ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่                                                                                        
ลองมาดูการวิเคราะห์ตามเนื้อหาองค์พระดูครับ พิมพ์ทรง
เป็นพิมพ์พระสมเด็จที่นิยมกันเเต่เนื้อหายังไม่ถึงยุคสมเด็จโต ดูจาก



1.หน้าองค์พระเป็นแบบผลมะตูม
 องค์นี้ด้านซ้ายมือเป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ของอั๊ง เมืองชลหรือสมภพ ไทยธีระเสถียรปัจจุบันท่านเป็นอุปนายกของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย


องค์นี้ด้านซ้ายมือเป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานเเซมของเฮียกวง ท่าพระจันทร์หรือท่านกิติ ธรรมจรัส  ปัจจุบันท่านเป็นอุปนายกของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยทุกวันนี้ท่านได้ขอลาออกจากอุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาเเล้ว


2เห็นพระกรรณเเละ.เกศายาวเอียงไปทางซ้ายนิด ๆ

3.ไหล่ซ้ายองค์พระ ด้านซ้ายขององค์พระหักลงตามมาตรฐานพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เเละซอกเเขนซ้ายทางด้านซ้ายขององค์พระสูงกว่าซอกเเขนไหล่ขวาขององค์พระ

4.ฐานทั้งสามขององค์พระได้มาตราฐานของพระสมเด็จ                 5.เส้นซุ้มโย้ไปทางซ้ายขององค์พระเล็กน้อยหรือเรียกว่าเส้นซุ้มใหญ่หนา มีลักษณะเป็นหวายผ่าซีก

6.ซุ้มด้านขวาหักค่อนข้างชันกว่าด้านซ้ายเพื่อเข้าหาเส้นซุ้มบริเวณต้นแขน

7.มีเส้นบังคับพิมพ์ตามมาตราฐานนิยม เเต่องค์นี้การตัดปีกกว้างมองให้เห็นเส้นวาสนามาลงมาประจบใกล้ข้อศอกขององค์พระ
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่


องค์นี้อยู่ในวงการราคาเเปดหลักซึ่งเนื้อหาเหมือนหรือคล้ายกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

องค์ข้างบนทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง

8.การตัดพิมพ์ขอบขององค์พระตัดจากหลังมาข้างหน้าสังเกตุจากขอบการตัดข้างมีเนื้อปลิ้นออกมาด้านหน้า

9.ด้านหลังมีวรรณะ เหี่ยวย่นเล็กน้อยยังเรียบอยู่ยังไม่ไช่ด้านหลังที่เป็นเเบบสากล
10.มีคราบแป้งรองพิมพ์ คราบของการระเหิดจากมวลสารข้างในเเบบธรรมชาติ

10.1 การเกิดคราบเเป้งเกิดจากการยุบและsetตัวของมวลสารประกอบขององค์พระทำให้เกิดปฎิกิริยาจากสิ่งแวดล้อม ขับดันให้มีคราบฝ้าขาวจับที่หน้าผิวพระ

11.ทั้งขอบด้านหลังเเละขอบด้านข้างมีรอยปริแตกแยกยุบตัวเเบบธรรมชาติเล็กน้อย ด้านหลังมีรอยยับย่นเเละรูเข็มเเบบธรรมชาติให้เห็นทั่วไปเล็กน้อยโดยรวมเเล้วถือว่ายังใหม่อยู่ยังไม่ไช่เเบบวัดระฆังมีอายุตามกาลเวลา

12.องค์พระผ่านการใช้มาก่อนโดนการมีสิ่งห่อหุ้มองค์พระ ด้านหลังเปิดกลางหลังองค์พระโดยการใช้เเบบทะนุทะนอมไม่สมบุกสมบัน
13.ท่อนเเขนลงมาช่วงข้อศอกด้านซ้ายขององค์พระที่ลงมาหาข้อมือด้านซ้ายขององค์พระเล็กที่สุดในบรรดาวงเเขนทั้งหมดตรงตามเเบบพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

14.ปลายเท้าของขาซ้ายของด้านซ้ายองค์พระเป็นสันนูนตรงกับข้อศอกของด้านขวาองค์พระตรงตามเเบบพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

เนื้อหาทั่วไปของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่พระองค์นี้มีมวลสารชัดเจนสวยงามมาก มีเม็ดผงวิเศษสีขาวให้เห็นทั่วองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้งผงดำและผงแดงปรากฏให้เห็นทั่วไป

1.เม็ดมวลสารบริเวณใบหน้าชัดเจนและสวยงามมาก

2.หน้าอกและต้นแขนปรากฎมวลสารสีขาวเช่นกัน

3.บริเวณเข่าที่ปรากฎมวลสารสีขาวเช่นกัน

4.ฐานชั้นกลางมีทั้งจุดแดงและจุดขาว

5.ฐานชั้นล่างมีมวลสารสีดำประปรายไปทั่ว

6.องค์พระผงวิเศษให้เห็นเต็มไปหมดเป็นเม็ดเล็ก เม็ดใหญ่เต็มไปหมด เกาะกันเป็นกลุ่ม

7.เนื้อพระแห้งสนิทเเบบธรรมชาติ
ข้อวิเคราะห์
1.เป็นพระเก่ามีอายุเเต่ยังไม่ถึงวัดระฆัง
2.สัดส่วนองค์พระมาตรฐาน                                                                                                                      3.เส้นบังคับพิมพ์ปรากฎให้เห็นตามมาตรฐาน หลักสากล นิยม
ข้อสันนิษฐาน
เป็นพระอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี พิมพ์ทรงเข้าพิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย อีกทั้งเนื้อพระยังไม่เก่าถึงวัดระฆัง 
คงไม่ไช่เป็นพระเกจิอาจารย์ในยุคสงครามอินโดจีน (พ.ศ. ๒๔๘๕) จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๐
ไม่ไช่เป็นพระสมเด็จสร้างโดยหลวงปู่นาคปีประมาณ ๒๔๘๕ – ๒๔๙๕ เเต่เป็นผงทำจากผงเก่าของสมเด็จโตที่ชำรุด
เเละน่าจะเป็นพระหลวงตาพันยุคก่อนเปิดกรุบางขุนพรหม ท่านอาจสร้างโดยใช้ผงเก่าจากพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักตอนถูกตกขึ้นมาจากเจดีย์
องค์นี้จะเป็นสีขาวอมเหลืองพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทรงพิมพ์นิยมเเบบวัดระฆังด้านหลังเเบบวัดระฆังเเต่เนื้อหายังไม่มีกาลเวลาปรากฎให้เห็นมากนัก จะขออภิบายเรื่องด้านหลังของสมเด็จวัดระฆังตามนิยมครับ ธรรมชาติด้านหลัง พระสมเด็จวัดระฆัง"
การศึกษาพระสมเด็จวัดระฆัง นอกจากจะมุ่งเน้นศึกษาพุทธลักษณะด้านหน้า

หรือที่เรียกกันว่า พิมพ์ทรง แล้ว
ด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆัง ก็ถือเป็นจุดสำคัญในการพิจารณาไม่ได้ด้อยไปกว่าด้านหน้า

ในอดีต บรรดาเซียนพระมักจะพูดอวดตัวเสมอว่า พระสมเด็จวัดระฆังนั้นให้คว่ำหน้า

เปิดดูเฉพาะหลังก็จะพิจารณาได้ว่าเป็นพระแท้หรือเก๊ได้ทันที
การศึกษาลักษณะเนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่าในพระสมเด็จวัดระฆัง

                                                                                                   หากเราศึกษาจากด้านหลังขององค์พระจะให้ความกระจ่างกว่าด้านหน้า

เนื่องจากเป็นพื้นผิวที่เรียบเสมอกัน

และไม่มีส่วนนูนของพิมพ์ทรงมาเป็นข้อขัดขวางทำให้สะดวกในการพิจารณา

จึงขอนำด้านหลังมาเป็นแนวทางในการศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังอีกทางหนึ่ง
ตามประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นการสร้างที่เรียกว่า ทำไปแจกไป

องค์นี้ของคุณต้อย เมืองนนท์

ดังนั้นจึงทำให้มวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังมีความแตกต่างกัน

อันสืบเนื่องมากจากปริมาณในการใส่ส่วนผสมที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง
ถึงกระนั้น มวลสารหลักในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังก็มิอาจบิดเบือนไปจากสูตรหลัก


มวลสารหลักในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังประกอบไปด้วย ปูนเปลือกหอย

มีส่วนผสมของผงวิเศษอันเกิดจากการเขียนและลบพระสูตรเลขยันต์ ตลอดจนพระคาถาต่างๆ

สำเร็จเป็นผงวิเศษ เกสรดอกไม้ ผงธูป เป็นต้น
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รวบรวมมวลสารทั้งหมดมาผสมกันแล้วผสมกับน้ำอ้อย



นำเนื้อทั้งหมดลงในครก ตำให้เนื้อละเอียดแล้วผสมกันจนเนื้อเหนียวหนึก

เสร็จแล้วนำเนื้อแต่ละครกขึ้นมาปั้นเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาวๆ
เมื่อได้เนื้อเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาวๆมีขนาดเพียงพอดีกับการสร้างพระแต่ละองค์


เอาตอกตัดเนื้อเป็นชิ้นๆ ขนาดหนาพอควร เราเรียกเนื้อแต่ละชิ้นว่า ชิ้นฟัก
แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังนั้น...


สันนิษฐานว่าแกะจากหินชนวนโดยแกะแม่พิมพ์เป็นตัวเมีย
คือลึกลงไปในเนื้อหินชนวนเป็นรูปพระประธานมีซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นคล้ายหวายผ่าซีก


โดยมีขอบสี่เหลี่ยมขององค์พระรอบซุ้มเรือนแก้วทั้ง 4 ด้านที่เรียกว่า เส้นบังคับ

ซึ่งสันนิษฐานได้ว่ามีการบากที่ขอบขององค์พระทั้ง 4 มุม ไว้

เพื่อเป็นจุดที่จะนำตอกมาตัดขอบพระสมเด็จทั้ง 4 ด้าน
กรรมวิธีในการพิมพ์นั้นค่อยๆ กดเนื้อพระสมเด็จให้แน่น


เสร็จแล้วจึงนำไม้กระดานมาวางลงบนเนื้อพระสมเด็จ

สันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีไม้กระดาน 4 แผ่น ในคราวพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง

ไม้กระดานทั้ง 4 แผ่นคงจะมีผิวไม่เหมือนกัน

จึงเกิดพิมพ์ด้านหลังองค์พระตามลายไม้กระดานทั้ง 4 แผ่น
ลักษณะด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังอันสืบเนื่องมาจากลายไม้กระดานทั้ง 4 แบบ


ได้ข้อสรุปแบบพิมพ์ด้านหลังไว้ดังนี้



1.พิมพ์หลังกาบหมาก

ลักษณะด้านหลังพิมพ์นี้จะดูเป็นลายไม้กระดานซึ่งเมื่อพระหดตัวตามอายุความเก่าของพระ

ลายไม้กระดานจะดูละเอียดและลึกยิ่งขึ้นเหมือนลายกาบหมากที่แห้งและหดตัว
ธรรมชาติของด้านหลังอันเกิดจากอายุความเก่าที่เห็นได้ชัดมาก คือ


รอยปริแตกของเนื้อพระที่ลู่ไปในทางเดียวกัน

เมื่อพระแห้งและหดตัวลง รอยปริแยกนี้จะแยกให้เห็นชัดขึ้นเรียกกันว่า รอยปูไต่

มีลักษณะเป็นเส้นๆ เหมือนขาปูไต่ถูกเนื้อ
สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังที่ผ่านการใช้หรือสัมผัส สมัยก่อนก็มักจะเปิดหลังให้ถูกร่างกายผู้ใช้


บางองค์ถูกกัดกร่อนด้วยเหงื่อไคลดูคล้ายลักษณะที่เรียกกันว่า หลังเน่า

รอยกาบหมากก็จะเลอะเลือนไม่ชัดเจน

แต่รอยปูไต่และรอยปริแตกกระเทาะของขอบข้างองค์พระยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนทุกองค์
2. พิมพ์หลังกระดาน


ลักษณะจะเป็นลายไม้กระดานที่เห็นคลองเลื่อยขวางกับองค์พระ

บางองค์คลองเลื่อยจะเห็นชัดเจนมาก บางองค์ก็จะไม่ชัดนัก

และจะปรากฏธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังคือ

รอยปูไต่ และรอยขอบกระเทาะอย่างชัดเจน
3. พิมพ์หลังสังขยา


มีลักษณะเหมือนหน้าสังขยา คือไม่เรียบแต่ก็ไม่มีลายละเอียดเหมือนพิมพ์หลังกาบหมาก

จะเห็นได้ชัดว่าพื้นผิวด้านหลังจะมีความขรุขระ ปรากฏรอยปูไต่ลู่ตามทางเดียวกัน

ตลอดจนรอยกระเทาะของขอบพระ

. พิมพ์หลังแผ่นเรียบ


ลักษณะของด้านหลังพิมพ์นี้จะดูเรียบไม่มีรอยกาบหมาก รอยกระดานหรือรอยสังขยา

ดูมีความเรียบร้อยสวยงาม ปรากฏธรรมชาติความเก่าอันได้แก่ รอยปูไต่ ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง

(บางองค์จะไม่มีรอยปูไต่) และรอยกระเทาะของขอบพระชัดเจน
ก่อนจะจบ ขอนำเรื่องของธรรมชาติความเก่าที่เราเรียกว่า รอยปูไต่ มาให้ทราบกันพอสังเขป

