มุมมองพระสมเด็จวัดระฆังกับการสะสมพระโดยราม วัชรประดิษฐ์
สุดยอดพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่หาต้องการมีไว้ครอบครองเป็นเจ้าของ เรียกว่าอยากได้มากถึง
มากที่สุด ต้องยกให้พระสมเด็จในเครือของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อันได้แก่ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดบางขุนพรหม และวัดเกศไชโย
โดยเฉพาะ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม" นับเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่ฝันหา การทำเทียมหรือล้อเลียนรูปแบบพิมพ์ทรงจึงมีมากมายสุดคณานับ ถึงขนาดมีผู้เคยเปรียบเทียบว่า หากนำพระสมเด็จที่ทำเทียมเลียนแบบหรือล้อพิมพ์การสร้างพระของสมเด็จ (โต) ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันทั้งหมดมาเรียงกัน พื้นที่บนท้องสนามหลวงก็ยังไม่เพียงพอที่จะบรรจุพระเทียมดังกล่าวได้หมดสิ้น
การพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น สำหรับผู้ริเริ่มฝึกหัดการตรวจสอบพระเครื่อง จึงขอแนะนำหลักการเบื้องต้นในการพิจารณาตรวจโดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ดังนี้
ในการพิจารณาองค์พระเบื้องต้นจะต้องพิจารณาภาพรวมขององค์พระทั้งหมดก่อนว่าเป็นพิมพ์ใด ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามก็มีอยู่เพียง 4 พิมพ์เท่านั้น คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม แม้แต่ละพิมพ์จะแยกพิมพ์ย่อยออกไปอีกก็ตาม แต่ "ภาพรวม" จะช่วยให้สามารถเห็นถึง "เอกลักษณ์" ของแม่พิมพ์แต่ละพิมพ์ได้ชัดเจน
เอกลักษณ์หรือศิลปะของแม่พิมพ์ ที่ใช้เป็นแม่แบบในการพิมพ์องค์พระโดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น จำเป็นจะต้องยึดแม่พิมพ์เป็นหลัก ภาษานักเลงพระเขาเรียกกันว่า "ดูพิมพ์ไม่ดูเนื้อ" เหตุที่ต้องให้ความสำคัญกับแม่พิมพ์ก็เพราะในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามการแกะสลักแม่พิมพ์ถือว่าเป็นศิลปะเฉพาะตัวขององค์พระ การทำเทียมเลียนแบบพิมพ์ดั้งเดิมนั้นจะทำได้โดยการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะไม่มีทางแกะแม่พิมพ์เดิมได้เลย และอีกวิธีหนึ่งคือการถอดพิมพ์จากองค์พระแท้ซึ่งจะมีลักษณะหดเล็กและไม่คมชัด ถ้าหากใช้ความสังเกตแล้วจะสามารถพบเห็นได้โดยง่าย
ย้อนกลับมาถึงการพิจารณาตรวจสอบเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ เบื้องต้น ก่อนอื่นเมื่อมองภาพรวมแล้วจะพบว่า องค์พระที่ประดิษฐานอยู่กลางซุ้มครอบแก้วจะมีลักษณะใหญ่โต สง่างาม ประหนึ่งพระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์และวิหารของวัดต่างๆ คือมักจะอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของโบสถ์
ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ จะเป็นเพียงเครื่องเสริมความสง่างามและความอลังการขององค์พระเท่านั้น เช่นเดียวกับองค์พระของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซึ่งถูกเรียกว่า "พิมพ์พระประธาน" สาเหตุนอกจากการที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านจำลองมาจากพระประธานของวัดระฆังฯ แล้ว หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าทั้งซุ้มครอบแก้ว และฐานทั้ง 3 ชั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เสริมให้องค์พระสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น ในส่วนองค์พระเองมีความสง่างามอยู่ในตัวและเป็นจุดศูนย์กลางสายตาทั้งหมดอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะ มุมมองพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่โดยราม วัชรประดิษฐ์
