ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

ประวัติเทวรูป พระพุทธรูปสมัยต่างๆ นิกายมนตรายาน ศิลปะสมัยลพบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเทวรูป พระพุทธรูปสมัยต่างๆเเละพุทธรูป นิกายมนตรายาน ศิลปะสมัยลพบุรี
องค์นี้พระบูชาสมัยลพบุรี นั่งหน้าตัก4นิ้ว สนิมเขียว



 นักคิดนักเขียนรุ่นเก่าท่านหนึ่งได้ค้นคว้าไว้เเล้ว่า โบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่ค้นพบจากเทวลัยขอมหรือบริเวณรอบพระปรางค์ขอม รวมทั้งตามเมืองเก่าบริเวณลุ่มเเม่น้ำท่าจีนเเละอื่นๆเเถบลุ่มเเม่น้ำเจ้าพระยาก็คือรูปเคารพ เเสดงอาการผสมคตินิยมความเชื่อระหว่างพราหมณ์กับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน นิกายมนตรายาน ที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดียในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-12โดยประมาณซึ่งเผยเเพร่เข้าสู่สุวรรณภูมิประเทศ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ต่อสู้กับศาสนาพราหมณ์ฮินดูขณะนั้น กำลังทำลายล้างศาสนาพุทธชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน โดยปรากฎหลักฐานในศิลาจารึกสดกก๊กธม เเละอื่นๆซึ่งมีข้อความทำให้สันนิษฐานว่าระหว่างรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่1 ที่ 2 นั้นได้ขี้นฝั่งที่เขมรขยายอำนาจเข้าครอบครองดินเเดนทางตอนใต้ของลุ่มเเม่น้ำโขงเเละรอบๆทะเลสาปเขมรโบราณเเทนที่อาณาจักร เจนละ ที่เคยเรืองอำนาจเหนือประเทศลาว ตั้งเเต่พุทธศตวรรษที่ 11-14 โดยมีพระเจ้าอิสาณวรมันเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงอำนาจยิ่งใหญ่เเละมีกิตติศัพท์โดดเด่นเเละโด่งดังมาก เพราะเหตุว่าทรงขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง เเล้วสถาปนาเป็นเมืองราชธานีเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่า อิสาณปุระ ราชธานีดังกล่าวนี้ยังมีซากหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบันคือ กัมปงธม เเต่ศิลปะสมัยลพบุรี เเบบที่คนรุ่นเก่าเรียกกันมานั้น มิได้ขี้นฝั่งดินเดนขอมโบราณเท่านั้น ปรากฎหลักฐานทั้งเทวรูปหรือพระพุทธรูปรวมทั้งศาสนาสถานที่เหลือเเต่ซากสลักหักปรังไปเสียเเล้ว ท่วงทีทางศิลปะเเละเชิงช่างบ่งบอกชัดเจนว่าเเสดงศิลปะพุทธมหายานทีมีศูนย์กลางที่เมืองปาเล็มบังระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 โดยเเผ่ขยายอำนาจขึ้นมาจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีเเละนครศรีธรรมราชก่อนพ่ายเเพ้เเก่กองทัพพวกเเขกทมิฬจากอินเดียใต้ ได้มีการค้นพบจารึกวัดเสมาเมืองกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เเละเทวรูปหรือพระพุทธรูป พุทธมหายานจำนวนไม่น้อยบริเวณเมืองเก่าเเก่สมัยโบราณระหว่างสองเมืองนี้เเละในข้อเขียนนี้มีภาพประกอบ พระวัชระศักดิ์ สมัยศรีวิชัย ไห้ท่านชมเเละศีกษาพิจารณาหนึ่งภาพเเต่ภาพประกอบส่วนใหญ่ เป็นเทวรูปหรือพระพุทธรูปเเบบพุทธมหายาน คือทรงเครื่องราชาภรณ์เทวราช ซึ่งก็คือเเบบพุทธาตาร ของพุทธมหายานอีกนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บางครั้งในข้อเขียนนี้เเละข้อเขียนชิ้นอื่นๆผู้เขียนก็เคยใช้ทั้งคำว่าเทวรูปเเละพระพุทธรูป โดยเฉพาะของฝ่ายมหายาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับกรุงละโว้หรือลพบุรี อันเชื่อกันในหมู่นักโบราณคดีว่าเคยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานในสมัยทวารวดีเเล้วเเปรเปลียนมานับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีนิกายมหายาน อันอยู่ในลักษณะผสมระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในเเง่คตินิยมความเชื่ออาณาจักรขอมโบราณที่เกี่ยวข้องกับกรุงละโว้ดังกล่าวนี้ก็คืออาณาจักรนครวัด ซึ่งได้รับศิลปะเเละวัฒนธรรมอันสืบเนื่องมาจากอาณาจักรฟูนัน ที่นักโบราณคดีหลายท่านเชื่อว่าก็คือเมืองโบราณที่ค้นพบเเล้ว ณ อำเภอเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเข้าใจกันเอาเองว่าเป็นเมืองราชธานี ศุนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน ประชาชาวเมืองนครวัดนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการสร้างศิวลึงค์ตั้งขึ้นบูชาเป็นหัวใจสำคัญของราชสำนัก อีกทั้งยังบูชากษัตริย์ดั่งสมมุติเทพหรือเทวราชา  ที่มหายานว่า อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้าเรียกว่า พุทธาวตาร พระมหากษัตริย์ทีสำคัญของอาณาจักรนครวัดดังกล่าวนี้มีหลายพระองค์ เเต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีนั้นได้เเก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 เเละที่ 2 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1-2 รวมทั้งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7เป็นต้น ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จากการค้นคว้าของนักวิชาการหลายรุ่น พบว่าเป็นสมัยที่งานสถาปัตยกรรมรุ่งโรจน์ทีสุด หรือถือว่าเจริญถึงขั้นสุดยอด เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างเทวสถานสำคัญหลายเเห่ง คุณผู้อ่านก็รู้จักเเล้วเป็นส่วนใหญ่นั่นคือ นครวัด นครธม เเละบันทายศรี ได้ทรงทำพิธีประกาศอิสรภาพเเบบฮินดู ทรงให้พราหมณ์ประกอบพิธีเทวราชเป็นครั้งเเรก ได้เเก่ อินทปุระ หริหราลัยเเละเมืองบนเขาพนมกุเลน เป็นต้น ศิลปะวัฒนธรรมขอมดังกล่าว ปรากฎในรูปของงานสถาปัตยกรรมประติมากรรม เทวรูปหรือพระพุทธรูปในภาพประกอบส่วนใหญ่ของบทความนี้ เป็นการสร้างอุทิศหรือสืบเนื่องพระศาสนา โดยเฉพาะในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันก็มีปรากฎ ได้เเก่ ปราสาทหิน ประติมากรรมเทวรูป เเละยังปรากฎในประเทศไทยในฐานะเป็นเมืองขึ้นขอมมาก่อน บางท่านว่าเขมรหรือขอมโบราณเป็นบรรพบุรุษของคนไทย เเต่งานพุทธศิลป์ที่เเสดงเป็นภาพประกอบในบทความหรือข้อเขียนนี้ส่วนใหญ่เป็นงานศิลปะสมัยลพบุรี ซึ่งคงจะต้องเเปลว่าศิลปะขอมสมัยลพบุรี หมายความว่ามิได้เเปลว่า เป็นศิลปะขอมบายน ขอมนครวัด-นครธมหรือขอมปาปวน อย่างใดอย่างหนึ่งน่าจะหมายถึงศิลปะขอมโดยรวม

