ติดตามข่าวสารทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยได้ที่หัวข้อด้านซ้ายมือผู้อ่านครับ เเละขออภัยครับสำหรับท่านที่ส่งให้ดูพระหรือให้บูชาพระทาง emailบางครั้งผู้จัดไม่ได้เข้าไปตอบกลับหรือตอบกลับเเต่ก็เป็นเเค่พื้นฐานตามหลักสากลนิยมเท่านั้นเเต่ก็มีอาจารย์หลายๆท่านที่วงการยอมรับเเละที่ตรวจเช็คจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเท่านั้นในการชี้ขาดในการส่งประกวดเเล้วเเต่ละงานควรเลือกดูด้วยตัวท่านเองหรือถ้าให้มั่นใจควร ส่งพระให้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยออกใบรับรองพระแท้ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ชำนาญการพระเเต่ละประเภทมาทำการตรวจสอบ สมาคมจัดประมาณปีละ ๒-๓ ครั้ง ณ ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ชั้น ๓ ในเเต่ละปีก็สามารถติดตามข่าวสารจากสมาคมได้น่ะครับจากที่กล่าวมาเเล้ว ขอบคุณครับ

หน้าเว็บ

เหรียญทรงอาร์มหลวงพ่อวงศ์ ระยอง ฉลองอายุ 80 ปี

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เหรียญหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่ายรุ่นฉลองอายุ 80ปี หรือเหรียญทรงอาร์มหลวงพ่อวงศ์ ระยอง ฉลองอายุ 80 ปี        เหรียญพระพุทธชินราชโชว์เป็นอันดับที่หนี่งจากหลักฐานที่อยู่บนวัดที่ติดมาจากศาลาหลังเก่าจากหลักฐานวัดบ้านค่ายได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อวันที่ เดิอน พ.ศ ไม่ปรากฎ ในหลักฐานของการตั้งวัด เเต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ 2505 มีขนาดเนื้อที่ กว้าง 15 เมตร ยาว 30เมตร เเละได้รับประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ 2509

ประวัติความเป็นมาของวัดโดยละเอียด วัดบ้านค่ายจะสร้างมาเเต่สมัยใดไม่ปรากฎเเต่พอได้เค้าความจากการบันทึกของหลวงพ่อลัดวัดหนองกระบอกหรือท่านพ่อวัด อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย เมื่อปี พ.ศ 2522 ว่า ความเป็นมาของวัดบ้านค่ายได้ความจากพระผู้เฒ่า 3 รูป ท่านเคยได้เขียนลงในสมุดข่อยดังนี้
1. ท่านพ่อวงศ์