เมื่อได้ลักษณะภาพรวมแม่พิมพ์ใหญ่แล้วควรจดจำให้ได้ว่า พิมพ์ใหญ่แยกออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ พิมพ์มีเส้นแซมใต้หน้าตัก พิมพ์อกตัววี พิมพ์อกกระบอก และพิมพ์เกศทะลุซุ้ม ทั้ง 4 พิมพ์นี้มีเอกลักษณ์แม่พิมพ์เช่นเดียวกันอันเป็นหลักเบื้องต้นแห่งการตรวจสอบองค์พระ ที่เพียงใช้ความสังเกตด้วยตาเปล่าก็สามารถพบได้ดังนี้
-ด้านซ้ายขององค์พระจะมีจุดบรรจบของซุ้มครอบแก้วกับเส้นขอบแม่พิมพ์ ซึ่งจะมาบรรจบกันบริเวณช่วงข้อ ลำแขน ข้อศอก ขององค์พระเท่านั้น
- หัวไหล่ด้านซ้ายขององค์พระจะเล็กและบางกว่าเนื้อหัวไหล่ด้านขวาขององค์พระ
- หากตะแคงดูจะพบว่าพื้นราบภายในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นนอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อย
- เมื่อพลิกด้านหลังขององค์พระจะต้อง มีลักษณะเฉพาะขององค์พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซึ่งได้แก่ หลังสังขยา หลังกาบหมาก หลังกระดาน และหลังแผ่นเรียบ สำหรับด้านหลังขององค์พระที่จะต้องใช้ความสังเกตมากขึ้นก็คือ "หลังแผ่นเรียบ" ซึ่งต้องตรวจสอบดูรอยปูไต่อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของพระสมเด็จ
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปอีกเกี่ยวกับ "ตำหนิแม่พิมพ์" ขององค์พระ เช่น ลักษณะการหันพระพักตร์และลำพระองค์ ความสูงต่ำของฐานทั้งซ้ายขวาซึ่งจะไม่เท่ากัน ลักษณะของซุ้มครอบแก้ว ชายจีวร ฯลฯ
หลักเบื้องต้นนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาเบื้องต้นได้พอสมควรครับผม
คอลัมน์ : พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม : วัชรประดิษฐ์
มุมมองพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์โดยราม วัชรประดิษฐ์
แนวทางการศึกษา พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ อาจใช้วิธีการเปรียบเทียบกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ โดยมีหลักการพิจารณาดังนี้
- เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระ ของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะลากยาวลงมาจรดกับขอบซุ้มเรือนแก้วตรงมุมล่างพอดี ต่างจากพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะมาจรดกับขอบซุ้มเรือนแก้วตรงกลางของแขนองค์พระ
-พระเกศของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีรอยขยักเหมือนมีพวงมาลัยครอบไว้กลางพระเกศ ซึ่งต่างจากพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
-บริเวณหัวไหล่ทั้งซ้ายและขวาขององค์พระ ระหว่างหัวไหล่ถึงใต้รักแร้ทั้งสองข้างของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเท่าๆ กัน ต่างกับพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ เนื้อที่ระหว่างหัวไหล่กับรักแร้ด้านขวาขององค์พระจะกว้างกว่าด้านซ้ายขององค์พระ