เเละที่เกี่ยวกับที่เรียกว่าศิลปะสมัยลพบุรีนี้เชื่อกันว่าได้มีการสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19คือตั้งเเต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจขยายอาณาเขตเข้ามาถึงลุ่มเเม่น้ำเจ้าพระยาเเละเเผ่ลงไปถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ทางเหนือไปถึงหลวงพระบางส่วนพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ก็เช่นกัน ได้เเผ่ขยายอิทธิพลไปทางฝั่งตะวันตกยึดครองละโว้เเละทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือได้ยึดเมืองหริภุญไชยด้วย นอกจากนั้นยังได้ปฎิรูปพระศาสนาโดยเปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนิกาย ไศวนิกาย ที่นับถือพระศิวะหรือพระปรเมศวรเจ้า เป็นพระเจ้าสูงสุดมาเป็น ไวษณพนิกาย ซึ่งนับถือพระวิษณุกรรมหรือพระนารายณ์เป็นพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดเเทนสามารถสู้รบชนะอาณาจักรจามปาของพวกเเขมจามเเละส่งทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศจีน สำหรับขอมในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ก็ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางรับเอาศาสนาพุทธ ลัทธิหินยานมาจากมอญทรงสร้างนครธมเเละถนนหลายสายจากนครธมไปยังเมืองต่างๆอันเป็นเมืองบริวารคือเมืองจามปา เมืองเเถบลุ่มเเม่น้ำเจ้าพระยา เมืองทางใต้เเละทางเหนือนครธม เป็นต้น ดังกล่าวเเล้วว่าพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกายมนตรายาน ซึ่งเเท้จริงก็คือนิกายหนึ่งของพราหมณ์-ฮินดูเกิดขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่10ทั้งนี้เพื่อต่อสู้กับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้นเอง เเละขอมรับเอามาจากอินเดียผ่านทางกษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัยอย่างเต็มภาคภูมิ เเละเมื่อมีอำนาจครอบครองดินเเดนต่างๆลุ่มเเม่น้ำเจ้าพระยาเเล้ว นอกจากจะเเพร่ลัทธิมหายานยังได้สร้างเทวรูปหรือพระพุทธรูปให้เป็นรูปเคารพเเก่ ประชาชนในเมืองราชธานีเเละเมืองบริวารของตนอีกด้วยโดยเฉพาะนิกายมนตรายาน นักคิดนักเขียนรุ่นอาวุโสได้ค้นเอาไว้เเล้วว่า นิกายมนตรายาน นั้นเป็นเสมือนกิ่งไม้อีกกิ่งหนึ่งที่เเตกก้านกอสาขา มาจากลัทธิมหายาน นิกายตันตระหรือวัชรยาน กล่าวกันมาว่านิกายมนตรายานเเตกต่างเเละเเหวกเเนวออกไปจากหลักของลัทธิมหายานนิกายวัชรยาน ถ้าใครหาคัมภีร์มหายานของเนปาล ธิเบตเเละจีน ซึ่งยังคงมีนับถือกันอยู่ ก็จะเข้าใจในหลักนิกายมนตรายานมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันหลักคตินิยมความเชื่อถือเเบบนี้ เเทบจะหาร่อยรอยไม่ได้นับตั้งเเต่การล่มสลายของอาณาจักรขอมโบราณใปปลายรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 