ประวัติหลวงพ่อเอมหรือพระครูสุจิตวิชชากร วัดบ้านเก่า ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
หลวงพ่อเอมหรือพระครูสุจิตวิชชากร วัดบ้านเก่า ระยอง นามสกุลเมื่อเป็นฆราวาสชื่อว่า ชนะพาล บิดามารดาเป็นชาวอำเภอเเกลง เกิดที่บ้านสุขไพรวัน อำเภอเเกลง จังหวัดระยอง ประมาณปี พ.ศ. 2418 เมื่ออายุอยู่ในขั้นปฐมวัยหลวงพ่อได้ศีกษาเรียนรู้หนังสือไทยอยู่กับวัด สมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน อาศัยพระภิกษุเป็นผู้ให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในทางโลกเเละทางธรรม มีความรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 เพราะการศึกษาในตอนนั้น ยังไม่มีถึงขั้นประถมปีที่ 4 หลวงพ่อเอมเป็นผู้ที่มีความขยันในการศึกษาเรียนรู้หาประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่เสมอ จนกระทั่งมีอายุในมัชฌิมวัยบิดามารดาพร้อมทั้งญาติผู้ใหญ่ก็ให้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีท่านเจ้าคุณไพศาลสุตตคุณเป็นเจ้าอาวาส เเละได้รับชายาว่า ปัญญาปสุโต ได้ศึกษาเรียนรู้ในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนา
มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญาเเละสามัญลักษณะเป็นอย่างดี มีความรู้ระดับนักธรรมชั้นตรี เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าในพระธรรมวินัยอยู่อย่างสม่ำเสมอมีความสามารถในการให้การอบรมสั่งสอน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้เป็นผู้อยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ประพฤติปฎิบัติตามคำสั่งสอนของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ในขณะนั้นเจ้าอาวาสวัดบ้านเก่าได้ว่างลง ชาวบ้านเก่าได้เห็นความดี ความสามารถของหลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ก็พร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อเอมมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบ้านเก่า ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ขณะดำรงตำเเหน่งหลวงพ่อได้ให้ความรู้ความเข้าใจในคำสั่งสอนของของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำเอาศีล ธรรมะ มาให้การอบรมสั่งสอนเเก่ผู้ที่เคารพนับถือพระรัตนตรัยชาวบ้านเก่ามีความศรัทธา เคารพ นับถือ กราบไหว้ ปฎิบัติธรรมด้วยความพิสมัยเสมอมา ด้านการศึกษาเรียนรู้ของภิกษุสามเณรภายในวัด หลวงพ่อได้เเต่งตั้งภิกษุผู้มีความรู้ในพระธรรมวินัย เป็นผู้ให้การศึกษาเรียนรู้เเก่ภิกษุผู้บวชใหม่ เเล้วส่งเข้าสอบในสนามหลวง ในปีหนึ่งๆภิกษุ สามเณรวัดบ้านเก่าสามารถสอบได้ระดับนักธรรมชั้นตรี โท เอก ปีละหลายๆรูป ด้านฆราวาสหลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ก็ได้สนับสนุนการศึกษาเเล้วส่งเข้าสอบ เช่นเดียวกับภิกษุ สามเณร นับได้ว่าชาวบ้านเก่าในสมัยหลวงพ่อ มีความเจริญเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยมาก ด้านการศึกษากุลบุตร กุลธิดาของชาวบ้านเก่า ช่วงนั้นยังไม่มีโรงเรียน หลวงพ่อเอมได้คิดริเริ่มที่จะให้มีโรงเรียน เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ของบุตรหลานชาวบ้านเก่า จึงได้จัดประชุมปรึกษาหารือชาวบ้านเก่าเพื่อสร้างโรงเรียน เเละขอครูจากทางราชการมาเป็นผู้สอนหนังสือ หลวงพ่อได้ชวนชาวบ้านเก่า ให้มีความสามัคคีร่วมมือกันสร้างอาคารเรียนขึ้นมาหนึ่งหลัง ปัจจุบันไม่มีเเล้ว เป็นอาคารไม้เนื้อเเข็งทั้งหลัง