2.ท่านพ่อเกตุ
2.ท่านพ่ออ่ำ                                                                                                                                      อายุของท่านทั้ง 3 นี้ได้มีอายุไล่เลี่ยกัน ท่านพยายามเล่าตามความทรงจำว่า ปู่ ย่า ตา ยาย เล่ากันว่า วัดบ้านค่ายนี้มี 2 เเห่ง คือวัดล่างเเละวัดบ้านบน ความจริงมิไช่พระเเตกกันเเต่เป็นเพราะกระเเสน้ำไหลเซาะวัดบน ตามคำบอกเล่าของท่านพ่อวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านค่าย บอกว่า ท่านได้ ถามโยมปู่ของท่านว่า วัดบ้านค่ายนี้ใครสร้าง โยมปู่บอกว่า ใครสร้างไม่รู้ เป็นเเต่ปู่อีกต่อหนึ่งบอกว่า บ้านเมืองเคยร้างเป็นป่าใหญ่ เป็นซากเมืองเเละวัดของพวกขอม เพราะว่าวัดที่จะสร้างทั้ง 2 เเห่งนั้นเป็นซากเก่า วัดเก่าของพวกขอมทั้งนั้นยังมีผู้พบซากอิฐ ศิลาเเลงเก่าเเก่อยู่ด้านทิศเหนืออีก 2 เเห่ง ซี่งปรากฎว่ามีหินเเลงจมอยู่ใต้ดิน พอจะประมาณได้ว่า เป็นซากวัดเก่าทั้ง 2 เเห่ง สิ่งทีปรากฎให้เห้นว่าวัดบ้านค่ายเป็นวัดเก่าเเก่นั้น ก็มีพระพุทธรูปเเละเทวรูปสลักด้วยหิน เสมาธรรมจักร มีลวดลายเเบบขอม หิน อิฐ เป็นซากโบสถ์ปรากฎอยู่ในเวลานี้ ซึ่งเเสดงว่า มิไช่ของคนไทย คนของกรมศิลปากรได้เคยมาขอพระพุทธรูป หิน อิฐ ไปพิสูจน์ ให้ความเห็นว่าเป็นของขอมจริง เเละอายุไม่น้อยกว่าพันปี ตามที่เฒ่าทั้ง 3 รูป ท่านได้รับฟังจากคนเก่าอีกชั้นหนึ่งว่า ประชาชนคนไทยได้มาถางป่าดงพงไพร ได้เห็นซากเป็นรูปปรก หมายถึงโบสถ์ เเละเสือออกลูกในปรกท่านบอกว่าคนไทยที่ทำมาหากินในบ้านค่ายนี้ ได้อพยพมาเเต่ไหนไม่ทราบเพราะไม่มีประวัติเเละหลักฐานปรากฎเเน่ชัด เป็นเเต่คำบอกเล่ากันมา ที่ให้นามว่าวัดบ้านค่ายนั้น เพราะยังมีซากค่ายปรากฎอยู่ทางเหนือของวัด เเม้เจ้าของที่ดินจะทำลายไปมากเเล้วก็ตาม เเต่ยังมีคันดินปรากฎให้เห็นเด่นชัด ส่วนการสร้างวัดบ้านค่ายนั้น คงสร้างในซากของวัดขอมทั้ง 2 เเห่งนี้เเละย้ายเลื่อนลงมาตามสภาพความเป็นไปของธรรมชาติ 
จากข้อความบางส่วนผู้ได้คัดลอกจากการบันทึกของหลวงพ่อลัดวัดหนองกระบอกหรือท่านพ่อลัด บันทึกเมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2522
จากรูปภาพขาวดำเก่าเเก่ที่ติดมาจากศาลาหลังเก่าเเละการเล่าเรื่องประวัติเป็นรูปภาพที่อยู่ในศาลาหลังเก่าตั้งเเต่การสร้างวัดถามคนเถ้าคนเเก่ก็บอกว่ารูปนี้ติดมานานเเล้วท่านเกิดมาก็เห็นเเล้วจึงไม่มีหลักฐานว่ารูปนี้เอามาติดตั้งเเต่เมื่อไรเเละใครเป็นคนบอกประวัติจากรูปภาพนี้                                                                                                          1.ภาพอันดับหนึ่งเหรียญพระพุทธชินราชเนื้อทองเเดง ซึ่งเป็นของนายดุษฎี ศิริโกหาร

2.ภาพอันดับสองเหรียญรุ่นสองเป็นเเบบเหรียญเสมาเขียนว่าวัดบ้านใข้มีเทียบเคียงกับเหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นเเจกเเม่ครัวส่วนเหรียญที่เขียนว่าวัดบ้านไข้นั้นไม่ปรากฎว่ามีบันทึกไว้เเละไม่เห็นภาพที่ติดไว้เลย
3.ภาพอันดับสามเหรียญเสมาเขียนคำว่าวัดบ้านค่ายเเบบหลังยันต์สาม
4.ภาพอันดับสี่เหรียญทรงอาร์มอายุ 80 ปีด้านหลังมีรอยจารด้านหลังอยู่บนหลังเหรียญ ด้านล่างภาพมีเขียนว่ารุ่น 4-5
ภาพถ่ายนี้เป็นภาพที่อยู่บนศาลาหลังเก่าที่ติดมาจากศาลาหลังเก่าเเก่ของวัด