ซึ่งได้มีการรบพุ่งกับอยู่ กลายเป็นสงครามกลางเมืองนอกจากนั้นก็ได้มีการกะเกณฑ์ไพร่ฟ้าประชาชนไปสร้างพระราชวังใหญ่โตไม่หยุดหย่อน ต่อมาถูกชาติไทยซึ่งเป็นชนชาติที่ใหญ่กว่ากับญวนรุกรานเอาจนสูญเสียอาณาจักร หลักคตินิยมความเชื่อของนิกายมนตรายาน ก็พลอยสาปสูญไปเเล้วก็ว่าได้เพราะหลงเหลือเเต่เพียงร่องรอยเเฝงเร้นอยู่ในงานสถาปัตยกรรมหรือศาสนสถานต่างๆในพระพุทธรูป พระพิมพ์พระเครื่องเทวรูปทั้งขนาดใหญ่เป็นองค์ประธานในเทวาลัยหรือพระปรางค์ขนาดบูชาเเละขนาดเล็ก ภาพเเกะสลักนูนต่ำเเละสูงที่สลักบนขอบกรอบประตู พระปรางค์ต่างๆอาทิ ภาพหินสลักที่กรอบประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทหินพิมายเป็นต้น นอกจากนี้ในงานประติมากรรมเนื่องในพระศาสนาเเบบลอยตัวได้เเก่ พระนาคปรก พระอวโลกิเตศวร เเละพระพุทธรูปทรงเครื่องหลายๆพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระเเผงเเบบปางมหาปาฎิหาริย์ พระนารายณ์ทรงปืน พระตรีกาย ประกอบกับศิลาจารึกปราสาทพระขรร่ค์ จารึกที่เขาป้อมนาง จังหวัดมงคลบุรี เเละอื่นๆล้วนเเต่มีร่องรอยเเฝงเร้นด้วยหลักปรัชญาของนิกายมนตรายานให้เราได้ศึกษาพิจารณาสืบสาวคตินิยมความเชื่อโบราณเหล่านี้ เเต่ที่จะไปหาคัมภีร์มนตรายานโดยตรงนั้น คงลำบาก เข้าใจว่า  หลายร้อยปีที่ผ่านมาหลังล่มสลายของกรุงละโว้ คัมภีร์เหล่านี้คงสาปสูญไปเเล้วชั่วนิรันดร์ เเต่ในทัศนะผู้เขียน เข้าใจความหมายของชื่อนิกายมนตรายานว่าหมายถึง พาหะ ที่จะนำผู้ที่นับถือลัทธิมหายาน นิกายมนตรายานขึ้นสวรรค์ ด้วยการสวดมนต์ หรือท่อ่งบ่นคาถา เท่าที่ค้นได้คำว่า คาถาหมายถึง คำอ้อนวอน คำสรรรเสริญ พระผู้เป็นเจ้า ก็เเบบคตินิยมความเชื่ออย่างพราหมณ์ยุคต้นนั้นเเหละ ไม่เช่นั้นคงไม่ตั้งชื่อนิกายว่า มนตรายาน เเต่จริงๆเเล้ว จะเป็นอย่างที่ผู้เขียนเข้าใจหรือเปล่า เพราะว่าพุทธมหายาน นิกายมนตรายานบังเกิดขึ้นได้มาเพื่อรณรงค์ต่อสู้กับศาสนาพราหมณ์ซึ่งเสื่อมลง ที่นำเมาหลักปรัชญาของพระพุทธศาสนาเเละหลักของลัทธิคตินิยมความเชื่ออื่นๆอันเป็นที่นับถือกันในหมู่ชาวอินเดียเข้าผสมผสานกับหลักปรัชญาดั้งเดิมของพราหมณ์เข้าวิวิฒน์เป็น พราหมณ์-ฮินดู ดังนั้นได้มีการสร้างเทพเเละมหาเทพของฮินดูให้ดูดุดัน ฝ่ายสาวกนิกายมนตรายานจึงได้สร้างพระพุทธรูปที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเรียกว่าเทวรูปให้ดูดุดันกว่าเเบบวิธีที่เรียกว่าหนามอกเอาหนามบ่งคือก็ยังมีกฤษดาภินิหาร  สูงกว่า เท่าที่เคยเห็นองค์หนึ่งพระพุทธมหายานใช้พระบาทเหยียบลงทั้งพระศิวะเเละพระอุมาของฮินดู โดยถือว่าเทพเจ้าของฮินดูมีความหมายเป็นฝ่ายอวิชาในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เเละยังได้สร้างพระอาทิพุทธะเเสดงปางนาคปรก