เเละได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนบ้านเก่า เอมประชากูล ด้านสิ่งปลูกสร้างของวัด หลวงพ่อได้สร้างศาลาหลังใหญ่ไว้ให้ ภิกษุ สามเณร เเละฆราวาสญาติโยม บำเพ็ญศาสนกิจ ปัจจุบันถูกรื้อถอนเเล้ว ได้กล่าวเเล้วว่าหลวงพ่อเอม เป็นผู้ที่ขยันศึกษาเรียนรู้หาประสบการณ์ ในวิชาการทางศาสนาอยู่ประจำ เพื่อนำเอามาอบรมสั่งสอน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ศีล สามธิ ปัญญา ให้เป็นผู้มีศรัทธา นำไปประพฤติปฎิบัติให้เกิดประโยชน์เเก่ชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง สังคม เเละประเทศชาติ หลวงพ่อเอมชอบศึกษาเรียนรู้ ในเรื่องพระเจ้าสิบทิศ ในเรื่องพระเจ้าห้าร้อยชาติมาก หลวงพ่อเป็นพระภิกษุที่มีอัชฌาลัยไมตรีที่ดีเเม้เเต่ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ หลวงพ่อก็มีอัชฌาลัยไมตรีที่ดีต่อกันทราบว่าหลวงพ่อเอม
วัดบ้านเก่า ระยอง กับหะยีร์จันทร์ ผู้นำศาสนาอิสลามของชาวบ้านเก่า มีไมตรีที่ดีต่อกันถึงขนาดต่างฝ่ายต่างนำผ้าป่ามาทอดให้กันเเละกัน เป็นการช่วยเหลือ เกื่อกูล เอื้อเฟื้อ เผื่อเเผ่ในระหว่าง มนุษยชาติ
หลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ยังเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องยาเเผนโบราณ ได้หาเครื่องสมุนไพรมาประกอบทำเป็นยาเเผนโบราณไว้ประจำวัด เช่น ยาลม ยาธาตุ ยาเขียว ยาเเท่งเเดง เป็นต้น ประกอบทำไว้ให้ผู้มาเเสวงบุญ ทีวัดบ้านเก่าได้รับประทานกัน หลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง เป็นพระภิกษุผู้ใจบุญ ใจดี เวลาที่มีสิ่งเป็นอนิฎฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าปราถนา มีความไม่ชอบใจเกิดขึ้นเเก่หลวงพ่อ อาทิเช่น ความโกรธสามเณร เด็กวัด หรือพวกไวยวัจกรที่อยู่ในความปกครองของหลวงพ่อเอม หลวงพ่อจะไม่ขึ้นเสียงเเสดงความโกรธเพียงเเต่พูดว่า อ้ายเทวดา ด้วยน้ำเสียงอันหนัก สามเณร เด็กวัด หรือ ไวยาวัจกร จะถูกหลวงพ่อเเต่งตั้งให้เป็น เทวดา เเทบทั้งนั้น
หลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ได้รับการเเต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่ในการให้การอุปสมบทกุลบุตร ในกาลต่อมาก็ได้รับพระราชทานจากในหลวงเเต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในพระราชทินนามว่า พระครูสุจิตวิชชากร เเละได้รับเเต่งตั้งจากคณะสงฆ์ เป็นเจ้าคณะตำบล บริหารคณะสงฆ์ในเขต ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
หลวงพ่อเอมหรือพระครูสุจิตวิชชากร วัดบ้านเก่า ระยอง
ได้มรณภาพด้วยโรคชรา ในปีพุทธศักราช หรือ พ.ศ 2499 สิริรวมอายุของหลวงพ่อ ประมาณ 81 ปี ญาติโยมชาวบ้านเก่า ได้ตั้งศพของหลวงพ่อไว้เป็นที่เคารพบูชาประมาณ 1 ปี ก็ได้กระทำพิธีพระราชทานเพลิงศพ ฯลฯ ปัจจุบันศิษยานุศิษย์ได้สร้างรูปหล่อของหลวงพ่อทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ประดิษฐานไว้ในวิหาร เพื่อเป็นที่เคารพ สักการะของศิษยานุศิษย์ต่อไป
สุดท้ายผู้เขียนขอขอบพระคุณลุงสมพร บุญพันธ์ คนเก่าเเก่ที่อยู่ในบ้านเก่า ผู้ให้ข้อมูลประวัติหลวงพ่อเอมหรือพระครูสุจิตวิชชากร วัดบ้านเก่า ระยอง ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับถือว่าหาประวัติยากน่ะครับถ้าคนไม่ได้อยู่ในพื้นที่จริงๆเพราะถ้าไปหาในวัดคงไม่มีเเล้วน่ะครับที่ได้มามีภิกษุรูปเก่าๆได้รวบรวมประวัติจากบันทึกเก่าๆในวัดสมัยเก่าเเต่ตอนนี้ประวัติก็ได้สูญหายไปหมดเเล้ว สุดท้ายผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ โปรดติดตามประวัติวัดบ้านเก่าต่อไปน่ะครับ