รอยปูไต่ เป็นคุณลักษณะประการหนึ่งบนพื้นผิวพระสมเด็จวัดระฆัง

เป็นปฏิกิริยาของผิวที่ได้รับความร้อนแล้วแห้งจากส่วนบนไปในเนื้อพระ

มีลักษณะเป็นรอยย้ำจากภายนอกเข้าไปในเนื้อ มีลัณฐานเขื่องและเป็นรอยคู่

คือ 2 รูเคียงกันและเดินเกาะคู่เป็นแนว ส่วนมากจะพบบริเวณชายกรอบด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง

และเดินไปด้านตรงข้ามในแนวเฉียง

มีทั้งเฉียงลงและเฉียงขึ้นทีละน้อยจนกระทั่งหายไปทางด้านตรงข้าม
รอยปูไต่นี้ ถ้าปรากฏในพระสมเด็จองค์ใด


สามารถช่วยพิจารณาตัดสินยืนยันความแท้ของพระสมเด็จองค์นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

เพราะปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่าพระปลอมสามารถทำให้ใกล้เคียงกับพระแท้

ที่มีความหนักเบาของเส้นรอยปูไต่อย่างธรรมชาติ


องค์ต่อมาพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เนื้อปูนเปลือกหอยองค์นี้เป็นพิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย องค์พระอวบอูมสมบูรณ์มาก คมชัดลึกฉบับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ไม่มีคราบกรุให้เห็นซึ่งเเสดงว่าพระองค์นี้เจ้าของเดิมได้มาก็ทำการลงรักเเบบเบาบางหรือไม่ก็ทางวัดตอนสร้างเสร็จก็ได้ลงรักไว้ก่อนเเล้วเพื่อที่จะรักษาสภาพเนื้อพระ พระองค์นี้ผ่านการใช้มาเเต่ไม่มากเพราะสภาพยังคงเดิมมาก เเละกาลต่อมาคราบรักก็หลุดตามกาลเวลาเเละองค์ตัวพระก็โดนล้างคราบรักออกซึ่งดูจากกาลเวลาเนื้อองค์พระ พระที่เป็นเนื้อผงเนื้อตามกาลเวลานั้นไม่สามารถทำปลอมได้เเต่จะทำได้เเค่ใกล้เคียงเท่านั้นส่วนทรงพิมพ์สามารถทำปลอมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ นี้เป็นสูตรตายตัวของพระเนื้อผง ฉะนั้นการพิจารณาพระเนื้อผงนั้นจะดูเเต่ทรงพิมพ์ไม่ได้ ต้องดูส่วนประกอบหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน เเละต้องรู้ว่าในการสร้างพระเเต่ละครั้งนั้นเขาใช้เนื้ออะไรมาใช้สร้างตอนนั้นเเละเนื้อนั้นเมื่อผ่านกาลเวลามาเเล้วจะมีลักษณะอย่างไร สีเปลี่ยนไปอย่างไร เเละพระเนื้อผงเมื่ออยู่ในที่อับอากาศจะเป็นอย่างไรโดยส่วนมากพระที่ฝังตามวัดวาอารามอุณภูมินั้นย่อมเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศเเละเวลาหรือเรียกว่าพระกรุเเต่พระลงกรุจะหนีไม่พ้นเรื่องความร้อน ร้อนมาก ร้อนน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเเต่ละพื้นที่นั้นเองซึ่งเนื้อพระจะต่างกับองค์พระที่ไม่ได้ลงกรุ ของปลอมทำได้เเค่เร่งเนื้อเพื่อให้ถึงกาลเวลา เเต่ก็ยังทำไม่ได้เพราะพระเนื้อผงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่เเล้ว การสะสมพระอย่าสะสมด้วยการได้ยิน การได้ฟัง การได้พูด จงสะสมด้วยการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากผู้มีประสบการณ์จริงเเละผู้รู้จริงเเละเอาหลักการตามความเป็นจริงมาใช้ประกอบพิจารณา 

ขอบด้านข้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
หลวงวิจารณ์เจียรนัยซึ่งท่านได้เเกะบล๊อกพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ออกเเบบไว้หลายพิมพ์เเต่ก็ยังคงเอกลักลักษณ์ของท่านไว้ เเล้วถวายสมเด็จโตเเต่ละพิมพ์นั้นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะเเต่ละองค์เเต่ก็จะเป็นเเบบฉบับของหลวงวิจารณ์เจียรนัยอยู่เเล้ว องค์นี้ถือว่าเป็นพระสภาพเเชมป์เเบบเดิมๆ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เป็นพระเนื้อผงที่มีความหลากหลายและมีความเป็นมาที่น่าสนใจ และเนื้อหาและพิมพ์ทรง ยิ่งเป็นพระที่มีความเก่าหรือผ่านการใช้บูชามานานพอสมควร จะมีสภาพที่ดูซึ่งตาและมีเอกลักษณ์พิเศษ ที่เรียกกันในหมู่ผู้สนใจพระเนื้อผงว่ามีความ “หนึกนุ่ม”
หลวงวิจารณ์เจียรนัยได้เข้ามาช่วยสมเด็จ ท่านแกะพิมพ์พระตั้งแต่ปลายยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 และแกะแม่พิมพ์พระถวายต่อมาถึงยุคสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นเวลานานพอสมควร ในการแกะพิมพ์ในตอนแรกคือปลายสมัยยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยความใหม่ต่อการทำแม่พิมพ์งานที่ออกมาจึงดูไม่เรียบร้อย พิมพ์พระจะไม่มีรอยกรอบแม่พิมพ์ เวลาถอดพระออกจากแม่พิมพ์เอามาตัดแต่งจะใช้ตอกตัด(ตอกคือไม้รวก – ไม้ไผ่เหลาให้บางเป็นคมมีด) คนตัดแต่งที่เผลอไม่ระวังหรือตัดไม่ชำนาญ จะตัดแฉลบเข้าหาซุ้มพระทำให้แหว่ง ดูไม่สวยและเสียหายมาก และพุทธศิลป์ขององค์พระยังไม่งามนัก บางพิมพ์เอวลอย เอวขาด เอวหนา ดูอ้วนไปบ้าง แขนหรือพระหัตถ์ไม่เท่ากันไม่สมดุลย์โย้เอียงไป ซอกรักแร้สองข้างไม่สมดุลย์ข้างซ้ายลึกกว่าข้างขวา หัวไหล่ไม่เสมอข้างขวามนข้างซ้ายตัดเอียงลงดูไม่สวย หูหรือพระกรรณ์ในแม่พิมพ์มี แต่พอพิมพ์ออกมาแค่ติดรางๆ ฐานสิงห์ชั้นกลาง ฐานไม่คมขาฐานจะติดชัดข้างติดไม่ชัดข้างดูไม่สวยงาม ซึ่งเป็นยุคกลางของคุณหลวงที่แกะพิมพ์พระ

การแกะพิมพ์พระชุดใหม่ของท่าน จะเพิ่มการตัดขอบพระโดยเพิ่มเส้นกรอบให้รู้ตำแหน่งการตัด เพราะพระพิมพ์ใหญ่ของท่าน ซุ้มครอบแก้วด้านบนจะเล็กกว่าด้านล่างจึงต้องทำ เส้นกรอบด้านซ้ายให้ลงมาตรงขอบซุ้มตรงบริเวณแนวกลางแขนซ้ายพระ ส่วนขอบพระด้านขวาเส้นกรอบจะลงมาชนเส้นซุ้มแถวฐานชั้นล่าง กรอบบนจะทำเส้นกรอบให้ชัดขึ้นมองเห็นเป็นเส้นชัดเจนให้ตัดได้ พิมพ์ที่แก้ไขแล้ว มีเวลาช่างตัดขอบพระมักจะตัดออกมา เป็นแนวสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างซ้ายพระจะตัดตรงลงมานอกกรอบ เลยกลายเป็นเส้นกรอบสองเส้นไป ด้านขวาพระก็เช่นกันจะมีเส้นกรอบสองเส้นในบางองค์ บางองค์ก็ตัดตามเส้นกรอบก็จะมีเส้นเดียว พระที่แก้แม่พิมพ์แล้วจึงมีเส้นกรอบทางด้านซ้ายติดอยู่ นักสะสมพระในปัจจุบันนับถือเป็นตำหนิพิมพ์ที่สำคัญ ถ้าพระองค์ไหนมีเส้นกรอบชัดเจนจะถือว่าถูกพิมพ์มีราคา เลยเรียกเส้นกรอบนี้ว่า เส้นวาสนาหรือเส้นเงินเส้นทอง พระองค์ไหนไม่มีหรือตัดไม่ชัดจะกลายเป็นพระผิดพิมพ์ไป ซื้อขายเป็นพุทธพานิชไม่ได้ ร้ายไปกว่านั้นเซียนบางคนตีเก๊ไปเลยก็มี

บ่อยครั้งที่เราเจอพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ที่แปลกตาและมีเนื้อหาที่น่าสนใจ แต่พิมพ์ทรงไม่เป็นไปตามที่เห็นก็ตาม หนังสือพระเครื่องหรือตำราดูพระสมเด็จต่าง ๆ อย่ามองข้าม ท่านอาจพบพระที่น่าสนใจ สามารถนำไปศึกษาหรืออ้างอิงถึงพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์ในฝันก็เป็นได้
ยกตัวอย่างองค์นี้ ตามภาพที่แสดงข้างล่าง
การศึกษาวิเคราะห์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
ก่อนการวิเคราะห์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ให้ลึกลงไปอยากให้ผู้อ่านได้เห็นภาพองค์นี้ชัดๆ
พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

เเน่นอนพิมพ์ทรงขององค์นี้เป็นพิมพ์ทรงนิยมของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่สังเกตได้จาก
เรียนรู้การตัดขอบพระเนื้อผงจากยุคอดีตถึงปัจจุบัน
การเล่นพระ คุณจะต้องรู้จริง หมายถึง ต้องรู้กระบวนการผลิตการทำ ฝีมือของช่างที่ถ่ายทอดออกมา ศิลปะแบบนี้แบบนั้นอยู่ในยุคไหน จุดนี้สำคัญ เป็นพื้นฐานที่เซียนพระทุกคนต้องรู้ อยากให้ทุกคนให้ความสำคัญที่แม่พิมพ์เป็นหลัก เนื้อหามวลสารมาทีหลัง อย่างพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหม แม่พิมพ์จะเป็นแบบตัดขอบด้านนอกทั้ง ๔ ด้าน ขณะที่สมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุฯ สมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติ แม่พิมพ์เป็นแบบสำเร็จ ๓ ด้าน ตัดขอบด้านล่าง ส่วนพระเนื้อผงในยุค พ.ศ. ๒๔๙๗ ไล่ลงมา นิยมใช้แม่พิมพ์แบบตัดขอบสำเร็จในตัวทั้ง ๔ ด้าน และใช้เครื่องปั๊มทันสมัยมากขึ้น เช่น พระผงของขวัญวัดปากน้ำภาษีเจริญ พระผงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น



ด้านหน้าเเละด้านหลังขององค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
เนื้อหา

สุดยอด เป็นพระเนื้อขาวอมเหลืองที่มีอายุและมีความมันแบบที่เรียกกันว่าเนื้อหนึกนุ่ม มองดูสบายตา หรือ มีความมันแบบที่เรียกกันว่าขาวเหมือนกระดูกเป็นพิมพ์ทรงเป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม รับรองว่าไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่ใช่พระสมเด็จวัดระฆัง
1.ขนาดมาตรฐานพระสมเด็จพิมพ์ทั่ว ๆ ไป ยิ่งเป็นพิมพ์ที่มีเส้นชายจีวรอย่างที่เรียกกันในยุคปัจจุบันว่า “พิมพ์ใหญ่” หรือ “พิมพ์พระประธาน” 

2.เส้นซุ้มใหญ่หรือหวายผ่าซีก
เป็นพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่นิยมกัน ดูจาก

1.หน้าองค์พระเป็นแบบผลมะตูมสวยงาม  อกนูนใหญ่

2.โคนเกศใหญ่ ปลายเรียวเล็กชนซุ้ม เอียงไปทางซ้ายนิด ๆ
3.ซอกรักเเร้ซ้ายสูงกว่าซอกรักเเร้ขวาเล็กน้อยหัวไหล่ซ้ายองค์พระหักลงมาตามเเบบฉบับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
4.ฐานทั้งสามขององค์พระสวยงามเเละฐานชั้นที่สองเป็นขาสิงห์ เเละฐานขั้นล่างสุดเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู

5.ซุ้มโย้ไปทางซ้ายขององค์พระตามเเบบฉบับสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
6.ซุ้มด้านขวาหักค่อนข้างชันกว่าด้านซ้ายเพื่อเข้าหาเส้นซุ้มบริเวณต้นแขนหรือเส้นซุ้มด้านขวาขององค์พระจะเป็นรอยเว้า                 7.มีเส้นบังคับพิมพ์หรือเกือบตัดเเบบขอบชิดให้มองเห็นเส้นบังคับเเม่พิมพ์ตามเเขนลากมาถึงข้อศอกซ้ายขององค์พระที่หักมุมขององค์พระแล้วหายไปกับเส้นซุ้มลักษณะจะกลืนหายไป...แล้วเป็นเส้นเดียวกับเส้นซุ้ม 
8.บริเวณพื้นที่ในซุ้มด้านบนทางซ้ายมือขององค์พระต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มของพื้นที่ด้านบนสุดทางซ้ายมือองค์พระสมเด็จองค์นี้ถือว่าเป็นมาตราฐาน
9.ฐานชั้นเเรกโค้งรองรับองค์พระสวยงาม
เนื้อหา
10.หัวเข่าด้านขวามือองค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่กระดกขึ้นเล็กน้อยมองเห็นปลายพระบาท
11.หัวเข่าด้านซ้ายองค์พระสูงกว่าด้านขวาองค์พระ
12.องค์พระเอียงไปทางซ้ายมือขององค์พระเล็กน้อยรองรับกับฐานกับเส้นซุ้ม
13.มีรอยการเกิดบ่อน้ำตา รอยรูเข็ม หนอนด้นเกิดขึ้นน้อยเพราะจากการเอารักออก ทั้งด้านหน้าเเละด้านหลังขององค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
14.เส้นซุ้มตามขอบพระปรากฎมีการเกิดรอยหดของเนื้อพระเเบบธรรมชาติ
15.จุดสิ้นสุดของปลายพระบาท (เท้า) ซ้ายจะตรงกับแนวท่อนแขนด้านขวาขององค์พระ การทอดดิ่งลงมาของแขนด้านขวาขององค์พระแล้วหักเว้าเข้ามาที่ข้อศอก เราจะเห็นจุดสิ้นสุดของปลายพระบาท(เท้า)ซ้ายของพระสมเด็จวัดระฆังตรงนี้ทุกองค์ ปลายพระบาททั้งสองข้างจะเป็นลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร
พระชงฆ์ (แข้ง) ซ้ายจะทับอยู่ด้านหน้า จะเห็นได้ชัดเจนในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทุกองค์
16.พระกรรณด้านซ้ายขององค์พระมองเห็นชัดเจน
17.ฐานชั้นล่างจะเห็นเป็นเเอ่งเล็กน้อยที่มองเห็นลางๆก็เพราะการเอารักออก
18.พื้นผิวด้านในซุ้มอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นผิวด้านนอก
19.ในวงเเขนรักเเร้ด้านในของด้านซ้ายมือขององค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ลึกกว่าเเละยกสูงกว่าวงในวงเเขนด้านในรักเเร้ด้านขวามือของค์พระ
20.ความหนาของบ่าทางด้านซ้ายขององค์พระหนากว่าบ่าขวาขององค์พระ
21.การตัดขอบขององค์พระเป็นเเบบขอบกระด้งหรือตัดขอบมาจากด้านหลังมาข้างหน้าของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
22.ลำพระพาหา (เเขน) การทิ้งดิ่งเเขนดูสง่างามเเบบผ่อนคลาย ไม่เเข้งกระด้าง
23.ลำแขนซ้ายองค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
ช่วงต้นแขนโค้งขึ้นรับกับหัวไหล่ซ้ายที่วกลงยังต้นแขน
ลีลาของหัวไหล่ ต้นแขนและเส้นสังฆาฏิรับกันได้อย่างพอดี
ดูเหมือนจะเป็นเส้นเดียวกัน
ต้นแขนซ้ายจากช่วงหัวไหล่ลงมาถึงข้อศอก เป็นเส้นโค้งน้อยๆ มีลักษณะคล้ายวงเล็บปิด
การหักศอกก็ไม่แข็งกร้าวมากนัก ลำพระกรหรือลำแขนท่อนล่างกับข้อพระกรหรือข้อมือจะดูสั้นมาก
อยู่ใต้ข้อศอกตรงเส้นชายจีวรลงมานิดเดียว ช่วงแนวคอดคือ ข้อมือหรือข้อพระกร
24.ลำแขนขวาขององค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

ต้นแขนด้านนี้จะดูสั้นกว่าต้นแขนซ้ายเล็กน้อย
และลำแขนขวานี้จะมีลักษณะที่กางออกจากลำตัวมากกว่าลำแขนซ้ายอีกด้วย
ลักษณะของต้นแขนขวาจะทิ้งลงมาในลักษณะเป็นแนวตรงๆ
ซึ่งจะแตกต่างจากต้นแขนซ้ายที่ทิ้งลงมาแบบโค้งเล็กน้อย
ลำพระกรหรือแขนท่อนล่างด้านขวาจะดูยาวกว่าลำพระกรด้านซ้ายมาก
พระหัตถ์ (มือ) จะนูนหนากว่าลำพระกรเล็กน้อย
จุดการซ้อนมือมักจะโย้ไปทางขวาเล็กน้อย
25.มือประสานใหญ่กว่าแขน

26.มองเห็นเส้นเเซมฐานรองนั่ง

ลองมาดูมวลสารทั่วไปที่เกิดขึ้นกับองค์พระนี้
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ นี้มีมวลสารชัดเจนสวยงามมาก มีเม็ดผงวิเศษสีขาวให้เห็นทั่วองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
รวมทั้งผงดำ ผงแดง เเละผงน้ำตาล ปรากฏให้เห็นทั่วไป
1.เป็นพระเนื้อละเอียดมองเห็นมวลสารทั่วไป
2.หน้าอก เส้นซุ้ม ต้นแขนเเละใบหน้าขององค์พระปรากฎมวลสารจุดสีขาว สีดำ สีเเดง สีน้ำตาล
3.ปรากฎมวลสารสีขาว
4.ฐานชั้นกลางมีทั้งจุดแดงและจุดขาว
5.ฐานชั้นล่างมีมวลสารสีดำประปรายไปทั่ว
6.ด้านหลังเเละด้านหน้าปรากฏผงวิเศษให้เห็นเต็มไปหมดเป็นเม็เล็ก ๆ เกาะกันเป็นกลุ่ม
7.เนื้อพระแห้งสนิท                                                                                                                                เอาเป็นว่าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่นี้นี่แหละที่เซียนมักพูดกันว่า “เนื้อใช่ พิมพ์ใช่ ความเก่าไม่ต้องพูดถึง มีรอยลานแบบใยแมงมุมเฉพาะด้านหน้าอย่างธรรมชาติให้เห็นทั่วองค์พระ แถมยังมีคราบรักแดงเก่าที่แห้งสนิทให้เห็นทั่วทั้งองค์ทั้งรอยรักเเทรกเข้าไปในในรอยเเตกรานขององค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ขององค์นี้ซึ่งของปลอมยังทำไม่ได้ถ้าทำได้กล้องส่องของจริงก็จะรู้เองซึ่งของจริงกับเลียนเเบบมันไม่เหมือนกัน ผิวละเอียดที่นวลและดูนุ่มนวลไปทั้งองค์นี่แหละที่เขาเรียกกันว่า “เนื้อหนึกนุ่ม”

มวลสารมีให้เห็นทั่วไปทั้งจุดดำและจุดแดง ผงวิเศษที่ว่าสมเด็จโตลบจากการเขียนคาถา ๕ อย่างมีให้เห็นประปราย
ด้านหลังขององค์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่นี้เป็นประเภทหลังเรียบ ดูง่ายไม่แพ้กัน
เรียกได้เลยว่า เนื้อหาของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่นี้ ครบสูตร เป็น “องค์ครู” สำหรับดูเปรียบเทียบกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่จะเจอในตลาดพระหรือตามแผงพระทั่วไป

มีองค์นี้แล้ว รับรองเข้าใจเลยว่า “พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อขาว” มีเนื้อหาเป็นอย่างไร
ข้อวิเคราะห์
ถ้าเป็นพระหลวงปู่ภูยุคแรกก็ยังมีข้อกังขาเพราะพิมพ์ทรงแบบนี้ไม่ใช่ลักษณะของพระหลวงปู่ภู ยิ่งดูเนื้อแล้วยิ่งมั่นใจว่าไม่ใช่หลวงปู่ภูสร้างใหญ่ เพราะพิมพ์เป็นพิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัยเพราะเส้นขอบด้านซ้ายมือขององค์พระสมเด็จองค์นี้ตัดลงมาพอดีกับช่วงลำเเขนขององค์พระพอดี
หรือการตัดขอบชิดเส้นบังคับเเม่พิมพ์นั้นเอง อย่าลืมว่าพิมพ์นิยมที่มีชายจีวรเป็นพระสมเด็จในยุคสามที่มีความสวยงาม พระองค์นี้พิมพ์ทรงสวย เป็นเป็นพิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย ก็น่าจะเป็นพระยุคสามที่มีเอกลักษณ์ของพระวัดระฆัง เพราะหลังจากจพ้นยุคสามมาเเล้วก็มีพิมพ์แบบนี้เเต่ดูเนื้อหาเเล้วเนื้อไปไกลกว่าของหลังยุคสามลงมามาก 
หนังสือสมเด็จโต ของแฉล้ม โชติช่วง และ มนัส ยอขันธ์ เรียกพิมพ์นี้ว่า “พิมพ์พระประธาน” แต่ถ้าจะเรียกตามสมัยนี้ น่าจะเรียกเป็น “พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ” ถ้าบอกว่าเป็นฝีมือช่างชาวบ้านหรือของท่านหลวงวิจิตรหรือของท่านอื่นในยุคสองก็น่าไม่ใช่เพราะการเเกะพิมพ์ไม่ใช่ฝีมือช่างที่แกะพิมพ์ตั้งเเต่ยุคสองขึ้นไปเพราะเส้นขอบมีให้เห็นเเต่ถ้าเป็นยุคสองจะไม่มีเส้นขอบบังคับเเม่พิมพ์ให้เห็น
ข้อสันนิษฐาน

เป็นพิมพ์ของวัดระฆัง ไม่ใช่ของหลวงปู่ภูหรือของที่อยู่วัดอินทรวิหารหรือของยุคอื่นๆนอกจากของหลวงวิจารณ์เจียรนัยซึ่งมีเอกลักษณ์ประจำตัวอยู่เเล้ว ความเก่าของเนื้อ และความโบราณของเนื้อพระทรงพิมพ์ ทำให้อาจสันนิษฐานตามหลักขององค์พระได้ว่า
เนื้อหาพิมพ์ทรงเป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เป็นพิมพ์สวยงามที่นิยมเล่นหาในปัจจุบัน
สาเหตุที่เกิดขึ้นในวงการผู้สนใจพระผงตระกูลสมเด็จมีได้หลายประการ

1.ไม่มีผู้ให้ความรู้ เพราะปัจจุบันผู้รู้พระเนื้อผงมีน้อยลงทุกที คนรู้ก็มักไม่สอนคนรุ่นใหม่ เพราะช่องว่างระหว่างวัยระหว่างผู้รู้ที่สั่งสมความรู้มาหลายสิบปีทำให้เป็นผู้สูงวัยอายุประมาณ ๖๐ ปี กับเด็กรุ่นใหม่อายุไม่เกิน ๓๐ ปี วัยที่ต่างกันจากยุครุ่นเก่าที่เมืองไทยเพิ่งมีทีวีกับรุ่นใหม่ที่ใช้เฟซบุ๊ค ต่างกันลิบลับ

2.ข้อมูลที่ได้มีความสับสน สื่อพระเครื่องโดยเฉพาะพระผงตระกูลสมเด็จมีมากจนสับสน จากหนังสือพระยุคเก่าสมัยตรียัมปวาย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ มาจนถึงหนังสือพระสมเด็จในปัจจุบันที่มีทั้งของสมาคมพระเครื่องภายใต้หัวหอกของผู้อยู่เบื้องหลังที่ผลักดันสมุนใกล้ชิดให้เป็นพรีเซ็นเตอร์ของพระตัวเอง ไปถึงหนังสือของอาจารย์กทม. และอาจารย์เชียงใหม่ที่เริ่มจะเพี้ยนทั้งคู่ จากการเป็นสายวิชาการมาสู่สายธุรกิจลงรูปพระเต็มหน้าพร้อมชื่อและเบอร์โทรศัพท์ที่เจ้าของพระ ไม่นับหนังสือของนักทำหนังสือพระรุ่นเก่าที่ไปตั้งอาณาจักรแถวนนทบุรีไปถึงหนังสือพระที่หัวหนังสือเป็นชื่อเกจินครปฐม และหนังสือพระสมเด็จพิมพ์แปลก ๆ ที่มีสำนักต่าง ๆ พิมพ์ออกมา

ไม่แปลกใจที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้ว่าจะเชื่อใคร หรือไม่ก็ถูกครอบจากข้อมูลสำนักต่าง ๆ กลายเป็นสาวกผู้งมงายไปเรียบร้อยแล้ว

3.พระตระกูลสมเด็จมีความหมายมาก ถ้าอธิบายด้วยปิระมิดแห่งพระสมเด็จจะเห็นว่าในแต่ละชั้นมีพระสมเด็จจำนวนมากมาย ชั้นบนมีทั้งพระสมเด็จโต ๓ ยุค และพระที่สร้างโดยเกจิอาจารย์ยุคนั้น กับ พระลูกศิษย์ ก็มีหลายแสนองค์แล้ว พระในปิระมิดชั้นกลางมีได้ถึงล้านองค์ และพระที่สร้างฉลองกึ่งพุทธกาลใน พ.ศ. ๒๕๐๐ รวม ๆ กันทั่วประเทศก็ร่วมล้านองค์เข้าไปแล้ว ชั้นล่างของปิระมิดจากปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่าสิบเท่าแน่นอน

เมื่อพระแท้มีจำนวนเท่าไหร่ ท่านผู้อ่านต้องคูณด้วยตัวเลขไม่ต่ำกว่า ๑๐ เท่าสำหรับ “พระไม่แท้” ที่ทำปลอมออกมา รวม ๆ แล้วน่าจะมีไม่ต่ำกว่าสี่ห้าร้อยล้านองค์ มากกว่าจตุคามรามเทพที่สร้างกันมาเมื่อสามสี่ปีที่ผ่านมาอีก