 
รูปเหรียญพระพุทธชินราชโชว์อันดับหนึ่ง

2.ภาพอันดับสองเหรียญรุ่นสองเป็นเเบบเหรียญเสมาเขียนว่าวัดบ้านใข้มีเทียบเคียงกับเหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นเเจกเเม่ครัวส่วนเหรียญที่เขียนว่าวัดบ้านไข้นั้นไม่ปรากฎว่ามีบันทึกไว้เเละไม่เห็นภาพที่ติดไว้เลย




3.ภาพอันดับสามเหรียญเสมาเขียนคำว่าวัดบ้านค่ายเเบบหลังยันต์สาม






4.ภาพอันดับสี่เหรียญทรงอาร์มอายุ 80 ปีด้านหลังมีรอยจารด้านหลังอยู่บนหลังเหรียญ ด้านล่างภาพมีเขียนว่ารุ่น 4-5


















ถ่ายจากภาพที่อยู่บนศาลาหลังเก่ามีเนื้อเกินตรงร่องข้างล่างคำว่าอา เเละขีดสองขีดตรงปลายดิ่งด้านล่างเหรียญ

มีจุดข้างบนไหล่ขวาขององค์พระ

มีคำว่าโมเเตกที่เหรียญ





 ด้านหลังเหรียญ80ปี มีรอยจาร

 







