พระครูสังฆรักษ์ หิน อินทวินโย หรือ หลวงปู่หิน เรียกตามตำแหน่งฐานานุกรมในพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก ( หลวงปู่นาค)ว่า พระครูสังฆรักษ์หิน หลวงปู่หิน เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของวัดระฆังโฆสิตาราม
รูปบนสมเด็จองค์นี้เป็นของหลวงปู่หินลองดูหลักการพิจารณาคราบน้ำมนต์โดยการเเช่น้ำมนต์กับองค์พระเนื้อผง หลวงปู่ หิน นามสกุลเดิม สุขเกษม เกิดเมื่อ 9 เดือนพฤศจิกายน 2442 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เวลา ประมาณ 18.30 น. ที่จังหวัด ปริวแวง ประเทศ กัมพูชา บวชเป็น สามเณร 15ปี ภายหลังได้ลาสิกขาบท มาช่วยโยมมารดาบิดา มาประกอบอาชีพ อยู่พักหนึ่ง และได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้ง อายุ 21 ปี ณ...พัทธสีมา วัดธนาคัน ตำบลจาง อำเภอ ตะแบก จังหวัด ปริวแวง ประเทศกัมพูชา โดยมีพระรัตนาวงศาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แรม เป็นพระกัมมวาจา และพระมงคลเถระเป็นพระอนุสาวนา จารย์.....หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ในทางไสยศาสตร์..ชั้นแรกคือการเรียน ตรีนิสิงเห การเรียนลงเลขยันต์...ยันต์ตรีนิสิงเห มีอุปเท่ห์สารพัดซึ่งหลวงปู่ หิน ใช้ได้ผลมามาก หลวงปู่ หิน ท่านมีความมุ่งมั่นในทางการเรียนวิชาไสยศาสตร์มาก เดินธุดงค์รุกขมูลตามป่าดงดิบ ประเทศพม่า พระตะบอง นครวัด ได้ร่ำเรียน วิชาการต่างๆมากมาย ฝึกฝนกับพระคณาจารย์ต่างๆ การอบรมเสร็จสิ้น เมื่อ เดือน 12 พศ..2465 หลวงปู่ หิน ได้เดินธุดงค์ มาเรื่อยๆ ตามตะเข็บชายแดน ของประเทศไทย มายัง กบินทร์บุรี นครนายก สระบุรี และได้เดินมานมัสการ พระพุทธบาท สระบุรี จากนั้น ใช่ว่า มาอยู่ เมืองไทยนะครับ ...ท่านเดินทางกลับไปประเทศพม่า โดยใช้เส้นทางเดิม กลับวัดธนาคันตามเดิม คือ วัดที่ท่านบวชแต่ครั้งแรก
ในระหว่างนั้นท่านก็หมั่นปฏิบัตรธรรมกรรมฐาน จนได้ชื่อว่าเป็น พระที่เชี่ยวชาญทางกรรมฐานท่านหนึ่ง ทุกครั้งที่ท่านออกพรรษา ท่านจะออกธุดงค์ตลอดไม่ค่อยอยู่วัด ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ เวียงจันทร์หลวงพระบาง ย้อนกลับมา เมืองไทย แล้วกลับประเทศพม่า ...ครั้งหนึ่งหลวงปู่ หินมีความประสงค์จะเดินทางรุกค์ขมูลไปยังประเทศอินเดียให้ได้ แต่แล้วเป็นจุดหักเห ของชีวิตของท่าน พระเพื่อนที่ร่วมเดินทางของท่านเกิดป่วยกลางป่าลึกในระหว่างทาง จึงได้เดินทางมาที่เมืองไทยทำการรักษาตัว ในที่สุดพระรูปนี้ มรณภาพลงที่ จังหวัด ตาก ...ในเวลานั้น ใกล้เวลาจะเข้าพรรษาหลวงปู่ หิน จำต้องจำพรรษาที่ จังหวัด ตาก 1 พรรษา