-เส้นซุ้มครอบแก้วของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเล็กกว่าเส้นซุ้มครอบแก้วของพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่
- หัวฐานชั้นที่ 2 ด้านขวามือขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีลักษณะเรียวแหลม ซึ่งคนโบราณเรียกว่า "หัวเรือเอี้ยม จุ๊น"
- พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ ในองค์ที่ติดชัดจะมีเส้นผ้าอังสะพาดจากหัวไหล่ลงมาใต้รักแร้อย่างเห็นได้ชัด ส่วนพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ จะไม่ปรากฏเส้นผ้าอังสะ
- แขนข้างขวาด้านในขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีเนื้อพอกอยู่เป็นส่วนเกิน ซึ่งเป็นตำหนิของแม่พิมพ์ที่เป็นส่วนลึกสุด ถึงแม้องค์ใดจะผ่านการใช้จนสึกหรือกดพิมพ์ไม่ลึกเพียงพอ แต่เนื้อพอกส่วนเกินของซอกแขนนี้ก็คงจะยังปรากฏให้เห็นชัด เจนอยู่
- ข้อศอกซ้ายด้านนอกของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะไม่มีเส้นชายจีวรแล่นจากข้อศอกมายังเข่าเหมือนพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
- มุมหัวฐานด้านขวาขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ชั้นล่างสุด จะมีเส้นรอยแตกของแม่พิมพ์วิ่งแล่นจรดมุมซุ้ม
- สัดส่วนของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเล็กกว่าพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
ท้ายสุดคือพิมพ์ด้านหลัง พิมพ์ด้านหลังของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะไม่เหมือนพิมพ์ด้านหลังของพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ ตามภาษาวงการพระเรียกว่า "พิมพ์หลังทื่อ" หรือหลังเรียบ และขอบด้านหลังจะมี "รอยปูไต่" อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของพระ สมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งท่านเจ้าประ คุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างขึ้นครับผม
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม วัชรประดิษฐ์
มุมมองการสะสมพระโดยราม วัชรประดิษฐ์
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม วัชรประดิษฐ์
วงการพระบ้านเราเรียกได้ว่าเป็นที่รวมสิงห์เหนือเสือใต้ หรือสำนวนหนังกำลังภายในต้องใช้คำว่า ชุมนุมพยัฆค์ ซ่อนมังกรหมอบ อะไรเทือกนั้น คนที่เล่นพระใหม่ๆ มือไม้สั่นไปหมดกลัวโน่น กลัวนี่ จนสุดท้ายไม่ได้เล่น ความจริงแล้ว ทำใจให้โล่งๆ ถ้าอยากเล่นพระ เพราะไม่ใช่สถานที่น่ากลัวอะไร จากประสบการณ์ที่ผ่านมาสามารถประมวลกรรม วิธีการเล่นพระให้เป็น โดยไม่เจ็บเนื้อเจ็บตัวได้ โดยยึดหลักใหญ่ๆ ดังนี้
- หัดเล่นเป็นอย่างๆ ก็คือ เล่นพระให้รู้แจ้งแทงตลอดเป็นชนิดๆ ไม่ใช่อยากเป็นโน่น อยากเป็นนี่ จนตัวเองงงไปหมด นักเล่นใหม่ๆ มักจะกังวลว่าจะรู้น้อย ไม่ต้องกลัวนะครับ เมื่อเล่นพระหรือรู้ เรื่องพระเป็นชนิดๆ ความรู้ความสามารถในการดูพระชนิดอื่นๆ ก็จะตามมาเอง เพราะส่วนใหญ่แล้วพระหลายๆ ชนิด จะมีหลักการพิจารณา คล้ายคลึงหรือเป็นมาตรฐานเดียวกัน