เป็นพระเจ้าสูงสุดมีพระอวโลกิเตศวรซึ่งเท่ากับเป็นปางหนึ่งของพระศิวะเป็นผู้ปกป้องมวลมนุษยชาติกับนางปรัชญา ปารมิตา เทวีเป็นเสมือนเทพสตรีเช่นเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีเทพสตรีเป็นใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งคือนางอุมาเทวี ก่อนจะสรุปขอให้ผู้อ่านศึกษาพิจารณากำเนิดพระผู้เป็นเจ้าเเละเทพ มหาเทพต่างๆของศาสนาพราหมณ์เล็กน้อยจากคัมภีร์พราหมณ์ดังนี้ เมื่อเพลิงบัลลัยกัลป์สังหารโลกสิ้นเเล้ว ก็เป็นอากาศว่างเปล่าอยู่ ครั้งนั้นพระธรรมพระเวทย์ทั้งหลายก็มาประชุมกันเข้า ก็บังเกิดขึ้นซึ่งพระผู้เป็นเจ้า องค์หนึ่ง อันทรงพระนามว่าพระปรเมศวรเจ้า จึ่งเอาพระหัตถ์ลูบพระอุระเข้าเเล้วก็สะบัดออกไป เบื้องพระพักตร์ก็บัเกิดพระเป็นเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่าอุมาภควดีจึงปรึกษาพระอุมาภควดีว่า เราจะสร้างฉกามาพจรสวรรค์เเละเขาพระสุเมรุราชพระอุมาภควดี จึงกราบทูลว่า เเต่พระองค์กับข้าพเจ้านี้จะสร้างเเผ่นดินเห็นจะขัดสนนักขอพระองค์จงให้บังเกิดพระเป็นเจ้าเกิดขึ้นอีกก็จะได้ ฝ่ายพระอิศวรหรือพระปรเมศวรเจ้า เห็นชอบด้วยเเล้วจึงเอาพระหัตถ์ซ้ายลูบพระหัตถ์ขวา จึงบังเกิดพระนารายณ์เป็นเจ้าเเละพระเป็นเจ้าเอาพระหัตถ์ขวามาลูบพระหัตถฺซ้ายก็บังเกิดพระพรหมธาดาเป็นเจ้า เเละจากหนังสือนารายณ์ 10ปางของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีสาระน่าสนใจว่า พระปรเมศวรเจ้าทรงสำรอกมังสะในพระอุระออก บันดาลให้เป็นเเผ่นดิน เอาพระจุฑามณีปักลงบนเเผ่นดินสร้างเป็นเขาพระสุเมรุ เเล้วจึ่งสร้างเทวดาทั้งหลายเเล้วเอาพระสังวาลสร้างเป็นอนันตนาคราช พระอิศวรทรงสร้างโลกทั้งสามจนสำเร็จ เเล้วจึ่งมีเทวโองการให้พระเป็นเจ้าเเละเทวดาสร้างพาหนะต่างๆเเละพระพรหมธาดาเป็นผู้สอนพระเวทย์พระนารายณ์สอนศิลปศาสตร์ให้เเก่กษัตริย์เเละในที่อยู่จึงเเบ่งที่อยู่กัน คือพระอิศวรทรงสร้างเขาไกรลาส ขึ้นเป็นที่ประทับอยู่เองให้พระนารายณ์ไปเกษียรสมุทรเเละให้พระพรหมธาดาไปอยู่เป็นใหญ่ในพรหรมโลก ยอเอาพระศิวะเป็นพระอิศวร เพราะว่ารากฐานของพุทธมหายานหคือหลักปรัชญาของพราหมณ์คุณผู้อ่านจึงควรเข้าใจปรัชญาเเบบพราหมณ์โดยรวมดังกล่าวไว้ ว่านิกายมนตรายานหรือพุทธมหายานนิกายไหนก็ตามจะเเหวกเเนวอย่างไรก็คือ นิกายหนึ่งของพราหมณ์ไม่ไช่หืนยานที่เรานับถือ เเต่เราก็นับถือพระพุทธเจ้าซึ่งเคยอยู่ในศาสนาพราหมณ์มาก่อน ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระมานุษีพุทธะจะปรากฎที่ไหน เราก็นับถือ ถ้าพบพระองค์หนอยู่ในรูปเเบบใดๆก็ตาม ย่อมไม่มีใครทำลายความศรัทธาของเราได้
พระพุทธรูปศิลปะบายน