4.ความแตกต่างในเนื้อหาของแต่ละพิมพ์ทรงมีมากเกินไป ยิ่งเป็นยุคที่สร้างด้วยมือ ไม่ใช่ใช้เครื่องจักรในการทำพระ ในเมื่อต้นทางของพระสมเด็จโตสร้างทีละครก ๆ ละไม่กี่ร้อยองค์ ความแตกต่างย่อมมีจากคุณภาพหรือส่วนผสมที่ไม่แน่นอนเป็นประเด็นหนึ่ง ธรรมชาติของพระเนื้อผงระหว่างพระที่ใช้บูชากับไม่ใช้บูชาก็แตกต่างกัน การเก็บพระมาก่อนถึงผู้ใช้บูชาก็ต่างกัน มีทั้งลงกรุ ซึ่งขี้กรุก็ต่างกันตามสถานที่และสภาพการเก็บ ที่ไม่ลงกรุมีทั้งปนเปื้อนจากเจตนาแช่น้ำมนต์เพื่อให้ขลังขึ้น หรือปนเปื้อนจากการดูแลรักษาไม่ดีเช่นปลวกขึ้นหรือมีขี้ยุง

 








พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์ทีสอง
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์ทีสองจากการวิเคราะห์หลายๆอาจารย์ในวงการรุ่นเก่าซึ่งผลออกมาค่อนข้างพอใจกับการวิเคราะห์รอบสองเเละเหลือรอบสุดท้ายคือการส่งประกวดให้เป็นไปตามเเบบฉบับมาตรฐานสากลนิยมถือว่าจบขั้นตอนสุดท้ายของการสะสมพระสมเด็จวัดระฆังตามมาตรฐานสากลนิยม








ส่วนองค์นี้เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เนื้อหาพิมพ์ทรงตามตำราอาจารย์ตรียัมปวายพิมพ์มาตรฐานนิยมสากล



พิมพ์ทรงทั่วไปที่หลายๆอาจารย์รุ่นเก่าเเละการวิเคราะห์ผู้ชำนาญการเฉพาะวัดระฆังทั่วไปให้ความเห็นตรงกันซึ่งผู้จัดจะเขียนเฉพาะจุดสำคัญๆของพิมพ์ใหญ่ทั่วไป

1.เส้นซุ้มเเละเส้นสายลายพิมพ์ทั่วไปมีขนาดอวบใหญ่
2.เส้นซุ้มวิ่งจากมุมฐานล่างด้านขวามือองค์พระเป็นเส้นค่อยๆเฉียงเข้าหาองค์พระจนถึงด้านบนม้วนหดตัวอย่างเป็นธรรมชาติเเละวิ่งตกขอบของเส้นกรอบบังคับพิมพ์ระหว่างกึ่งกลางช่วงเเขนฝั่งซ้ายมือองค์พระ
3.เส้นกรอบบังคับพิมพ์ด้านขวามือองค์พระจะลากจากด้านบนลงมาจรดมุมด้านล่างของเส้นซุ้มพอดี
4.เมื่อมองรวมมิติองค์พระเเล้วจะเห็นว่าเส้นกรอบเเก้วเเละองค์พระจะเอนโย้ไปทางซ้ายมือขององค์พระเล็กน้อย
5.ตรงข้อศอกด้านซ้ายมือองค์พระจะปรากฎชายจีวรพาดเด่นไปยังหัวเข่าด้านซ้ายมือขององค์พระ       6.พระเกศสะบัดไปทางซ้ายมือองค์พระเล็กน้อยเเบบธรรมชาติ
7. พระพักตร์หรือใบหน้าผลมะตูมหันหน้ามาทางซ้ายมือขององค์พระเเละพระหนุหรือคางเเหลมเล็กน้อยเเบบธรรมชาติ
8.มองเห็นลำพระศอหรือคอเล็กน้อยเละมองเห็นพระกรรณหรือใบหูเล็กน้อยทั้งขวาเเละซ้ายขององค์พระ
9.พระอังสาหรือไหล่ด้านซ้ายมือองค์พระ ทรุดเล็กน้อย
10.ซอกรักเเร้ด้านซ้ายมือองค์พระสูงเเละบางกว่าซอกรักเเร้ด้านขวามือองค์พระเล็กน้อย
11.ช่วงพระกรหรือปลายแขนด้านซ้ายมือองค์พระระหว่างพระชงฆ์หรือเเข้งด้านซ้ายมือองค์พระกรจะบางกว่าช่วงเเขนกว่าด้านอื่นเล็กน้อย
12.หัวเข่าด้านซ้ายมือองค์พระยกสูงกว่าหัวเข่าด้านขวามือองค์พระ
13.ฐานชั้นที่หนึ่งอวบอูมเหมือนหมอนข้างเเบบเอนเอียงไปข้างในหรือสโลปเข้าไปข้างใน ปลายฐานด้านซ้ายมือองค์พระยกขึ้นเล็กน้อย
14.ฐานชั้นที่สองเป็นหมอนขวานเเบบนูนคมรับกับฐานสิงห์
15.ฐานชั้นที่สามใหญ่หนาหน้าเเปลนเป็นเหลี่ยม                                                                                                                         
16.ขอบล่างสุดใต้เส้นซุ้มล่างผิวขรุขระเเบบธรรมชาติ

มาดูความมีมิติความสูงต่ำองค์พระหรือสามมิติ
1.ถ้าส่องด้านข้างองค์นี้จะเป็นทั้งองค์พระเป็นส่วนที่นูนที่สุด
2. ส่วนตามซอกรักรเเร้ ตามส่วนล่างเหนือเเข้งองค์พระ ตามซอกชั้นฐานที่หนึ่งถึงชั้นสามจะนูนสูงกว่าส่วนพื้นภายในบริเวณเส้นซุ้ม                                                                                                                                                        .
3.เส้นกรอบบังคับพิมพ์จะต่ำกว่าส่วนพื้นเส้นในซุ้ม
4.องค์นี้ส่วนทียกสูงที่เป็นพื้นระนาบก็คือตรงเส้นซุ้มโค้งด้านขวาเเละปลายหัวเข่าด้านซ้ายขององค์พระ
5..ใต้เส้นซุ้มด้านล่างยังมีมิติคือตื้นลึกต่างคือด้านซ้ายขวามือองค์พระจะตื้นกว่าด้านซ้ายมือขององค์พระ
ลักษณะพิเศษของพระองค์นี้คือผิวขององค์พระ เป็นผิวแบบที่เรียกกันว่า “ผิวหน้าข้าวตัง” เพราะบริเวณใบหน้า ลำตัว และท่อนล่างจะมีผิวขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำให้เห็น
พิมพ์ทรง
เป็นพิมพ์ทรงสมเด็จที่นิยมกัน สังเกตได้จาก




1.เป็นพิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่มาตราฐานทั่วไป
2.รอยตัดถูกต้องสังเกตจากเนื้อล้นมาจากข้างหลังมาข้างหน้าขอบด้านหลังมีรอยปริเเตกตามขอบด้านหลังเกิดจากการตัดขอบขององค์พระเเละด้านหลังมีรอยปริเเตกยับย่น รูเข็มน้อยมาก เเละการย่อยสลายของมวลสารอย่างเป็นธรรมชาติตามกาลเวลาของด้านหลัง
3.ซุ้มหวายผ่าซีกถูกต้องโย้ไปทางซ้ายนิดๆตามซ้ายมือขององค์พระมาตรฐานทั่วไป
4.องค์พระรูปทรงถูกต้อง สวยงาม
5.ฐานทั้งสามถูกต้องตามความนิยม คือฐานชั้นเเรกหมอนข้างเเบบเอนเอียงไปข้างในหรือสโลปเข้าไปข้างใน ปลายฐานด้านซ้ายมือองค์พระยกขึ้นเล็กน้อย ฐานชั้นกลางเป็นหมอนขวานเเบบนูนคมรับกับฐานสิงห์ ฐานชั้นที่สามหรือล่างสุด  ฐานชั้นที่สามใหญ่หนาหน้าเเปลนเป็นเหลี่ยม                                                                                                                                                     6.พิมพ์ทรงองค์พระพร้อมพระเกศเอียงไปทางซ้ายขององค์พระเล็กน้อยตามสากลนิยม

เนื้อหามวลสารทั่วไป


เนื้อหยาบๆคล้ำๆ ส่วนมวลสารมีดังนี้                                                                                                                                                              1.เห็นมีก้านดำเล็กๆเข้าใจว่าเป็นก้านธูป (เผา) หรือหินกระดานชนวน (ป่น)                                                                                                                                                         2.มีเม็ดเเดงด้านหลังเข้าใจว่าเป็นเศษของพระป่นผสมกับองค์พระซึ่งน่าจะเป็นพระทางกำเเพงเพชร
3.มวลสารสีขาวเป็นจุดเล็กลักษณะเป็นเม็ดสีขาวขุ่นมีความมันวาว สันนิษฐานว่าเป็นเศษเปลือกหอยบดไม่ละเอียด
4.มีมวลสารสีเทาในองค์นี้เยอะมากๆเป็นุจุดเล็กบ้างวงรีบ้างเเหลมบ้าง บางท่านเรียกว่ากรวดเทาเเต่ไม่เเน่ใจว่าเป็นอะไร
5.มีเม็ดสีดำเป็นเเผ่น เป็นชิ้นสีดำสัณนิฐานว่าเป็นขี้เถ้าผงใบลาน
6.มีเห็นเป็นผงจับตัวเป็นก้อนมีการหดตัวร่อนตัวปรากฎโดยรอบของก้อนนี้บางท่านเรียกว่าผงพุทธคุณหรือพระธาตุ สัณนิฐานว่าเป็นผงช๊อกกับผงวิเศษทั้งห้ามารวมกันขณะทำการผสมผสานทำเนื้อผงหรือเป็นผงวิเศษทั้งห้าที่ตอนที่สมเด็จโตปลุกเสกตามลำดับให้รวมตัวกันจากผงปัตถมังมาเป็นผงมหาราช ผงมหาราชมาเป็นผงตรีนิสิงเห ตรีนิสิงเหมาเป็นผงอิธิเจ ผงอิธิเจมาเป็นผงสุดท้ายคือผงพุทธคุณเเต่ละครั้งได้ผงมีจำนวนไม่มากนัก  ที่เเยกตัวออกมาจากเนื้อองค์พระเป็นก้อนเล็กสีขาวที่ฝังอยู่ไม่มากนักในเนื้อสมเด็จวัดระฆัง

หลังพระองค์นี้ก็มีดีให้ดูครบ ตรงสีเนื้อพระที่ดู เข้มคล้ำ ที่เรียกว่า เนื้อจัดด้านความนุ่ม เพราะผ่านการใช้ได้สัมผัสมาบ้างเล็กน้อย มีรอยปริริมขอบรอบด้านเเถบไม่มีเลย และรอยปาดเนื้อที่เห็นเป็นเส้นคลื่นแนวขวางสิ่งนี้เเบบสมเด็จวัดระฆังสำหรับรอยปาด
สุดยอด มีทั้งคราบผลึกคัลซี่ยมให้เห็นเนื้อพระเป็นสองชั้นบริเวณพื้นด้านหน้าขององค์พระ และบริเวณเส้นซุ้มพื้นผิวพระเห็นเป็นเนื้อสองชั้นหรือผิวเปิดเป็นบางจุด ทำให้เห็นผิวพระทั้งชั้นในและชั้นนอกชัดเจน
บริเวณองค์ทั่วองค์พระ ปรากฎร่องรอยความนุ่มนวลของผิวที่ออก แบบที่เรียกกันว่า “หนึกนุ่ม”เเบบธรรมชาติเผยให้เห็นทั่วไป

เนื้อล้นบริเวณขอบด้านบน และขอบด้านขวาขององค์พระทำให้เห็นเป็นปื้นยาว ยืนยันการตัดจากหลังมาหน้าอย่างสวยงาม

ขอบทั้งสี่ด้านแสดงความเก่าและการยุบ เเยก ย่น ตัวของเนื้อพระ สันขอบแต่ละด้าน แสดงถึงการได้อายุของเนื้อพระ
ด้านหลังยิ่งไม่ต้องพูด ดูง่ายใหญ่ เพราะมีร่องรอยปูไต่ รอยรูเข็ม รอยปาดด้านขวางเนื้อหาด้านหลังล้วนเเต่เป็นวัดระฆัง                                                                                                                                  
วิเคราะห์
เป็นพระอายุประมาณ 100กว่าปี เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของพระ ที่มีการเปลี่ยนแปลงกาลเวลาโดยเฉพาะด้านหลังขององค์พระบ่งบอกถึงวัดระฆังได้ดีที่เดียวรอยกาบหมากเเบบบางๆกับรอยยับย่น เเยก รูเข็ม การย่อยสลายของเนื้อพ่ระเเละมวลสาร ล้วนเเต่เป็นวัดระฆัง
พิมพ์ทรงเป็นพิมพ์นิยมมาตรฐานทั้งองค์พระและเส้นซุ้ม บางขุนพรหมที่จะบางกว่าเส้นซุ้มจะไม่สวยงามเช่นนี้
ข้อสันนิษฐาน