- ต้องดูของจริงบ่อยๆ ภาษาเซียน เขาเรียก "ดูฟรี" ก็เบี้ยน้อยหอยน้อยนี่ครับ จะเช่าหลักหมื่น หลักแสน ก็กลัวไปหมด ระยะแรกๆ เลยต้องตีตั๋วฟรีไปก่อน อ้าว แล้วไปดูที่ไหนล่ะ อย่างแรกเลยง่ายๆ คือ ดูในหนังสือ กับเว็บไซต์พระเครื่องทั่วๆ ไป สมัยนี้ดีนะครับไม่เหมือนสมัยก่อน กว่าจะได้ดูแต่ละองค์นี่ตาเหลือก เดี๋ยวนี้ มีตีพิมพ์แพร่หลาย หาที่มีมาตรฐานหน่อย ก็จะได้รายละเอียดพอสมควร แต่ก็ไม่สมบูรณ์ตรงที่จะไม่มีมิติหรือความลึก และคำนวณขนาดที่แท้จริงไม่ค่อยได้ เพราะฉะนั้น ขั้นต่อมาก็คือ ไปโน่นเลยครับ ดูพระฟรีตามงานประกวดพระ ที่เขาตัดสินแล้วโชว์ หรือเดินดูตามตู้โชว์พระ ถ้ามีทุนพอค่อยเช่ามาส่องดูให้ทะลุทะลวงที่บ้าน
- แล้วดูยังไงละว่าเก๊หรือแท้ อันนี้เป็นเคล็ดลับครับ วิธีง่ายที่สุดในโลกคือ นำรูปพระหรือองค์พระที่แท้ หรือที่คิดว่าแท้ พิมพ์เดียวกัน มาวางเรียงกันอย่างน้อย 3 องค์ แล้วนำรูปพระเก๊ หรือ ที่คิดว่าเก๊ มาวางเปรียบเทียบ ถ้าของเราไม่เหมือนกับอีกสามองค์ละก็ สวัสดีท่านทีนึงแล้วหาเล่นใหม่ ตอนแรกๆ ก็จะดูไม่ค่อยออกหรอกครับว่าเหมือนหรือแตกต่างกันยังไง แต่พอเพดานบินสูงขึ้น จะเริ่มสังเกตเห็นเอง เขาเรียกว่าวิธีการดูแบบธรรมชาติ พอตาจำแนกออก แล้วทีนี้ "รัศมีเซียน" เริ่มจะจับแล้วละครับ
- เข้าใจคำว่า "ดูพระ" ไหมครับ ความหมายก็คือใช้ตาดู ไม่ใช่ใช้หูดู เพราะบางคนตาจ้องพระแต่หูกระดิกคอยฟังเสียงว่าคนอื่นพูดว่ายังไง เสร็จครับ โดนแน่นอน เพราะพระต่างๆ จะมีนิทาน นิยาย จนบางทีคนเล่าเองยังงง บางองค์เป็นมรดกตกทอดของเจ้าคุณปู่ เจ้าคุณย่า สารพัดจะพูดกัน ตั้งสติดีๆ แล้วใช้ตาดู บางคนฉลาดหน่อยอาศัยเล่นพระองค์ที่วงการยอมรับ มีรูปลงตีพิมพ์มาหลายสิบปี ก็มักจะได้พระแท้ แต่ราคาก็ตามประวัติ คือ แพงหน่อย หากยังไม่มีทุน "ตามพระ" แล้วอยากจะเป็นเอง ก็อย่าฟังนิทาน หรือนิยายเพราะไม่มีใครยืนยันได้หรอกครับ
-พยายามศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของพระประเภทที่ต้องการศึกษา เช่น ธรรมชาติของโลหะ, สภาพของพระเนื้อดิน หรือเนื้อผง กรรมวิธีการสร้าง เช่น การหล่อ หรือ ปั๊ม พวกนี้จะหาอ่านได้ทั่วๆ ไป แต่ต้องอ่านแบบศึกษาจริงๆ จังๆ นะครับ ไม่ใช่อ่านไปงั้นๆ แล้วก็ลองคิดดูเอาเองว่ามันจริงอย่างที่เขาเขียนเขาบอกหรือเปล่า -พยายามศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของพระประเภทที่ต้องการศึกษา เช่น ธรรมชาติของโลหะ, สภาพของพระเนื้อดิน หรือเนื้อผง กรรมวิธีการสร้าง เช่น การหล่อ หรือ ปั๊ม พวกนี้จะหาอ่านได้ทั่วๆ ไป แต่ต้องอ่านแบบศึกษาจริงๆ จังๆ นะครับ ไม่ใช่อ่านไปงั้นๆ แล้วก็ลองคิดดูเอาเองว่ามันจริงอย่างที่เขาเขียนเขาบอกหรือเปล่า จำไว้เลยว่าความรู้ต้องทุ่มเทศึกษานะครับไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า เล่นเป็นหรือยัง เขาบอกยังงี้ครับว่า ถ้าอยากจะรู้ว่าตัวเองเข้าขั้น "เซียน" หรือยังไต่บันไดเซียนอยู่ ให้ลอง บินเดี่ยว คือ ลองเช่า โดยตัดสินใจด้วยตัวเอง ถ้าแท้ละก็ เริ่มจะเป็นเซียนแล้ว แต่ถ้าเช่า สามสี่ครั้งยังเก๊อยู่ละก็ คงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่แล้วที่สำคัญ ใจเย็นๆ นะครับ ให้ย้อนกลับไปอ่านย่อหน้าแรกของคอลัมน์นี้อีกที แล้วลงมือปฏิบัติอย่างจริงๆ จังๆ สักวัน คงได้เป็นเซียนสมใจ ครับผม
สุดยอดพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่หาต้องการมีไว้ครอบครองเป็นเจ้าของ เรียกว่าอยากได้มากถึง
มากที่สุด ต้องยกให้พระสมเด็จในเครือของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อันได้แก่ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดบางขุนพรหม และวัดเกศไชโย
โดยเฉพาะ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม" นับเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่ฝันหา การทำเทียมหรือล้อเลียนรูปแบบพิมพ์ทรงจึงมีมากมายสุดคณานับ ถึงขนาดมีผู้เคยเปรียบเทียบว่า หากนำพระสมเด็จที่ทำเทียมเลียนแบบหรือล้อพิมพ์การสร้างพระของสมเด็จ (โต) ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันทั้งหมดมาเรียงกัน พื้นที่บนท้องสนามหลวงก็ยังไม่เพียงพอที่จะบรรจุพระเทียมดังกล่าวได้หมดสิ้น
การพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น สำหรับผู้ริเริ่มฝึกหัดการตรวจสอบพระเครื่อง จึงขอแนะนำหลักการเบื้องต้นในการพิจารณาตรวจโดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ดังนี้
ในการพิจารณาองค์พระเบื้องต้นจะต้องพิจารณาภาพรวมขององค์พระทั้งหมดก่อนว่าเป็นพิมพ์ใด ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามก็มีอยู่เพียง 4 พิมพ์เท่านั้น คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม แม้แต่ละพิมพ์จะแยกพิมพ์ย่อยออกไปอีกก็ตาม แต่ "ภาพรวม" จะช่วยให้สามารถเห็นถึง "เอกลักษณ์" ของแม่พิมพ์แต่ละพิมพ์ได้ชัดเจน
เอกลักษณ์หรือศิลปะของแม่พิมพ์ ที่ใช้เป็นแม่แบบในการพิมพ์องค์พระโดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น จำเป็นจะต้องยึดแม่พิมพ์เป็นหลัก ภาษานักเลงพระเขาเรียกกันว่า "ดูพิมพ์ไม่ดูเนื้อ" เหตุที่ต้องให้ความสำคัญกับแม่พิมพ์ก็เพราะในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามการแกะสลักแม่พิมพ์ถือว่าเป็นศิลปะเฉพาะตัวขององค์พระ การทำเทียมเลียนแบบพิมพ์ดั้งเดิมนั้นจะทำได้โดยการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะไม่มีทางแกะแม่พิมพ์เดิมได้เลย และอีกวิธีหนึ่งคือการถอดพิมพ์จากองค์พระแท้ซึ่งจะมีลักษณะหดเล็กและไม่คมชัด ถ้าหากใช้ความสังเกตแล้วจะสามารถพบเห็นได้โดยง่าย
ย้อนกลับมาถึงการพิจารณาตรวจสอบเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ เบื้องต้น ก่อนอื่นเมื่อมองภาพรวมแล้วจะพบว่า องค์พระที่ประดิษฐานอยู่กลางซุ้มครอบแก้วจะมีลักษณะใหญ่โต สง่างาม ประหนึ่งพระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์และวิหารของวัดต่างๆ คือมักจะอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของโบสถ์
ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ จะเป็นเพียงเครื่องเสริมความสง่างามและความอลังการขององค์พระเท่านั้น เช่นเดียวกับองค์พระของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซึ่งถูกเรียกว่า "พิมพ์พระประธาน" สาเหตุนอกจากการที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านจำลองมาจากพระประธานของวัดระฆังฯ แล้ว หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าทั้งซุ้มครอบแก้ว และฐานทั้ง 3 ชั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เสริมให้องค์พระสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น ในส่วนองค์พระเองมีความสง่างามอยู่ในตัวและเป็นจุดศูนย์กลางสายตาทั้งหมดอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะ มุมมองพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่โดยราม วัชรประดิษฐ์