จากหลักฐานที่อยู่บนวัดบ้านค่าย ณ ปัจจุบันเเละหลักฐานพยานบุคคลเเละนักสะสมพระพื้นที่ในระยองสรุปเเล้วว่าเหรียญหลวงพ่อวงศ์รุ่น 80 ปีมีจัดสร้างมีการเล่นมานานเเล้วคือเหรียญรุ่น 4 เป็นเหรียญฉลองจัดฉลองอายุ80ปีโดยผู้มีศรัทธาหลวงพ่อในสมัยนั้นหลวงพ่อวงศ์ปลุกเสกร่วมกันกับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบเกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2408ตรง กับวันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำเดือน 11 ปีฉลู ที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ท่านมรณะเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2489 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ เวลา 21.05 น.ฉะนั้นเหรียญรุ่นมีท่านมาปลุกเสกด้วยเพราะท่านเป็นสหายรักกันมานานซึ่งเป็นหลักฐานเเน่ชัดว่าหลวงพ่อวงศ์ได้จัดสร้างมีเนื้อทองเเดง ทองเเดงกะหลั่ยเงิน ทองเเดงกะหลั่ยทองหรือเรียกว่าบล๊อกสระเอไม่เเตกหรืออ่านว่าตัวโมอยู่ที่เหรียญด้านหน้าตัวหนังสือที่อยู่ด้านขวามือองค์พระ สระเอไม่เเตกที่นิยมกันในนักสะสมของคนพื้นที่  นอกจากเนื้อนี้เเล้วหลวงพ่อวงศ์ไม่ได้จัดสร้างตอนที่ยังมีชีวิตอยู่เหรียญรุ่นนี้จะเขียนไว้ว่าเป็นรุ่นที่ 4-5ที่อยู่บนวัดบ้านค่าย ก็นั้นหมายถึงการสร้างมีสองวาระคือวาระที่หนึ่งสมัยหลวงพ่อวงศ์จัดสร้างนักนิยมสะสมพื้นที่เล่นหากันมานานเเล้วมีที่รอยจารเเละไม่มีรอยจารนี้เป็นคำบอกเล่าของคนสะสมพระหลวงพ่อวงศ์พื้นที่จริงๆกับประวัติชัดเจนที่สมัยหลวงพ่อดิ่งสร้างจากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เสงี่ยมเเละอยู่ในเหตุการณ์ซึ่งผู้จัดได้สอบถามว่าเหรียญนี้สมัยหลวงพ่อวงศ์เคยได้ยินมีการจัดสร้างหรือไม่ท่านตอบว่าท่านยังเป็นเด็กอยู่จำไม่ได้เเต่ที่ได้เห็นมีการจัดสร้างสมัยหลวงพ่อดิ่งเพียงครั้งเดียวพิธีใหญ่มากตอนสร้างพระอุโบสถในสมัยนั้นเพราะตอนนั้นท่านได้บวชพระอยู่ที่วัดบ้านค่ายอายุตอนนั้นของท่านก็เกือบ30ปีเเล้วที่จัดสร้างมีเเค่สองเนื้อเท่านั้นทองเเดงกับเนื้ออัลปาก้ามีบล๊อกธรรมดากับบล๊อกเเตกจำนวนสร้างไม่ทราบเเน่ชัดท่านยังบอกอีกว่าเหรียญนี้มีการลองยิงเเต่ยิงไม่ออกในสมัยนั้น เเละท่านเล่าว่าสมัยหลวงพ่อดิ่งท่านได้สร้างในปี พ.ศ. ประมาณ 2496 หรือพ.ศ. 2497เเต่หลวงพ่อวงศ์มรณะไปเเล้วในการจัดสร้างของหลวงพ่อดิ่งในปีที่จัดสร้างการจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อวงศ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นซึ่งมีลูกศิษย์เเละมิตรสหายที่เป็นพระทั่วจังหวัดมาปลุกเสกร่วมด้วยอย่างเช่นเเละยังมิตรสหายหลวงพ่อมาทุกจังหวัดเเละใกล้เคียงที่ไม่ได้เอยชื่อมาเเละไม่มีการสร้างอีก จากการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่เสงี่ยมที่อยู่ใกล้วัดเพราะในสมัยนั้นท่านบอกว่ายังบวชอยู่ที่วัดบ้านค่ายอายุท่านสมัยตอนนั้นก็อายุเกือบ 30 ปีเเล้วการสร้างเหรียญรุ่นนี้เพราะมีการสร้างพระอุโบสถผูกพัทธสีมาภายในวัดซึ่งพระอาจารย์ในระยองเเละพระอาจารย์ที่รู้จักวัดบ้านค่ายมาเยอะมากในสมัยนั้นซี่งร่วมถึงหลวงปู่ทิม หลวงพ่อโต แห่งวัดเขาบ่อทอง หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก ปลุกเสกด้วยเป็นต้น เเละอีกหลายอาจารย์ในสมัยนั้น เเละส่วนภาพเหรียญบนวัดที่ยังมีภาพถ่ายไว้นั้นเป็นเหรียญทองเเดงเเละมีรอยจารอยู่ด้านหลังข้างบนเหรียญซึ่งจากการหาหลักฐานทางวัดบ้านค่ายเเละผู้ใหญ่เสงี่ยมซึ่งท่านอายุ 83ปีซึ่งท่านเกิดทันเฉพาะหลวงพ่อดิ่งเท่านั้นเเต่ถ้าหลวงพ่อวงศ์ผู้ใหญ่เสงี่ยมยังเป็นเด็กอยู่เเล้วท่านได้ให้ข้อมูลว่าเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ.2496หรือพ.ศ.2497ท่านบอกว่าอยู่ในพ.ศ.นี้เเหละจำไม่ได้เเต่ก็อยู่ในสอง พ.ศ. นี้เเหละสร้างเพียงครั้งเดียวตอนที่หลวงพ่อดิ่งจัดสร้างเเล้วเกจิทั้งระยองเเละเกจิเกือบทุกจังหวัดที่รู้จักหลวงพ่อวงศ์ รู้จักวัดบ้านค่าย รู้จักหลวงพ่อดิ่งมาหมดเยอะมากในสมัยนั้นส่วนเหรียญในสมัยนั้นสร้างด้วยเนื้อทองแดงเเละเนื้ออัลปาก้าเเละมีทั้งบล๊อกธรรมดาเเละบล๊อกเเตกเท่านั้นเเละรุ่นนี้คนสมัยก่อนได้ลองยิงเเต่ยิงไม่ออกจากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เสงี่ยมท่านบอกว่ามีบล๊อกเเตกกับบล๊อกธรรมดาใครมีต่างก็ห่วงเเหนมากสำหรับรุ่นนี้ ผู้ใหญ่เสงี่ยมบอกว่าจำนวนการสร้างไม่ทราบเเน่ชัดทั้งเนื้อสองชนิดเหรียญรุ่นนี้ เหรียญหลวงพ่อดิ่งสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2496หรือ2497 ส่วนรุ่น 4 หลวงพ่อวงศ์สร้างหลักฐานเเน่ชัดว่าหลวงพ่อวงศ์ได้จัดสร้างมีเนื้อทองเเดง ทองเเดงกะหลั่ยเงิน ทองเเดงกะหลั่ยทองหรือการจัดสร้างเป็น พ.ศ. 2480 เพราะหลวงพ่อวงศ์ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2400 เเละเหรียญเขียนว่า 80 ปี เเละในเหรียญก็เป็นเขียนว่า 80ปีเเละเป็นเหรียญอาร์มด้วยซึ่งตรงกับสมัยนั้นที่นิยมผลิตเหรียญอาร์มในช่วงนั้นดังตัวอย่างการสร้างเหรียญช่วงปี พ.ศ.2440-พ.ศ.2485 นิยมสร้างเหรียญที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา รูปทรงเหรียญทั้งสี่แบบนี้ สามารถแยกกรรมวิธีการสร้างได้เป็น ๒ ชนิด คือ เหรียญปั๊มชนิดข้างเลื่อย และเหรียญปั๊มชนิดข้างกระบอก ซึ่งเหรียญที่มีกรรมวิธีการสร้างทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรายละเอียด คือ เหรียญปั๊มข้างเลื่อย คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของตัวเหรียญ มาทำการปั๊มขึ้นรูปเหรียญ ให้ได้ตามลักษณะรูปทรงของเหรียญ ตามต้องการ จากนั้นนำมาเลื่อยฉลุโลหะส่วนที่เกินออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ วิธีการนี้จึงเรียกว่า "เหรียญปั๊มข้างเลื่อย" ซึ่งบริเวณด้านข้างของเหรียญจะปรากฏรอยเลื่อยให้เห็นเหรียญปั๊มข้างกระบอก คือ เหรียญปั๊มข้างกระบอกนั้น ส่วนใหญ่โรงงานปั๊มเหรียญจะทำบล็อกกระบอกเป็นรูปทรงกลม และรูปไข่เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการทำกระบอกที่จะนำมาปั๊มเหรียญจะมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก และไม่เสียเวลามากนัก แต่เหรียญที่มีข้างกระบอกไม่ได้มีเพียงรูปทรงกลมและรูปไข่เท่านั้น รูปทรงเสมาและรูปทรงอาร์มก็มีเช่นกัน แต่น้อยมาก เนื่องด้วยกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยากกว่า เเม่น้ำทำให้อุโบสถหลังเก่าพังลง