หลังจากนั้น หลวงปู่ ก็เดินธุดงค์ ต่อไป ที่ จังหวัด เชียงใหม่ เลยเข้าไป ประเทศ พม่า และต่อมาท่านเดินทางมาที่ จังหวัด สุโขทัย พักอยุ่ ที่ วัดพุทธปรางค์ อำเภอ สวรรคโลก 2 เดือน และออกธุดงค์มาเรื่อย จนถึง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้พบกับพระอุปัชฌาย์ เทพ ซึ่ง เป็นพระเพื่อนมาแต่เดิม เป็นเจ้าอาวาส อยู่ วัดทางหลวง ตำบล ปลายกลัด อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านจึงพำนักที่นั้น และช่วยดำเนินการสร้างเสนาสนะสงฆ์ ตลอดจนวิหารและศาลาฟังธรรมต่างๆ จนลุล่วง ท่านได้อยู่วัดทางหลวงเป็นเวลา 11 พรรษา อยุธยา นั้น ไม่สิ้นคนดี เป็นคำพังเพย โบราณ ที่เราคุ้นๆหูกันอยู่นะครับ หลวงปู่ หิน ได้ร่ำเรียนไสยศาสตร์แถบนี้มาก ต่อมาก แม้กระทั่งหลวงพ่อ จง แห่งวัดหน้าต่างนอก... หลวงพ่อ ต่วน วัด กล้วย ซึ่งต่อมาเป็นพระสหายทางสมิกธรรม ฯลฯ ประวัติการร่ำเรียนวิชาทาง ไสยศาสตร์ของท่าน ว่าร่ำเรียนกับพระอาจารย์ท่านใดนั้นมิอาจบรรยายได้ เพราะ หลวงปู่ หิน ท่านออกธุดงค์ เพียงรูปเดียวในระยะหลัง
ต่อมาใน พศ....2478 ท่านได้ทราบถึง กิติศัพท์ ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เกิดมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงตัดสินใจเดินทางมายัง วัดระฆังโฆสิตาราม และเข้ากราบนมัสการ พระเทพสิทธินายก หรือ หลวงปู่ นาค ขณะนั้น หลวงปู่ นาค ดำรงตำแหน่ง พระราชโมฬี เจ้าอาวาส แห่งวัดระฆัง สนทนาธรรมเป็นที่ถูก อัธยาศัย ยิ่งนัก ....หลวงปู่ นาค จึงได้ชักชวนให้อยู่จำพรรษา อยู่ วัดระฆัง เสียที่นี่ คณะ3 ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของวัด ปัจจุบันเป็นโรงเรียนโฆสิตสโมสร ในสมัยนั้นทางสำนัก วัดระฆังได้เปิดอบรม กัมมัฎฐานและวิปัสสนา หลวงปู่ นาค ก็ได้แต่งตั้ง หลวงปุ่ หิน มีหน้าที่ช่วยเหลือในกิจของสงฆ์ทางวัด ตลอดมา ไม่ว่าพัฒนางานก่อสร้างทำนุบำรุงต่างๆ สมัยนั้นมีแต่แรงงานพระในผ้าเหลืองล้วน หลวงปู่ หิน เป็นช่างควบคุมเองทั้งหมด ไม่ว่า ครั้งใด คำปฏิเสธนั้น ไม่เคย หลุดจากปากท่านเลย กับการก่อสร้างวัดวาอารามต่างๆหลายวัด แม้ในบางครั้งท่านได้ไม่มีเงินพอที่จะช่วย ท่านก็นำพระผงของท่าน มามอบให้ประชาชนได้บูชากัน เพื่อนำเงินไปใช้ในการก่อสร้าง นั้นๆ เป็นเจตนาที่บริสุทธิ์โดยแท้
การสร้างพระผงต่างๆ ของหลวงปู่ หิน แห่งวัดระฆังนั้น ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หลวงปู่ นั้นมีความศรัทธา ต่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มากๆ หลวงปู่ท่านพยายามเสาะแสวงหา พระสมเด็จมาสะสมไว้ ทั้งที่ แตกหักและชำรุด จนมีจำนวนมากพอแก่ความต้องการ ท่านจึงนำมาโขลกเป็นผง นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ยัดผงปิลันทร์จากกรุ มุมพระอุโบสถ ด้านทิศใต้ .....ผงจากกรุ วัดสามปลื้ม ผงสุริบาตร และผงตรีนิสิงเห ที่ขาดมิได้ ...... การสร้างพระพิมพ์ของหลวงปู่ นั้น เริ่มตั้งแต่ พศ...2482-พศ..2515มีจำนวน 8 รุ่นด้วยกัน อาจารย์ ขวัญ วิสิฎโฐ ( คุ้มประยูร) เป็นผู้ช่วยเหลือโดยใกล้ชิด พระเครื่องที่สร้างแบ่งตาม พศ. พอจำแนก.ได้ ดังนี้
1...พระสมเด็จ รุ่นแรก พศ..2482 มี5พิมพ์