พิมพ์ทรงเป็นพระวัดระฆัง เพราะสังเกตุองค์นี้มีเส้นบังคับพิมพ์หรือเส้นวาสนาตามมาตรฐานสากลนิยม
5.ราคาพระแพงเกินไป ดูง่าย ๆ จากสายบางขุนพรหมเอง ตอนนี้พระสมเด็จบางขุนพรหม ๑๗ พิมพ์ใหญ่สภาพสวยวิ่งไปถึงหลักหมื่นแล้ว บางขุนพรหม ๐๙ เอง พิมพ์ใหญ่ องค์ท้อปวิ่งไปหาหลักแสนแล้ว ฉะนั้นไม่ต้องพูดถึงพระสมเด็จโตที่สร้างโดยเสมียนตราด้วงที่บรรจุกรุในเจดีย์ของตระกูลตนเอง มีทั้งกรุเก่าที่พระอยู่ในกรุไม่นานก็ถูกตกออกมาใช้บูชา หรือกรุใหม่ที่ค้างไว้จนเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ขี้ดินไปผสมกับน้ำท่วมเจดีย์เกาะกันแน่นเป็นขี้กรุเกรอะกรัง แบบที่เรียกว่า “กรุใหม่” ราคาวิ่งไปถึงหลักล้านแล้วสำหรับพระพิมพ์บ๊วย เช่น พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร ไม่ต้องพูดถึงวัดระฆังทางฝั่งธนบุรี ที่สมัยก่อนคนรุ่นเก่าเก็บแต่พระสมเด็จวัดนั้น ไม่แยแสพระฝั่งนี้ที่ถือว่าสมเด็จโตแค่อำนวยการสร้าง และพระผงวิเศษมีน้อยกว่าพระของท่านเองที่สร้างในวัดระฆัง
สูตรทำพระเนื้อผง ตอน ๑ สูตร ๑ : สูตรสมเด็จโต

การสะสมพระเครื่องนอกจากจะต้องทำความเข้าใจเรื่องพิมพ์ทรงให้ลึกซึ้งแบบรู้แจ้งแทงตลอด เห็นพระก็แทบจะจำพิมพ์ทรงได้ว่าใช่องค์ที่สุดปรารถนาหรือไม่ ความเข้าใจพิมพ์ทรงจะช่วยเป็นตะแกรงร่อนพระที่ไม่ได้อยู่ในเป้าหมายการสะสมออกไป
แต่เมื่อเห็นพระที่พิมพ์เข้าเค้า ก็ต้องส่องดูรายละเอียดของพิมพ์ทรงเป็นการยืนยันความเห็นเบื้องต้น ในขณะเดียวกันเราก็จะเห็นเนื้อพระอย่างชัดเจน
สำหรับพระสมเด็จและพระเนื้อผงทั่วไป ถ้าเราเข้าใจว่าพระผงเหล่านั้นสร้างขึ้นอย่างไร แตกต่างกันหรือไม่จากพระยุคหนึ่งไปสู่พระอีกยุคหนึ่ง จากเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งไปสู่เกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่ง และจากวัดที่สร้างวัดหนึ่งไปยังอีกวัดหนึ่ง
ความรู้เรื่องเนื้อพระจะช่วยเสริมให้ท่านตัดสินเรื่องความเป็นมาของพระองค์นั้นได้อย่างถ่องแท้ ไม่พลาดกรณีที่เป็น “พระแท้” และไม่หลงกลผู้ขายในกรณีที่เป็น “พระไม่แท้”
ปูนปั้น
เป็นวิวัฒนาการในการสร้างอุเทสิกเจดีย์เพื่อเป็นที่ระลึกในการได้มาเยือนสังเวชนียสถานและเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เริ่มจากสิ่งที่หาง่ายที่สุด คือ พระเนื้อดินและไม่ต้องเผาที่เรียกว่า “เนื้อดินดิบ” จากนั้นก็มีวิวัฒนาการในการทำแม่พิมพ์ให้สวยและให้ความสนใจกับมวลสารที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้าง
พระเครื่องที่สร้างอย่างพิถีพิถันโดยของผู้มีอำนาจในยุคนั้น ก็จะใช้วัสดุที่มีราคาแพงและขบวนการซับซ้อนเพื่อให้ได้ซึ่งความสวยงามและคงทนของสิ่งที่จะสร้างมาแทนตัวพระพุทธองค์ สุดยอดของเหล่านั้นก็คือทองคำ ซึ่งเป็นอมตนิรันดร์กาลของการคงความสวยงามไปชั่วกาลนาน
จากนั้นก็เป็นวิวัฒนาการของการสร้างปฏิมากรรมที่แทนตัวพระพุทธเจ้า เริ่มจากชาวกรีกที่ตกค้างสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กรีทัพจากมาเซโดเนียประเทศกรีกมารุกรานและครอบครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนถึงทวีปอินเดีย ซึ่งสมัยนั้นยังไม่แยกเป็นอินเดีย ปากีสถานและบังคลาเทศ
ปฏิมากรรมรูปพระพุทธเจ้าในยุคคันธาราษฎร์ไม่ใช่การปั้นรูปเหมือนพระพุทธเจ้าตามลักษณะมหาบุรุษที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎก แต่เป็นการปั้นพระพุทธเจ้าที่เหมือนคนจริง ๆ แน่ละคนปั้นเป็นกรีก พระพุทธรูปยุคนั้นจึงมีหน้าเป็นฝรั่ง
ปูนปั้นเป็นวัสดุที่มีมาหลายพันปีแล้ว นับแต่สมัยปิระมิด มีการนำปูนขาวมาเป็นสารช่วยเกาะยึดก้อนหินที่นำมาเรียงต่อกันเป็นปิระมิด จากนั้นก็มีการพัฒนามาใช้ในงานปฏิมากรรมและสถาปัตยกรรม
พระพุทธรูปสมัยคันธาราษฎร์ซึ่งเป็นการสร้างรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าครั้งแรกในโลก ก็มีการสร้างด้วยปูนปั้นมาร่วมสองพันปีมาแล้ว
การใช้ปูนปั้นแพร่หลายมาถึงประเทศไทยนานมาแล้ว และเป็นความเชิดหน้าชูตาของช่างไทยที่สามารถสร้างผลงานด้วยปูนปั้นตั้งแต่การสร้างวัด และวัง มาจนถึงการสร้างบ้านทั่วไปในปัจจุบัน
สมัยนั้นปูนที่ใช้มีชื่อเฉพาะว่า “ปูนเพชร” และเป็นต้นตระกูลของพระเนื้อผง
ปูนเพชร
ปูนเพชรเป็นปูนปั้นที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า STUCCO ไม่ใช่ปูนที่มาจากเมืองเพชรบุรี แต่หมายถึงวิธีการปั้นปูนให้มีความสวยงามและคงทนเหมือนเพชร เช่นเดียวกับญาติชาวฝรั่งของปูนเพชรที่ชื่อ ปูนปอร์ตแลนด์ ไม่ได้มาจากเมืองปอร์ตแลนด์ ประเทศอังกฤษ แต่เป็นชื่อทางการค้าของปูนซีเมนต์ยุคแรกที่ต้องการสื่อความหมายว่า ใช้ปูนนี้จะได้งานที่มีความสวยงามและแข็งแรงเหมือนใช้หินตกแต่งจากเมืองปอร์ตแลนด์
ที่บอกว่าปูนเพชรเป็นต้นตระกูลของพระเนื้อผงรวมทั้งพระสมเด็จโตก็เพราะส่วนผสมที่ใช้ในการสร้างปูนเพชรก็เป็นหลักการเดียวกับส่วนผสมของพระสมเด็จโต
ปูนเพชรมีสูตรการสร้างดังนี้
ปูนเพชร = มวลสารหลัก + มวลสารรอง + สารช่วยเกาะยึด
โดยที่มวลสารหลัก คือ ปูนขาว ๒ ส่วน ทรายละเอียด ๑ ส่วน

มวลสารรอง คือ กระดาษฟาง หรือ ฟางข้าวทำให้นุ่ม

สารช่วยเกาะยึด คือ น้ำอ้อยหรือน้ำตาลโตนดเคี่ยว กาวหนัง
ทรายในมวลสารหลักช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับปูนเพชร ในขณะที่กระดาษฟางหรือฟางข้าวช่วยสร้างความนุ่มนวลและยืดหยุ่นในการก่อ ปั้น แต่ง ส่วนกาวหนัง ช่วยให้เกิดความเหนียว แบบที่โฆษณากันว่า “เหนียว ฉาบลื่น”
พระเนื้อผง มีสูตรการสร้างแบบเดียวกัน พระเนื้อผง = มวลสารหลัก + มวลสารรอง + สารช่วยเกาะยึด
สูตรทำพระเนื้อผง
ที่เรียกกันว่า “สูตรพระเนื้อผง” ก็เพราะแม้พระเนื้อผงจากอดีตจนถึงปัจจุบันใช้หลักการสร้างหรือ “สูตร” เหมือนกัน แต่ส่วนผสมของพระเนื้อผงแต่ละวัด แต่ละรุ่นก็ไม่เหมือน
ไม่ต้องดูอื่นไกล ท่านลองพิจารณาพระพิมพ์สมเด็จรุ่นใหม่ที่ออกให้เช่าบูชาที่วัดทั้งสามซึ่งเป็นวัดเชื้อสายของสมเด็จโต อันได้แก่ วัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดไชโย พระพิมพ์สมเด็จจากทั้งสามวัดก็มีเนื้อไม่เหมือนกัน สวยงามไปคนละแบบ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว วัดทั้งสามไม่บอกท่านหรอกว่ามีสูตรการผสมมวลสารอย่างไร แต่ละวัดมีการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ไม่เหมือนกัน ผลที่ออกมาก็คือพระพิมพ์สมเด็จของทั้งสามวัดก็มีเนื้อไม่เหมือนกัน
จากพระเนื้อผงรุ่นแรกของไทยก็คือกรุทัพเข้า สุโขทัย มาจนถึงพระเนื้อผงในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีวิวัฒนาการอย่างก้าวกระโดดจากการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ของสมเด็จโตที่นำผงวิเศษและวัสดุมงคลอื่น ๆ ที่พบในชีวิตประจำวันของท่านมารีไซเคิลให้เป็นพระเนื้อปูนที่แพงที่สุดในโลกโดยน้ำหนัก แบบศัพท์นักมวยที่เรียกว่า “ปอนด์ต่อปอนด์ พระสมเด็จเป็นดินที่แพงที่สุดในโลก” เรื่อยมาถึงพระเนื้อผงที่ร่วมสมัยกับท่าน เช่นพระวัดเงิน พระวัดพลับ พระวัดสร้อยทอง พระสมเด็จอรหัง มาถึงพระเนื้อผงของลูกศิษย์ เช่นหลวงปู่ปั้น หลวงปู่อ้น และเกจิอาจารย์ยุคหลังท่าน เช่นหลวงปู่เผือก ตลอดจนพระสมเด็จตามกรุต่าง ๆ ที่มีข้อพิสูจน์บ้างยังไม่มีบ้างว่าเป็นพระร่วมสมัยกับสมเด็จโตหรือไม่ พระชุดนี้ก็คือพระในปิระมิดส่วนบนที่เคยจำแนกให้ท่านผู้อ่านฟังแล้วว่าไม่เกิน ๕๐ ปี จากปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ที่ท่านมรณภาพ
ยุคต่อมาได้แก่พระรุ่นหลังจากนั้นอีก ๕๐ ปี จนถึงพ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งกำลังหลักได้แก่พระพิมพ์สมเด็จที่สร้างต่อ ๆ กันมาในวัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดไชโย จนถึงพระที่สร้างโดยเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ซึ่งรวมกันเป็นปิระมิดส่วนกลาง
ส่วนปิระมิดส่วนล่างได้แก่ พระเนื้อผงที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีมากมายเป็นร้อยเป็นพันวัด คิดจำนวนพระก็หลายสิบล้านองค์ เหมาะสมกับที่จะเป็นฐานของการสะสมพระเนื้อผงซึ่งครองอัตราส่วนทางตลาดมากที่สุดของวงการพระเครื่องในปัจจุบัน
พระเนื้อผงตั้งแต่ยอดปิระมิดที่ยกให้เซียนใหญ่ ปิระมิดส่วนบน ปิระมิดส่วนกลาง และปิระมิดส่วนล่าง ผู้ทำวิเคราะห์แล้วมีสูตรทำพระเนื้อผงดังนี้



มีหนังสือนับไม่ถ้วนที่พูดถึงส่วนผสมของพระสมเด็จโต โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังที่มีการสร้างเป็นครั้ง ๆ แถมยังมียุคในการสร้างถึง ๓ ยุค ได้แก่

ยุคแรก ยังเป็นพระพิมพ์แปลก ๆ ส่วนใหญ่ถอดพิมพ์หรือเลียนพิมพ์พระกรุ

ยุคสอง ท่านคิดค้นรูปแบบ (Form Factor) ที่เป็นสี่เหลี่ยมชิ้นฟักแล้ว แต่พิมพ์ทรงยังไม่สวยงาม และพระมีปัญหาการแตกร้าว

