พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องรู้ไว้ พระที่สร้างโดยสูตรพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์นี้ส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างด้วยเครื่องมือกล ในยุคประมาณ พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา เหตุจากความต้องการพระจำนวนมากในเวลาอันสั้น ทำให้การสร้างพระเปลี่ยนจากภายในวัด โดย พระ เณร และชาวบ้านช่วยกันสร้าง มาเป็นการจ้างให้ผู้ชำนาญการซึ่งมีโรงงานเป็นผู้สร้าง
พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์เหล่านี้จะมีมาตรฐานในการสร้าง เพราะใช้วิทยาการสมัยใหม่เข้าไปช่วย การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนาด ความหนา และการตัดขอบมีน้อยมาก เพราะสร้างด้วยเครื่องมือกลที่สามารถควบคุมได้
การออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ก็ได้รับการปรับปรุง เพราะไม่ต้องการใช้เวลาในการตากพระให้แห้งมาก ผู้สร้างอาจมีสถานที่จำกัด เพราะส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานขนาดเล็กที่รับผลิตทั้งเหรียญและพระเนื้อผง ที่ดัดแปลงมาจากห้องแถวเพื่อใช้สร้างพระเครื่องที่มีขนาดเล็กและไม่ต้องการโรงหล่อขนาดใหญ่ที่จะหล่อพระพุทธรูป
กาววิทยาศาสตร์คือสารช่วยเกาะยึดที่มาแทนที่น้ำมันตังอิ้ว เพราะน้ำมันตังอิ้วแห้งช้าและต้องใช้เวลา ถ้าใช้กาววิทยาศาสตร์มวลสารทำปฏิกิริยากับกาวทันที ทำให้มีความเหนียวในตัว เมื่อใช้กดลงในแม่พิมพ์ด้วยเครื่องมือกล ก็จะได้พระที่มีความสวยงาม
พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ที่ใช้สูตรนี้ได้แก่
มวลสารหลัก คือวัสดุมงคลของทุกจังหวัดที่กระทรวงมหาดไทยทูลเกล้าถวาย ซึ่งแต่ละจังหวัดรวบรวมจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองในจังหวัดนั้น ๆ ได้แก่ดิน ตะไคร่น้ำแห้ง ทองคำเปลว ผงธูป น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์และผงศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
มวลสารรอง ได้แก่ มวลสารที่รัชกาลที่ ๙ ทรงเตรียมด้วยพระองค์เอง ประกอบด้วยดอกไม้แห้งจากประชาชนถวาย และทรงแขวนไว้ที่องค์พระแก้วมรกต เส้นพระเจ้า (เส้นผม) ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล สีที่ขูดจากผ้าใบที่ทรงวาด ชันและสีที่ทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง
สารช่วยเกาะยึด น่าจะเป็นกาววิทยาศาตร์ชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นเรซิน เพราะมวลสารหลักและรองไม่มีปูนเปลือกหอยหรือปูนชนิดใด ล้วนแต่เป็นวัสดุมงคล ๑๐๐ % ผู้ทำสันนิษฐานว่าทรงใช้กาวลาเท็กซ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง
2. พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ที่เจ้าคุณอุดมสารโสภณมอบให้ช่างธีระศักดิ์ (เล้ง) ธรรมธาตรี ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ทั้งหมด ๓ แม่พิมพ์ พิมพ์แรกด้านหน้าจะเป็นพระแก้วมรกตทรงเครื่องฤดูร้อน ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้าและรูปเสือ พิมพ์ที่สอง เป็นพิมพ์นาคปรก ๗ ชั้น ๗ เศียร ด้านหลังยันต์น้ำเต้าและรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯในใบโพธิ์ พิมพ์ที่สาม เป็นพิมพ์พระประธาน ด้านหลังทั้งแบบหลังเสือและหลังรูปเหมือนในใบโพธิ์ เข้าพิธีปลุกเสกเมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ นับเป็นพระเจ้าคุณนรฯที่พิมพ์ทรงสวยงามมากชุดหนึ่ง
การออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ไม่มีระบุไว้ แต่สารช่วยเกาะยึดใช้กาววิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะเป็นกาวลาเท็กซ์ชนิดหนึ่ง