หลวงพ่อเอมหรือพระครูสุจิตวิชชากร วัดบ้านเก่า ระยอง นามสกุลเมื่อเป็นฆราวาสชื่อว่า ชนะพาล บิดามารดาเป็นชาวอำเภอเเกลง เกิดที่บ้านสุขไพรวัน อำเภอเเกลง จังหวัดระยอง ประมาณปี พ.ศ. 2418 เมื่ออายุอยู่ในขั้นปฐมวัยหลวงพ่อได้ศีกษาเรียนรู้หนังสือไทยอยู่กับวัด สมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน อาศัยพระภิกษุเป็นผู้ให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในทางโลกเเละทางธรรม มีความรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 เพราะการศึกษาในตอนนั้น ยังไม่มีถึงขั้นประถมปีที่ 4 หลวงพ่อเอมเป็นผู้ที่มีความขยันในการศึกษาเรียนรู้หาประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่เสมอ จนกระทั่งมีอายุในมัชฌิมวัยบิดามารดาพร้อมทั้งญาติผู้ใหญ่ก็ให้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีท่านเจ้าคุณไพศาลสุตตคุณเป็นเจ้าอาวาส เเละได้รับชายาว่า ปัญญาปสุโต ได้ศึกษาเรียนรู้ในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนา
มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญาเเละสามัญลักษณะเป็นอย่างดี มีความรู้ระดับนักธรรมชั้นตรี เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าในพระธรรมวินัยอยู่อย่างสม่ำเสมอมีความสามารถในการให้การอบรมสั่งสอน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้เป็นผู้อยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ประพฤติปฎิบัติตามคำสั่งสอนของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ในขณะนั้นเจ้าอาวาสวัดบ้านเก่าได้ว่างลง ชาวบ้านเก่าได้เห็นความดี ความสามารถของหลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ก็พร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อเอมมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบ้านเก่า ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ขณะดำรงตำเเหน่งหลวงพ่อได้ให้ความรู้ความเข้าใจในคำสั่งสอนของของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำเอาศีล ธรรมะ มาให้การอบรมสั่งสอนเเก่ผู้ที่เคารพนับถือพระรัตนตรัยชาวบ้านเก่ามีความศรัทธา เคารพ นับถือ กราบไหว้ ปฎิบัติธรรมด้วยความพิสมัยเสมอมา ด้านการศึกษาเรียนรู้ของภิกษุสามเณรภายในวัด หลวงพ่อได้เเต่งตั้งภิกษุผู้มีความรู้ในพระธรรมวินัย เป็นผู้ให้การศึกษาเรียนรู้เเก่ภิกษุผู้บวชใหม่ เเล้วส่งเข้าสอบในสนามหลวง ในปีหนึ่งๆภิกษุ สามเณรวัดบ้านเก่าสามารถสอบได้ระดับนักธรรมชั้นตรี โท เอก ปีละหลายๆรูป ด้านฆราวาสหลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ก็ได้สนับสนุนการศึกษาเเล้วส่งเข้าสอบ เช่นเดียวกับภิกษุ สามเณร นับได้ว่าชาวบ้านเก่าในสมัยหลวงพ่อ มีความเจริญเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัยมาก ด้านการศึกษากุลบุตร กุลธิดาของชาวบ้านเก่า ช่วงนั้นยังไม่มีโรงเรียน หลวงพ่อเอมได้คิดริเริ่มที่จะให้มีโรงเรียน เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ของบุตรหลานชาวบ้านเก่า จึงได้จัดประชุมปรึกษาหารือชาวบ้านเก่าเพื่อสร้างโรงเรียน เเละขอครูจากทางราชการมาเป็นผู้สอนหนังสือ หลวงพ่อได้ชวนชาวบ้านเก่า ให้มีความสามัคคีร่วมมือกันสร้างอาคารเรียนขึ้นมาหนึ่งหลัง ปัจจุบันไม่มีเเล้ว เป็นอาคารไม้เนื้อเเข็งทั้งหลัง เเละได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนบ้านเก่า เอมประชากูล ด้านสิ่งปลูกสร้างของวัด