เมื่อได้ลักษณะภาพรวมแม่พิมพ์ใหญ่แล้วควรจดจำให้ได้ว่า พิมพ์ใหญ่แยกออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ พิมพ์มีเส้นแซมใต้หน้าตัก พิมพ์อกตัววี พิมพ์อกกระบอก และพิมพ์เกศทะลุซุ้ม ทั้ง 4 พิมพ์นี้มีเอกลักษณ์แม่พิมพ์เช่นเดียวกันอันเป็นหลักเบื้องต้นแห่งการตรวจสอบองค์พระ ที่เพียงใช้ความสังเกตด้วยตาเปล่าก็สามารถพบได้ดังนี้
-ด้านซ้ายขององค์พระจะมีจุดบรรจบของซุ้มครอบแก้วกับเส้นขอบแม่พิมพ์ ซึ่งจะมาบรรจบกันบริเวณช่วงข้อ ลำแขน ข้อศอก ขององค์พระเท่านั้น
- หัวไหล่ด้านซ้ายขององค์พระจะเล็กและบางกว่าเนื้อหัวไหล่ด้านขวาขององค์พระ
- หากตะแคงดูจะพบว่าพื้นราบภายในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นนอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อย
- เมื่อพลิกด้านหลังขององค์พระจะต้อง มีลักษณะเฉพาะขององค์พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซึ่งได้แก่ หลังสังขยา หลังกาบหมาก หลังกระดาน และหลังแผ่นเรียบ สำหรับด้านหลังขององค์พระที่จะต้องใช้ความสังเกตมากขึ้นก็คือ "หลังแผ่นเรียบ" ซึ่งต้องตรวจสอบดูรอยปูไต่อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของพระสมเด็จ
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปอีกเกี่ยวกับ "ตำหนิแม่พิมพ์" ขององค์พระ เช่น ลักษณะการหันพระพักตร์และลำพระองค์ ความสูงต่ำของฐานทั้งซ้ายขวาซึ่งจะไม่เท่ากัน ลักษณะของซุ้มครอบแก้ว ชายจีวร ฯลฯ
หลักเบื้องต้นนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาเบื้องต้นได้พอสมควรครับผม
คอลัมน์ : พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม : วัชรประดิษฐ์
มุมมองพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์โดยราม วัชรประดิษฐ์
แนวทางการศึกษา พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ อาจใช้วิธีการเปรียบเทียบกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ โดยมีหลักการพิจารณาดังนี้
- เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระ ของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะลากยาวลงมาจรดกับขอบซุ้มเรือนแก้วตรงมุมล่างพอดี ต่างจากพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะมาจรดกับขอบซุ้มเรือนแก้วตรงกลางของแขนองค์พระ
-พระเกศของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีรอยขยักเหมือนมีพวงมาลัยครอบไว้กลางพระเกศ ซึ่งต่างจากพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
-บริเวณหัวไหล่ทั้งซ้ายและขวาขององค์พระ ระหว่างหัวไหล่ถึงใต้รักแร้ทั้งสองข้างของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเท่าๆ กัน ต่างกับพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ เนื้อที่ระหว่างหัวไหล่กับรักแร้ด้านขวาขององค์พระจะกว้างกว่าด้านซ้ายขององค์พระ