เท่าที่พบในการสร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก รูปทรงอาร์ม และรูปทรงเสมา ในปี พ.ศ.2440-พ.ศ.2485 ก็มีเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ พิมพ์ขอเบ็ด เหรียญหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พิมพ์หน้าใหญ่ เป็นต้น

การปั๊มแบบข้างกระบอก คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และทำการปั๊มรูปเหรียญนั้นๆ แผ่นโลหะที่ถูกแรงกระแทกจากการปั๊มขึ้นรูปนั้นขอบด้านข้างจะปลิ้น ไปเบียดกับขอบกระบอก ที่เป็นตัวบังคับดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงเรียบเนียน เนื่องจากการปั๊มเข้ากระบอก โดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ แต่หากพบรอยเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างของเหรียญชนิดนี้ก็อย่าตกใจ เพราะสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการที่ช่างแต่งตัวบล็อกกระบอก ที่จะปั๊มเหรียญไม่เรียบ เวลาปั๊มออกมาจึงมีลักษณะไม่ค่อยเรียบตามตัวบล็อค

เพราะเหรียญพระพุทธชินราชรุ่นเเรกหลวงพ่อวงศ์ก็จัดสร้างเเค่เนื้อทองเเดง เนื้อทองเเดงกะหลั่ยทองเเละกะหลั่ยเงินเท่านั้นเเละรุ่น 5 หลวงพ่อดิ่งสร้างเนื้อทองเเดงกับเนื้ออัลปาก้า มีบล๊อกธรรมดากับบล๊อกเเตกมีทั้งรอยจารเเละรอยไม่จารเลียนเเบบเหรียญเมื่อปี 2480 จากการปรากฎหลักฐานเเน่ชัดมีบุคคลเป็นพยาน  ถ้านอกเหนือจากสองเนื้อนี้เเล้วไม่มีไม่ได้สร้างทั้งสิ้นถ้ามีต้องเป็นเหรียญรุ่นหลังทั้งสิ้นซึ่งพิธีปลุกเสกเหรียญ พ.ศ.2496หรือ2497 นั้นพระอาจารย์ทั้งระยองมาเกือบหมดทุกองค์เเละองค์ที่รู้จักหลวงพ่อวงศ์ทุกองค์ก็มาหมดเยอะมากเพราะมีการฝังลูกนิมิต ผูกพัทธสีมาในอุโบสถหลังใหม่ด้วยซี่งสอดคล้องกับที่อุโบสถหลังเก่าที่อยู่ติดเเม่น้ำได้เกิดพังทลายเพราะเกิดจากการเซาะหน้าดินของคลอง                                                                                    สรุปหลักฐานที่เเน่นอนจากคนพื้นที่สะสมพระมาช้านานเเละเซียนพื่นที่จากหลักฐานปรากฎบนวัด ณ ปัจจุบัน เเละหลักฐานบุคคลที่เกิดทันในปีนั้นๆ                                                                                                                         คือเหรียญรุ่น 4 หลวงพ่อวงศ์จัดสร้างเมื่อพศ 2480 จริง มีทั้งเนื้อทองเเดง ทองเเดงกะหลั่ยเงิน ทองเเดงกะหลั่ยทอง ที่เล่นเช่าหาเล่นกันปัจจุบันคือบล๊อกสระเอตัวหนังสืออยู่ด้านหน้าองค์พระทางขวามือองค์พระเรียกว่าบล๊อกสระเอไม่เเตกเป็นบล๊อกนิยม มีทั้งรอยจารเเละรอยไม่จาร ส่วนเหรียญรุ่น 5 เป็นของหลวงพ่อดิ่งจัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2496หรือ2497 พระทั่วจังหวัดระยองเเละพระเกจิที่รู้จักหลวงพ่อวงศ์ หลวงพ่อดิ่ง รู้จักวัดบ้านค่ายมาปลุกเสกเยอะมากเป็นเนื้อทองเเดงกับเนื้ออัลปาก้า บล๊อกธรรมดากับบล๊อกเเตกมีทั้งรอยจารเเละไม่จารเลียนเเบบองค์ปี2480
จากข้อมูลบนวัดที่ปรากฎภาพถ่ายไว้ในศาลาหลังเก่าเเละภาพถ่ายเก่าของวัดบ้านค่ายมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ภาพอันดับหนึ่งเหรียญพระพุทธชินราชเนื้อทองเเดง ซึ่งเป็นของนายดุษฎี ศิริโกหาร
2.ภาพอันดับสองเหรียญรุ่นสองเป็นเเบบเหรียญเสมาเขียนว่าวัดบ้านใข้มีเทียบเคียงกับเหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นเเจกเเม่ครัวส่วนเหรียญที่เขียนว่าวัดบ้านไข้นั้นไม่ปรากฎว่ามีบันทึกไว้เเละไม่เห็นภาพที่ติดไว้เลย
3.ภาพอันดับสามเหรียญเสมาเขียนคำว่าวัดบ้านค่ายเเบบหลังยันต์สาม
4.ภาพอันดับสี่เหรียญทรงอาร์มอายุ 80 ปีด้านหลังมีรอยจารด้านหลังอยู่บนหลังเหรียญ ด้านล่างภาพมีเขียนว่ารุ่น 4-5
รายชื่อเจ้าอาวาสของวัดบ้านค่ายตั้งเเต่รูปเเรกจนถึงปัจจุบันนี้มีดังนี้
1.ท่านพ่อมา
2.ท่านพ่อมี
3.ท่านพ่อเพชร
4.ท่านพ่อเเป้น
5.ท่านพ่อบัว
6.ท่านพ่อดี
8.พระครูวิจิตรธรรมานุวัติหรือหลวงพ่อวงศ์ พ.ศ 2433-2483
9.พระอาจารย์ถิน พ.ศ 2483-2486
10.พระอธิการเคียง พ.ศ 2486-2491
11.พระครูจันทสโรทัย หรือหลวงพ่อดิ่ง พ.ศ 2491-2502 หลวงพ่อดิ่งมรณะเมื่ออายุได้ 63 ปี     12.พระอธิการเวียง โกวิโท พ.ศ 2502-2509
13.พระอธิการทอง วิจิตโร พ.ศ 2509-2520
14.พระมนต์หรือติ๋ม มนตชาโต พ.ศ 2520-2522
15.พระวินัยธรกานต์ กาญจโน พ.ศ 2522-2530
16.พระครูพิพัฒน์ชยาภรณ์ พ.ศ 2530-ปัจจุบัน