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
"พระพุทธรูปศิลปะบายน" เป็นพระพุทธรูปในสมัยลพบุรี ที่มีอายุใกล้เคียงกับพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง แต่มีพุทธศิลปะที่ผิดแผกแตกต่างกันออกไป ถือได้ว่าอยู่ในระยะความรุ่งเรืองสูงสุดของสมัยเมืองพระนคร มีอายุในราวพ.ศ.1780 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการปรากฏของ "อาณาจักรสุโขทัย" ในบริบททางประวัติศาสตร์ไม่นานนัก โดยกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นผู้ผลักดันให้เกิดศิลปะเฉพาะที่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากศิลปะแบบบาปวนและศิลปะแบบนครวัด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีว่า "ศิลปะแบบ บายน" ขึ้น


พระองค์ทรงยึดเอาศูนย์กลางแห่งลักษณะเฉพาะดังกล่าวจากพุทธสถานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์คือ "ปราสาทบายน" มาเป็นชื่อเรียกรูปแบบศิลปะ นับเป็นการแสดงออกถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของพุทธศาสนาลัทธิมหายานจากบาปวน ในปีพ.ศ.1560-1630 และนครวัด

ในปีพ.ศ. 1650-1715 ฟิลิปป์ สแตร์น (Phillipe Starne) นักประวัติศาสตร์ศิลป์กล่าวไว้ว่า "เราอาจรู้จักศิลปะขอมแบบบายนได้ จากอาการแสดงความรู้สึกที่เร้นลับและใบหน้าที่อมยิ้ม" ซึ่งหมายถึงการใส่ความรู้สึกลงในประติมากรรม อันเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญของศิลปะแบบบายน

พุทธรูปศิลปะบายนเข้าไปมีอิทธิพลในงานประติมากรรมของพระพุทธรูปสมัยลพบุรีอย่างสูง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 (พ.ศ.1600 ถึง พ.ศ.1700) พระพุทธรูปสมัยนี้ได้รับอิทธิพลทั้งฝ่ายลัทธิหินยานและลัทธิมหายาน ซึ่งพวกขอมนำเข้ามาจากประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะศิลปะแบบนครวัดและบายน มีการนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานและลัทธิมหายาน รวมทั้งศาสนาพราหมณ์

ที่เรียกพระพุทธรูปแบบนี้ว่า "สมัยลพบุรี" นั้น ก็เพราะเมื่อพวกขอมเข้ามามีอำนาจในแหลมอินโดจีน และตั้งราชธานีอยู่ที่เขมร มีเมืองพระนครเป็นพระนครหลวง แล้วแผ่อำนาจเข้ามาถึงลุ่มเจ้าพระยา ตั้งเมืองของอุปราชแห่งหนึ่งอยู่ที่ "เมืองละโว้หรือลพบุรี" และตั้งเมืองหน้าด่านปกครองดินแดนแถบนอกอีกหลายเมือง ทางเหนือสุดมีเมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัย ทางใต้สุดมีเมืองเพชรบุรี ด้วยเหตุที่พบพระพุทธรูปฝีมือช่างขอมเป็นจำนวนมากในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