หลวงพ่อได้สร้างศาลาหลังใหญ่ไว้ให้ ภิกษุ สามเณร เเละฆราวาสญาติโยม บำเพ็ญศาสนกิจ ปัจจุบันถูกรื้อถอนเเล้ว ได้กล่าวเเล้วว่าหลวงพ่อเอม เป็นผู้ที่ขยันศึกษาเรียนรู้หาประสบการณ์ ในวิชาการทางศาสนาอยู่ประจำ เพื่อนำเอามาอบรมสั่งสอน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ศีล สามธิ ปัญญา ให้เป็นผู้มีศรัทธา นำไปประพฤติปฎิบัติให้เกิดประโยชน์เเก่ชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง สังคม เเละประเทศชาติ หลวงพ่อเอมชอบศึกษาเรียนรู้ ในเรื่องพระเจ้าสิบทิศ ในเรื่องพระเจ้าห้าร้อยชาติมาก หลวงพ่อเป็นพระภิกษุที่มีอัชฌาลัยไมตรีที่ดีเเม้เเต่ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ หลวงพ่อก็มีอัชฌาลัยไมตรีที่ดีต่อกันทราบว่าหลวงพ่อเอม
วัดบ้านเก่า ระยอง กับหะยีร์จันทร์ ผู้นำศาสนาอิสลามของชาวบ้านเก่า มีไมตรีที่ดีต่อกันถึงขนาดต่างฝ่ายต่างนำผ้าป่ามาทอดให้กันเเละกัน เป็นการช่วยเหลือ เกื่อกูล เอื้อเฟื้อ เผื่อเเผ่ในระหว่าง มนุษยชาติ
หลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ยังเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องยาเเผนโบราณ ได้หาเครื่องสมุนไพรมาประกอบทำเป็นยาเเผนโบราณไว้ประจำวัด เช่น ยาลม ยาธาตุ ยาเขียว ยาเเท่งเเดง เป็นต้น ประกอบทำไว้ให้ผู้มาเเสวงบุญ ทีวัดบ้านเก่าได้รับประทานกัน หลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง เป็นพระภิกษุผู้ใจบุญ ใจดี เวลาที่มีสิ่งเป็นอนิฎฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่น่าปราถนา มีความไม่ชอบใจเกิดขึ้นเเก่หลวงพ่อ อาทิเช่น ความโกรธสามเณร เด็กวัด หรือพวกไวยวัจกรที่อยู่ในความปกครองของหลวงพ่อเอม หลวงพ่อจะไม่ขึ้นเสียงเเสดงความโกรธเพียงเเต่พูดว่า อ้ายเทวดา ด้วยน้ำเสียงอันหนัก สามเณร เด็กวัด หรือ ไวยาวัจกร จะถูกหลวงพ่อเเต่งตั้งให้เป็น เทวดา เเทบทั้งนั้น
หลวงพ่อเอม วัดบ้านเก่า ระยอง ได้รับการเเต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่ในการให้การอุปสมบทกุลบุตร ในกาลต่อมาก็ได้รับพระราชทานจากในหลวงเเต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในพระราชทินนามว่า พระครูสุจิตวิชชากร เเละได้รับเเต่งตั้งจากคณะสงฆ์ เป็นเจ้าคณะตำบล บริหารคณะสงฆ์ในเขต ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
หลวงพ่อเอมหรือพระครูสุจิตวิชชากร วัดบ้านเก่า ระยอง
ได้มรณภาพด้วยโรคชรา ในปีพุทธศักราช หรือ พ.ศ 2499 สิริรวมอายุของหลวงพ่อ ประมาณ 81 ปี ญาติโยมชาวบ้านเก่า ได้ตั้งศพของหลวงพ่อไว้เป็นที่เคารพบูชาประมาณ 1 ปี ก็ได้กระทำพิธีพระราชทานเพลิงศพ ฯลฯ ปัจจุบันศิษยานุศิษย์ได้สร้างรูปหล่อของหลวงพ่อทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ประดิษฐานไว้ในวิหาร เพื่อเป็นที่เคารพ สักการะของศิษยานุศิษย์ต่อไป
สุดท้ายผู้เขียนขอขอบพระคุณลุงสมพร บุญพันธ์ คนเก่าเเก่ที่อยู่ในบ้านเก่า ผู้ให้ข้อมูลประวัติหลวงพ่อเอมหรือพระครูสุจิตวิชชากร วัดบ้านเก่า ระยอง ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับถือว่าหาประวัติยากน่ะครับถ้าคนไม่ได้อยู่ในพื้นที่จริงๆเพราะถ้าไปหาในวัดคงไม่มีเเล้วน่ะครับที่ได้มามีภิกษุรูปเก่าๆได้รวบรวมประวัติจากบันทึกเก่าๆในวัดสมัยเก่าเเต่ตอนนี้ประวัติก็ได้สูญหายไปหมดเเล้ว สุดท้ายผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ โปรดติดตามประวัติวัดบ้านเก่าต่อไปน่ะครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