เหรียญทรงอาร์มอายุ 80 ปีทองเเดงกะหลั่ยเงินด้านหลังสร้างเมื่อปี พ.ศ.2480 หลังจารบล๊อกนิยมสระเอไม่เเตกบล๊อกนิยมสภาพเดิมๆมีทั้งรอยจารเเละไม่มีรอยจาร


เหรียญด้านบนนี้เป็นเหรียญหลวงพ่อวงศ์จัดสร้างเมื่อปี 2480บล๊อกสระเอไม่เเตกบล๊อกนิยมสภาพใช้

เหรียญทองเเดงนี้ที่โชว์ภาพอยู่ด้านบนผู้อ่านจะเห็นเหมือนภาพที่อยู่ในวัดบ้านค่าย ตำหนิตรงคอด้านซ้ายองค์พระจะมีจุดอยู่บนหัวไหล่เเละใต้ฐานเหรียญด้านหน้าที่เป็นรูปเเหลมข้างล่างลงมาจากตัวหนังสืออายุ 80ปีจะมีเส้นเกิดจากบล๊อกเเม่พิมพ์เป็นเส้นเเนวขวางอยู่ระหว่างเกือบปลายเเหลมติ่งเห็นได้ชัด ตัวหนังสือสระเอเเตก รุ่นนี้จะเป็นหลวงพ่อดิ่งปลุกเสกเมื่อปี พ.ศ.2496หรือพ.ศ 2497 ภาพถ่ายปรากฎอยู่บนศาลาหลังเก่าภาพเหล่านี้ได้เอาไว้นานเเล้วตั้งเเต่มีศาลา                                                                                                                                    เป็นเวลา 37ปีห่างกันมาในการเขียนลงในหนังสือของคุณเฉลียวจากเหตุที่เกิดเมื่อ พ.ศ.2480จนมาถึงเมื่อ พ.ศ.2517ท่านลองสังเกตุข้อความดังต่อไปนี้ว่าเขาตีความหมายในข้อความ

 เมื่อพิจารณาเเล้วเหรียญที่สร้างขึ้นกับ การตีพิมพ์ห่างกันหนังสือของคุณเฉลียวเมื่อปี 2517พิมพ์ ข้อความพิมพ์บรรทัดที่สองว่าเหรียญสร้างรวม 4 ครั้ง เเละบรรทัดที่สามบอกว่าสร้างเหรียญถวายที่ระลึกหลวงพ่อมรณะเเล้วคือเหรียญรุ่นฉลองอายุ80ปีทั้งที่หลวงพ่อมรณะเมื่ออายุ83ปีทำไมถ้าสร้างตอนมรณะภาพทำไมไม่เขียนเป็นที่ระลึกในอายุ 83ปีล่ะทำไมเป็นถึงเป็นเหรียญฉลอง80ปีดีใจหรือไงที่หลวงพ่อวงศ์มรณะภาพถึงเขียนว่าเหรียญฉลองตอนหลวงพ่อมรณะภาพคนเขียนไปกันใหญ่ เเละพอมาบอกตอนข้อความบรรทัดที่ 4 บอบอกว่าเหรียญหลวงพ่อวงศ์มีด้วยกัน 5 รุ่นทำไมไม่เขียนบอกว่าสร้างเเค่ 4 รุ่นล่ะเเล้วก็ไล่เขียนเหรียญ 1-5 ทำไมถึงไม่เขียนหรือพิมพ์เเค่ 4 รุ่นล่ะทำไมต้องเขียนถึง 5 รุ่น เเละพอมาบรรทัดที่ 11-12 เเละบอกว่าเหรียญหลังจากที่5รุ่นมาเเล้วได้เขียนหรือพิมพ์ว่าเป็นเหรียญที่สร้างภายหลังจากหลวงพ่อวงศ์มรณะเเล้วทั้งสิ้นเเล้วเหรียญที่บอกว่าเป็นเหรียญฉลองอายุ80ปีตอนหลวงพ่อมรณะไปเเล้วไปไหนล่ะครับไม้ได้ตอนหลังหรือไงทำไมไปลงหัวข้อว่าเหรียญหลวงพ่อวงศ์มีที่สร้าง 5 รุ่น ด้วยกัน ผมว่าคนที่พิมพ์ต้องมองข้อมูลในการพิมพ์ผิดเพราะสมัยนั้นเขาใช้เเป้นพิมพ์โบราณเพราะตามองตัวหนังสือเเล้วพิมพ์ไปมีบางช่วงที่เขาพิมพ์ผิดคือบรรทัดที่ 4 ที่บอกว่าหลวงพ่อดิ่งสร้างเหรียญถวายตอนที่หลวงพ่อวงศ์มรณะภาพเเล้ว เเละเขียนเป็นเหรียญรุ่นฉลองอายุ 80ปีคำๆนี้เเหละที่ผู้พิมพ์หรือเขียนมองผิดซึ่งน่าจะตกหล่นไปเเละไปมองตัวหนังสือที่เขียนมาผิดเเต่เป็นเหรียญรุ่นอื่นที่ท่านสร้างถวายตอนมรณะภาพ เเละกับหัวข้อบรรทัดที1 ที่บอกว่าสร้างไว้รวม 4 รุ่นตัวนี้ก็พิมพ์ผิดเพราะเเป้นพิมพ์อยู่ใกล้กันมาก เเละทางผู้พิมพ์ก็ไม่ได้ตรวจสอบอีกทีในการทบทวนที่ตนเองพิมพ์จะขายหนังสือเมื่อพศ 2517 นั่นเองนี้หลักการง่ายๆในการพิจารณาของการหาข้อมูล ข้อเท็จจริง เเละดูรายละเอียดของเเต่ละความจริง ลองดูหลักฐานที่เขาพิมพ์มาอยู่ด้านล่างเเละใช้ดุลพินิจของผู้อ่านเองในการพิจารณาว่าเป็นไปตามที่ผู้จัดได้ชี้เเน่ะหรือไม่ซึ่งเรื่องการพิมพ์ผู้จัดเองก็ชอบพิมพ์ผิดบ่อยๆในการพิมพ์เเต่ละครั้งถ้าไม่ได้ตรวจสอบอีกที เพราะจะมองเเต่ตัวหนังสือที่อยู่ในกระดาษข้อมูลต้นฉบับที่จะพิมพ์ไม่ได้มองหน้าจอหรือสมัยก่อนก็ไม่ได้มองกระดาษทีพิมพ์ออกมา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://bermudathai.blogspot.com/2011/02/blog-post.html 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้คำสุภาพเเละไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียเเก่ส่วนรวมเเละบุคคลอื่นขอบคุณครับ

กระดานพูดคุยเเสดงความคิดเห็นทั่วไป

comments powered by Disqus

เเสดงความคิดเห็นผ่านFacebook