ยุคสาม เป็นยุคที่ว่ากันว่าหลวงวิจารณ์เจียรนัยมาช่วยสมเด็จโตปรับปรุงพิมพ์ทรงให้สวยงาม คือ แกะแม่พิมพ์แบบมีกรอบบังคับพิมพ์ และมาแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นสารช่วยเกาะยึด
ท่านผู้อ่านรู้สึกอย่างไรบ้างเวลาพยายามมองหามวลสารต่าง ๆ ที่มีการเขียนถึงในหนังสือเหล่านั้นกับพระสมเด็จที่ท่านมี มวลสารที่ลงกันไว้ตามหนังสือต่างๆมีเป็นสิบ ๆ ชนิดแต่ทำไมองค์ของเราถึงไม่มีแบบนั้น ซ้ำร้ายบางองค์กลับตรงกันข้าม แทบจะเป็นการชุมนุมมวลสารเหล่านั้นมาไว้ในที่เดียวกัน
นักสะสมพระเครื่องแบบมือใหม่หัดขับ หรือมือเก่าเล่ายี่ห้อ ถ้าเข้าใจที่มาหรือหลักการการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ของสมเด็จโต เรื่องยุ่งยากของมวลสารเหล่านั้นจะกลับง่ายดาย
ผู้ทำเว็บจึงเน้นการอธิบายหลักการขั้นพื้นฐานให้ท่านเข้าใจก่อน จากนั้นพระเนื้อแบบไหนมีการพลิกแพลงเล่นลวดลายกี่ชั้นท่านก็จะดูออก
มวลสารหลัก
ยังคงเป็นปูนเปลือกหอยเป็นหลักท่านอาจถามว่า “ทำไมใช้ปูนเปลือกหอย” จะเป็นปูนอย่างอื่นได้หรือไม่
คำตอบก็คือ “ปูนเปลือกหอย” ก็คือปูนชนิดหนึ่ง ชื่อ “ปูน” เป็นชื่อรวม ๆ เรียก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน บอกไว้ว่า “ปูนคือของซึ่งทำจากหินปูนหรือเปลือกหอย เผาให้ไหม้เป็นผง” ส่วนที่เรียกว่า “ปูนขาว” ก็เพราะเผาแล้วปูนจะมีสีขาว
อีกชื่อหนึ่งของปูนที่ได้มาจากการเผาไม่ว่าจะเป็นเปลือกหอยหรือหินปูนก็คือ “ปูนสุก” เพราะถูกเผาไฟจนสุก ตรงข้ามกับปูนที่ไม่ได้เผา เช่นนำเปลือกหอยมาตำแล้วเอาแต่ผง จะเรียกว่า “ปูนดิบ”
ผู้ทำเชื่อว่ามีการใช้ปูนเปลือกหอยทำพระด้วยเหตุผลดังนี้
1.ปูนเปลือกหอยหาได้ไม่ยาก สมัยก่อนคนไทยนิยมกินหมาก ปูนกินหมากก็คือปูนเปลือกหอยเผานั่นเอง

2.เปลือกหอยเมื่อนำมาเผา บด และร่อนเอาแต่ผงขาวละเอียดจะมีสีขาวนวล เมื่อทำเป็นพระจะมีความสว่างและมันวาว ตรงข้ามกับหินปูนจะให้ผงที่มันด้าน ถ้าใช้หินปูนเผาพระจะสีไม่สวย

3.สมัยนั้นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับปูนยังไม่เกิด การหาหินปูน (Limestone) ต้องเข้าป่าไปหาตามภูเขาแถว ๆ สระบุรี การคมนาคมสมัยนั้นยังอาศัยทางน้ำเป็นหลัก ไม่สะดวกและยังยุ่งยากที่จะต้องขนหินปูนก้อนโต ๆ ลงจากเขา แถมยังต้องเผาด้วยความร้อน ในยุโรปเองต้องคอยถึงหกสิบปีเศษจากเตาเผาหินปูนรุ่นแรกจะถูกปรับปรุงให้เผาด้วยอุณหภูมิสูง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ซึ่งเป็นปีที่รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์ การก่อสร้างก่ออิฐถือปูนแบบฝรั่งสมัยนั้นมีแต่บาทหลวงและมิชชั่นนารีฝรั่งสมัยรัชกาลที่ ๔เท่านั้น ต้องรอจนยุคกลาง ๆ ของรัชกาลที่ ๕ จึงมีการก่อสร้างอาคารแบบฝรั่งแบบเต็มรูปแบบโดยเอาฝรั่งมาออกแบบและมีการใช้ปูนจากหินปูนอย่างแพร่หลาย

4.สมเด็จโตชอบทดลองใช้วัสดุอื่น ๆ ร่วมกับปูนเปลือกหอยในการใช้เป็นมวลสารหลัก เพียงแต่วัสดุเหล่านั้นมีอัตราส่วนน้อยกว่าปูนเปลือกหอย ท่านคงทดลองวัสดุแปลก ๆ เช่น ทราย กรวด พระสมเด็จที่แตกหักหรือไม่สมบูรณ์จากการสร้างพระครั้งแรก ๆ ชิ้นส่วนแตกหักของพระกำแพง บางตำราก็ว่าท่านใส่ชิ้นส่วนของเครื่องกังไสที่มีคหบดีจีนนำมาถวาย พระสมเด็จชานหมากก็น่าจะเป็นการทดลองอย่างหนึ่งของท่านที่ใช้ชานหมากร่วมกับปูนเปลือกหอย บางครั้งก็พบเกล็ดของเปลือกหอยมันวาวปนอยู่ ซึ่งเป็นการใช้เปลือกหอยไม่เผามาตำและใส่ผสมลงไป




อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านอย่าไปให้น้ำหนักกับมวลสารหลักอื่น ๆ มากนัก เพราะท่านสร้างพระเป็นร้อย ๆ ครั้ง ท่านเป็นพระที่ชอบลองอยู่แล้ว ท่านอาจใส่วัสดุแปลก ๆ ลงไปได้ แต่ที่แน่นอนก็คือ ไม่มีการใส่ก้างปลาลงในพระของท่าน เพราะท่านต้องการความเรียบง่ายเป็นหลัก พระพิมพ์สมเด็จที่มีของแปลก ๆ อยู่ด้านหลังพระไม่ว่าจะฝังอะไรลงไปหรือเขียนข้อความและปีพ.ศ. ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ เป็นพระที่ขาดข้อมูลสนับสนุน และขัดต่อข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น มีแต่นิทานที่เขาแต่งให้ท่านฟังสนุกๆหรือเพื่อส่งเสริมการขายเท่านั้น
5. ปูนเปลือกหอยเมื่อถูกเผาด้วยอุณหภูมิสูง จะให้ผงสีขาวลักษณะมันวาว เมื่อนำมาผสมกับสารช่วยยึดเกาะสามารถทำปฏิกิริยาทางเคมีคืนตัวรวมคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเกิดผลึกแบบที่เป็นผิวหนาคลุมองค์พระที่เคยพบในพระสมเด็จบางองค์ แต่การเกิดผลึกเช่นนี้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปีขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เก็บพระ นั่นคือเหตุผลอย่างหนึ่งที่พระสมเด็จบางขุนพรหมหรือพระเนื้อผงที่ลงกรุเกิดคราบจากการตกผลึกของแคลเซียมในองค์พระอย่างที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Calcite
สำหรับพระสมเด็จที่แกร่งแบบที่เรียกว่า “เนื้อปูนกังไส” วางบนแผ่นกระจกจะดังกริ๊ก ๆ นั้น ไม่น่าเป็นการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ของสมเด็จโต เพราะผลึกที่เกิดขึ้นแกร่งมากไม่เหมือนผลึกจากคราบกรุหรือการใช้บูชา ผู้ทำเข้าใจว่าเป็นคนละสูตรกับพระสมเด็จโต และกรรมวิธีการสร้างคงไม่ใช่แบบปล่อยให้ตกผลึกในระยะเวลายาวนาน อาจเป็นกรรมวิธีสมัยใหม่ที่ให้ผลเร็วไว ทั้งนี้เพราะคัลไซต์ (Calcite) ที่มาจากการเผาปูนด้วยอุณหภูมิสูงมาก ๆ จะมีคุณสมบัติตกผลึกได้ดีและถ้าเก็บในอุณหภูมิสูงก็จะตกผลึกเร็วขึ้น น่าจะมาจากกรรมวิธีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ไม่ใช่สมัยสมเด็จโต หรือไม่ก็ใช้วิธีเลียนแบบการสร้างพระเครื่องด้วยชามกังไสเผาในเตาเผาอุณหภูมิสูงก็อาจเป็นได้
มวลสารรอง
นี่คืออัจฉริยภาพแห่งการประดิษฐ์คิดค้นของสมเด็จโต
ท่านทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ของการทำพระเนื้อผง ซึ่งจากเดิมจะไม่ให้ความสนใจกับวัสดุรองเท่าไหร่นัก ท่านเพิ่มพุทธานุภาพให้พระสมเด็จของท่านเป็นทวีคูณด้วยการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่สำหรับพระเนื้อผงองค์เล็ก ๆ ที่มีศิลปะนูนต่ำ (Bas Relief)
ไม่ปรากฎครั้งใดในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่มีการสร้างพระเนื้อผงแบบ “ดีนอก ดีใน” ก็คือมวลสารก็เป็นมงคลและประกอบด้วยคุณวิเศษในตัวเมื่อสำเร็จเป็นองค์พระ ก็ดีครั้งหนึ่ง คือ ดีในตัวองค์พระ
ส่วน “ดีนอก” ก็คือการปลุกเพิ่มพุทธานุภาพด้วยคาถาชินบัญชรที่ท่านสวดขณะปลุกเสกพระของท่านก่อนที่จะนำไปแจกชาวบ้านหรือเก็บไว้เพื่อจะลงกรุ
ผงวิเศษทั้งห้าและคาถาชินบัญชรคือการเปลี่ยนโฉมหน้าการสร้างพระเครื่ององค์เล็กจากพระเนื้อดินและพระเนื้อโลหะมาเป็นพระเนื้อปูนเปลือกหอยอย่างที่นิยมเรียกกันว่าพระผง อีกประการหนึ่งที่เป็นนวัตกรรมชิ้นเอกของท่านก็คือการเปลี่ยนค่านิยมของพระเครื่อง จากการที่คนไทยไม่นิยมเก็บพระไว้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือพระบูชา พระเครื่องที่ทำขึ้นในอดีตก็เพื่อสืบทอดพระศาสนาหรือทำไว้สู้ศึกภายนอกที่เข้ามารุกราน เมื่อศึกสงบก็คืนพระกลับวัด

สมเด็จโตเป็นผู้เริ่มแจกพระให้ชาวบ้านเวลาท่านออกนอกวัดไปบิณฑบาต หรือทำกิจของสงฆ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความนิยมในการสะสมของเก่าเริ่มพัฒนาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
วัสดุรองมีอยู่หลายชนิด ล้วนเป็นวัสดุมงคลที่หาได้ง่ายในชีวิตประจำวันของพระในสมัยนั้น มีแต่ผงวิเศษทั้งห้าเท่านั้นที่โดดเด่นที่สุด
เพราะผงวิเศษทั้งห้าก็คือผงจากดินสอที่ใช้เขียนกระดานชนวนด้วยคาถาห้าอย่างต่อเนื่องกัน
ผู้ทำจะเริ่มจากการทำดินสอก่อน
ในตัวดินสอก็มีทั้งมวลสารหลัก มวลสารรอง และสารช่วยเกาะยึด
1.มวลสารหลักของดินสอก็คือดินสอพอง ที่ได้จากการนำดินขาวที่มีสารประกอบเป็นหินปูนผสมอยู่กว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ มาเผาไฟ

2.มวลสารรอง ตรียัมปวายบอกไว้ในหนังสือพระสมเด็จ หน้า ๒๐๕ ดังนี้

“ค. ดินสอพอง มีส่วนผสมด้วยเครื่องยาต่าง ๆ คือ ดินโป่ง ๗ โป่ง ดินตีนท่า ๗ ตีนท่า ดินหลักเมือง ๗ หลักเมือง ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ ดอกกาหลง ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ขี้ไคลเสมา ขี้ไคลประตูวัง ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ พลูร่วมใจ พลูสองหาง กระแจะตะนาว น้ำมันเจ็ดรส และดินสอพองผสมกัน แล้วป่นละเอียด เจือน้ำปั้นเป็นแท่งดินสอ”
หนังสือบางเล่มอาจพูดถึงมวลสารรองต่างกับตรียัมปวาย เล่มที่อ่านแล้วมีเหตุผลพอสมควรก็คือ ทีเด็ดพระสมเด็จ ของอาจารย์พน นิลผึ้ง หน้า ๒๓๕ พูดถึงยอดไม้มงคล เช่น ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ฯลฯ ว่าไม่ได้ใช้ผสมกับดินสอพอง แต่ใช้คั้นกับน้ำมนต์ พุทธมนต์ ๗ บ่อ ๗ รส ก็คือนำไปใช้เป็นสารช่วยเกาะยึดไม่ใช่เป็นมวลสารรอง
3. สารช่วยเกาะยึด ใช้น้ำเป็นหลัก โดยต้องเป็นน้ำมงคลเช่นกัน เช่นมาจากบ่อน้ำมนต์ของท่าน โดยมีการนำพืชมงคลต่าง ๆ มาคั้นเพื่อช่วยในการเกาะยึด อย่างที่พูดไว้ในหนังสือทีเด็ดพระสมเด็จก็เป็นได้
ตรียัมปวายอธิบายไว้ว่าเมื่อปั้นเป็นแท่งดินสอแล้ว สมเด็จโตจะเริ่มทำผงวิเศษทั้งห้าโดยการเรียกสูตรและเขียนยันต์ของแต่ละสูตรลงบนกระดานชนวน จากนั้นจึงลบผงที่เขียนออก แล้วนำผงเหล่านั้นมาปั้นเป็นแท่งดินสอเพื่อเขียนสูตรที่สองต่อไป ทำเช่นนี้จนครบห้าสูตร จึงจะได้ผงวิเศษห้าประการ
พึงสังเกตไว้ว่าดินสอที่ทำจากดินสอพองและวัสดุมงคลอื่น ๆ เมื่อเขียนแล้วปั้นเป็นดินสอเพื่อเขียนใหม่ถึงห้าครั้ง มวลสารของดินสอได้รับการรวมตัวและแยกตัว ทำปฏิกิริยากับสารช่วยเกาะยึด ผงวิเศษนี้จึงเกิดการรวมตัวและแยกตัวครั้งแล้วครั้งเล่า อีกทั้งทำปฏิกิริยากับสารช่วยเกาะยึดมาตลอด ผงวิเศษนี้จึงเกิดการรวมตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีขาวขุ่น
เมื่อนำผงวิเศษที่เป็นเม็ดสีขาวขุ่นมารวมกับปูนเปลือกหอย ก็จะเป็นวัสดุที่ต่างกันทั้งคุณสมบัติและรูปสมบัติ เพราะผงวิเศษผ่านการทำปฏิกิริยากับสารช่วยเกาะยึดมาหลายครั้ง การรวมตัวและแยกตัวจากการถูกปั้นเป็นแท่งดินสอและเขียนยันต์ ๕ สูตร จึงเกิดการบดอัดในตัวเองกลายเป็นวัสดุที่แน่นตัวและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อถูกผสมกับปูนเปลือกหอยและใส่สารช่วยยึดเกาะพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระ ผงวิเศษก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก ตรงกันข้ามกับปูนเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุใหม่ ยังเกิดปฏิกิริยากับสารช่วยยึดเกาะได้
ผงวิเศษจึงเป็นมวลสารที่สังเกตได้ง่ายในพระผงสูตรนี้