นักโบราณคดีจึงกำหนดพระพุทธรูปสกุลช่างแบบนี้ว่า "สมัยลพบุรี" ตามนามเมืองอุปราชของขอม ซึ่งจะมีพุทธลักษณะเฉพาะเพื่อการพิจารณา ดังนี้
พระเกตุมาลา มีหลายลักษณะ อาทิ เป็นต่อมแบบก้นหอย แบบฝาชีครอบ แบบมงกุฎเทวรูป หรือเป็นแบบดอกบัวแลเห็นกลีบรวมๆ เป็นต้น เครื่องสิราภรณ์ (เครื่องสวมพระเศียร) เป็นแบบกะบังหน้า มีไรพระศกเสมอและเป็นเส้นใหญ่กว่าสมัยศรีวิชัย และแบบทรงเทริด หรือเรียกเป็นสามัญว่าแบบขนนก เส้นพระศกมีลักษณะเหมือนเส้นผมมนุษย์ เรียกเป็นสามัญว่าแบบผมหวี หรือเป็นขมวดละเอียดบ้าง หยาบบ้าง พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน องค์พระที่ประทับยืน นุ่งห่มแบบห่มคลุม ส่วนองค์พระที่ประทับนั่ง จะนุ่งห่มแบบห่มคลุมและห่มดอง ชายสังฆาฏิยาวลงไปจรดพระนาภี ขอบอันตรวาสก (สบง) ข้างบนจะเผยออกเป็นเส้น ส่วนใหญ่พระกรรณจะยาวย้อยลงมาจนจรดพระอังสะ พระทรงเครื่องมีฉลองพระศก กำไลแขน และประคด บัวรองฐาน มีทั้งแบบบัวหงายบัวคว่ำ แบบบัวหงายอย่างเดียว และแบบบัวคว่ำอย่างเดียว
ในช่วงสมัยเมืองพระนคร "พระพุทธรูปปางนาคปรก" จะได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ช่วงศิลปะแบบคลัง แบบบาปวน แบบนครวัด มาจนถึงแบบบายน โดยเฉพาะในช่วงศิลปะแบบบาปวนและนครวัดนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก ดังที่ปรากฏเป็นภาพสลักบนทับหลังปรางค์องค์กลางที่ปราสาทหินพิมาย และพระพุทธรูป นาคปรกสัมฤทธิ์ที่ขุดค้นพบในดินแดนแถบนี้จะเป็น "ศิลปะแบบนครวัด" ในขณะที่พระ พุทธรูปนาคปรก วัดพระศรีรัตนมหา ธาตุ ลพบุรี ได้รับอิทธิพลมาจาก "ศิลปะแบบบาปวน"
"พระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะบายน" มีทั้งหล่อด้วยสัมฤทธิ์และทำจากหินทราย ค้นพบขนาดต่างๆ กันไป ในปีพ.ศ.2476 มีการขุดค้นพบ พระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่ในปราสาทหลังกลางที่ "ปราสาทบายน" นอกจากนี้ พุทธศิลปะองค์พระที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ก็มีขนาดต่างๆ กันตั้งแต่เล็กมากจนถึงขนาดใหญ่ แต่จะมีพุทธศิลปะแบบเดียว กันคือ พระเนตรใหญ่กลม ลืมพระเนตร ลำพระองค์เปลือยเปล่า มีลักษณะยิ้มบนพระพักตร์ อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะยุคนี้ และจัดเป็นประติมากรรมลอยตัวที่ยังคงได้รับความนิยมสูงสุดต่อเนื่องจากยุคก่อน
แต่ "ศิลปะแบบบายน" จะมีทั้งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องและไม่ทรงเครื่อง เครื่องสิราภรณ์ประกอบด้วยกะบังหน้า มงกุฎรูปกรวยสูงสวมอยู่เหนือพระเกศาถัก กรองพระศอมีอุบะเล็กๆ ประดับโดยรอบ บางองค์มีพาหุรัด ทองกร (กำไลข้อมือ) ทองพระบาท (กำไลเท้า) และกุณฑล (ตุ้มหู) ประดับอยู่ด้วย

งานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ
หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูงมักทำ เป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะ สลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจาก นี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย สำหรับ งานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพ ต่าง ๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไป ตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของ พระพุทธรูป เนื่องจาก เป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดใน ท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง ศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สามารถลำดับได้ดังนี้ครับ

ศิลปะสุโขทัย    พุทธศตวรรษที่ 17 - 20     

อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ศิลปะสุโขทัยจึง นับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์ คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงามพระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง ลักษณะ สำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงาม ได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลารูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไร พระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห ์ พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และ พระพุทธรูปปางลีลา นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมีงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่อง ปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้น ดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส

เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มี ผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออก ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น
ศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีของชนชาติมอญ ละว้า อยู่แถบ นครปฐม ราชบุรี อู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาค ตะวันออกเฉียงหนือ แถบ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี และขึ้นมาทางเหนือแถบ ลำพูน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี คือ พระเกตุมาลา เป็นต่อมนูน และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระหนุป้าน พระนาฏแคบพระนาสิกป้านใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 16

ศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีของชนชาติมอญ ละว้า อยู่แถบ นครปฐม ราชบุรี อู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาค ตะวันออกเฉียงหนือ แถบ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี และขึ้นมาทางเหนือแถบ ลำพูน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี คือ พระเกตุมาลา เป็นต่อมนูน และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระหนุป้าน พระนาฏแคบพระนาสิกป้านใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่
ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 17 - 20


อาณาจักรอู่ทอง เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็น แบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย

ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 - 18

อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลางและมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยุ่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่เมืองชยา จ.สุราษฎร์ธานี นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม ลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระ พุทธรูปเชียงแสน

ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16 - 18

ศิลปะลพบุรีพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์ เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 24

อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ และมีอายุยาวนานถึง 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310 ศิลปะอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองมีหลายแขนง ได้แก่ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ และเครื่องปั้นดินเผาลายเบญจรงค์ ฯลฯ ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัย อยุธยาไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก ไม่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด ลักษณะทั่วไปจะเป็น การผสมผสานศิลปะแบบอื่น ๆ มีพระวรกายคล้ายกับพระพุทธรูปอู่ทองพระพักตร์ยาวแบบสุโขทัย พระเกตุมาลาเป็นหยักแหลมสูงรูปเปลวเพลิง พระขนงโก่งแบบสุโขทัย สังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรง หรือสองแฉกแต่ไม่ เป็นเขี้ยวตะขาบ แบบเชียงแสน หรือสุโขทัย ตอนหลังนิยมสร้างพระพุทธ รูปทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 16 - 21

ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยและมีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อ พญามังราย ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่ เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ พระวรกายอวบอูม พระ พักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไร พระศกพระศกเป็นแบบก้นหอย พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อยชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ ท่านั่งขัดมาธิเพชร
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน


ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลางอยุธยา
ไม่ว่าจะเป็น การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่อง เงิน เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการ ของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ มากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประ พาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่าง ของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบ ประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทย แบบร่วมสมัย ในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความ เหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตน

ศึกษาเพิ่มเติมการเรียนรู้การตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุว่าเป็นของแท้หรือของทำเลียนแบบ

http://antiqiesbiz.blogspot.com/







2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มีงานวิจัยด้านประวัติศาสตร์ได้พัฒนาการมาโดยตลอด ทำให้เกิดหลักฐานข้อมูลที่ค้นพบใหม่ๆมากมาย จึงทำให้หลักฐานและข้อมูลเก่าๆล้าสมัยไม่ถูกต้องที่ไม่ควรนำมาอ้างสำหรับการเขียนงานวิชาการเพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของผู้อ่านได้ เช่นยุคสมัย แหล่งกำเนิดของศิลปะ ได้เปลี่ยนไป ในฐานะนักวิจัยจึงเป็นห่วงว่าผู้ที่เขียนบทความหรือเซียนทั้งหลาย มักจะแสดงความคิดเห็นของตนเข้าไปจนทำให้ผู้อ่านไขว้เขว่ เคยอ่านข้อเขียนของนักขายพระหลายคน จึงเป็นห่วงว่าจะเข้าข่ายจินตนาการออกนอกเรื่องเพราะไม่เห็นใครที่เขียนอ้างที่มาของข้อมูลไว้เลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

An intriguing discussion is worth comment. I think that you ought to write more on this issue, it may not be a taboo subject but generally folks don't talk about these issues.
To the next! Many thanks!!

My web page :: search engine

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook