ประวัติการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผงรุ่นเเรกของหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ 2497โดยอนันต์ คณานุรักษ์
มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่ต้องการอยากรู้เรื่องของหลวงปู่ทวดหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ ปัตตานี โดยเฉพาะพระเครื่องที่พระครูวิสัยโสภณ หรือท่านอาจารย์ทิมสร้างก่อนที่จะได้กล่างถึงพระเครื่องประเภทต่างๆที่พระครูวิสัยโสภณสร้าง จะได้นำเอาข้อเขียนของนายอนันต์ คณานุรักษ์ ผู้ให้ความอุปถัมถ์ ในการสร้างพระเครื่องมาตีพิมพ์ไว้ ณ ที่นี้จึงมีข้อความดังต่อไปนี้
พระเครื่องสมเด็จหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวด ที่ปรากฎองค์ของท่านขึ้นมาในยุคนี้ได้เพราะความฝัน คือคืนวันหนึ่งปลายเดือนพฤจิกายน พศ 2495 เวลาใกล้รุ่ง ข้าพเจ้าฝันว่าได้พบกับท่าน ณ ที่เเห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดช้างให้เท่าใดนัก ท่านได้มอบยาชนิดหนึ่งให้ข้าพเจ้ากิน เเล้วสวมมงคลรัดศรีษะให้อีกเเสดงว่าท่านได้รับข้าพเจ้าไว้เป็นศิษย์เเล้ว เพื่อจะให้ข้าพเจ้าได้รับใช้งานในโอกาสต่อไปเป็นสนองคุณพระอาจารย์ เสร็จเเล้วท่านเดินจากข้าพเจ้าไปทางทิศที่ตั้งของวัดช้างให้ รุ่งเช้าข้าพเจ้าคิดว่าสถูปศักดิ์สิทธิ์ หน้าวัดช้างให้นี้คงจะเป็นที่บรรจุอัฐิของท่านหรือสมเด็จพระเจ้าพะโคะ เมื่อสมัยหลายร้อยปีมาเเล้ว ข้าพเจ้าปราถนาจะไปทีวัดเพื่อสืบถามดูเเต่ในระยะนั้น ข้าพเจ้ามีธุรกิจจำเป็นบางประการไม่สามารถไปตามความตั้งใจได้จึ่งได้ไปในโอกาสต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2497 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ข้าพเจ้าจึงได้มีโอกาสไปหาท่านที่วัด เมื่อได้ทำความเคารพท่านอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้เเล้ว ก็ได้สนทนาปราศัยกันว่า วันนี้เป็นวันเเรกที่ข้าพเจ้าได้มาเยียมวัดช้างให้เเละรู้จักอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสในการสนทนาในตอนหนึ่งข้าพเจ้าได้เรียนถามอาจารย์ทิมว่า โบสถ์ที่สร้างอยู่นี้ท่านไม่สร้างพระเเจกเเก่ผู้ที่มาสละทรัพย์มาอนุโมทนาผู้ที่ร่วมสร้างโบสถ์บ้างหรือ ท่านอาจารย์ทิมตอบว่าเคยคิดมา 2 ปี เเล้วเเต่ยังไม่สำเร็จ ข้าพเจ้าจึ่งรับว่า ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าขอรับอุปถัมภ์ในการจัดสร้างอาจารย์ทิมก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งข้าพเจ้าให้อาจารย์ทิมเลือกเเบบพระว่าจะเอาเเม่เเบบไหนเเต่ข้าพเจ้าขอเลือกสีพระเป็นสีดินเเดงทันใดนั้นเองข้าพเจ้ารู้สึกขนลุกมาทันทีทุกคนในที่นั้นได้เห็นประจักษ์ เหมือนกับว่าหลวงปู่ทวดหรือหลวงพ่อทวดได้ปิติยินดีกับการสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้ด้วยเเละทันใดนั้นข้าพเจ้าก็ได้เกิดนิมิตได้เห็นพระเครื่องลอยเด่นอยู่ตรงหน้าเป็นรูปพระภิกษุชรานั่งขัดสมาธิอยู่บนดอกบัวมีสีพระองค์เป็นสีดำ ปรากฎการณ์มหัศจรรย์ในครั้งนี้ โดยหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวดบันดาลให้ข้าพเจ้าได้เห็นมโนภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งนักข้าพเจ้าได้ดูนาฬิกาในขณะนั้นเป็นเวลา 13.25 น ข้าพเจ้าจึงได้ปรึกษาอาจารย์ทิมให้อาจารย์ทิมเป็นสื่อติดต่อกับวิญญานของหลวงพ่อทวดหรือหลวงปูทวดในการจะสร้างพระเครื่องทุกๆระยะโดยใกล้ชิดซึ่งจะต้องปฎิบัติตามในนิมิต เมื่อพระครูวิสัยโสภณตกลงจะสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวดด้วยเนื้อว่านผสมดินดำเเล้ว พระครูธรรมกิจโกศลเจ้าอาวาสวัดทรายขาว ได้นำพระเณรจัดหาว่านชนิดต่างๆตามภูขาเเละให้การจัดหาว่านนี้ได้อาศัยท่านอาจารย์เเสง วัดวงกตบรรพต เป็นผู้นำทางเเละคัดเลือกว่าน เพราะท่านอาจารย์เเสงเข้าใจสรรพคุณของว่านนานาชนิดเป็นอย่างดี นายดำรงค์ผู้ใหญ้บ้านเหมืองบน ตำบลลำพยา เป็นผู้จัดหาดินดำมาให้ ดินดำนี้เรียกว่าดินว่านดำอยู่ตามเชิงเขาเป็นดินดำตามธรรมชาติอยู่เป็นทางๆเข้าไปตามใต้ภูเขา เมื่อได้ว่านมาครบตามที่ต้องการเเล้ว ก็เริ่มลงมือตำว่านผสมดินดำโดยเริ่มกดพระพิมพ์เข้าเบ้าพิมพ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ2497 ขี้น 15 ค่ำ เดือน 4 ทำไปจนถึงวันที่ 15 เมษายน 2497 ได้พระเครื่องทั้งหมด 64,000 องค์ ความตั้งใจจะสร้างให้ครบ 84,000 องค์ เเต่เนื่องจากเวลาจำกัด เพราะได้กำหนดวันปลุกเสกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 วันที่ 18 เมษายน พ.ศ 2497 ได้ประกอบพิธีปลุกเสกในอุโบสถเก่า โดยมีพระครูวิสัยโสภณ เป็นประธานในพิธีกรรม ได้อาราธนาอัญเชิญวิญญาณหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วิญญาณหลวงพ่อสี วิญญาณหลวงพ่อทอง วิญญาณหลวงพ่อจันทร์ ซึ่งหลวงพ่อทั้ง 3 องค์นี้ สิงสถิตย์อยุ่ร่วมกัน ณ สถูปวัดช้างให้ คณะพระคณาจารย์ที่ประจำโรงพิธีเท่าที่จำได้มีพระครูวิสัยโสภณหรืออาจารย์ทิม พระครูธรรมกิจโกศล วัดทรายขาว หลวงพ่อสง เจ้าอาวาสวัดพะโคะ พระอุปัชฌาย์ดำ วัดศิลาลอย ได้ทำการปลุกเสกพระเครื่องเสร็จในวันเดียวกันเเละพอเสร็จพิธีเเล้วก็เริ่มเเจกจ่ายให้กับท่านที่มาคอยอยู่รับพระเครื่องไปสักการะบูชาคนละหนึ่งองค์ พระเครื่องเนื้อว่านรุ่นเเรกมี 3 ขนาดหรือ 3 พิมพ์คือ 1.