-เส้นซุ้มครอบแก้วของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเล็กกว่าเส้นซุ้มครอบแก้วของพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่
- หัวฐานชั้นที่ 2 ด้านขวามือขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีลักษณะเรียวแหลม ซึ่งคนโบราณเรียกว่า "หัวเรือเอี้ยม จุ๊น"
- พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ ในองค์ที่ติดชัดจะมีเส้นผ้าอังสะพาดจากหัวไหล่ลงมาใต้รักแร้อย่างเห็นได้ชัด ส่วนพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ จะไม่ปรากฏเส้นผ้าอังสะ
- แขนข้างขวาด้านในขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีเนื้อพอกอยู่เป็นส่วนเกิน ซึ่งเป็นตำหนิของแม่พิมพ์ที่เป็นส่วนลึกสุด ถึงแม้องค์ใดจะผ่านการใช้จนสึกหรือกดพิมพ์ไม่ลึกเพียงพอ แต่เนื้อพอกส่วนเกินของซอกแขนนี้ก็คงจะยังปรากฏให้เห็นชัด เจนอยู่
- ข้อศอกซ้ายด้านนอกของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะไม่มีเส้นชายจีวรแล่นจากข้อศอกมายังเข่าเหมือนพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
- มุมหัวฐานด้านขวาขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ชั้นล่างสุด จะมีเส้นรอยแตกของแม่พิมพ์วิ่งแล่นจรดมุมซุ้ม
- สัดส่วนของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเล็กกว่าพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
ท้ายสุดคือพิมพ์ด้านหลัง พิมพ์ด้านหลังของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะไม่เหมือนพิมพ์ด้านหลังของพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ ตามภาษาวงการพระเรียกว่า "พิมพ์หลังทื่อ" หรือหลังเรียบ และขอบด้านหลังจะมี "รอยปูไต่" อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของพระ สมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งท่านเจ้าประ คุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างขึ้นครับผม
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม วัชรประดิษฐ์
มุมมองการสะสมพระโดยราม วัชรประดิษฐ์
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม วัชรประดิษฐ์
วงการพระบ้านเราเรียกได้ว่าเป็นที่รวมสิงห์เหนือเสือใต้ หรือสำนวนหนังกำลังภายในต้องใช้คำว่า ชุมนุมพยัฆค์ ซ่อนมังกรหมอบ อะไรเทือกนั้น คนที่เล่นพระใหม่ๆ มือไม้สั่นไปหมดกลัวโน่น กลัวนี่ จนสุดท้ายไม่ได้เล่น ความจริงแล้ว ทำใจให้โล่งๆ ถ้าอยากเล่นพระ เพราะไม่ใช่สถานที่น่ากลัวอะไร จากประสบการณ์ที่ผ่านมาสามารถประมวลกรรม วิธีการเล่นพระให้เป็น โดยไม่เจ็บเนื้อเจ็บตัวได้ โดยยึดหลักใหญ่ๆ ดังนี้
- หัดเล่นเป็นอย่างๆ ก็คือ เล่นพระให้รู้แจ้งแทงตลอดเป็นชนิดๆ ไม่ใช่อยากเป็นโน่น อยากเป็นนี่ จนตัวเองงงไปหมด นักเล่นใหม่ๆ มักจะกังวลว่าจะรู้น้อย ไม่ต้องกลัวนะครับ เมื่อเล่นพระหรือรู้ เรื่องพระเป็นชนิดๆ ความรู้ความสามารถในการดูพระชนิดอื่นๆ ก็จะตามมาเอง เพราะส่วนใหญ่แล้วพระหลายๆ ชนิด จะมีหลักการพิจารณา คล้ายคลึงหรือเป็นมาตรฐานเดียวกัน
- ต้องดูของจริงบ่อยๆ ภาษาเซียน เขาเรียก "ดูฟรี" ก็เบี้ยน้อยหอยน้อยนี่ครับ จะเช่าหลักหมื่น หลักแสน ก็กลัวไปหมด ระยะแรกๆ เลยต้องตีตั๋วฟรีไปก่อน อ้าว แล้วไปดูที่ไหนล่ะ อย่างแรกเลยง่ายๆ คือ ดูในหนังสือ กับเว็บไซต์พระเครื่องทั่วๆ ไป สมัยนี้ดีนะครับไม่เหมือนสมัยก่อน กว่าจะได้ดูแต่ละองค์นี่ตาเหลือก เดี๋ยวนี้ มีตีพิมพ์แพร่หลาย หาที่มีมาตรฐานหน่อย ก็จะได้รายละเอียดพอสมควร แต่ก็ไม่สมบูรณ์ตรงที่จะไม่มีมิติหรือความลึก และคำนวณขนาดที่แท้จริงไม่ค่อยได้ เพราะฉะนั้น ขั้นต่อมาก็คือ ไปโน่นเลยครับ ดูพระฟรีตามงานประกวดพระ ที่เขาตัดสินแล้วโชว์ หรือเดินดูตามตู้โชว์พระ ถ้ามีทุนพอค่อยเช่ามาส่องดูให้ทะลุทะลวงที่บ้าน
- แล้วดูยังไงละว่าเก๊หรือแท้ อันนี้เป็นเคล็ดลับครับ วิธีง่ายที่สุดในโลกคือ นำรูปพระหรือองค์พระที่แท้ หรือที่คิดว่าแท้ พิมพ์เดียวกัน มาวางเรียงกันอย่างน้อย 3 องค์ แล้วนำรูปพระเก๊ หรือ ที่คิดว่าเก๊ มาวางเปรียบเทียบ ถ้าของเราไม่เหมือนกับอีกสามองค์ละก็ สวัสดีท่านทีนึงแล้วหาเล่นใหม่ ตอนแรกๆ ก็จะดูไม่ค่อยออกหรอกครับว่าเหมือนหรือแตกต่างกันยังไง แต่พอเพดานบินสูงขึ้น จะเริ่มสังเกตเห็นเอง เขาเรียกว่าวิธีการดูแบบธรรมชาติ พอตาจำแนกออก แล้วทีนี้ "รัศมีเซียน" เริ่มจะจับแล้วละครับ
- เข้าใจคำว่า "ดูพระ" ไหมครับ ความหมายก็คือใช้ตาดู ไม่ใช่ใช้หูดู เพราะบางคนตาจ้องพระแต่หูกระดิกคอยฟังเสียงว่าคนอื่นพูดว่ายังไง เสร็จครับ โดนแน่นอน เพราะพระต่างๆ จะมีนิทาน นิยาย จนบางทีคนเล่าเองยังงง บางองค์เป็นมรดกตกทอดของเจ้าคุณปู่ เจ้าคุณย่า สารพัดจะพูดกัน ตั้งสติดีๆ แล้วใช้ตาดู บางคนฉลาดหน่อยอาศัยเล่นพระองค์ที่วงการยอมรับ มีรูปลงตีพิมพ์มาหลายสิบปี ก็มักจะได้พระแท้ แต่ราคาก็ตามประวัติ คือ แพงหน่อย หากยังไม่มีทุน "ตามพระ" แล้วอยากจะเป็นเอง ก็อย่าฟังนิทาน หรือนิยายเพราะไม่มีใครยืนยันได้หรอกครับ
-พยายามศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของพระประเภทที่ต้องการศึกษา เช่น ธรรมชาติของโลหะ, สภาพของพระเนื้อดิน หรือเนื้อผง กรรมวิธีการสร้าง เช่น การหล่อ หรือ ปั๊ม พวกนี้จะหาอ่านได้ทั่วๆ ไป แต่ต้องอ่านแบบศึกษาจริงๆ จังๆ นะครับ ไม่ใช่อ่านไปงั้นๆ แล้วก็ลองคิดดูเอาเองว่ามันจริงอย่างที่เขาเขียนเขาบอกหรือเปล่า -พยายามศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของพระประเภทที่ต้องการศึกษา เช่น ธรรมชาติของโลหะ, สภาพของพระเนื้อดิน หรือเนื้อผง กรรมวิธีการสร้าง เช่น การหล่อ หรือ ปั๊ม พวกนี้จะหาอ่านได้ทั่วๆ ไป แต่ต้องอ่านแบบศึกษาจริงๆ จังๆ นะครับ ไม่ใช่อ่านไปงั้นๆ แล้วก็ลองคิดดูเอาเองว่ามันจริงอย่างที่เขาเขียนเขาบอกหรือเปล่า จำไว้เลยว่าความรู้ต้องทุ่มเทศึกษานะครับไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า เล่นเป็นหรือยัง เขาบอกยังงี้ครับว่า ถ้าอยากจะรู้ว่าตัวเองเข้าขั้น "เซียน" หรือยังไต่บันไดเซียนอยู่ ให้ลอง บินเดี่ยว คือ ลองเช่า โดยตัดสินใจด้วยตัวเอง ถ้าแท้ละก็ เริ่มจะเป็นเซียนแล้ว แต่ถ้าเช่า สามสี่ครั้งยังเก๊อยู่ละก็ คงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่แล้วที่สำคัญ ใจเย็นๆ นะครับ ให้ย้อนกลับไปอ่านย่อหน้าแรกของคอลัมน์นี้อีกที แล้วลงมือปฏิบัติอย่างจริงๆ จังๆ สักวัน คงได้เป็นเซียนสมใจ ครับผม
1 ความคิดเห็น:
กำลังศึกษาครับ
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