ส่วนมวลสารรองอื่น ๆ ก็มีบันทึกไว้มากมาย เช่น เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ว่านมงคล และว่านยา สมุนไพร ไม้มงคล ผลไม้และเมล็ด อาหารที่ท่านปันไว้จากที่บิณฑบาตและที่มีคนนำมาถวาย แร่ธาตุอัญมณี พระเก่าแตกหัก ทรายเงินทรายทอง เถ้าถ่านธูป ชานหมาก ผงตะไบพระพุทธรูป ผงใบลาน ไคลเสมา ไคลประตูวัง ไคลเสาตะลุงช้างเผือก น้ำตาเทียนชัย ฯลฯ
มวลสารที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ ไม่มีสูตรตายตัวว่าจะมีสิ่งใดผสมอยู่ในพระสมเด็จแต่ละองค์ บางองค์มีมาก บางองค์มีน้อย บางองค์อาจไม่มีให้เห็นเลย ทั้งนี้เพราะสมเด็จโตท่านผสมมวลสารเหล่านี้อย่างไม่มีสูตร เรียกว่าทำพระครั้งหนึ่งหาอะไรได้ก็นำมาผสม
แต่ที่แน่ ๆ ก็คือผงวิเศษทั้งห้า ต้องมีผสมอยู่ทุกครั้ง
การผสมมวลสารรองเป็นการนำมาคลุกเคล้ากับมวลสารหลัก ไม่ใช่เป็นการโรยลงบนแม่พิมพ์แล้วจึงกดเนื้อมวลสารหลักลงในพิมพ์ ถ้าท่านเห็นพระสมเด็จที่มีมวลสารในลักษณะนี้ แน่ใจได้เลยว่าไม่ใช่ของสมเด็จโต เพราะการโรยมวลสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งผงเก่าลงในพิมพ์ให้ปรากฏบนด้านหน้าองค์พระ เพิ่งจะมีหลังจากเปิดกรุพระสมเด็จบางขุนพรหมในปี ๒๕๐๐ เมื่อมีคนนำพระที่แตกหักมาบดแล้วสร้างพระใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นพระในสายวัดใหม่อมตรส ไม่ว่าจะเป็นของหลวงตาพัน หลวงปู่ลำภู บางขุนพรหม ๐๙ และรุ่นหลังจากนั้น
สารช่วยเกาะยึด
ถ้าปราศจากสารนี้มวลสารหลักและรองจะไม่มีการรวมตัวกัน ยิ่งเป็นวัสดุต่างชนิดกันมาก ๆ การรวมตัวให้เป็นเนื้อเดียวกันยิ่งต้องอาศัยสารที่มีคุณสมบัติเกาะยึดที่ดี
ในปูนเพชร ท่านจะเห็นว่าช่างใช้น้ำอ้อยหรือน้ำตาลโตนดเคี่ยวให้ข้นแล้วผสมกับกาวน้ำที่นำเอาหนังสัตว์เช่นหนังวัวมาเคี่ยว แบบเดียวกับที่ช่างรองเท้าใช้ทำรองเท้า

สมเด็จโตคงไม่ได้เอากาวน้ำมาใช้ทำพระสมเด็จของท่าน เพราะทำมาจากหนังของสัตว์ใหญ่ เป็นการเบียดเบียนสัตว์
แต่ทำไมท่านใช้ปูนจากเปลือกหอยเล่า
ประการแรกเปลือกหอยเป็นวัสดุตามธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไปตามชายทะเล เป็นซากของสัตว์ทะเลที่เสียชีวิตเองตามธรรมชาติแล้วถูกคลื่นซัดให้เปลือกมาเกยหาด ไม่ใช่ในสมัยนี้ที่มีร้านอาหารทะเลมากมายที่เหลือเปลือกหอยทิ้งเป็นขยะ

ประการที่สอง สมเด็จโตท่านฉันหมากซึ่งเป็นประเพณีนิยมของคนไทยในสมัยนั้นอยู่แล้ว ปูนที่กินกับพลูก็ทำมาจากปูนเปลือกหอย

ประการสุดท้าย ปูนเปลือกหอยหาได้สะดวก เพราะคนกินหมากกันทั้งเมือง
ไม่ใช่ว่าท่านจะใช้น้ำอ้อยหรือน้ำตาลโตนดเคี่ยวให้เหนียวอย่างเดียว ท่านต้องผสมวัสดุอื่นด้วย เช่นกล้วย แต่คงไม่ใช้เปลือก ใช้แต่เนื้ออย่างเดียว เพื่อช่วยทำให้เหนียวและเนื้อพระดูกลมกลืน
นอกจากนั้นท่านอาจผสมกระดาษสาซึ่งเป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูงกว่ากระดาษฟางที่ใช้ในปูนเพชร กระดาษสาจะช่วยให้พระอ่อนนุ่มแต่ก็มีความยืดหยุ่น ไม่แข็งกระด้าง เนื้อพระนุ่มนวลสวยงาม
น้ำผึ้งก็เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในการช่วยให้มวลสารหลักและมวลสารรองรวมตัวกัน เช่นน้ำผึ้งเดือนห้าซึ่งเป็นน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ที่หาได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะจากป่าแถวเขาใหญ่ที่มีชื่อเรียกกันว่า “ดงพญาไฟ” ในยุคนั้น ก่อนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นมงคลในยุคที่มีการตัดทางรถไฟไปสู่ภาคอีสานว่า “ดงพญาเย็น”
สารช่วยเกาะยึดตัวสุดท้ายที่มีความสำคัญ และมักถูกกล่าวถึงว่าเป็นสารที่นำมาใช้ในพระสมเด็จโตยุคที่สาม ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายในการสร้างพระของท่าน
ก็คือน้ำมันตังอิ้ว ซึ่งเป็นที่รู้จักมานานในประเทศจีนนันพันปีว่าเป็นสารที่ใช้เคลือบเนื้อไม้ให้คงทนสวยงาม เพราะมีคุณสมบัติในการเคลือบผิวที่มีรูพรุนได้ดี
ช่างหินใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นตัวเคลือบหินที่ใช้ในห้องครัว ห้องน้ำ และสถานที่ต่าง ๆที่เกิดการสึกกร่อนหรือเกิดคราบจากน้ำได้ง่าย จึงเป็น “สูตรลับ” ในการเคลือบผิวหินแกรนิตและหินอ่อนมาช้านาน ผิวที่เคลือบเกิดจากการปฏิกิริยาของน้ำมันตังอิ้วกับออกซิเจนในสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผิวที่ทนทาน

น้ำมันตังอิ้วทำจากการนำเนื้อในเมล็ดต้นตังที่มีปริมาณน้ำมันสูงมาสกัดเป็นน้ำมันตังอิ้ว มีประวัติการปลูกในประเทศจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง คำว่า “ตัง” ในภาษาจีนหมายถึง “หัวใจ” ซึ่งมาจากลักษณะคล้ายรูปหัวใจของใบต้นตัง
ดังนั้นการนำน้ำมันตังอิ้วมาผสมกับปูนเปลือกหอยและมวลสารอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคงทนไม่เปราะและหักได้ง่าย จึงเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งของผู้ที่แนะนำสมเด็จโตให้ใช้ ซึ่งตามที่เล่าขานกันมาก็คือหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งเป็นช่างทองหลวง เพราะน้ำมันตังอิ้วในประเทศจีนจะใช้กับงานไม้และงานหินเท่านั้น ไม่ใช้กับงานปูน

ผู้ทำคิดว่าน้ำมันตังอิ้วคือสารที่เข้ามาแทนกาวน้ำซึ่งใช้อยู่ในปูนเพชร เมื่อสมเด็จโตไม่ใช้กาวน้ำในการทำพระชุดแรก ๆ ของท่าน พระที่ได้ก็ขาดความคงทนเพราะมีแต่น้ำตาลเคี่ยวหรือน้ำผึ้งซึ่งไม่มีความหนืดและคุณสมบัติในการเกาะยึดแบบกาวน้ำ พระที่ได้จึงแตกหักง่าย อีกทั้งน้ำมันตังอิ้วยังมีส่วนในการเคลือบผิวพระ ทำให้เกิดผิวที่มีสีเหลืองอมน้ำตาลตามสีของน้ำมัน เท่ากับเป็นการเคลือบผิวพระให้เกิดความคงทนมากขึ้น
การดัดแปลงเอาน้ำมันตังอิ้วมาใช้จึงเป็นอัจฉริยภาพของหลวงวิจารณ์เจียรนัยที่มีความเข้าใจในงานศิลปะปูนชั้นสูง หาสารที่มาแทนกาวน้ำได้
คำถามที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้น้ำมันตังอิ้วมี ๒, ๓ ประการ กล่าวคือ

1. ถ้าหลวงวิจารณ์แนะนำสมเด็จโตให้ใช้น้ำมันตังอิ้วในยุคสามของการสร้างพระสมเด็จแล้วในยุคแรกและยุคสองเล่า ทำไมเราจึงเห็นพระสมเด็จของยุคสองนั้นมีเนื้อผงที่เหมือนกับในยุคสาม ยุคแรกอาจมีเนื้อต่างไปบ้าง แต่ยุคสองตามที่เห็นในหนังสือสมเด็จโต หรือหนังสืออื่น ๆ ที่ลงรูปพระสมเด็จในยุคนั้น ก็มีเนื้อพระแบบเดียวกับพระยุคสามที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยออกแบบพิมพ์ใหม่

ความแตกต่างของพระที่ใช้น้ำมันตังอิ้วผสมกับที่ไม่ได้ใช้ อยู่ตรงไหน
ตอนนี้ผู้ทำยังไม่มีคำตอบ เพราะอยู่ระหว่างทดลองศึกษาเนื้อพระของทั้งสามยุคอยู่
2. พระเนื้อผงที่สร้างตามสูตรนี้คือมีผงวิเศษและมวลสารมงคลแต่สร้างโดยลูกศิษย์ของสมเด็จโต หรือเกจิอาจารย์ท่านอื่นในยุคสมัยนั้น ซึ่งรวมถึงพระในปิระมิดชั้นบนทั้งหมด ใช้น้ำมันตังอิ้วหรือเปล่า
ก็ยังเป็นอีกคำถามที่ต้องค้นคว้าหาคำตอบมาเล่าให้ท่านฟังต่อไป

3. มีพระพิมพ์สมเด็จที่เป็นพระแท้จำนวนมากที่มีพิมพ์ทรงสวยงาม และมีกรอบบังคับพิมพ์แบบเดียวกับพระสมเด็จยุคสาม แต่พิมพ์ทรงไม่เหมือนกับที่วงการนิยมเล่นหาว่าเป็นพระสมเด็จโตที่ออกแบบพิมพ์โดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย ท่านผู้อ่านจะพบพระสมเด็จพิมพ์เหล่านี้ค่อนข้างมากในนิตยสารพระเครื่องชื่อตามเกจิอาจารย์นครปฐม และจะเห็นประปรายในหนังสือพระเล่มอื่น
พระสมเด็จที่สวยงามและมีกรอบบังคับพิมพ์เหล่านี้ ใช้น้ำมันตังอิ้วผสมด้วยหรือไม่ ทำไมเนื้อพระจึงไม่เหมือนกับพระยุคสาม
เป็นปริศนาที่ต้องหาคำตอบต่อไปเช่นกัน

สรุป สูตร ๑ : สูตรสมเด็จโต

1. พระสมเด็จโตคือพระเนื้อผงที่มีมวลสารหลัก มวลสารรอง และสารช่วยยึดเกาะ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับปูนปั้น (Stucco) ที่ใช้ในงานปฏิมากรรมและสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยโบราณนับพันปี ปูนเพชรซึ่งเป็นปูนที่รู้จักกันดีในสมัยก่อน ก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน
2. มวลสารหลักคือปูนเปลือกหอย และมวลสารอื่น ๆ ที่ผสมลงในเนื้อพระ มวลสารเหล่านั้นมีมากมาย และเปลี่ยนไปตามโอกาสขึ้นอยู่กับความพอใจของสมเด็จโตว่าจะทดลองใช้วัสดุใดร่วมกับปูนเปลือกหอย
3. มวลสารรองได้แก่ผงวิเศษทั้งห้าซึ่งจะต้องมีอยู่ในการสร้างพระทุกครั้ง และเป็นหัวใจในการตัดสินว่าเป็นพระเนื้อผงที่สร้างตามสูตรนี้หรือไม่ ไม่ว่าจะสร้างโดยสมเด็จโต ลูกศิษย์ หรือเกจิอาจารย์อื่นที่ใช้สูตรนี้เป็นแบบอย่างในการสร้างพระของตัวเอง
มวลสารอื่น ๆ ก็มีหลากหลายแล้วแต่ท่านจะหามาได้ ล้วนเป็นมวลสารมงคลที่หาได้ง่ายในชีวิตประจำวันของท่าน มวลสารเหล่านี้จะปรากฎในองค์พระมากบ้าง น้อยบ้าง มีบ้าง ไม่มีบ้าง แปรเปลี่ยนไปตามการสร้างพระของท่านที่มีเป็นร้อยครั้งในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ท่านสร้างพระ