พิมพ์ใหญ่หรือขนาดใหญ่มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่ต้องการอยากรู้เรื่องของหลวงปู่ทวดหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ ปัตตานี โดยเฉพาะพระเครื่องที่พระครูวิสัยโสภณ หรือท่านอาจารย์ทิมสร้างก่อนที่จะได้กล่างถึงพระเครื่องประเภทต่างๆที่พระครูวิสัยโสภณสร้าง จะได้นำเอาข้อเขียนของนายอนันต์ คณานุรักษ์ ผู้ให้ความอุปถัมถ์ ในการสร้างพระเครื่องมาตีพิมพ์ไว้ ณ ที่นี้จึงมีข้อความดังต่อไปนี้
2.พิมพ์กลางหรือขนาดกลาง
3.พิมพ์เล็กหรือขนาดเล็ก
พระเครื่องทั้ง 3 พิมพ์นี้มีเบ้าพิมพ์ถึง 16 เบ้าพิมพ์ เบ้าพิมพ์ทำด้วยเนื้อครั่งทั้งหมด เเละ พระภิกษุร่วมกับบุคคลอื่นๆที่จะเข้าโรงพิธีกดเบ้าพิมพ์พระเครื่อง จะต้องขึ้นครูกับพระครูวิสัยโสภณเสียก่อนทุกๆท่าน ในการกดเนื้อว่านเข้าพิมพ์ก็ดี การหยิบยกพระออกจากเบ้าพิมพ์วางกับที่ก็ดี บางคนละเอียดละออทำเรียบร้อย ได้พระสวยงาม บางคนไม่ค่อยพิถีพิถันเท่าไหร่นัก วิธีเอาพระออกจากเบ้าพิมพ์ใช้ก้านไม้ไผ่จิ้มก้นของพระเเล้วยกขี้นจากเบ้าพิมพ์ เอานิ้วเเตะที่เเร่ธาตุเเล้วเเตะลงด้านหลังของพระอีกที บางองค์ก็มีรูที่ก้นของพระ บางองค์ก็ไม่มีรูเเละบางองค์ก็มีเเร่ธาตุ บางองค์ก็ไม่มี อันนี้ขึ้นอยู่กับการทำพระเพราะทำกันหลายคน พระเครื่องหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวดจึงมีลักษณะต่างๆกันไม่ค่อยจะสม่ำเสมอกันผู้ที่ทำพระเครื่องโดยมากก็เป็นพระวัดช้างให้เเละวัดนาประดู่ นอกจากนี้เกี่ยวกับเนื้อหยาบเนื้อละเอียดคือในการทำขั้นเเรกๆทำด้วยความปราณีตเเละเรียบร้อย ดินดำเเละว่านก็บดละเอียดละออ ครั้นไปหลายๆวันเเละใกล้วันเวลาที่จะทำปลุกเสกจึงให้เร่งมือในการทำ บางทีดินดำเเละว่านก็บดเอาหยายๆพอใช้ได้ ฉะนั้นพระบางองค์เนื้อละเอียดบ้าง องค์เนื้อหยาบบ้าง เเต่ถึงอย่างไรก็ตามหากได้เห็นของจริงมามากก็พอจะจับเค้าได้ว่านี่เป็นของวัดช้างให้หรือไม่ไช่ เพราะเบ้าพิมพ์ เหล่านั้นจะไม่เเตกต่างกันเท่าไหร่นัก อีกประการหนึ่ง เกี่ยวกับหน้าตาของพระชัดหรือไม่ชัดอันนี้เนื่องจากเบ้าพิมพ์ที่ทำด้วยครั่งไม่มาตรฐาน เมื่อกดเนื้อว่านเข้าเบ้าพิมพ์ทำไปนานๆเบ้าพิมพ์เกิดสีกหรอ ทำให้หน้าตาของพระที่พิมพ์ไม่ชัดก็ต้องจัดการเเก้ไขตบเเต่งเบ้าพิมพ์ใหม่เเล้วลงมือทำต่อไป นี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้หน้าตาของพระบางองค์ก็ชัด บางองค์ก็ไม่ชัด พระเครื่องของหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวด ทั้ง 3 พิมพ์องค์พระเหมือนกันทุกๆพิมพ์ คือนั่งสมาธิเพ็ชรบนบัวคว่ำบัวหงาย พิมพ์ใหญ่เเละพิมพ์กลางคล้ายคลึงกันเพียงเเต่ว่าองค์ใหญ่องค์เล็กเท่านั้น ส่วนพิมพ์เล็กดูง่ายเพราะไม่ค่อยจะเเตกต่างกันเท่าไหร่นัก บางคนเข้าใจว่าพิมพ์ใหญ่เเละที่เนื้อละเอียดนั้นเป็นพิมพ์กรรมการ เเท้จริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่เป็นการกระทำในขั้นเเรกๆคือ ทำด้วยความตั้งใจปราณีตเเละเรียบร้อย ครั้นทำไปนานๆใกล้วันปลุกเสกพระก็ยังได้น้อย จึงได้รีบเร่งในการทำ เลยทำให้พระรุ่นหลังๆมาไม่เรียบร้อยเท่าที่ควรดังกล่าวเเล้ว
ประวัติเนื้อว่านรุ่นพิเศษหรือรุ่นพินัยกรรมของหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวด
เนื่องจากจะประกอบพิธีปลุกเสกพระเครื่องเนื้อโลหะเป็นครั้งเเรก เป็นการจัดพิธีใหญ่ ครั้งสำคัญซึ่งมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เฉลิมพลฑีฆัมพร เป็นผู้อุปถัมภ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ 2505 พระครูวิสัยโสภณได้จัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านประมาณ 2000 องค์ เข้าในพีธีนี้ด้วยเเละเสร็จพีธีการปลุกเสกเเล้วก็เก็บไว้มิได้เเจกให้ใครครั้งกาลต่อมาเมื่อเดือนพฤจิกยน พ.ศ 2512 พระครูวิสัยโสภณได้อาพาธลง พระครูวิสัยโสภณจึงได้เขียนไว้ในพินัยกรรมมอบให้วัดนาประดู่ เพื่อสมนาคุณเเก่ผุ้บริจาคทรัพย์สร้างกำเเพงวัดนาประดู่ นอกจากมอบให้วัดนาประดุ่เเล้วยังมอบให้เเก่วัดเอี่ยมวรนุช บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เเละเเจกให้ผู้ที่พยาบาลไข้ท่านในคราอาพาธพระเครื่องดังกล่าวนี้ได้สมนาคุณไปหมดเเล้วตั้งเเต่ต้นปี พ.ศ 2513 ลักษณะพระเครื่องเนื้อว่านรุ่นเเรก เเต่การทำละเอียดกว่า เเละมีเเร่ธาตุน้อยกว่ารุ่นเเรก ว่านเเละดินดำตลอดถึงผงผสมใช้สูตรเดียวกัน กับรุ่นเเรก อนึ่ง พระเครื่องหลวงพ่อทวดหรือหลวงปู่ทวดที่พระครูวิสัยโสภณปลุกเสกไว้ ยังมีอีกหลายอย่างเเต่ไม่ได้นำมาเขียนไว้ใน ณ ที่นี้ เท่าที่นำมาเขียนไว้นี้มิได้มีเจตนาโฆษณาเเต่ประการใด เเต่เนื่องจากมีผู้สนใจมากเเละอยากรู้เรื่องความเป็นมาในการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด จึงได้นำมาลงไว้เท่าที่ได้รู้จัก ได้เห็น เเละจำได้หวังว่าจะคงจะเป็นเครื่องประดับความรู้พอสมควร พระเครื่องเป็นเพียงวัตถุเตือนสติ การปฎิบัติดีปฎิบัติชอบเป็นของท่านเอง
โปรดติดตามตอนต่อไปลักษณะเนื้อผงพระรุ่นเเรกหลวงพ่อทวดโดยนายอนันต์ คณานุรักษ์ ผู้ให้ความอุปถัมถ์ ในการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดหรือหลวงพ่อทวด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