1.1พิมพ์อกครุฑ
1.2พิมพ์แหวกม่าน
1.3พิมพ์เส้นด้าย
1.4พิมพ์ทรงเจดีย์
1.5พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก
2....พระสมเด็จรุ่น 2 พศ..2484มี 5 พิมพ์
2.1พิมพ์ทรงพระประธาน
2.2พิมพ์ทรงพระเกศทะลุซุ้ม
2.3พิมพ์ทรงชายจีวร
2.4พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
2.5พิมพ์ทรงอกร่องหูยานคู่
3...พระสมเด็จ รุ่น 3 พศ..2488 มีเพียง 2 พิมพ์
3.1พิมพ์ทรงนิยม
3.2พิมพ์ทรงเจดีย์
4...พระสมเด็จรุ่นที่ 4 พศ..2494 ติดต่อถึงปี 95 จึงเรียกว่า รุ่น 2495
4.1พิมพ์ทรงพระประธาน พิมพ์นี้มี 2ชนิด คือ เนือ้ผงและเนื้อผงใบลาน
4.2พิมพ์พระประธานขาโต๊ะ
4.3พิมพ์ทรงเจดีย์
4.4พิมพ์สามเหลี่ยมด้านเท่า
4.5พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
4.6พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่วพิมพ์เล็ก
5...พระสมเด็จรุ่น5 พศ..2497มีเพียง 2 พิมพ์เท่านั้น
5.1พิมพ์ทรงเจดีย์
5.2พิมพ์เจดีย์ทะลุซุ้ม
6...พระสมเด็จรุ่นที่ 6 พศ..2500
6.1พิมพ์พระประธาน ขนาดบูชา
6.2พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์ใหญ่
6.3พิมพ์ทรงนาคปรก
6.4พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม
6.5พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
6.6พิมพ์ฐานหมอน
6.7พิมพ์ทรงนิยม
6.8พิมพ์ทรงเจดีย์
6.9พิมพ์ทรงนิยมพิมพ์กลาง
6.10พิมพ์ทรงนิยม พิมพ์เล็ก
6.11พิมพ์คะแนนปรกโพธิ์
6.12พิมพ์คะแนนพระประธาน
6.13พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
6.14พิมพ์คะแนนทรงพระประธานขนาดเล็ก
6.15พิมพ์ทรงเม็ดแตง
7...พระสมเด็จ รุ่นที่ 7 พศ...2512 เรียกว่า รุ่น เสาร์5 มี6 พิมพ์
7.1พิมพ์นิยมเสาเอก สร้างด้วยไม้ ทำจากเสากุฎิ สมเด็จโต
7.2พิมพ์ทรงจุฬามณี
7.3พิมพ์สังฆาฎิ
7.4พิมพ์ทรงอกร่องหูยานฐานแซม
7.5พิมพ์กลีบบัว
7.6พิมพ์ทรงพระประธาน หูบายศรี
8...พระสมเด้จ รุ่นที่ 8 รุ่นสุดท้าย พศ..2515 เรียก ว่ารุ่น100ปี การมรณภาพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พิธีมหาพุทธาภิเศก หลวงปู่หิน สร้าง2พิมพ์เข้าพิธีด้วย มี 2พิมพ์
8.1พิมพ์ทรงนิยม
8.2พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
8.3เหรียญ รุ่นแรก พศ.2516
นอกจากนี้ยังมีพระนอกพิมพ์อีกจำนวนหลายพิมพ์เช่นกัน เรียกว่า พิมพ์นอก เป็นพระที่สร้างในปีเดียวกัน แต่ไม่ได้ออกเป็นทางการ ท่านจะแจกเป็นการส่วนตัวแต่พิมพ์ทรงจะแตกต่างกันออกไป
ท่านพระครูสังฆรักษ์ หิน อุปสมบทพระ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พศ...2463พรรษาแห่งการบวช ท่านศีกษาทางกรรมฐานจนแตกฉาน จนเกิดความชำนาญ ต่อมาศึกษาทางด้านคาถาอาคม จนเกิดความแตกฉาน วิชาไสยศาสตร์ ชนิดหาตัวจับยาก ภายหลังค้นคว้าแพทย์แผนโบราณ รักษาผู้คนตกทุกข์ได้ยาก เป็นพันๆคนในขณะนั้น ท่านย้ายมาอยู่ วัดระฆัง พศ...2478 ?พศ..2521 ตลอดระยะเวลา 43ปี ภายหลังหลวงปู่ หิน ป่วย ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดกล้วย จ...อยุธยา เพื่อทำการรักษาตัวเพราะไม่มีเวลาพักผ่อน และท่านมีเวลาไม่นานแล้ว ประกอบกับมีเนื้องอกที่ กระพุ้งแก้มเพราะ เกิดจาการฉันท์หมากมาก ในปีเดียวกันนั้นเอง (พศ..2521) ท่านเดินทางกลับวัดระฆัง 19พฤษภาคม 2521 ...........มรณภาพ21 พฤษภาคม2521 รวมอายุ 79ปี 58 พรรษา @@@ขอขอบคุณข้อมูลนี้จากหนังสือประวัติ หลวงปู่หิน จากวัด พระศรีสุทธิโสภณ (เที่ยง อัคคธัมโม ปธ..9) 3ตค..2521 ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียง ประวัติ หลวงปู่ หิน ...และเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุคส์ ภาพ ขาวดำ ..เล่มเล็ก ...ที่ออกมาจากวัดระฆัง..หนังสือเล่มนี้ทำแจกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ที่มางานฌาปนกิจ หลวงปู่ หิน ในครานั้น
ในระหว่างนั้นท่านก็หมั่นปฏิบัตรธรรมกรรมฐาน จนได้ชื่อว่าเป็น พระที่เชี่ยวชาญทางกรรมฐานท่านหนึ่ง ทุกครั้งที่ท่านออกพรรษา ท่านจะออกธุดงค์ตลอดไม่ค่อยอยู่วัด ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ เวียงจันทร์หลวงพระบาง ย้อนกลับมา เมืองไทย แล้วกลับประเทศพม่า ...ครั้งหนึ่งหลวงปู่ หินมีความประสงค์จะเดินทางรุกค์ขมูลไปยังประเทศอินเดียให้ได้ แต่แล้วเป็นจุดหักเห ของชีวิตของท่าน พระเพื่อนที่ร่วมเดินทางของท่านเกิดป่วยกลางป่าลึกในระหว่างทาง จึงได้เดินทางมาที่เมืองไทยทำการรักษาตัว ในที่สุดพระรูปนี้ มรณภาพลงที่ จังหวัด ตาก ...ในเวลานั้น ใกล้เวลาจะเข้าพรรษาหลวงปู่ หิน จำต้องจำพรรษาที่ จังหวัด ตาก 1 พรรษา
หลังจากนั้น หลวงปู่ ก็เดินธุดงค์ ต่อไป ที่ จังหวัด เชียงใหม่ เลยเข้าไป ประเทศ พม่า และต่อมาท่านเดินทางมาที่ จังหวัด สุโขทัย พักอยุ่ ที่ วัดพุทธปรางค์ อำเภอ สวรรคโลก 2 เดือน และออกธุดงค์มาเรื่อย จนถึง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้พบกับพระอุปัชฌาย์ เทพ ซึ่ง เป็นพระเพื่อนมาแต่เดิม เป็นเจ้าอาวาส อยู่ วัดทางหลวง ตำบล ปลายกลัด อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านจึงพำนักที่นั้น และช่วยดำเนินการสร้างเสนาสนะสงฆ์ ตลอดจนวิหารและศาลาฟังธรรมต่างๆ จนลุล่วง ท่านได้อยู่วัดทางหลวงเป็นเวลา 11 พรรษา อยุธยา นั้น ไม่สิ้นคนดี เป็นคำพังเพย โบราณ ที่เราคุ้นๆหูกันอยู่นะครับ หลวงปู่ หิน ได้ร่ำเรียนไสยศาสตร์แถบนี้มาก ต่อมาก แม้กระทั่งหลวงพ่อ จง แห่งวัดหน้าต่างนอก... หลวงพ่อ ต่วน วัด กล้วย ซึ่งต่อมาเป็นพระสหายทางสมิกธรรม ฯลฯ ประวัติการร่ำเรียนวิชาทาง ไสยศาสตร์ของท่าน ว่าร่ำเรียนกับพระอาจารย์ท่านใดนั้นมิอาจบรรยายได้ เพราะ หลวงปู่ หิน ท่านออกธุดงค์ เพียงรูปเดียวในระยะหลัง
ต่อมาใน พศ....2478 ท่านได้ทราบถึง กิติศัพท์ ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เกิดมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงตัดสินใจเดินทางมายัง วัดระฆังโฆสิตาราม และเข้ากราบนมัสการ พระเทพสิทธินายก หรือ หลวงปู่ นาค ขณะนั้น หลวงปู่ นาค ดำรงตำแหน่ง พระราชโมฬี เจ้าอาวาส แห่งวัดระฆัง สนทนาธรรมเป็นที่ถูก อัธยาศัย ยิ่งนัก ....หลวงปู่ นาค จึงได้ชักชวนให้อยู่จำพรรษา อยู่ วัดระฆัง เสียที่นี่ คณะ3 ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของวัด ปัจจุบันเป็นโรงเรียนโฆสิตสโมสร ในสมัยนั้นทางสำนัก วัดระฆังได้เปิดอบรม กัมมัฎฐานและวิปัสสนา หลวงปู่ นาค ก็ได้แต่งตั้ง หลวงปุ่ หิน มีหน้าที่ช่วยเหลือในกิจของสงฆ์ทางวัด ตลอดมา ไม่ว่าพัฒนางานก่อสร้างทำนุบำรุงต่างๆ สมัยนั้นมีแต่แรงงานพระในผ้าเหลืองล้วน หลวงปู่ หิน เป็นช่างควบคุมเองทั้งหมด ไม่ว่า ครั้งใด คำปฏิเสธนั้น ไม่เคย หลุดจากปากท่านเลย กับการก่อสร้างวัดวาอารามต่างๆหลายวัด แม้ในบางครั้งท่านได้ไม่มีเงินพอที่จะช่วย ท่านก็นำพระผงของท่าน มามอบให้ประชาชนได้บูชากัน เพื่อนำเงินไปใช้ในการก่อสร้าง นั้นๆ เป็นเจตนาที่บริสุทธิ์โดยแท้
การสร้างพระผงต่างๆ ของหลวงปู่ หิน แห่งวัดระฆังนั้น ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หลวงปู่ นั้นมีความศรัทธา ต่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มากๆ หลวงปู่ท่านพยายามเสาะแสวงหา พระสมเด็จมาสะสมไว้ ทั้งที่ แตกหักและชำรุด จนมีจำนวนมากพอแก่ความต้องการ ท่านจึงนำมาโขลกเป็นผง นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ยัดผงปิลันทร์จากกรุ มุมพระอุโบสถ ด้านทิศใต้ .....ผงจากกรุ วัดสามปลื้ม ผงสุริบาตร และผงตรีนิสิงเห ที่ขาดมิได้ ...... การสร้างพระพิมพ์ของหลวงปู่ นั้น เริ่มตั้งแต่ พศ...2482-พศ..2515มีจำนวน 8 รุ่นด้วยกัน อาจารย์ ขวัญ วิสิฎโฐ ( คุ้มประยูร) เป็นผู้ช่วยเหลือโดยใกล้ชิด พระเครื่องที่สร้างแบ่งตาม พศ. พอจำแนก.ได้ ดังนี้
1...พระสมเด็จ รุ่นแรก พศ..2482 มี5พิมพ์
1.1พิมพ์อกครุฑ
1.2พิมพ์แหวกม่าน
1.3พิมพ์เส้นด้าย
1.4พิมพ์ทรงเจดีย์
1.5พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก
2....พระสมเด็จรุ่น 2 พศ..2484มี 5 พิมพ์
2.1พิมพ์ทรงพระประธาน
2.2พิมพ์ทรงพระเกศทะลุซุ้ม
2.3พิมพ์ทรงชายจีวร
2.4พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
2.5พิมพ์ทรงอกร่องหูยานคู่
3...พระสมเด็จ รุ่น 3 พศ..2488 มีเพียง 2 พิมพ์
3.1พิมพ์ทรงนิยม
3.2พิมพ์ทรงเจดีย์
4...พระสมเด็จรุ่นที่ 4 พศ..2494 ติดต่อถึงปี 95 จึงเรียกว่า รุ่น 2495
4.1พิมพ์ทรงพระประธาน พิมพ์นี้มี 2ชนิด คือ เนือ้ผงและเนื้อผงใบลาน
4.2พิมพ์พระประธานขาโต๊ะ
4.3พิมพ์ทรงเจดีย์
4.4พิมพ์สามเหลี่ยมด้านเท่า
4.5พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
4.6พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่วพิมพ์เล็ก
5...พระสมเด็จรุ่น5 พศ..2497มีเพียง 2 พิมพ์เท่านั้น
5.1พิมพ์ทรงเจดีย์
5.2พิมพ์เจดีย์ทะลุซุ้ม
6...พระสมเด็จรุ่นที่ 6 พศ..2500
6.1พิมพ์พระประธาน ขนาดบูชา
6.2พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์ใหญ่
6.3พิมพ์ทรงนาคปรก
6.4พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม
6.5พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
6.6พิมพ์ฐานหมอน
6.7พิมพ์ทรงนิยม
6.8พิมพ์ทรงเจดีย์
6.9พิมพ์ทรงนิยมพิมพ์กลาง
6.10พิมพ์ทรงนิยม พิมพ์เล็ก
6.11พิมพ์คะแนนปรกโพธิ์
6.12พิมพ์คะแนนพระประธาน
6.13พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
6.14พิมพ์คะแนนทรงพระประธานขนาดเล็ก
6.15พิมพ์ทรงเม็ดแตง
7...พระสมเด็จ รุ่นที่ 7 พศ...2512 เรียกว่า รุ่น เสาร์5 มี6 พิมพ์
7.1พิมพ์นิยมเสาเอก สร้างด้วยไม้ ทำจากเสากุฎิ สมเด็จโต
7.2พิมพ์ทรงจุฬามณี
7.3พิมพ์สังฆาฎิ
7.4พิมพ์ทรงอกร่องหูยานฐานแซม
7.5พิมพ์กลีบบัว
7.6พิมพ์ทรงพระประธาน หูบายศรี
8...พระสมเด้จ รุ่นที่ 8 รุ่นสุดท้าย พศ..2515 เรียก ว่ารุ่น100ปี การมรณภาพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พิธีมหาพุทธาภิเศก หลวงปู่หิน สร้าง2พิมพ์เข้าพิธีด้วย มี 2พิมพ์
8.1พิมพ์ทรงนิยม
8.2พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
8.3เหรียญ รุ่นแรก พศ.2516
นอกจากนี้ยังมีพระนอกพิมพ์อีกจำนวนหลายพิมพ์เช่นกัน เรียกว่า พิมพ์นอก เป็นพระที่สร้างในปีเดียวกัน แต่ไม่ได้ออกเป็นทางการ ท่านจะแจกเป็นการส่วนตัวแต่พิมพ์ทรงจะแตกต่างกันออกไป
ท่านพระครูสังฆรักษ์ หิน อุปสมบทพระ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พศ...2463พรรษาแห่งการบวช ท่านศีกษาทางกรรมฐานจนแตกฉาน จนเกิดความชำนาญ ต่อมาศึกษาทางด้านคาถาอาคม จนเกิดความแตกฉาน วิชาไสยศาสตร์ ชนิดหาตัวจับยาก ภายหลังค้นคว้าแพทย์แผนโบราณ รักษาผู้คนตกทุกข์ได้ยาก เป็นพันๆคนในขณะนั้น ท่านย้ายมาอยู่ วัดระฆัง พศ...2478 ?พศ..2521 ตลอดระยะเวลา 43ปี ภายหลังหลวงปู่ หิน ป่วย ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดกล้วย จ...อยุธยา เพื่อทำการรักษาตัวเพราะไม่มีเวลาพักผ่อน และท่านมีเวลาไม่นานแล้ว ประกอบกับมีเนื้องอกที่ กระพุ้งแก้มเพราะ เกิดจาการฉันท์หมากมาก ในปีเดียวกันนั้นเอง (พศ..2521) ท่านเดินทางกลับวัดระฆัง 19พฤษภาคม 2521 ...........มรณภาพ21 พฤษภาคม2521 รวมอายุ 79ปี 58 พรรษา @@@ขอขอบคุณข้อมูลนี้จากหนังสือประวัติ หลวงปู่หิน จากวัด พระศรีสุทธิโสภณ (เที่ยง อัคคธัมโม ปธ..9) 3ตค..2521 ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียง ประวัติ หลวงปู่ หิน ...และเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุคส์ ภาพ ขาวดำ ..เล่มเล็ก ...ที่ออกมาจากวัดระฆัง..หนังสือเล่มนี้ทำแจกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ที่มางานฌาปนกิจ หลวงปู่ หิน ในครานั้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