4. สารช่วยในการเกาะยึดมีทั้งการใช้น้ำตาลโตนดหรือน้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้งเดือนห้า กล้วยสุก ในยุคแรก ต่อมาหลวงวิจารณ์เจียรนัยแนะนำให้เติมน้ำมันตังอิ้วไปในสารช่วยเกาะยึด ตามประวัติบอกว่าพระที่ใช้น้ำมันตังอิ้วมีความคงทนมากขึ้น และเป็นพระจากแม่พิมพ์ที่แกะโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นพิมพ์ทรงที่สวยงามและได้รับการยอมรับในหมู่นักสะสมมืออาชีพ จัดเป็นพระในยอดปิระมิดแห่งพระเครื่อง
5. ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างพระที่มีน้ำมันตังอิ้วและไม่มีน้ำมันตังอิ้ว ซึ่งเป็นประเด็นให้ศึกษาค้นคว้าต่อไป คำตอบที่ได้อาจเป็นกุญแจที่ไขความลับในการตีความพระสมเด็จว่าเป็นพระที่สร้างโดยสมเด็จโตหรือไม่ ถ้าใช่จะเป็นพระในยุคใด

ถึงเวลานั้นก็อาจมีคำตอบที่มาจากขบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันทั่วโลก ไม่ใช่การตีความตามความเห็นและอัตตาของคนในวงการที่ตั้งตัวเป็นผู้รู้ผู้ชำนาญและผูกขาดการชี้ขาดว่าเป็นพระสมเด็จโตหรือไม่ในขณะนี้

17 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เยี่ยมยิ่งยอดยามเย็น ดีๆๆๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คำตอบที่มาจากขบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันทั่วโลก ไม่ใช่การตีความตามความเห็นและอัตตาของคนในวงการที่ตั้งตัวเป็นผู้รู้ผู้ชำนาญและผูกขาดการชี้ขาดว่าเป็นพระสมเด็จโตหรือไม่ในขณะนี้



เล่นพระสมเด็จฯอย่าประมาทเด็ดขาดเพราะผลประโยชน์เป็นเป้าหมายกิเลสเลยพาลให้เอนเอียงไม่เที่ยงตรง...หากท่านสามารถหาพระสมเด็จแท้ๆมาดูกับตาท่านจะรู้เลยว่าพระที่เห็นในเว็ปเก๊เกือบ100%...พระเซียนก็หาใช่จะแท้ทุกองค์!!!

Unknown กล่าวว่า...

ขอความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระเเท้เเค่ขายได้.......เท่านั้นหรือ ?????

ถ้าผมเปรียบเหมือนเราจะซื้อของถ้าชอบก็ซื้อ ไม่ชอบก็ไม่ซื้อ
เเต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งๆนั้นจะไม่ใช่ของดีเสมอไป...........เเค่เส้นบางๆ
ความชอบของคนบางกลุ่ม........มีเเนวทางการศึกษามันก็ดีเเต่สำหรับพระเครื่องหลักฐานการยืนยันนั้นน้อยเหลือเกินหรือเเทบจะไม่มีเลย........มีเเค่คนบางกลุ่มชี้นกเป็นไม้ ชี้ไม้เป็นนกหลอกขายพระเก๊ก็เยอะเเย่ะไป....ดังที่เป็นข่าวมาเเล้วก็มี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สรุปพระที่อยู่ในมือเซียนใหญ่แท้พระที่อยู่ในมืชาวบ้านเก๊.เล่นกันอยู่ไม่กี่เนื้อไม่กี่พิมพ์ทั้งที่สมเด็จโตสร้างไว้มากมายหลายเนื้อหลายพิมพ์.พระแท้ก็กลายเป็นพระเก๊ด้วยประการฉะนี้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระสมเด็จเนื้อกังไส,เนื้อขาวงาช้างที่มีชมรมวิจัยพระเครื่องยื่นยันว่าอายุถึงทำไมเซียนใหญ่ๆถึงบอกว่า เก๊ครับ งงมาก แล้วจะเชื่อใครดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พูดง่ายๆก็คือ แท้แต่ของข้าเพียงผู้เดียวแล้วอีกอย่างราคาก็จะกระฉูดไงล่ะครับแล้วอีกอย่างนะครับยังมีพระสมเด็จวัดสะตือจังหวัดอยุธยาอีกด้วยที่เหล่าบันดาเซียนทั้งหลายปกปิดเรื่องนี้เอาไว้ทั้งที่มีประวัติการสร้างอย่างชัดเจนคนที่สร้างก็คือสมเด็จโตนั่นเองแต่เซียนแม่งแอ๊บเอาไว้วัดระฆังอย่างเดียวผมดูผมรู้เลยนะว่าเป็นวัดสะตือแต่ผมไม่ใช่เซียนหรอกครับพี่ๆแต่ผมเคยเห็นเคยมีคนเอามาปล่อย5องค์มีลักษณะเหมือนกันทุกองค์เลยครับแล้วดูง่ายอีกด้วยครับว่าเป็นวัดสะตือ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หลักการพิจารณาเหมือนศาลพิจารณาคดี จำเป็นต้องรอบคอบอย่างมาก หลักฐานต้องแน่น หากมีเพียงจุดเดียวที่ไม่เข้าตามตำราที่ได้มีการยืนยันและยอมรับกันในหมู่ผู้รู้ที่ศึกษาสืบทอดวิชาการดูสมเด็จแท้ มาจากระดับปรมจารย์ของเซียนใหญ่ๆทั้งหลายนั้นแล้ว ให้ถือว่าพระองค์นั้นยังไม่ใช่ เพราะใช่ว่าการปลอมพระสมเด็จพึ่งมาปลอมกันในสมัยนี้ หากแต่ปลอมกันมาเนินนานมากแล้ว และงานฝีมือของบุคคลที่เรียกว่าเซียนทุกยุคทุกสมัยนั้นก็ใช่ย่อย ทำออกมาได้ในระดับที่ว่าเซียนด้วยกันเองก็ยังพลาดท่าเสียทีกันเองอยู่บ่อยครั้ง ผู้ศึกษาพระสมเด็จจึงจำเป็นต้องมีอาจารย์ดี ที่รู้ลึกรู้จริงในเรื่องพระสมเด็จอย่างถ่องแท้ยาวนานและเป็นกลาง ซึ่งปัจจุบันนั้นหาได้ยากยิ่งในวงการ

ถูกต้องตามความเห็นตอนท้ายของท่านที่โพสไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556, 07:19 ด้านบน ว่า.. " เล่นพระสมเด็จฯอย่าประมาทเด็ดขาดเพราะผลประโยชน์เป็นเป้าหมายกิเลสเลยพาลให้เอนเอียงไม่เที่ยงตรง...หากท่านสามารถหาพระสมเด็จแท้ๆมาดูกับตาท่านจะรู้เลยว่าพระที่เห็นในเว็ปเก๊เกือบ100%...พระเซียนก็หาใช่จะแท้ทุกองค์!!! " นี่คือความจริงอย่างที่สุด ที่เซียนรู้ว่าเก้แท้ก็เพราะรู้ตำหนิที่มาจากฝีมือของเหล่าบรรดาเซียนด้วยกันนั้นแล

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมว่าไม่ยากนะ รู้จักพิมพ์หรือศิลปะของผู้แกะพิมพ์ ว่าเค้ามาจุดมาร์คกิ้งตรงไหนเป็นสำคัญ รู้จักมวลสาร รู้จักการเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ และดูเก่าเป็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อย่าเยอะ

เด็กเพ้อเจ้อ กล่าวว่า...

ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ครับ ไม่ใช่ co2 14 ถ้าใช้ หัว อ่านค่า co2 14 เป็นวิธีที่ ตรวจสอบ ค่าความร้อน ของอายุของวัตถุ ที่ผ่านอุณหภูมิสูงๆ ครั้งสุดท้าย เมื่อไหร่โดย จะทราบถึงอายุที่ถูก กระทำขึ้นครับ แล้วแอบอ้าง จึงทำให้เกิดความสับสน จากสูตร ค่า co2 คือพลังงานความร้อนครับแต่พระสมเด็จ คือปูนเปลือหอย ดังนั้นต้องใช้หัวอ่าน ค่า ประเภทโครงกระดูก ที่ และเหตุนี้สามมารถพิสูจน์ได้หลายวิธี ครับแต่ต้อง อาศัยความชำนาญ ด้วยเหตุนี้ กระผม จึงอยากจะแสดงความคิดเห็นว่า อายุ ต้องมาก่อนครับ ลายลักษณ์อักษรที่ถูกยุค ตามด้วยพิมพ์ทรงที่กำหนดตาม การแบ่งพิมพ์ แต่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูล เหตุจูงใจ ที่สามารถพิสูตรน์สูตรได้ครับ จาก เด็กที่ใช้ พระธรรมพิสูตร

เด็กเพ้อเจ้อ กล่าวว่า...

ผมเชื่อว่าวงการพระเครื่อง ที่มีการประกวดมีมาตรฐาน แต่ควรจะ เพราะ จากอายุพระที่สร้าง ขึ้นแต่ผิดพิมพ์ทรงเล็กน้อย เนื่อง เวลา กรรม หรือการกระทำกับองค์พระต่างกัน ควรมีการสอบเทีบบ ผู้ คัดกรองพระครับ เพื่อ ศรัทธาที่จริงผมแค่น้อยใจว่าพระ ไม่ผ่าน เพราะไม่เหมือน ผมกรรมการตัดสินพระบางประเถทที่คุณสมบัติไม่ได้ครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระสมเด็จบางท่านก็บอกว่าดูง่าย บางท่านก็บอกดูยาก คำตอบ
ผมคิดเหมือนหลักการทั่ว ไม่ว่าอะไรเริ่มต้นคือเรียนรู้ ศึกษา แล้วทุกอย่างจะบอกเราเอง กลัวแต่เพียงว่าอาจารย์ หรือหนังสือเรียน
จะบอกสอนให้เหมือนกัวหรือเปล่า นี่คือประเด็นหลัก อนาคตพระสมเด็จแท้ๆจะมีเหลืออยู่หรือไม่หรือว่าจะมีเยอะจนหรือรวย ก็เป็นเจ้าของใด้ เพราะพระบางท่านก็บอกมีเยอะมากมายบางท่านบอกในเมืองไทย เหลือไม่กี่สิบองค์ และหากท่านผู้นั้นตายไปใครจะเป็นผู้สืบทอดตำนานพระสมเด็จที่โด่งดังของเมืองไทย ในเมื่อใครๆมองเป็นพานิช ต่างคนก็ต่าง พูดในสิ่งที่ตัวเองมีหรือมีส่วนร่วม
กระผมคนหนึ่งที่อยากเรียนรู้เรื่องพระสมเด็จแต่เชื่อใหมข้อมูลผมที่ใด้อ่านใด้ยินไม่ตรงกัน พระสมเด็จที่ผมเก็บไม่ใด้ซื้อจากเซียน
ซื้อจากบุคคลทั่วไปเพราะผมรับซื้อพระสมเด็จ และผมซื้อแบบไม่เป็นและซื้อแบบไม่แพง ใครอยากปลาอยใครเดือดร้อนมาผมชอบหรือไม่ชอบผมซื้อรวม แล้วมาศึกษาดู ที่แน่ๆเก่าจริงสำคัญกว่า
เพราะพระเก้ทำเก่าไม่เหมือนครับ ขอบคุณครับสนับสนุนให้มีเครื่องมือวัดค่าอายุดินหรืออายุมวลสาร เพื่อการสืบทอดที่แท้จริงครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

วงการพระเครื่องเมืองไทยจะอยู่ใด้อย่างถาวรเพราะเขายึดหลักความจริง หากเขาทิ้งเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเขาจะเข้าใจ กลัวแต่ว่าเขาจะไม่ใด้อยู่ดู เพราะพระแท้ท่านคุ้มครองเฉพาะคนแท้ ครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมว่าสังคยานาใหม่ ลองเอาพระที่เซียนว่าแน่ๆของแท้กับพระที่เซียนว่าเก๊มาดูกันใหม่แท้อาจกลายเป็นเก๊ๆกลายเป็นแท้ ก็ได้ครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมไม่ใช่เซียนพระนะครับ แต่อยากลงความคิดเห็นสักนิดครับ
ผมมีความรู้สึกว่าเส้นซุ้มพิมใหญ่ มองดีจะ
เหมือนเป็นเกลียวครับ และเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระ
ช่วงคอจะมีรอยปลิ ผมสังเกตุในพิมพ์เดียวกันจะเป็น
แบบนี้แทบทุกองค์ครับ และเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระ
ช่วงฐานชั้นล่างสุดจะซอบเข้าหรือเล็กลงครับ ใช่ไม่ใช่ประการใดก็ขอคำชี้แนะด้วยนะครับ
ผมมีอยู่หนึ่งองค์ครับแต่ไม่เคยผ่านตาเซียนครับ

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook