทำว่าสร้างในสมัยหลังสมเด็จโตและไม่ได้สร้างโดยสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เพราะท่านมรณภาพไปก่อนหน้าสมเด็จโต
6.พระที่มีคราบกรุหรือมีผลึกแคลเซียมชัดเจน อีกพิมพ์ก็ถูกตามตำราดูพระสมเด็จ ไม่จำเป็นต้องสร้างและปลุกเสกโดยสมเด็จโตเสมอไป พระสมเด็จกรุวัดราชสิงขรที่นำให้ท่านชมวันนี้ไม่ใช่พระสมเด็จโต แต่อาจสร้างโดยเกจิอาจารย์รุ่นหลังและอาจใช้แม่พิมพ์บางขุนพรหม หรืออาจเลียนพิมพ์สร้างแม่พิมพ์ใหม่ก็เป็นได้ ดังนั้นหากท่านผู้อ่านพบพระสมเด็จแบบนี้ก็อย่าเพิ่งดีใจว่าเป็นพระสมเด็จโต หรือถ้าโดนใคร “สวด” ว่าไม่ใช่ “พระแท้” ก็อย่าเพิ่งเชื่อเขา
ก็ขอให้นึกถึงพระกรุวัดราชสิงขรนี้ก็แล้วกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