ข้อเสียเปรียบของพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ของพระเนื้อผงที่ใช้สูตรนี้คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวน้อยมาก เพราะเมื่อกาววิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ประสานมวลสารเข้าด้วยกัน ผลที่ออกมาก็จะเป็นองค์พระที่จะไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศอีก เพราะมวลสารถูกเคลือบด้วยกาววิทยาศาสตร์แล้ว ฉะนั้นพระผสมกาววิทยาศาสตร์ที่ทำสูตรนี้จะให้ความสวยงามเมื่อเสร็จ แต่ใช้บูชาไปนาน ๆ ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงนัก เท่ากับระยะสั้นธรรมชาติสวยงาม แต่ระยะยาวขาดเสน่ห์แห่งพระเนื้อผง เพราะการใช้บูชาจะไม่มีผลเท่าใดนัก เทียบกับพระเนื้อผงสูตรอื่น เนื้อพระจะไม่แสดงอายุการใช้บูชาออกมา
ผู้อ่านต้องให้ความสนใจพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์พระสูตรนี้ให้ดี เพราะการทำพระสมเด็จที่เป็น “พระไม่แท้” วิธีหนึ่ง คือ การปลอมเนื้อให้ใกล้เคียงยุคนั้นแล้วใช้กาววิทยาศาสตร์เป็นสารช่วยเกาะยึด วิธีนี้พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์จะได้พระที่ดูเก่าเหมือนพระยุคนั้น ตรงข้ามกับพระชุดเจ้าคุณนรฯซึ่งจะดูเหมือนใหม่
ผู้ทำเคยเจอพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ชุดนี้มาแล้ว เป็นพระวัดระฆังพิมพ์เจดีย์ที่พิมพ์ทรงถูกต้องชัดเจน ทั้งหูซ้ายขวา สังฆาฏิ ขาซ้ายขวา ฯลฯ เนื้อพระสีขาวอมเหลืองปิดทองมาด้วย ที่เอะใจเพราะไปเจอหลายองค์ แม้จะบอกว่ามาจากบ้านเดียวกัน เจ้าของเก็บไว้หลายองค์ก็มีพิรุธให้สงสัย เพราะเช่าบูชามา ๒, ๓ องค์ ก็ยังไปเจอตามแผงอื่นอีก
ถ้าท่านเกิดได้ “พระไม่แท้” สูตรพระผสมกาววิทยาศาสตร์นี้มา ลองนำไปแช่ในน้ำอุ่นดู จะไม่เห็นฟองอากาศ เพราะพระจะไม่มีช่องว่างภายในเนื่องจากถูกกาววิทยาศาสตร์เคลือบปิดหมด จากนั้นลองใช้บูชาไปสักพักให้ถูกเหงื่อ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเนื้อพระ ท่านก็อาจเจอพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์สูตรนี้ก็เป็นได้ เพราะเนื้อพระได้ทำปฏิกิริยากับกาววิทยาศาสตร์จนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและการใช้บูชาได้
หวังว่าจะให้ประโยชน์เเก่ผู้อ่านในเรื่องพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อยเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันตัวท่านเองในการเช่าซื้อพระเนื้อผงที่ตนเองรัก ขอบคุณครับ
พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์เหล่านี้จะมีมาตรฐานในการสร้าง เพราะใช้วิทยาการสมัยใหม่เข้าไปช่วย การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนาด ความหนา และการตัดขอบมีน้อยมาก เพราะสร้างด้วยเครื่องมือกลที่สามารถควบคุมได้
การออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ก็ได้รับการปรับปรุง เพราะไม่ต้องการใช้เวลาในการตากพระให้แห้งมาก ผู้สร้างอาจมีสถานที่จำกัด เพราะส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานขนาดเล็กที่รับผลิตทั้งเหรียญและพระเนื้อผง ที่ดัดแปลงมาจากห้องแถวเพื่อใช้สร้างพระเครื่องที่มีขนาดเล็กและไม่ต้องการโรงหล่อขนาดใหญ่ที่จะหล่อพระพุทธรูป
กาววิทยาศาสตร์คือสารช่วยเกาะยึดที่มาแทนที่น้ำมันตังอิ้ว เพราะน้ำมันตังอิ้วแห้งช้าและต้องใช้เวลา ถ้าใช้กาววิทยาศาสตร์มวลสารทำปฏิกิริยากับกาวทันที ทำให้มีความเหนียวในตัว เมื่อใช้กดลงในแม่พิมพ์ด้วยเครื่องมือกล ก็จะได้พระที่มีความสวยงาม
พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ที่ใช้สูตรนี้ได้แก่
1. พระกำลังแผ่นดิน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “พระสมเด็จจิตรลดา” เพราะในหลวงท่านสร้างที่ห้องทรงงาน (Workshop) ของท่านที่วังจิตรลดา โดยพิมพ์ทรงที่ท่านทรงโปรดให้กรมศิลปากรทำให้ตามพระราชประสงค์
มวลสารรอง ได้แก่ มวลสารที่รัชกาลที่ ๙ ทรงเตรียมด้วยพระองค์เอง ประกอบด้วยดอกไม้แห้งจากประชาชนถวาย และทรงแขวนไว้ที่องค์พระแก้วมรกต เส้นพระเจ้า (เส้นผม) ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล สีที่ขูดจากผ้าใบที่ทรงวาด ชันและสีที่ทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง
สารช่วยเกาะยึด น่าจะเป็นกาววิทยาศาตร์ชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นเรซิน เพราะมวลสารหลักและรองไม่มีปูนเปลือกหอยหรือปูนชนิดใด ล้วนแต่เป็นวัสดุมงคล ๑๐๐ % ผู้ทำสันนิษฐานว่าทรงใช้กาวลาเท็กซ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง
2. พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ที่เจ้าคุณอุดมสารโสภณมอบให้ช่างธีระศักดิ์ (เล้ง) ธรรมธาตรี ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ทั้งหมด ๓ แม่พิมพ์ พิมพ์แรกด้านหน้าจะเป็นพระแก้วมรกตทรงเครื่องฤดูร้อน ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้าและรูปเสือ พิมพ์ที่สอง เป็นพิมพ์นาคปรก ๗ ชั้น ๗ เศียร ด้านหลังยันต์น้ำเต้าและรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯในใบโพธิ์ พิมพ์ที่สาม เป็นพิมพ์พระประธาน ด้านหลังทั้งแบบหลังเสือและหลังรูปเหมือนในใบโพธิ์ เข้าพิธีปลุกเสกเมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ นับเป็นพระเจ้าคุณนรฯที่พิมพ์ทรงสวยงามมากชุดหนึ่ง
การออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ไม่มีระบุไว้ แต่สารช่วยเกาะยึดใช้กาววิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะเป็นกาวลาเท็กซ์ชนิดหนึ่ง
ข้อเสียเปรียบของพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ของพระเนื้อผงที่ใช้สูตรนี้คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวน้อยมาก เพราะเมื่อกาววิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ประสานมวลสารเข้าด้วยกัน ผลที่ออกมาก็จะเป็นองค์พระที่จะไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศอีก เพราะมวลสารถูกเคลือบด้วยกาววิทยาศาสตร์แล้ว ฉะนั้นพระผสมกาววิทยาศาสตร์ที่ทำสูตรนี้จะให้ความสวยงามเมื่อเสร็จ แต่ใช้บูชาไปนาน ๆ ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงนัก เท่ากับระยะสั้นธรรมชาติสวยงาม แต่ระยะยาวขาดเสน่ห์แห่งพระเนื้อผง เพราะการใช้บูชาจะไม่มีผลเท่าใดนัก เทียบกับพระเนื้อผงสูตรอื่น เนื้อพระจะไม่แสดงอายุการใช้บูชาออกมา
ผู้อ่านต้องให้ความสนใจพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์พระสูตรนี้ให้ดี เพราะการทำพระสมเด็จที่เป็น “พระไม่แท้” วิธีหนึ่ง คือ การปลอมเนื้อให้ใกล้เคียงยุคนั้นแล้วใช้กาววิทยาศาสตร์เป็นสารช่วยเกาะยึด วิธีนี้พระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์จะได้พระที่ดูเก่าเหมือนพระยุคนั้น ตรงข้ามกับพระชุดเจ้าคุณนรฯซึ่งจะดูเหมือนใหม่
ผู้ทำเคยเจอพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ชุดนี้มาแล้ว เป็นพระวัดระฆังพิมพ์เจดีย์ที่พิมพ์ทรงถูกต้องชัดเจน ทั้งหูซ้ายขวา สังฆาฏิ ขาซ้ายขวา ฯลฯ เนื้อพระสีขาวอมเหลืองปิดทองมาด้วย ที่เอะใจเพราะไปเจอหลายองค์ แม้จะบอกว่ามาจากบ้านเดียวกัน เจ้าของเก็บไว้หลายองค์ก็มีพิรุธให้สงสัย เพราะเช่าบูชามา ๒, ๓ องค์ ก็ยังไปเจอตามแผงอื่นอีก
ถ้าท่านเกิดได้ “พระไม่แท้” สูตรพระผสมกาววิทยาศาสตร์นี้มา ลองนำไปแช่ในน้ำอุ่นดู จะไม่เห็นฟองอากาศ เพราะพระจะไม่มีช่องว่างภายในเนื่องจากถูกกาววิทยาศาสตร์เคลือบปิดหมด จากนั้นลองใช้บูชาไปสักพักให้ถูกเหงื่อ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเนื้อพระ ท่านก็อาจเจอพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์สูตรนี้ก็เป็นได้ เพราะเนื้อพระได้ทำปฏิกิริยากับกาววิทยาศาสตร์จนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและการใช้บูชาได้
หวังว่าจะให้ประโยชน์เเก่ผู้อ่านในเรื่องพระเนื้อผงผสมกาววิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อยเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันตัวท่านเองในการเช่าซื้อพระเนื้อผงที่ตนเองรัก ขอบคุณครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